Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

ชัดเจน!! ไม่มีการเยียวยาคลื่น1800,850 ของ DTAC (แม้แต่วันเดียว) เร่งบีบ ผอ.เลขหมาย เปลื่ยนเลขหมายไทยเป็น 15 หลัก และประมูลเลข Online

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ได้ให้สัมภาษณ์ผ่าน FM 98.5 spring radio เวลา 08.12 น. ระบุ ปีหน้า ปี 2561 จะมีการประมูลคลื่นครั้งใหญ่ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ DTAC ที่กำลังหมดสัมปทานกับทาง บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT โดยคณะกรรมการ กสทช. ได้มีมติให้เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1800 MHz และ ย่าน 900 MHz ในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ซึ่งการประมูลคลื่นอยู่ที่เดือนมิถุนายน 2561 ซึ่งมีรายละเอียดจำนวนมาก ดังนั้นการประมูลเลขจึงไม่ใช่เรื่องแรก และ การประมูลเลขหมายถือเป็นเรื่องรอง โดยการประมูลเรื่องคลื่นเป็นเรื่องหลัก การดำเนินประมูลเลขที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กสทช. มีการคัดเลขจากจำนวน 500,000 เลขหมาย แล้วที่มีการดักไว้ในระบบ ให้เหลือจำนวน 1,600 ถึง1,800 เลขหมาย โดยเลขเหมือนกัน 4 ตัว ทางกสทช. มีแนวคิดประมููล Online ซึ่งถือเป็นการประมูลที่ไม่แพง ใช้เวลาประมูลบน Online เวลา 3 - 4 วัน ให้คนมีเวลาเคาะในทางอินเตอร์เน็ต โดยการประมูลมหายเลขแพง ต้องมีการใช้อุปกรณ์เดียวกัน ระบบอินเตอร์แรงพอ โดยความเร็วในการเคาะพร้อมกันวัดกันที่วินาที ซึ่งท้ายสุดคือการแบ่งเป็นประมูลออนไลน์และระบบในห้องที่สำนักงาน กสทช. โดยสำนักงาน กสทช. ใช้กฏคือ 3 ครั้ง หมายถึง การประมูลหมายเลข A โดยถ้าประมูล 3 ครั้ง ประมูลไม่สำเร็จ จะเริ่มจะเป็นราคา 50% ครั้งต่อไป โดยมีหลายหมายเลขซึ่งไม่ประมูลไม่ออก และมีหมายเลขกลุ่มหนึ่งที่ออกมา2ครั้งแล้ว ทำให้สำนักงาน กสทช. ออกกฏใหม่ให้ประมูลถอยหลัง เช่น หมายเลข B ราคาเคาะ 290,000 บาท การเคาะครั้งต่อไปคือ 280,000 บาท ใครรับที่ราคาไหนให้สิ้นสุดตรงนั้นเลย โดยทางสำนัก กสทช. กำลังดำเนินการแก้ทั้งกฏและซอฟต์แวร์ ขั้นต่ำการแก้กฏใช้เวลา 90 วัน ไม่นับรวมการแก้ซอฟต์แวร์ โดยจะได้รับรายไดสู่รัฐและสามารถใช้บุคลากรเต็มที ปีหน้ามีแผนเลขหมาย Lot ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ระดับโลกและอุตสหกรรมเริ่มทำกันแล้ว ทั้งการประมูลคลื่น ปีหน้าคณะกรรมการ กสทช. จะไม่มีการเยียวยาผู้ให้บริการแล้ว โดยจะมีการประมูลล่วงหน้าก่อนสิ้นสัมปทาน ดังนั้น กสทช. ต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ในการย้ายผู้ให้บริการให้มีเวลาพอ เรื่องแรกที่เสร็จไปแล้วคือการจัดสรรคลื่นความถี่ 920 - 925 MHz ให้ใช้โดยไม่ต้องขออนุญาต แบบเดียวกับคลื่น WIFI คลื่น 2.1 ghz ทำให้ เกิดธุรกิจใหม่ตามมาเพราะใครๆเพราะก็ใช้ได้เลย ร้านกาแฟก็ใช้ได้เลย เป็นกิริยาลูกโซ่ ตามมา สำหรับเลขหมาย กสทช. จะมีการออกเลขหมาย Lot เนื่องจาก เลขมหายในประเทศไทยมี 10 หลัก แต่เวลากดไปต่างประเทศเพิ่มอีก 2 หลัก คือ +66 ประเทศไทย โดยจำนวนหลักที่ชัดเจนคืออังกฤษ แต่ ITU ระบุไม่เกิน 15 หลัก นั้นคือ ล้านล้านเลขหมาย ซึ่งเลขหมายพวกนี้ไม่ได้อยู่ในโทรศัพท์เคลื่นที่เพราะจะไปอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ อยู่ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เช่น Drone , หุ่นยนต์รดน้ำต้นไม้ ,หุ่นยนต์เช็คกระจก เรือข้ามเดินแดน เป็นต้น และอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้เช่น ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนจะอุปกรณ์ไม่ต่ำกว่า 50 ชิ้นติดตัวจะเป็นอปกรณ์ต่อกันหมด โดยประเทศไทยจะเริ่มออกเลขหมายที่ 15 หลักตามกฏITU แต่กำลังศึกษาให้ลึกว่าจะใช้ 16 - 17 หลักหรือไมในอนาคตต่างประเทศใช้มากกว่านั้น ประเทศไทยจะเกิดความวุ่นวายทั้นที เช่นเรือข้ามระหว่างประเทศใช้ 17 หลัก แต่ไทยใช้ 15 หลัก อุปกรณ์นั้นก็จะไม่ตรงกัน ดันนั้น กสทช. เร่งศึกษาเรื่องนี้กับ ผอ.เลขหมาย ในระบบเลขหมายโดยให้ไปหาหลักเหลักเกนฑ์และระบบลงทะเบียน โดยการดำเนินการ กสทช. ประเทศไทยถือว่าดำเนินการไปไม่ช้า เร็วกว่าหลายประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.