Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 มติ กทค. กรอบรายได้ที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน ซึ่งในช่วงที่ 1 มีจำนวนเลขหมายการใช้งาน 15 ล้านเลขหมาย โดย TRUE มีรายได้ 3,634.188 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 2,564.204 ล้านบาท และเงินส่งเข้ารัฐ จำนวน 1,063 ล้านบาท และ AIS (​ DPC ) มีรายได้ จำนวน 1,153.590 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 525.954 ล้านบาท และมีเงินส่งเข้ารัฐ จำนวน 627.636 ล้านบาท

ตีประเด็นหลัก






“กรอบแนวคิดที่แตกต่างจากมติ กทค. กรอบรายได้ที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน ซึ่งในช่วงที่ 1 มีจำนวนเลขหมายการใช้งาน 15 ล้านเลขหมาย โดยทรูมูฟ มีรายได้ 3,634.188 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 2,564.204 ล้านบาท และเงินส่งเข้ารัฐ จำนวน 1,063 ล้านบาท และดีพีซี มีรายได้ จำนวน 1,153.590 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 525.954 ล้านบาท และมีเงินส่งเข้ารัฐ จำนวน 627.636 ล้านบาท และในช่วงเวลาถัดไปกลับมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ขัดแย้งต่อความเป็นจริง เนื่องจากเลขหมายที่ลดลงกลับมีรายได้เพิ่มขึ้น นี่คือจุดอ่อนของการพิจารณา” นายฐากร กล่าว


ทั้งนี้ สำนักงานได้เสนอกรอบแนวคิดคำนวณตามมติที่ประชุม กทค.ใน 3 ช่วงเวลา พบว่า ทรูมีรายได้ราว 7,833.436 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 5,680.200 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่ายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม 645.970 ล้านบาท และมีเงินนำส่งเข้ารัฐ จำนวน 1,507 ล้านบาท ในขณะที่ดีพีซี มีรายได้รวม จำนวน 1,948.355 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 899.180 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่าย กสท โทรคมนาคม 314.752 ล้านบาท และมีเงินนำส่งเข้ารัฐ จำนวน 734.422 ล้านบาท









________________________________________________




กันยังไม่จบ เงินเข้ารัฐช่วงเยียวยา 1800 MHz รอให้ สตง.-คลังตัดสิน


สำนักงาน กสทช.เปิดผลการพิจารณาเงินนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินช่วงเยียวยาคลื่น 1800 MHz สวนทางคณะทำงานฯ ที่ไม่ยอมคิดตามมติ กทค. หลังพบตัวเลขต่างกันกว่าหมื่นล้านบาท เกรงเป็นปัญหาฟ้องร้องในอนาคต เตรียมส่งทั้ง 2 แนวทางคิดเงินส่งรัฐให้ สตง. และกระทรวงการคลัง พิจารณา
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา โดยสำนักงาน กสทช.ได้เสนอผลการพิจารณาตรวจสอบเงินนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินจากการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz (ช่วงเยียวยา) หลังจากมีการนำเสนอผลการตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดินที่ศึกษาโดยคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้ (ยังไม่หักค่าใช้โครงข่ายที่ต้องชำระให้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด ที่บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือดีพีซี ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ต้องนำส่งรายได้ทั้งหมดตลอดช่วงประกาศมาตรการเยียวยา ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2556-3 ธันวาคม 2558) เพื่อเปรียบเทียบกับแนวทางที่รับฟังตามเอกสารหลักฐานของผู้ให้บริการ
โดยสรุปตัวเลขตามแนวทางของคณะทำงาน พบว่า ทรู มูฟ มีรายได้จำนวน 20,982.865 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 6,993.613 ล้านบาท ต้องนำส่งรายได้ จำนวน 13,989.24 ล้านบาท ดีพีซี มีรายได้ จำนวน 1,943.984 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 1,101.194 ล้านบาท ต้องนำส่งรายได้ จำนวน 879.204 ล้านบาท รวมทั้ง 2 บริษัท 14,868.83 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความเห็นของคณะทำงานที่ได้เสนอยังมีจุดอ่อนที่ใช้ในการพิจารณาที่อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องในอนาคต เพราะคณะทำงานไม่ได้คำนวณตามมติที่ประชุม กทค.ที่ให้คิดจากรายได้ และกรอบรายจ่ายในการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และค่าบริการเชื่อมโยงโครงข่าย (โรมมิ่ง) ดังนั้น กทค.จึงมีมติให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาขอความเห็น และนำกลับเข้ามาสู่ที่ประชุมบอร์ด กทค.พิจารณาอีกครั้ง
“กรอบแนวคิดที่แตกต่างจากมติ กทค. กรอบรายได้ที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน ซึ่งในช่วงที่ 1 มีจำนวนเลขหมายการใช้งาน 15 ล้านเลขหมาย โดยทรูมูฟ มีรายได้ 3,634.188 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 2,564.204 ล้านบาท และเงินส่งเข้ารัฐ จำนวน 1,063 ล้านบาท และดีพีซี มีรายได้ จำนวน 1,153.590 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย จำนวน 525.954 ล้านบาท และมีเงินส่งเข้ารัฐ จำนวน 627.636 ล้านบาท และในช่วงเวลาถัดไปกลับมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ขัดแย้งต่อความเป็นจริง เนื่องจากเลขหมายที่ลดลงกลับมีรายได้เพิ่มขึ้น นี่คือจุดอ่อนของการพิจารณา” นายฐากร กล่าว
ทั้งนี้ สำนักงานได้เสนอกรอบแนวคิดคำนวณตามมติที่ประชุม กทค.ใน 3 ช่วงเวลา พบว่า ทรูมีรายได้ราว 7,833.436 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 5,680.200 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่ายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม 645.970 ล้านบาท และมีเงินนำส่งเข้ารัฐ จำนวน 1,507 ล้านบาท ในขณะที่ดีพีซี มีรายได้รวม จำนวน 1,948.355 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 899.180 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่าย กสท โทรคมนาคม 314.752 ล้านบาท และมีเงินนำส่งเข้ารัฐ จำนวน 734.422 ล้านบาท

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000095293&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+22-9-59&utm_campaign=20160921_m134425310_MGR+Morning+Brief+22-9-59&utm_term=_E0_B8_95_E0_B8_B5_E0_B8_81_E0_B8_B1_E0_B8_99_E0_B8_A2_E0_B8_B1_E0_B8_87_E0_B9_84_E0_B8_A1_E0_B9_88_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.