Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 ตุลาคม 2555 (เกาะติประมูลDigital TV-Radio) เคาะแล้วมี 48 ช่อง เป็นระบบ HD 5 ช่อง // ออกกฎห้ามทีวีการเมืองประมูลช่องดิจิตอล

(เกาะติประมูลDigital TV-Radio) เคาะแล้วมี 48 ช่อง เป็นระบบ HD 5 ช่อง // ออกกฎห้ามทีวีการเมืองประมูลช่องดิจิตอล
ประเด็นหลัก

ในวันที่ 1 ตุลาคม มีมติสรุปช่องรายการดิจิตอลทีวีของประเทศไทย ก่อนนำเสนอต่อ กสทช.พิจารณา ในวันที่ 10 ตุลาคม โดยแบ่งเป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด


ทั้งนี้ มาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดผู้ประกอบการและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ (ไลเซ่นส์) ต้องไม่ให้บริการเนื้อหาที่ผิดศีลธรรม หมิ่นสถาบัน สร้างความแตกแยกเชิงยุยง ปลุกปั่น ดังนั้น ในช่องรายการระบบดิจิตอลจำนวน 24 ช่องธุรกิจ จะไม่มีช่องใดเป็น ช่องรายการเกี่ยวกับการเมือง


นอกจากนี้ กสท.ได้ปรับเปลี่ยนจำนวนช่องรายการประมูลเหลือ 24 ช่อง จากเดิม 36 ช่องในระบบปกติ (สแตนดาร์ด เดฟิเนชั่น) โดย 12 ช่องที่หายไป คือ ช่องรายการคมชัดสูง (ไฮเดฟินชั่น) จำนวน 4 ช่อง ซึ่งจะเปิดประมูลพร้อมกันในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.56 แบ่งเป็นช่องรายการข่าวสาร สาระที่เป็นประโยชน์สาธารณะ 5 ช่อง ช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว 5 ช่อง ช่องสแตนดาร์ด 10 ช่อง และไฮเดฟฯ 4 ช่อง

นอกจากนี้ กสท.ได้สรุป ค่าธรรมเนียมไลเซ่นส์ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์แล้วในอัตรา 2% จากรายได้ และจะเริ่มมีผลทันทีกับผู้ได้รับไลเซ่นส์ที่จะออกเดือน ต.ค.ทั้งกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ คือ เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม และในระบบดิจิตอลที่จะให้ไลเซ่นส์ได้ก่อน คือ ช่องรายการสาธารณะ และผู้ให้บริการโครงข่ายเพื่อรวบรวมช่องรายการ(มัลติเพลกเซอร์) โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบบิวตี้ คอนเทสต์

กสท. ยืนยันว่าอัตรา 2% ไม่แพงเกินไปตามที่ผู้ประกอบการท้วงติง เพราะผลการศึกษาของ กสท. เห็นว่าควรเก็บที่ 5% แต่อัตรา 2% ก็เป็นอัตราสูงสุดที่ กสท.เห็นว่าควรเรียกเก็บแล้ว






_______________________________

กสท.เคาะแล้ว "ทีวีดิจิตอล" ประเทศไทย มี 48 ช่อง เป็นระบบเอชดี 5 ช่อง

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 1 ตุลาคม มีมติสรุปช่องรายการดิจิตอลทีวีของประเทศไทย ก่อนนำเสนอต่อ กสทช.พิจารณา ในวันที่ 10 ตุลาคม โดยแบ่งเป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด

พ.อ.นทีกล่าวว่า ในส่วนของการให้ใบอนุญาตในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการโครงข่าย และดิจิตอลทีวีในกลุ่มช่องบริการสาธารณะ จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จึงเปิดให้มีการประมูลช่องรายการในกลุ่มธุรกิจ และในกลุ่มช่องบริการชุมชนในเดือนพฤศจิกายนปี 2556 ซึ่ง กสท.ยังได้ให้คณะอนุกรรมการศึกษาในเรื่องของการกำหนดอัตราถือครองช่องรายการ ขั้นต่ำของผู้ประกอบการ โดยจะทำการประเมินจากศักยภาพด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ

“สำหรับ ส่วนราคาตั้งต้นของการประมูล ขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาจากทีมอนุกรรมการ แม้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถรู้ผลเมื่อไร แต่คาดราคาที่ออกมาได้จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากเราต้องการให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนไปใช้ในการสร้างเนื้อหา รายการดีๆ มากกว่าเอามาใช้ลงทุนประมูล ทั้งนี้ในการศึกษาการกำหนดราคาจะใช้วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นเช่นเดียวกับ การคิดมูลค่าในกิจการโทรคมนาคม” พ.อ.นทีกล่าว

พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อหารายการหากผู้ประกอบการจะนำช่องรายการที่มีการแสดง ความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนเสื้อสี หรือกลุ่มพรรคการเมือง ในเบื้องต้น กสท.สามารถอนุญาตให้ทำได้ แต่ห้ามฝ่าฝืน ม.37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าด้วยการไม่เผยแพร่รายการที่ออกอากาศจะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือดูหมิ่น สถาบันกษัตริย์ แสดงออกโดยจงใจก่อให้เกิด การเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มชนใด ลบหลู่ศาสนา ปูชนียบุคคล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ หรือกระทบต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ยั่วยุกามารมณ์หรือลามกอนาจาร รวมทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ

มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349084498&grpid=03&catid=03


______________________________________________________


กสท.ออกกฎห้ามทีวีการเมืองประมูลช่องดิจิตอล,เริ่มเก็บค่าธรรมเนียม2% ต.ค.


