Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 กสทช.กล่าวว่า กสทช.จะมีระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อพิสูจน์ตัวตนในการเปิดหรือเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์มือถือ หลังจากที่เมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบเพราะระบบมีอยู่แล้ว โดยนับจากนี้ เลขหมายกว่า 15 ล้านเลขหมาย ที่ใช้บริการ mobile Banking, Internet Banking และ Prompt Pay จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ประเด็นหลัก





นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า การประชุมร่วมกันครั้งนี้เพื่อสร้างแนวทางความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในระยะสั้นภายใน 6 เดือนนี้ ก่อนที่ กสทช.จะมีระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อพิสูจน์ตัวตนในการเปิดหรือเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์มือถือ หลังจากที่เมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบเพราะระบบมีอยู่แล้ว โดยนับจากนี้ เลขหมายกว่า 15 ล้านเลขหมาย ที่ใช้บริการ mobile Banking, Internet Banking และ Prompt Pay จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยสมาคมธนาคารไทยจะส่งเฉพาะเลขหมายดังกล่าวมายัง กสทช.เพื่อส่งต่อให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) เพื่อให้ทราบว่าเลขหมายนี้เป็นเลขพิเศษต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเบอร์ดังกล่าวหาย และถูกแจ้งอายัดเบอร์หรือไม่ และธนาคารต้องอนุญาตก่อน โอเปอเรเตอร์ถึงจะทำการเปิดเบอร์ หรือออกซิมการ์ดใหม่ให้

กสทช.ออกมาตรการระยะสั้นแก้ปัญหาโจรไซเบอร์สวมเบอร์

ดังนั้น เมื่อผู้ใช้บริการทราบว่าโทรศัพท์มือถือหายต้องรีบโทร.แจ้งไปยังธนาคาร และโอเปอเรเตอร์ทันทีเพื่อยกเลิกการใช้บริการ หากพิสูจน์ได้ว่าหลังจากโทร.ยกเลิกบริการแล้วแต่พบว่าเงินในบัญชีหายไป ธนาคารจะรับผิดชอบค่าเสียหายให้ และผู้ใช้บริการจะต้องเดินทางไปเปิดเบอร์ด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการได้ โดยสำนักงาน กสทช. จะออกหนังสือกำชับโอเปอเรเตอร์ให้ดำเนินตามกระบวนการพิสูจน์ตัวตน และกำหนดมาตรการให้โอเปอเรเตอร์ที่มีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัดด้วย

“เบอร์ที่ผูกกับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์จะถูกดูแลเป็นพิเศษ แต่กระบวนการเปิดซิม ย้ายซิมอาจจะล่าช้ากว่าคนทั่วไป เพราะต้องมีการพิสูจน์ตามขั้นตอนดังกล่าว คนปกติอาจจะ 3 วัน แต่เบอร์พิเศษนี้อาจจะ 4 วัน”






__________________________________________________





กสทช.ออกมาตรการระยะสั้นแก้ปัญหาโจรไซเบอร์สวมเบอร์


กสทช.จับมือ ธปท. สมาคมธนาคารไทย และ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย สร้างความมั่นใจใช้บริการทางการเงินผ่านมือถือ ระยะสั้น 6 เดือน เตรียมส่งเลขหมาย 15 ล้านเบอร์ที่ผูกเบอร์ทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือให้โอเปอเรเตอร์ดูแลเป็นพิเศษ ชี้ผู้ใช้งานทำเบอร์หายต้องรีบโทร.ยกเลิกกับธนาคาร และโอเปอเรเตอร์ ขณะที่โอเปอเรเตอร์ต้องตรวจสอบกับธนาคารก่อนเปลี่ยนแปลงเบอร์ ขณะที่ กสทช.เตรียมนำระบบสแกนลายนิ้วมือมาใช้พิสูจน์ตัวตนภายในต้นปีหน้า
เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2559 เวลา 13.00 น.สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการประชุมหารือเรื่อง แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางการเงินผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมี นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย และนายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าร่วมหารือในครั้งนี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า การประชุมร่วมกันครั้งนี้เพื่อสร้างแนวทางความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในระยะสั้นภายใน 6 เดือนนี้ ก่อนที่ กสทช.จะมีระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อพิสูจน์ตัวตนในการเปิดหรือเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์มือถือ หลังจากที่เมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบเพราะระบบมีอยู่แล้ว โดยนับจากนี้ เลขหมายกว่า 15 ล้านเลขหมาย ที่ใช้บริการ mobile Banking, Internet Banking และ Prompt Pay จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยสมาคมธนาคารไทยจะส่งเฉพาะเลขหมายดังกล่าวมายัง กสทช.เพื่อส่งต่อให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) เพื่อให้ทราบว่าเลขหมายนี้เป็นเลขพิเศษต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเบอร์ดังกล่าวหาย และถูกแจ้งอายัดเบอร์หรือไม่ และธนาคารต้องอนุญาตก่อน โอเปอเรเตอร์ถึงจะทำการเปิดเบอร์ หรือออกซิมการ์ดใหม่ให้

