Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

ADVANC กำไรสูงแต่ หุ้นตกหนัก !! เหตุตลอด2ปีที่ผ่านมาไม่มีการขยายตัวของกำไร เห็นตรงกัน ADVANC ไม่ต้องประมูลคลื่นก็ไม่กระทบลูกค้า

ADVANC กำไรสูงแต่ หุ้นตกหนัก !! เหตุตลอด2ปีที่ผ่านมาไม่มีการขยายตัวของกำไร เห็นตรงกัน ADVANC ไม่ต้องประมูลคลื่นก็ไม่กระทบลูกค้า
บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส เปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 3/60 ว่า เอไอเอสมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 7,469 ล้านบาท เติบโต 14% เทียบกับปีก่อน และ 3.5% เทียบกับไตรมาสก่อน ในไตรมาส 3/60 เอไอเอสมี EBITDA อยู่ที่ 17,589 ล้านบาท เติบโต 15% เทียบกับปีก่อน และ 2.8% เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากรายได้ที่เติบโต และการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เอไอเอสใช้งบลงทุนในรอบ 9 เดือนไปทั้งสิ้น 33,822 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการลากสายไฟเบอร์เข้าที่พักอาศัยของลูกค้า (last mile) ในไตรมาสนี้ เอไอเอสรับรู้ประโยชน์ทางภาษีจำนวน 309 ล้านบาท (ครอบคลุมผลประโยชน์ตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย.60) ตามข้อกำหนดของภาครัฐเรื่องผลประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุน เอไอเอสยังคงรักษาการเติบโตของรายได้ในไตรมาส 3/60 ทั้งในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) อยู่ที่ 32,455 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.0% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 0.9% เทียบกับไตรมาสก่อน หรือเติบโต 5.5% สำหรับช่วง 9 เดือน ทั้งนี้ รายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 31,569 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% เทียบกับปีก่อน และ 0.5% เทียบกับไตรมาสก่อน จากอัตราการการใช้งานโทรศัพท์ 4G ที่เพิ่มขึ้นเป็น 42% และอัตราการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.9 กิกะไบต์/เลขหมายที่ใช้งานดาต้า/เดือน การรับรู้ของลูกค้าเกี่ยวกับคุณภาพโครงข่ายค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากการเปิดตัวโครงข่าย AIS NEXT G รวมทั้งแพ็กเกจการใช้งานที่แตกต่างจากคู่แข่ง ทั้งนี้ เอไอเอสยังคงเน้นการทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ ทำให้ฐานลูกค้าระบบรายเดือนเติบโตขึ้น 235,300 เลขหมาย แต่ฐานลูกค้าระบบเติมเงินลดลง 522,500 เลขหมาย จากแนวโน้มการย้ายไปใช้งานระบบรายเดือน เนื่องจากแพ็กเกจในการเล่นอินเทอร์เน็ตที่ดึงดูดกว่าระบบเติมเงิน ขณะเดียวกัน เอไอเอสเจาะจงการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและเพิ่มฐานลูกค้าบนโครงข่ายปัจจุบัน โดยตั้งแต่เปิดบริการในเดือน เม.