Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2554 รสนาข้องใจสัญญา3GCAT-TRUEMOVE H ไม่ผิด กมธ.วุฒิจ่อส่งเทียบเชิญอัยการชี้แจง

รสนาข้องใจสัญญา3GCAT-TRUEMOVE H ไม่ผิด กมธ.วุฒิจ่อส่งเทียบเชิญอัยการชี้แจง


ประเด็นหลัก
ที่ผ่านมาฝ่ายกฎหมายของรัฐสภาเป็นผู้ ดำเนินการตรวจสอบสัญญาดังกล่าวว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ ธุรกิจใหม่อยู่ในนิยามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ อีกทั้งกรณีดังกล่าวได้กระทำอย่างถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ช่วยตีความว่าการเข้าไปทำตลาดแบบขายส่งบริการของบริษัท เรียลมูฟ นั้น สามารถดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 46 หรือไม่ด้วย
ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมายังได้ส่งข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งได้มีความเห็นว่า สัญญาดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักระเบียบการจัดซื้อพัสดุภัณฑ์ของสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี และยังเข้าข่ายผูกขาด ส่วนผลตอบแทนที่ กสท คาดว่าจะได้รับยังเป็นแค่เพียงการคาดการณ์เท่านั้น นอกจากนี้รายละเลียดในสัญญาดังกล่าวอาจจะขัดต่อประกาศของสำนักงาน กสทช. เพราะบริษัท เรียลมูฟ ไม่ใช่ผู้ได้รับใบอนุญาต (ไลเซนส์) จึงไม่มีอำนาจในการตั้งเสาสัญญาณได้ทันที

_________________________________________________________


รสนาข้องใจสัญญา3จีทรู-กสทไม่ผิด กมธ.วุฒิจ่อส่งเทียบเชิญอัยการชี้แจง
กมธ.เล็งส่งหนังสือเชิญอัยการสูงสุด สอบถามข้อข้องใจ หลังชี้สัญญาทรู-กสท ไม่ผิดกฎหมาย
นาง สาวรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กล่าวว่า กลางเดือน ส.ค.นี้ จะเชิญนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด หรือตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำสัญญาโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เอชเอสพีเอ ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากข้องใจว่าเหตุใดถึงมีความเห็นว่าสัญญาดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย และไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน)
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาฝ่ายกฎหมายของรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบสัญญาดังกล่าวว่าเข้า ข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ ธุรกิจใหม่อยู่ในนิยามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ อีกทั้งกรณีดังกล่าวได้กระทำอย่างถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ช่วยตีความว่าการเข้าไปทำตลาดแบบขายส่งบริการของบริษัท เรียลมูฟ นั้น สามารถดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 46 หรือไม่ด้วย
ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมายังได้ส่งข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งได้มีความเห็นว่า สัญญาดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักระเบียบการจัดซื้อพัสดุภัณฑ์ของสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี และยังเข้าข่ายผูกขาด ส่วนผลตอบแทนที่ กสท คาดว่าจะได้รับยังเป็นแค่เพียงการคาดการณ์เท่านั้น นอกจากนี้รายละเลียดในสัญญาดังกล่าวอาจจะขัดต่อประกาศของสำนักงาน กสทช. เพราะบริษัท เรียลมูฟ ไม่ใช่ผู้ได้รับใบอนุญาต (ไลเซนส์) จึงไม่มีอำนาจในการตั้งเสาสัญญาณได้ทันที
“ในอนาคตหากเรียลมูฟ ซึ่งได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 3 จากการบริการขายส่ง และหรือขายต่อบริการ (เอ็มวีเอ็นโอ) เป็นระยะเวลา 10 ปี ในขณะที่สัญญาที่ร่วมกับ กสท มีระยะเวลาถึง 14.5 ปี ความเสี่ยงทั้งหลายก็จะตกมาอยูที่กสท เพียงผู้เดียว ซึ่งก็เท่ากับรัฐอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ด้วย” นางสาวรสนากล่าว
เมื่อวัน ที่ 29 ก.ค. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ได้พิจารณากรณีการดำเนินการตรวจสอบสัญญาการให้บริการ 3 จี เอชเอสพีเอ ระหว่าง กสท และกลุ่มทรู ว่า สามารถดำเนินการโดยไม่ขัดกับกฎหมายเนื่องจาก กสท และทรูต่างเป็นคู่สัญญากัน ดังนั้น การทำธุรกิจร่วมกันเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพราะเป็นการประหยัดทรัพยากร และลดต้นทุน ส่วนเรื่องคลื่นความถี่เป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในการพิจารณา
อัยการสูงสุดกล่าวต่อว่า ส่วนกรณีของการพิจารณาการตีความด้านกฎหมายต่อคำขอเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ 3 จี บนคลื่นความถี่เดิมของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ด้วยการอัพเกรดเทคโนโลยี หรือเอชเอสพีเอนั้น ขณะนี้ยังไม่เห็นหนังสือจาก กสท แต่หากได้รับหนังสือคาดว่าจะสรุปผลการพิจารณาได้ภายใน 2 สัปดาห์.

ไทยโพสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.