Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2559 ทางประเทศไทยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2023 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีแนวทางในการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ไปใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์

ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ ทางประเทศไทยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2023 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีแนวทางในการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ไปใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์ โดยกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีแผนดำเนินการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2017 - 2020 โดยทางคณะผู้แทนฯ ได้เสนอแนะให้ประเทศไทยควรมีการเร่งทำ Digital Switch Over ก่อนปี 2018 เพื่อจะได้มีการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการบรอดแบนด์ และลดผลกระทบการรบกวนคลื่นความถี่ ตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ ทางคณะผู้แทนฯ ยังได้มีการหารือว่าทาง กสทช.ควรเร่งดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 2.3 GHz, 2.6 GHz, และ L-band เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานบริการข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้มีการนำเสนอให้ทาง กสทช. สนับสนุน Internet of Thing (IoT) ในแนวทางของ Soft touch Regulation ต่อไปในอนาคตอีดด้วย









_______________________





“เศรษฐพงค์” รับเผือกร้อน GSMA ประเด็น 700 MHz ไทยไม่ทำตามมาตรฐานโลก

GSMA เผยรายงานความก้าวหน้าสังคมดิจิตอลในภูมิภาคเอเชีย พบประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แนะรัฐบาลหากต้องการยกระดับไปสู่สังคมดิจิตอลเต็มตัว ต้องนำคลื่น 700 MHz มาจัดสรร รวมทั้งคลื่นอื่นๆ ที่อยู่ในระบบสัมปทานให้กลายเป็นระบบใบอนุญาตทั้งหมด ที่สำคัญต้องออกกฎหมายในการผลักดันการใช้งานดิจิตอลด้วย พร้อมเข้าหารือ “พ.อ.เศรษฐพงค์” ประธาน กทค.
วานนี้ (28 เม.ย.) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.แถลงถึงผลการประชุมร่วมกับ Mr.Joe Guan, Mr. Peng Zhao ตัวแทนสมาคม GSMA และ Mr.Johan Adler, Dr. Håkan Ohlsén ตัวแทนจาก Ericsson, Mr.Alex Orange ตัวแทนจาก Qualcomm, Mr.Guillaume Mascot ตัวแทนจาก Nokia และ Mr.Hu Wang จาก Huawei เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ห้องประชุมชั้น 10 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช. ในหัวข้อการบริหารคลื่นความถี่
โดยคณะผู้แทนจากองค์กรดังกล่าวได้มีการร้องขอให้ กสทช.ทำการทบทวนแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิตอล (Digital Switch Over) ที่ทางประเทศไทยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2023 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ทั้งในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีแนวทางในการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ไปใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์
โดยกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีแผนดำเนินการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2017-2020 โดยทางคณะผู้แทนฯ ได้เสนอแนะให้ประเทศไทยควรมีการเร่งทำ Digital Switch Over ก่อนปี 2018 เพื่อจะได้มีการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการบรอดแบนด์ และลดผลกระทบการรบกวนคลื่นความถี่ตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ ทางคณะผู้แทนฯ ยังได้มีการหารือว่าทาง กสทช.ควรเร่งดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 2.3 GHz, 2.6 GHz, และ L-band เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานบริการข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้มีการนำเสนอให้ทาง กสทช.สนับสนุน Internet of Thing (IoT) ในแนวทางของ Soft touch Regulation ต่อไปในอนาคตอีดด้วย
ทั้งนี้ ทาง พ.อ.เศรษฐพงค์ จะนำข้อห่วงใยของ GSMA แจ้งให้สำนักงาน กสทช.วิเคราะห์และเสนอให้ กสทช.พิจารณาต่อไป

“เศรษฐพงค์” รับเผือกร้อน GSMA ประเด็น 700 MHz ไทยไม่ทำตามมาตรฐานโลก
นายอลาสแดร์ แกรนด์ ผู้อำนวยการสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ประจำภูมิภาคเอเชีย