กสทช.ออกมาตรการระยะสั้นแก้ปัญหาโจรไซเบอร์สวมเบอร์

ดังนั้น เมื่อผู้ใช้บริการทราบว่าโทรศัพท์มือถือหายต้องรีบโทร.แจ้งไปยังธนาคาร และโอเปอเรเตอร์ทันทีเพื่อยกเลิกการใช้บริการ หากพิสูจน์ได้ว่าหลังจากโทร.ยกเลิกบริการแล้วแต่พบว่าเงินในบัญชีหายไป ธนาคารจะรับผิดชอบค่าเสียหายให้ และผู้ใช้บริการจะต้องเดินทางไปเปิดเบอร์ด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการได้ โดยสำนักงาน กสทช. จะออกหนังสือกำชับโอเปอเรเตอร์ให้ดำเนินตามกระบวนการพิสูจน์ตัวตน และกำหนดมาตรการให้โอเปอเรเตอร์ที่มีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัดด้วย
“เบอร์ที่ผูกกับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์จะถูกดูแลเป็นพิเศษ แต่กระบวนการเปิดซิม ย้ายซิมอาจจะล่าช้ากว่าคนทั่วไป เพราะต้องมีการพิสูจน์ตามขั้นตอนดังกล่าว คนปกติอาจจะ 3 วัน แต่เบอร์พิเศษนี้อาจจะ 4 วัน”
นายฐากร กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าในการทำระบบสแกนลายนิ้วมือนั้น ขณะนี้สำนักงาน กสทช.อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อระบบซอฟต์แวร์ คาดจะเปิดให้บริการได้ประมาณ เดือน ม.ค.2560 ส่วนตัวอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในการสแกนลายนิ้วมือนั้นโอเปอเรเตอร์ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่ง กสทช.อาจจะลดหย่อนค่าธรรมเนียม USO ให้แก่โอเปอเรเตอร์
ด้าน นายศุภชัย กล่าวว่า เหตุการณ์โทรศัพท์มือถือหาย ซิมการ์ดหายนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนคุ้นเคยดี แต่ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมภาคธนาคาร และภาคโทรคมนาคมไม่มีการแชร์ข้อมูลกัน ภาคโทรคมนาคมจึงไม่รู้ว่ามีเลขหมายใดบ้างที่ผูกกับการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร ดังนั้น หากมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันก็จะทำให้โอเปอเรเตอร์รู้ และกำกับดูแลง่ายขึ้น ทำให้เกิดความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งหากมีก็จะทำให้รูปแบบการจดทะเบียนซิมการ์ดมีความรัดกุมมากขึ้น กระบวนการเปิดซิมการ์ดใหม่เมื่อมีการทำงานที่รัดกุมมากขึ้น และต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารก็จะทำให้การถูกปลอมแปลงการเปิดซิมการ์ดลดลง ส่วนเรื่องการใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือต้องมีการศึกษาในขั้นต่อไป


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000091908&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+13-9-59&utm_campaign=20160912_m134260668_MGR+Morning+Brief+13-9-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_E0_B8_8A__E0_B8_AD_E0_B8_AD_E0_B8_81_E0_B8_A1_E0_B8_B2_E0_B8_95_E0_B8_A3

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.