ย.58 เอไอเอส ไฟเบอร์ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ขยายพื้นที่ให้บริการเต็มพิ้นที่ตัวเมืองใน 28 จังหวัด ปัจจุบันให้บริการลูกค้า 481,500 ราย ทั้งนี้ เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการรายหลักในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยในสามปีข้างหน้าด้วยการสร้างรากฐานการดำเนินงานที่แข็งแกร่งและขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 60 การขยายโครงข่ายจะพิจารณาจากความต้องการใช้งานในแต่ละพื้นที่และอัตราผลตอบแทนในการลงทุน รวมถึงเพิ่มฐานลูกค้าบนโครงข่ายปัจจุบันด้วยการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของตัวแทนและช่องทางจาหน่าย ในขณะที่ยังคงกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า ในปี 60 คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประมาณ 5,000 ล้านบาท ส่วนในปี 60 คงประมาณการรายได้จากการให้บริการในปีนี้เติบโตประมาณ 4-5% จากปีก่อน และมีอัตรากาไรจากการขายเครื่องโทรศัพท์ปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงระดับเท่าทุน (หรือใกล้เคียง 0%) โดยเน้นการทำแคมเปญกับกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ ในส่วนการใช้บริการคลื่นความถี่ เสา และอุปกรณ์โครงข่ายผ่านข้อตกลงกับทีโอทีในปี 60 จะมีการบันทึกเต็มปี โดยรวมแล้วอัตรา EBITDA margin คาดว่าจะมีแน้วโน้วปรับตัวดีขึ้นเป็น 42-44% และประมาณการงบลงทุนโครงข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ไม่รวมค่าใบอนุญาต) โดยรวมอยู่ที่ 40,000-45,000 ล้านบาท เอไอเอส ไฟเบอร์มีรายได้ 886 ล้านบาท เติบโต 282% เทียบกับปีก่อน และ 20% เทียบกับไตรมาสก่อน และคิดเป็น 2.7% ของรายได้จากการให้บริการรวมในไตรมาส 3/60 ปัจจุบันเอไอเอส ไฟเบอร์ มีลูกค้า 481,500 ราย เพิ่มขึ้น 35,600 รายจากไตรมาสก่อน ในไตรมาสนี้มีจำนวนลูกค้าใหม่สมัครใช้บริการลดลง เนื่องจากมาตรการเรียกเก็บค่าแรกเข้าเพื่อเน้นลูกค้าที่มีคุณภาพ โดยบริษัทคาดว่าอัตราการเติบโตของจำนวนลูกค้าจะค่อยๆ ดีขึ้น และยังคงเป้าหมายระยะยาวไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี ฐานลูกค้าปัจจุบันยังคงมีทิศทางของรายได้เฉลี่ยต่อราย (ARPU) ที่เพิ่มขึ้นเป็น 637 บาท เทียบกับ 600 บาทในไตรมาสก่อน หลังจากลูกค้าที่ได้รับส่วนลดแพ็กเกจทยอยหมดช่วงโปรโมชั่น โดยเอไอเอส ไฟเบอร์ ยังคงแผนในการขยายพื้นที่การให้บริการเพิ่มเติมจาก 28 จังหวัดในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานไฟเบอร์ที่ยังคงเติบโต สำหรับการสังเกตโดยวานนี้ หลังจากประกาศผล หุ้นตกไปมากกว่า 5 บาท คุณจิตรา อมรธรรม ( ฟินันเซียไซรัส ) บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการประมูลที่ผ่านมาราคามันสูงติดระดับแสนล้านบาท ส่งผลต่อกำไรของปีที่แล้วที่ลดลงและปีนี้กำไรหดตัว เป็นเวลา 2 ปี จึงทำให้คนเข้าใจผิดราคาจึงตกมา อย่าลืมว่า ADVANC อยู่ได้โดยไม่ต้องประมูลคลื่นแล้ว และการประมูลครั้งนี้ใครจะมาเล่นๆไม่ได้เหมือนครั้งที่แล้ว Jas จ่ายค่าปรับไป 800 ล้านบาท แต่ครั้งนี้ต้องจาก 15% ของราคาประมูลเป็นค่าปรับ ดั้งนั้นการกดราคาต้องสมเหตุสมผล  นายสรพงษ์ จักรธีรังกูร ( หลักทรัพย์กรสิกรไทย ) การพิจราณาคลื่นใหม่ ผู้บริหารกำลังพิจารณาการลงทุน โดยยังคงมุมมองเดิมถือเป็นช่วงเวลที่เร็วเกินไป เนื่องจากต้องดูเงื่อนไขการประมูลอีกครั้ง แต่บริษัทมองว่า Network Capacity ในขนาดนี้มีเพียงพอในการให้บริการลูกค้าอยู่แล้ว ดั้งนั้น บริษัทฯ คงเป้าหมายตัวเลขในการดำเนินงานปี 2560 ไว้ตามเดิมซึ่งรวมทั้งรายได้ที่คาดเพิ่มขึ้น 4-5% YOY และ EBITDA margin ที่ 42-44%

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.