***GSMA เสนอรัฐนำคลื่น 700 MHz มาจัดสรร
นายอลาสแดร์ แกรนด์ ผู้อำนวยการสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า จากรายงานหัวข้อ “การพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมดิจิตอลในเอเชีย” พบว่า ประเทศไทย และอินโดนีเซีย อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมดิจิตอล ซึ่งการพัฒนาดิจิตอลในประเทศเหล่านี้มุ่งเน้นเรื่องการปรับบริการตามความต้องการเฉพาะบุคคล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน และสถาบันต่างๆ ประเทศเหล่านี้จะมีการขยายตัวของเมืองใหญ่อย่างรวดเร็ว จนเกิดปัญหาที่ต้องรับมือทั้งปัญหาสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม
สำหรับประเทศไทย จากดัชนีที่สมาคมจัดทำพบว่า มีตัวเลขสูงกว่าอินโดนีเซีย ในการที่จะก้าวไปสู่สังคมดิจิตอลขั้นสูงได้เร็วกว่า แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการผลักดันนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลด้วย ได้แก่ การจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีในระบบสัมปทานให้กลายเป็นระบบใบอนุญาต โดยเฉพาะคลื่น 700MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นคลื่นที่มีคุณภาพสูง เมื่อนำมาให้บริการจะมีราคาถูก และทั่วโลกก็เห็นความสำคัญของคลื่นดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ
ที่สำคัญรัฐบาลต้องออกกฎหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งานด้านดิจิตอลมากขึ้น เช่น การทำเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) เกิดการลงทุนใหม่ๆ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องลงทุน เพียงเพื่อต้องการให้บริการแก่ลูกค้า นอกจากนี้ แต่ละโอเปอเรเตอร์ต้องสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมร่วมกันได้ ดังนั้น เมื่อโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดมีความพร้อม คนที่ไม่เคยเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็จะเข้าถึงได้ง่ายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
นายอลาสแดร์ กล่าวด้วยว่า รายงานดังกล่าวยังได้ระบุด้วยว่า บังกลาเทศเทศ และปากีสถาน อยู่ในกลุ่มสังคมดิจิตอลเกิดใหม่ ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมุ่งเน้นให้เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม โดยสิ่งสำคัญที่ประเทศเหล่านี้ดำเนินการเป็นลำดับแรก คือ การจัดหาบริการที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่ประชาชน เช่น บริการด้านสุขภาพ การศึกษา และบริการทางการเงิน
ขณะที่ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ จัดอยู่ในกลุ่มสังคมดิจิตอลขั้นสูง ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตทั้งในแง่การเข้าถึงในวงกว้าง และขีดความสามารถในการรองรับ ปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้จะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเชื่อมต่อ และการทำงานร่วมกันด้านเทคโนโลยีดิจิตอลระหว่างหลายภาคส่วน ประเทศเหล่านี้ยังถูกคำนึงถึงในฐานะผู้นำที่เป็นแบบอย่างของภูมิภาค ในด้านการสร้างมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติของสังคมดิจิตอล เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ หรือ IoT
สำหรับบทบาทของโทรศัพท์มือถือในการขับเคลื่อนสังคมดิจิตอลในเอเชียนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกในการสร้างสังคมดิจิตอล คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่มั่นคง และปรับขยายได้ในอนาคต โดยในภูมิภาคเอเชีย โทรศัพท์มือถือจัดเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้เชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงบริการดิจิตอลต่างๆ ดังนั้น จึงมีการสนับสนุนให้ภาครัฐกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างรวดเร็วของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งรวมถึงการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเข้าใจในการใช้บริการให้แก่ประชาชน
ปัจจุบัน มีประชากรมากกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกที่เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิตอล รวมทั้งมีส่วนส่งเสริมให้เศรษฐกิจดิจิตอลมีการเติบโตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประชากรอีกราว 4 พันล้านคน ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเครือข่าย และใช้บริการดิจิตอลต่างๆ ได้ โดยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวมในเอเชียแปซิฟิกยังคงตามหลังค่าเฉลี่ยทั่วโลก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีประชากรมาก แต่กลับมีสัดส่วนการพัฒนาเครือข่ายที่ค่อนข้างต่ำ เห็นได้จากอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่มีประชากรรวมกันกว่า 1.6 พันล้านคน แต่มีสัดส่วนผู้ลงทะเบียนใช้งานจริง (unique subscriber) เพียง 36% ดังนั้น การทำให้ประชากรทั่วภูมิภาคสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจึงเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักที่อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ และผู้กำหนดนโยบายจะต้องแก้ไข และรับมือต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000043418&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+29-4-59&utm_campaign=20160428_m131121024_MGR+Morning+Brief+29-4-59&utm_term=_27_E0_B9_80_E0_B8_A8_E0_B8_A3_E0_B8_A9_E0_B8_90_E0_B8_9E_E0_B8_87_E0_B8_84_E0_B9_8C_27+_E0_B8_A3_E0

