Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 AIS เริ่มนการนำซิมการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีกุญแจสาธารณะ หรือ SIMPKI (Public Key Infrastructure) มาทดสอบ เพื่อป้องกันความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางสมาร์ทโฟนโดยทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรม หรือมีการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมเกิดขึ้น ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สมาร์ทโฟนทุกครั้ง ซึ่งในอนาคตสามารถต่อยอดใส่เทคโนโลยีลายเซ็น อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น

ประเด็นหลัก


นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือเอ็ตด้า กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้เอ็ตด้ากำลังอยู่ระหว่างการร่วมมือบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอสในการนำซิมการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีกุญแจสาธารณะ หรือ SIMPKI (Public Key Infrastructure) มาทดสอบ เพื่อป้องกันความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางสมาร์ทโฟนโดยทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรม หรือมีการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมเกิดขึ้น ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สมาร์ทโฟนทุกครั้ง ซึ่งในอนาคตสามารถต่อยอดใส่เทคโนโลยีลายเซ็น อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น


“สาเหตุที่เลือกทำกับเอไอเอสเพราะมีความแอกทีฟมากสุดคาดว่าผลการทดสอบจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ก่อนเปิดใช้ต้นปีหน้า ซึ่งภายหลังทดลองกับเอไอเอสเรียบร้อยโอเปอเรเตอร์รายอื่นก็สามารถนำ SIM PKI ไปใช้งานได้ซึ่งจะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการใช้บริการพร้อมเพย์”




________________________________________




เอไอเอสนำร่องทดสอบSIMPKI เพิ่มความปลอดภัยผ่านสมาร์ทโฟน/เล็งใช้ต้นปีหน้า ฟื้นเชื่อมั่นพร้อมเพย์
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 16 September 2559248

เอไอเอสนำร่องทดสอบSIMPKI เพิ่มความปลอดภัยผ่านสมาร์ทโฟน/เล็งใช้ต้นปีหน้า ฟื้นเชื่อมั่นพร้อมเพย์

4 องค์กร ผนึกพลังหวังฟื้นความเชื่อมั่น วาง 5 แนวทางป้องกัน ส่งเสริมธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ หลังมิจฉาชีพหลอกข้อมูล ดูดเงินลูกค้าโมบายแบงกิ้ง ด้าน “ธปท.-สมาคมแบงก์ไทย” เร่งทำงานเชิงรุกจับธุรกรรมผิดปกติ ส่วน “กสทช.” เตรียมดึงระบบสแกนนิ้วมือยืนยันตัวตนมาใช้ ฟาก “ทีซีที” รับปากทำงานรัดกุมหลังได้ข้อมูลพร้อมเพย์


5 แนวทางเรียกความเชื่อมั่น "โมบายแบงค์กิ้ง"
5 แนวทางเรียกความเชื่อมั่น “โมบายแบงค์กิ้ง”
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) และในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย (TBA) เปิดเผยถึงประเด็นการเรียกความเชื่อมั่นของการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้ที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ (PromptPay) ในส่วนมาตรการระยะสั้นตามที่มีการหารือร่วมกันทั้ง 5 ข้อแล้ว ซึ่งเป็นแนวทางการป้องกันและสร้างความเชื่อมั่น ส่วนมาตรการระยะยาว จะเห็นว่าในส่วนของสำนักงาน กสทช. จะเป็นเรื่องนำเทคโนโลยีสแกนนิ้วมือมาใช้ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อเครื่องดังกล่าว

โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ภายใต้การกำกับดูแล จะเป็นเรื่องที่เน้นด้านความปลอดภัย ซึ่งจะมีการเข้าไปดูแลระบบป้องกันและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และทำให้ประชาชนมีความสะดวกมากขึ้น เพราะหลังเกิดกรณีมิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกข้อมูลและดูดเงินของลูกค้าที่ผ่านมา ทำให้เรื่องความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมการเงินของประชาชนหายไป ดังนั้น ธนาคารจะต้องหาวิธีการมาปรับใช้แต่จะต้องมีความปลอดภัยด้วย ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและลูกค้ามีความเข้าใจมากขึ้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์แล้วทั้งสิ้น 15 ล้านบัญชี แบ่งเป็นลงทะเบียนผ่านหมายเลขโทรศัพท์จำนวน 3 ล้านราย และลงทะเบียนผ่านบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 12-13 ล้านราย โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นของธนาคารกสิกรไทยจำนวนประมาณ 3-4 ล้านราย ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ภายในสิ้นปีจะอยู่ที่ 30 ล้านราย ซึ่งยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย โดยหลังจากนี้ธนาคารและสมาคมธนาคารไทยจะมีการทำแผนประชาสัมพันธ์มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและเข้ามาลงทะเบียน เพราะคนที่ยังไม่เข้ามาลงทะเบียน เนื่องจากยังไม่มั่นใจและยังเข้าใจผิดในเรื่องของการใช้เบอร์โทรศัพท์โอนเงิน แต่ความจริงเป็นการรับเงิน ซึ่งไม่มีใครสามารถเอาเงินออกไปได้ ซึ่งเรื่องนี้จึงต้องทำแผนประชาสัมพันธ์มากขึ้น


