Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 ICT โต้กลับ อ้างว่ามีการใช้งบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท ในการทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ ในความเป็นจริงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท ให้กระทรวงไอซีทีทำโครงการขยายการเข้าถึงอินเตอร์เนตไปยังหมู่บ้านที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อได้อีกร้อยละ 43 (ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ) ในจำนวนนี้ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ยังไม่ได้มีการสรุปคำของบประมาณ

ประเด็นหลัก



นายฉัตรชัยกล่าวว่า ตนเพิ่งเดินทางกลับจากไปราชการในต่างประเทศ โดยได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่า ไม่มีการลาออกของข้อราชการ 2 ท่าน ที่ถูกกล่าวอ้าง (ดร.มาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงไอซีที และนางอาทิตยา สุธาธรรมรักษาการที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร กระทรวงไอซีที) โดยทั้งสองท่านยังคงปฏิบัติราชการดูแลในส่วนที่รับผิดชอบตามปกติ



ส่วนกรณีที่อ้างว่ามีการใช้งบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท ในการทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ ในความเป็นจริงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท ให้กระทรวงไอซีทีทำโครงการขยายการเข้าถึงอินเตอร์เนตไปยังหมู่บ้านที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อได้อีกร้อยละ 43 (ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ) ในจำนวนนี้ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านบาท ส่วนงบที่เหลือจะใช้ในการลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำรับผิดชอบโดย บริษัทกสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในส่วนนี้ยังไม่ได้มีการสรุปคำของบประมาณ จึงยังไม่ได้กำหนดวงเงินงบประมาณ ดังนั้นการกล่าวอ้างตามแถลงการณ์ของเพจพลเมืองฯ จึงไม่เป็นความจริง เนื่องจากไม่มีการใช้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการตามที่มีการอ้างถึงแต่อย่างใด





___________________________________________________________



เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2559 นายฉัตรชัย กุลปิติลักษณ์ โฆษก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที
ได้ออกมาแถลงตอบโต้กรณีเฟซบุ๊ค กลุ่มพลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์ โพสต์ข้อความระบุว่ามีข้าราชการของกระทรวงลาออกเพราะไม่เห็นด้วยกันการใช้งบประมาณทำโครงการซิงเกิ้ลเกตเวย์

นายฉัตรชัยกล่าวว่า ตนเพิ่งเดินทางกลับจากไปราชการในต่างประเทศ โดยได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่า ไม่มีการลาออกของข้อราชการ 2 ท่าน ที่ถูกกล่าวอ้าง (ดร.มาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงไอซีที และนางอาทิตยา สุธาธรรมรักษาการที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร กระทรวงไอซีที) โดยทั้งสองท่านยังคงปฏิบัติราชการดูแลในส่วนที่รับผิดชอบตามปกติ

ส่วนกรณีที่อ้างว่ามีการใช้งบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท ในการทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ ในความเป็นจริงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท ให้กระทรวงไอซีทีทำโครงการขยายการเข้าถึงอินเตอร์เนตไปยังหมู่บ้านที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อได้อีกร้อยละ 43 (ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ) ในจำนวนนี้ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านบาท ส่วนงบที่เหลือจะใช้ในการลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำรับผิดชอบโดย บริษัทกสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในส่วนนี้ยังไม่ได้มีการสรุปคำของบประมาณ จึงยังไม่ได้กำหนดวงเงินงบประมาณ ดังนั้นการกล่าวอ้างตามแถลงการณ์ของเพจพลเมืองฯ จึงไม่เป็นความจริง เนื่องจากไม่มีการใช้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการตามที่มีการอ้างถึงแต่อย่างใด

นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การที่มีการเผยแพร่เอกสารใบปลิวภายในกระทรวงไอซีที และหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้เผยแพร่ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นการยื่นใบลาออกของข้าราชการระดับสูงนั้นขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ซึ่งได้สอบถามทั้ง 2 ท่าน คือ นางสาวมาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงไอซีที และนางอาทิตยา สุธาธรรม รักษาการที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวอ้างว่าโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นซิงเกิ้ลเกตเวย์นั้น ขอยืนยันอีกครั้งว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่องซิงเกิ้ลเกตเวย์ให้กระทรวงดำเนินการแต่อย่างใด ส่วนการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่จะติดตั้งในบางโครงการ เช่น โครงการอินเตอร์เนตหมู่บ้านนั้น เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งเพื่อดูแลป้องกันความปลอดภัยของระบบ เช่น ปัญหาจากการนำไวรัส หรือมัลแวร์ เข้าสู่ระบบซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบงานได้อย่างรุนแรง โดยอุปกรณ์ที่จะติดตั้งนั้นเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใช้ติดตั้งเป็นปกติ



http://www.naewna.com/business/225855

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.