___________________________________________



พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) แถลงถึงผลการประชุมร่วมกับ Mr. Joe Guan, Mr. PengZhao ตัวแทนสมาคม GSMA และ Mr. Johan Adler,Dr. Hkan Ohlsén ตัวแทนจาก Ericsson, Mr. Alex Orange ตัวแทนจาก Qualcomm, Mr. Guillaume Mascot ตัวแทนจาก Nokia และ Mr.Hu Wang จาก Huawei เมื่อวันที่27 เม.ย.2559 ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคาร อำนวยการ สำนักงาน กสทช. ในหัวข้อการบริหารคลื่นความถี่ โดยคณะผู้แทนจากองค์กรดังกล่าว ได้มีการร้องขอให้ กสทช.ทำการทบทวนแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัล (Digital Switch Over)

ทั้งนี้ทางประเทศไทยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2023 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีแนวทางในการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHzไปใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์ โดยกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน ก่อนหน้านั้น หรือมีแผนดำเนินการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2017-2020 โดยทางคณะผู้แทน ได้เสนอแนะให้ประเทศไทยควรมีการเร่งทำ Digital Switch Over ก่อนปี 2018 เพื่อจะได้มีการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการบรอดแบนด์ และลดผลกระทบการรบกวนคลื่นความถี่ ตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน

http://www.naewna.com/business/213563

_________________________



28 เม.ย.พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) แถลงถึงผลการประชุมร่วมกับ Mr. Joe Guan, Mr. Peng Zhao ตัวแทนสมาคม GSMA และ Mr. Johan Adler, Dr. Håkan Ohlsén ตัวแทนจาก Ericsson, Mr. Alex Orange ตัวแทนจาก Qualcomm, Mr. Guillaume Mascot ตัวแทนจาก Nokia และ Mr.Hu Wang จาก Huawei เมื่อวันที่ 27 เม.ย.59 ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช. ในหัวข้อการบริหารคลื่นความถี่ โดยคณะผู้แทนจากองค์กรดังกล่าว ได้มีการร้องขอให้ กสทช. ทำการทบทวนแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัล (Digital Switch Over)

ทั้งนี้ ทางประเทศไทยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2023 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่มีแนวทางในการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ไปใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์ โดยกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีแผนดำเนินการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2017 - 2020 โดยทางคณะผู้แทนฯ ได้เสนอแนะให้ประเทศไทยควรมีการเร่งทำ Digital Switch Over ก่อนปี 2018 เพื่อจะได้มีการนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการบรอดแบนด์ และลดผลกระทบการรบกวนคลื่นความถี่ ตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ ทางคณะผู้แทนฯ ยังได้มีการหารือว่าทาง กสทช.ควรเร่งดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 2.3 GHz, 2.6 GHz, และ L-band เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานบริการข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้มีการนำเสนอให้ทาง กสทช. สนับสนุน Internet of Thing (IoT) ในแนวทางของ Soft touch Regulation ต่อไปในอนาคตอีดด้วย

ทั้งนี้ ทาง พันเอกเศรษฐพงค์ จะนำข้อห่วงใยของ GSMA แจ้งให้สำนักงาน กสทช. วิเคราะห์และเสนอให้ กสทช. พิจารณาต่อไป

http://www.naewna.com/business/213502

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.