“เรื่องที่เกิดขึ้นที่มีความเสียหาย จะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบพร้อมเพย์ หรืออินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง แต่เกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่รู้ของผู้ใช้บริการที่ถูกหลอก ดังนั้น การร่วมมือของ 4 หน่วยงาน จะเป็นแนวทางป้องกันและช่วยลดเคสที่จะเกิดความเสียหายได้ เพราะเรื่องที่ไทยกำลังจะเดินเป็นเรื่องที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ และเป็นนโยบายที่ภาครัฐต้องการส่งเสริม เพื่อให้ประชาชนเกิดประโยชน์สูงสูด นอกจากเรื่องค่าธรรมเนียมที่ถูกแล้ว เรื่องที่สำคัญมาก คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชน ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่จะต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์”

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ภายหลังจากสำนักงานกสทช.ได้ร่วมหารือกับสมาคมธนาคารไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT) ในการหาข้อสรุปแนวทางการป้องกันและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นมาตรการระยะสั้นหลักๆ มีอยู่ 5 เรื่องด้วยกัน(ดูตารางประกอบ)

“เราจะมีการเชื่อมข้อมูลของผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไปให้โทรคมนาคม เพื่อเป็นฐานข้อมูล หากกรณีจะมีการออกซิมการ์ดใหม่ จะต้องมีการแจ้งไปยังธนาคารที่ใช้บริการด้วย เพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งอาจจะใช้เวลานานกว่าผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน เช่น เดิมใช้เวลา 3 วัน อาจจะเป็น 4 วัน เช่นเดียวกับกรณีที่ทำโทรศัพท์หายก็ต้องแจ้งด้วยเช่นกัน ซึ่งมาตรการเหล่านี้ไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอก แต่เป็นการพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงขอยืนยันว่าระบบมีความปลอดภัย ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการระยะสั้นในช่วงนี้ และในช่วงครึ่งปีหลังจะมีมาตรการระยะยาว โดยการนำระบบสแกนนิ้วมือมาใช้ ตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ระบบสแกนนิ้วมือที่จะนำมาใช้ไม่ได้เป็นการบังคับแต่อย่างใด ใครที่ต้องการใช้ก็เข้ามาใช้ หากไม่ต้องการใช้ก็ไม่ได้มีการบังคับ”

ส่วนด้านนายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันการเข้ามาของมิจฉาชีพในการโจรกรรมข้อมูลหรือหลอกลวงประชาชนมีหลายรูปแบบมากขึ้น ซึ่งธปท.และสมาคมธนาคารไทยได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในการส่งข้อมูลระหว่างกัน และธปท.มีทีมงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งหลังจากนี้จะมีการทำงานเชิงรุกมากขึ้นควบคู่กับมาตรการระยะสั้นที่ออกมาร่วมกัน โดยทีมงานดังกล่าวจะมีการตรวจสอบการทำงานของระบบเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และหาแนวทางการป้องกันต่อไป

ทางนายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวเสริมว่า ภายหลังจากมีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน จะช่วยให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น และการเปลี่ยนโอนย้ายเบอร์โทรศัพท์ หรือการขอซิมการ์ดใหม่มีความรัดกุมมากขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่มีข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้การทำงานไม่ได้มีความเข้าใจในการเกี่ยวเนื่องของเบอร์โทรศัพท์กับธุรกรรมการเงินมากนัก แต่เชื่อว่าหลังจากมีการเชื่อมข้อมูลกัน จะทำให้ระบบมีความรัดกุมและปลอดภัยเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของผู้ที่ลงทะเบียนซิมการ์ดแบบรายเดือนและแบบเติมเงิน ขณะเดียวกันหากสำนักงาน กสทช.มีการนำระบบสแกนนิ้วมือมาใช้ ยิ่งจะทำให้ระบบการเงินมีมาตรฐานเท่าเทียมสากลได้

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือเอ็ตด้า กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้เอ็ตด้ากำลังอยู่ระหว่างการร่วมมือบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอสในการนำซิมการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีกุญแจสาธารณะ หรือ SIMPKI (Public Key Infrastructure) มาทดสอบ เพื่อป้องกันความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางสมาร์ทโฟนโดยทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรม หรือมีการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมเกิดขึ้น ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สมาร์ทโฟนทุกครั้ง ซึ่งในอนาคตสามารถต่อยอดใส่เทคโนโลยีลายเซ็น อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น

“สาเหตุที่เลือกทำกับเอไอเอสเพราะมีความแอกทีฟมากสุดคาดว่าผลการทดสอบจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ก่อนเปิดใช้ต้นปีหน้า ซึ่งภายหลังทดลองกับเอไอเอสเรียบร้อยโอเปอเรเตอร์รายอื่นก็สามารถนำ SIM PKI ไปใช้งานได้ซึ่งจะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการใช้บริการพร้อมเพย์”

http://www.thansettakij.com/2016/09/16/97487

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.