Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

JAS ไม่มีความคิดประมูล 1800 MHz ชี้หากเกิด 5G การขยายโครงข่าย Fiber ความเร็ว 10 Gbps เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน



นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เปิดเผยในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 ว่า บริษัทวางงบลงทุนในปี 61 ไว้ที่ 7,000-10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายโครงข่ายธุรกิจอินเตอร์เน็ตใยแก้วนำแสง (FTTx) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยปีนี้ตั้งเป้าการให้บริการ FTTx ครอบคลุม 80% ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ และตั้งเป้าหมายจำนวนลูกค้าบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต จะเติบโตแตะ 5 ล้านราย ในปี 63 จากไตรมาส 1/61 บริษัทมีลูกค้าอยู่ที่ 2.8 ล้านราย ขณะเดียวกันก็คาดว่าลูกค้าบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต ในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง หรือมากกว่า 1 แสนรายต่อไตรมาส


"จากการขยายโครงข่าย FTTx ในปีที่ผ่านมา และในปีนี้ รวมถึงการลงทุนอื่น ๆ ก็เชื่อว่าในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จะทำให้อัตรากำไรสุทธิ กลับมาเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ จากปีก่อนอยู่ที่ 14.73%"
นายพิชญ์ กล่าวว่า สำหรับแหล่งเงินลงทุนดังกล่าวจะมาจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทที่ปัจจุบันมีอยู่ 7,674 ล้านบาท และเงินที่จะได้จากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท รุ่นที่ 3 หรือ JAS-W3

โดยในวันนี้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท เพื่อรองรับการใช้สิทธิ JAS-W3 อีกจำนวน 131,687,249.50 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 4,645,998,283.50 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 4,777,685,533 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 263,374,499 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท

ขณะเดียวกันก็ได้อนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 263,374,499 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ คงเหลือในจำนวน 1,940,897,775 หน่วย ตามอัตราการใช้สิทธิในปัจจุบัน หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯได้ 1.101 หุ้น

สำหรับการขายทรัพย์สินเส้นใยแก้วนำแสงส่วนเพิ่ม มูลค่ารวม 50,000-70,000 ล้านบาท ให้แก่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) บริษัทจะมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2561 ในวันศุกร์ที่ 11 พ.ค.61 ซึ่งหากได้รับการอนุมัติฯ จะดำเนินการยื่นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่ออนุมัติต่อไป โดยคาดว่าจะกำหนดการขายได้ในช่วงปลายปีนี้ และน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 62

"เรายังตอบเรื่องราคาไม่ได้ เนื่องจากเราต้องรอที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติก่อน และก็จะทำการยื่นไปยังก.ล.ต.จากนั้นในช่วงปลายปีนี้จะสามารถกำหนดการขาย ถึงจะรู้ว่าราคาเท่าไหร่ และเงินที่ได้จะเป็นเท่าไหร่"นายพิชญ์ กล่าว

นอกจากนี้เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจะนำไปใช้ในเรื่องของ FTTh expansion last mile ,และใช้คืนหนี้จากสถาบันทางการเงิน รวมถึงเป็นเงินปันผลพิเศษให้แก่ผู้ถือหุ้น
นายพิชญ์ กล่าวว่า บริษัทยืนยันไม่มีมีแนวคิดเข้าประมูลคลื่ความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) เนื่องจากยังคงมุ่งเน้นในธุรกิจบรอดแบนด์เป็นหลัก โดยหากอนาคตมีการใช้งานในระบบ 5G เกิดขึ้น ก็เชื่อมั่นว่าจากขยายโครงข่ายให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตในระดับความเร็วสูงถึง 10 Gbps จะสามารถรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวได้ โดยบริษัทถือว่าเป็นผู้นำของตลาดทางด้านความเร็วในการให้บริการ และผู้นำโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 33%

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.