Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2559 TRUE ต้องมีการลงทุนในการขยายปริมาณแบนด์วิธของเครือข่ายหลัก (Backbone Network) ที่รองรับจากเดิมอยู่ที่ราว 350 Gbps เพิ่มเป็น 800 Gbps ภายในสิ้นปีนี้ ด้วยงบลงทุนราว 340 ล้านบาท

ประเด็นหลัก





ทรู เร่งลงทุนอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ เพิ่มรับปริมาณการใช้งานของลูกค้าจากปัจจุบันที่ 350 Gbps เป็น 800 Gbps ด้วยงบลงทุน 340 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้ พร้อมชูความร่วมมือระหว่างไทย จีน สิงคโปร์ ในการเชื่อมต่อธุรกิจจากความร่วมมือของ 3 บริษัท ตั้งเป้าหมายรายได้รวม 1,800 ล้านบาท
นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเทอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (TIG) กล่าวถึงแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยว่า มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องที่ 50% โดยปริมาณการใช้งานแบนด์วิธล่าสุดทั่วประเทศจะอยู่ที่ราว 1,200 Gbps และมีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นปริมาณใช้งานจากกลุ่มทรูราว 27%
ส่งผลให้ทาง TIG ต้องมีการลงทุนในการขยายปริมาณแบนด์วิธของเครือข่ายหลัก (Backbone Network) ที่รองรับจากเดิมอยู่ที่ราว 350 Gbps เพิ่มเป็น 800 Gbps ภายในสิ้นปีนี้ ด้วยงบลงทุนราว 340 ล้านบาท และจะช่วยให้ TIG สามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้นจากค่าบริการต่อหน่วยที่ถูกลง
“การให้บริการอินเทอร์เน็ตถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการที่จะผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล เพราะถือเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อไประหว่างประเทศ ซึ่งถือว่ามีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20%”







____________________________________




ทรูเร่งขยายเกตเวย์รับแบนด์วิธโต 50%

นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเทอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (TIG) (ที่ 2 จากขวา)

ทรู เร่งลงทุนอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ เพิ่มรับปริมาณการใช้งานของลูกค้าจากปัจจุบันที่ 350 Gbps เป็น 800 Gbps ด้วยงบลงทุน 340 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้ พร้อมชูความร่วมมือระหว่างไทย จีน สิงคโปร์ ในการเชื่อมต่อธุรกิจจากความร่วมมือของ 3 บริษัท ตั้งเป้าหมายรายได้รวม 1,800 ล้านบาท
นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเทอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (TIG) กล่าวถึงแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยว่า มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องที่ 50% โดยปริมาณการใช้งานแบนด์วิธล่าสุดทั่วประเทศจะอยู่ที่ราว 1,200 Gbps และมีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นปริมาณใช้งานจากกลุ่มทรูราว 27%
ส่งผลให้ทาง TIG ต้องมีการลงทุนในการขยายปริมาณแบนด์วิธของเครือข่ายหลัก (Backbone Network) ที่รองรับจากเดิมอยู่ที่ราว 350 Gbps เพิ่มเป็น 800 Gbps ภายในสิ้นปีนี้ ด้วยงบลงทุนราว 340 ล้านบาท และจะช่วยให้ TIG สามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้นจากค่าบริการต่อหน่วยที่ถูกลง
“การให้บริการอินเทอร์เน็ตถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการที่จะผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล เพราะถือเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อไประหว่างประเทศ ซึ่งถือว่ามีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20%”
โดยในปีที่ผ่านมา TIG สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยรายได้รวม 1,400 ล้านบาท ส่วนในปีนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะเติบโตมากกว่าปีที่ผ่านมาเป็น 1,800 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายตัวของทั้งบริการอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ที่มีการเพิ่มจำนวนของลูกค้าบรอดแบนด์ ลูกค้าโทรศัพท์มือถือ ทำให้ ISP เร่งขยายความจุช่องสัญญาณให้ครอบคลุมตามความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้ ปัจจุบัน TIG ให้บริการอินเทอร์เน็ต เกต์เวย์ให้แก่ลูกค้า ทั้งในกลุ่มทรู อินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการบรอดแบนด์ตามบ้านมีจำนวนลูกค้ากว่า 2 ล้านราย และกลุ่มลูกค้าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายอื่นๆ ในประเทศไทย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา และพม่า รวมถึงการให้บริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ โดยสัดส่วนการให้บริการต่างประเทศจะอยู่ที่ราว 15%
นอกจากนี้ ในกลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ ยังมีบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TIC) ให้บริการด้านเสียงซึ่งปีที่ผ่านมามีรายได้ 900 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 12% เป็น 1,000 ล้านบาท ส่วน บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่ง จำกัด (TIR) ที่ให้บริการธุรกิจโรมมิ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตเป็น 1,500 ล้านบาทในปีนี้
ขณะเดียวกัน TIG ยังได้มีการเซ็นสัญญาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ภายใต้โครงการ “แฮนด์ อิน แฮนด์” กับบริษัท ไชน่า โมบายล์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จากประเทศจีน และบริษัท สตาร์ฮับ จำกัด จากประเทศสิงคโปร์ ในการเชื่อมต่อโครงข่ายไทย จีน และสิงคโปร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ
สำหรับความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้เกิดการแข่งขันภายใต้ 5 แนวทางหลัก คือ การส่งเสริมทางด้านดีไวซ์ ธุรกิจโมบาย ธุรกิจดาต้า เครือข่าย และการนำนวัตกรรมอินเทอร์เน็ต เพื่อมาเสริมสร้างการให้บริการให้ครบแพลตฟอร์มมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ TIG ที่ถือเป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ในประเทศไทย ยังได้การรับรองมาตรฐานการจัดการ ISO 9001:2008 ที่เป็นมาตรฐานการบริหารจัดการคุณภาพที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เพื่อให้ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ในการให้บริการตามเป้าหมายของกลุ่มทรูที่วางไว้

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000040166&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+21-4-59&utm_campaign=20160420_m130955312_MGR+Morning+Brief+21-4-59&utm_term=_E0_B8_97_E0_B8_A3_E0_B8_B9_E0_B9_80_E0_B8_A3_E0_B9_88_E0_B8_87_E0_B8_82_E0_B8_A2_E0_B8_B2_E0_B8_A2_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.