Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 สำนักงาน กสทช. ชี้ เปิดเผยรายชื่อผู้เสียหายคือนายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ โดยผู้เสียหายแจ้งว่าถูกขโมยข้อมูลตั้งแต่ปี 2557 และแจ้งว่ายังมีอีกกว่า 100 เลขหมายที่ไม่ใช่เบอร์ของตนเองถูกขโมยข้อมูลด้วย จึงได้มอบหมายให้ AIS ตรวจสอบเบอร์ดังกล่าวว่าถูกล้วงข้อมูลเชิงลึก

ประเด็นหลัก




นายฐากร พร้อมด้วย นายก่อกิจและผู้เสียหาย ลงมาแถลงข่าวร่วมกัน โดยนายฐากร เปิดเผยรายชื่อผู้เสียหายคือนายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ โดยผู้เสียหายแจ้งว่าถูกขโมยข้อมูลตั้งแต่ปี 2557 และแจ้งว่ายังมีอีกกว่า 100 เลขหมายที่ไม่ใช่เบอร์ของตนเองถูกขโมยข้อมูลด้วย จึงได้มอบหมายให้ เอไอเอส ตรวจสอบเบอร์ดังกล่าวว่าถูกล้วงข้อมูลเชิงลึกว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทั้งนี้ กสทช.เองต้องเป็นผู้เสียหายร่วมด้วย ตามมาตรา 32 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังนั้นภายในสัปดาห์หน้าจะนำเสนอต่อที่ประชุมกสทช.เพื่อขอความเห็นชอบในการให้สำนักงานกสทช.แจ้งความอาญาต่อผู้กระทำผิดด้วย


________________________________________







เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2559 เวลา 09.40 น. ผู้เสียหายที่อ้างว่าถูกขโมยข้อมูลโทรศัพท์มือถือจากการใช้งานในระบบของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสได้เดินทางมายัง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อยื่นเอกสารคำร้องเพื่อขอความเป็นธรรม

ทั้งนี้ นายพล ซึ่งในครั้งแรกไม่ยอมเปิดเผยนามสกุล กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดเรื่องตนเองยังไม่ได้แจ้งความต่อตำรวจ แต่อยู่ระหว่างการรวบรวมพยาน หลักฐาน เพื่อให้ ทนายความดำเนินการตามกฎหมาย จึงได้เดินทางมายัง กสทช. หลังจากทราบข่าวว่า กสทช.จะมีการประชุมคณะทำงานนัดแรกในวันที่19ก.ย. เพื่อขอร่วมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย ส่วนสาเหตุนั้นเชื่อว่าน่าจะมาจากขัดแย้งเกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งในในวงการรับงานด้านสถาปนิกมีเพื่อนๆหลายคนที่ถูกข่มขู่เช่นกันแต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

ต่อมาในเวลา 10.00 น.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.พร้อมด้วย นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตรรองเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานสอบเรื่องนี้ ได้ลงมารับหนังสือผู้เสียหายโดยนายฐากร กล่าวว่า จะเชิญผู้เสียหายชี้แจงข้อมูลก่อนเพื่อรับฟังปัญหาจากนั้นจะเชิญตัวแทนจาก เอไอเอสสอบถามในปัญหาที่เกิดขึ้น

นายฐากร พร้อมด้วย นายก่อกิจและผู้เสียหาย ลงมาแถลงข่าวร่วมกัน โดยนายฐากร เปิดเผยรายชื่อผู้เสียหายคือนายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ โดยผู้เสียหายแจ้งว่าถูกขโมยข้อมูลตั้งแต่ปี 2557 และแจ้งว่ายังมีอีกกว่า 100 เลขหมายที่ไม่ใช่เบอร์ของตนเองถูกขโมยข้อมูลด้วย จึงได้มอบหมายให้ เอไอเอส ตรวจสอบเบอร์ดังกล่าวว่าถูกล้วงข้อมูลเชิงลึกว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทั้งนี้ กสทช.เองต้องเป็นผู้เสียหายร่วมด้วย ตามมาตรา 32 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังนั้นภายในสัปดาห์หน้าจะนำเสนอต่อที่ประชุมกสทช.เพื่อขอความเห็นชอบในการให้สำนักงานกสทช.แจ้งความอาญาต่อผู้กระทำผิดด้วย

สำหรับผู้กระทำความผิดทาง เอไอเอสได้บอกชื่อกับ กสทช.แล้วว่าเป็นใคร แต่ กสทช.ขอเก็บเป็นความลับ บอกได้แต่เพียงว่าเป็นผู้บริหารระดับสูงบางคน ที่เอไอเอสอนุญาตให้สามารถดูข้อมูลของลูกค้าได้ประมาณ 5 คน ซึ่งเอไอเอสก็ได้แสดงหลักฐานถึงความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ ทางบริษัทก็ได้ตรวจสอบและแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานแล้ว พร้อมยืนยันว่าระบบของเอไอเอสดีเยี่ยม แต่เรื่องที่เกิดขึ้นมาจากตัวบุคคลไม่ใช่ระบบดังนั้นต่อไปจะเพิ่มมาตรการในการเข้าดูข้อมูลพื้นฐานให้ต้องมีลายเซ็นของผู้บริหาร 2 คน ยืนยันการเข้าดูข้อมูล แต่ยังคงดูได้แค่ข้อมูลพื้นฐานกรณีมีเรื่องร้องเรียน เช่น ค่าโทร หรือสัญญาณการโทร.เท่านั้นไม่สามารถดูรายละเอียดตำแหน่งที่อยู่ของผู้โทร.ได้ นอกจากจะมีหมายศาลเท่านั้น



http://www.naewna.com/business/236120

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.