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กสท.ได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมประมูลช่องรายการ ธุรกิจในระบบดิจิตอล ที่จะเปิดประมูลในเดือน ก.พ.56 โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ห้ามการเมืองเป็นเจ้าของสื่อ



ทั้ง นี้ มาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดผู้ประกอบการและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ (ไลเซ่นส์) ต้องไม่ให้บริการเนื้อหาที่ผิดศีลธรรม หมิ่นสถาบัน สร้างความแตกแยกเชิงยุยง ปลุกปั่น ดังนั้น ในช่องรายการระบบดิจิตอลจำนวน 24 ช่องธุรกิจ จะไม่มีช่องใดเป็น ช่องรายการเกี่ยวกับการเมือง

นอกจากนี้ กสท.ได้สรุป ค่าธรรมเนียมไลเซ่นส์ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์แล้วในอัตรา 2% จากรายได้ และจะเริ่มมีผลทันทีกับผู้ได้รับไลเซ่นส์ที่จะออกเดือน ต.ค.ทั้งกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ คือ เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม และในระบบดิจิตอลที่จะให้ไลเซ่นส์ได้ก่อน คือ ช่องรายการสาธารณะ และผู้ให้บริการโครงข่ายเพื่อรวบรวมช่องรายการ(มัลติเพลกเซอร์) โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบบิวตี้ คอนเทสต์

กสท. ยืนยันว่าอัตรา 2% ไม่แพงเกินไปตามที่ผู้ประกอบการท้วงติง เพราะผลการศึกษาของ กสท. เห็นว่าควรเก็บที่ 5% แต่อัตรา 2% ก็เป็นอัตราสูงสุดที่ กสท.เห็นว่าควรเรียกเก็บแล้ว

"กสท. ยังจะกำหนดสัดส่วนการเช่าใช้ช่วงเวลาสำหรับผู้ได้รับไลเซ่นส์ช่องรายการว่า ควรเปิดให้เช่าช่วงเวลาเพื่อผลิตคอนเทนต์เป็นจำนวนเท่าไร เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่มีเงินทุนจำนวนมากในการประมูลทั้ง ช่องรายการสามารถผลิตคอนเทนต์เพื่อนำเสนอให้ประชาชนได้ ซึ่งจะช่วยให้คอนเทนต์มีความหลากหลายมากขึ้นด้วย"พ.อ.นที กล่าว

นอก จากนี้ กสท.ได้ปรับเปลี่ยนจำนวนช่องรายการประมูลเหลือ 24 ช่อง จากเดิม 36 ช่องในระบบปกติ (สแตนดาร์ด เดฟิเนชั่น) โดย 12 ช่องที่หายไป คือ ช่องรายการคมชัดสูง (ไฮเดฟินชั่น) จำนวน 4 ช่อง ซึ่งจะเปิดประมูลพร้อมกันในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.56 แบ่งเป็นช่องรายการข่าวสาร สาระที่เป็นประโยชน์สาธารณะ 5 ช่อง ช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว 5 ช่อง ช่องสแตนดาร์ด 10 ช่อง และไฮเดฟฯ 4 ช่อง

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1500287


_______________________________


กสท.เคาะแล้ว "ทีวีดิจิตอล" ประเทศไทย มี 48 ช่อง


กสท.เคาะแล้ว "ทีวีดิจิตอล" ประเทศไทย มี 48 ช่อง เป็นระบบเอชดี 5 ช่อง

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 1 ตุลาคม มีมติสรุปช่องรายการดิจิตอลทีวีของประเทศไทย ก่อนนำเสนอต่อ กสทช.พิจารณา ในวันที่ 10 ตุลาคม โดยแบ่งเป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด

พ.อ.นทีกล่าวว่า ในส่วนของการให้ใบอนุญาตในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการโครงข่าย และดิจิตอลทีวีในกลุ่มช่องบริการสาธารณะ จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จึงเปิดให้มีการประมูลช่องรายการในกลุ่มธุรกิจ และในกลุ่มช่องบริการชุมชนในเดือนพฤศจิกายนปี 2556 ซึ่ง กสท.ยังได้ให้คณะอนุกรรมการศึกษาในเรื่องของการกำหนดอัตราถือครองช่องรายการ ขั้นต่ำของผู้ประกอบการ โดยจะทำการประเมินจากศักยภาพด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ

สำหรับ ส่วนราคาตั้งต้นของการประมูล ขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาจากทีมอนุกรรมการ แม้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถรู้ผลเมื่อไร แต่คาดราคาที่ออกมาได้จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากเราต้องการให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนไปใช้ในการสร้างเนื้อหา รายการดีๆ มากกว่าเอามาใช้ลงทุนประมูล ทั้งนี้ในการศึกษาการกำหนดราคาจะใช้วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นเช่นเดียวกับ การคิดมูลค่าในกิจการโทรคมนาคม

พ.อ.นที กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อหารายการหากผู้ประกอบการจะนำช่องรายการที่มีการแสดง ความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนเสื้อสี หรือกลุ่มพรรคการเมือง ในเบื้องต้น กสท.สามารถอนุญาตให้ทำได้ แต่ห้ามฝ่าฝืน ม.37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าด้วยการไม่เผยแพร่รายการที่ออกอากาศจะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือดูหมิ่น สถาบันกษัตริย์ แสดงออกโดยจงใจก่อให้เกิด การเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มชนใด ลบหลู่ศาสนา ปูชนียบุคคล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ หรือกระทบต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ยั่วยุกามารมณ์หรือลามกอนาจาร รวมทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ

ASTV ผู้จัดการ
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/4309-48


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.