Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 ตุลาคม 2555 กสทช. ร่นเวลาเรียกคืนคลื่น CAT ต้องคืน1800 TRUEMOV หลังหมดสัปทานภายใน3ปี ก่อนนำมาประมูลมือถือ 4จี

กสทช. ร่นเวลาเรียกคืนคลื่น CAT ต้องคืน1800 TRUEMOV หลังหมดสัปทานภายใน3ปี ก่อนนำมาประมูลมือถือ 4จี 
ประเด็นหลัก


สำหรับข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย ระบุเบื้องต้นว่า คลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของชาติตามรัฐธรรมนูญปี 2550 จะต้องกลับมาที่ กสทช. เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีการประมูล ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) อาทิ ความถี่ที่บริษัท ทีโอที ถือครองอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ความถี่ย่าน 2.1 GHz, 2.3 GHz จำนวน 64 MHz และคลื่นความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือ ดีพีซีในเดือน ก.ย.2556นี้ เช่นกัน

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรูพร้อมเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1 GHz โดยเตรียมงบประมาณไว้แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะกลุ่มทรูเคารพกฎกติกาของกสทช.ในการเปิดเผยข้อมูลก่อนการประมูลที่อาจจะ เข้าข่ายการชี้นำราคาการประมูลได้ ถึงแม้ว่ากสทช.จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลในวันที่ 9 ต.ค. 2555 ก็ตาม

ส่วนแผนรองรับหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ ในเดือนก.ย. 2556 นั้น ต้องรอแผนงานรายละเอียดจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม และ กสทช.ซึ่งหากมีการเรียกคืนความถี่ย่านดังกล่าว กลุ่มทรูก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลความถี่ 1800 MHzเพื่อให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง


อย่างไรก็ดี บอร์ด กทค.มีมติในเบื้องต้นว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสท ให้สัมปทานกับ ?บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) และจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 นั้น ได้วางกรอบการเรียกคืนเพื่อนำมาประมูลใหม่ จากเดิมกำหนดให้มีช่วงการเปลี่ยนผ่าน 5 ปี แต่ที่ประชุมบอร์ด กทค.ได้หารือในเบื้องต้นแล้วเห็นสอดคล้องกันว่าใน ระยะเวลา 5 ปีถือว่าช้าเกินไป เพราะในอนาคตจะต้องเร่งจัดสรรให้มีการประมูลคลื่นในย่าน 4 จี แอลทีอี ดังนั้น กรอบการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกิน 2-3ปี












__________________________



'อนุดิษฐ์ VS กสทช.' คาดต้องให้กฤษฎีกาหย่าศึกคืนความถี่

'อนุดิษฐ์' ยืนยันไม่คืนความถี่หลังหมดสัมปทาน แม้คณะอนุกรรมการฯกสทช.ระบุให้คืนก็ตาม คาดให้กฤษฎีกาเป็นคนตีความ ด้าน 'ศุภชัย' ลั่นพร้อมประมูล 3G 2.1GHz ส่วนการแก้ไขสัญญา 3G HSPA กับกสทเสร็จแล้วทั้ง 6 ประเด็น

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวภายหลังเปิดโครงการ ICT Free Wifi by TRUE เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ว่าขอยืนยันว่าแม้คณะอนุกรรมการด้านกฏหมายของกสทช.จะสรุปผลเบื้องต้นให้ คลื่นความถี่ที่สิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทานจะต้องส่งคืนให้สำนักงานกสทช.ทั้ง หมดเพื่อให้นำไปจัดสรรใหม่ก็ตาม แต่ไอซีทีมองว่าเป็นเพียงแค่มติของอนุกรรมการฯเท่านั้น เนื่องจากบอร์ดกสทช.ทั้ง 11 คนยังไม่ให้ความเห็นชอบ แต่ถึงแม้บอร์ดกสทช.จะเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการฯ ไอซีทีก็ยังคงยืนยันว่าสิทธิในการถือครองคลื่นความถี่ยังเป็นของผู้ได้รับ สิทธิเดิมก่อนที่จะมีกสทช.ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย

ดังนั้นหากท้ายที่สุดแล้ว กสทช.ลงมติให้คลื่นความถี่ต้องส่งคืนมายังกสทช.เพื่อเปิดประมูล ไอซีทีก็อาจจะต้องส่งเรื่องดังกล่าวให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ ตีความการถือครองคลื่นความถี่ว่าสิทธิ์ที่แท้จริงควรอยู่ที่ใคร และการกำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่าน ควรจะเป็นระยะเวลากี่ปีถึงจะเหมาะสม

'เบื้องต้นยืนยันว่าต้องมีการหารือกับกสทช.อีกครั้ง ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามคณะกรรมการร่วมที่ไอซีทีและกสทช.ตั้งขึ้นมาร่วมกันว่า จะมีข้อสรุปอย่างไรต่อไป'

ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่าในที่ประชุมกทค.วันที่ 3 ต.ค.ไม่มีวาระเรื่องข้อสรุปคณะอนุกรรมการ เตรียมความพร้อมรับคืนคลื่นความถี่หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดด้านกฏหมาย ถึงแม้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้วว่าภายหลังหมดสัญญาสัมปทานแล้วทุกคลื่นความ ถี่ที่ถือครองอยู่ต้องนำมาให้กสทช.เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ เนื่องจากมีบอร์ดกทค.คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และพล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ติดภารกิจต่างประเทศ

สำหรับความคืบหน้าของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจสำหรับความถี่ 1800 MHz ซึ่งมีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าคณะอนุกรรมการฯ จะสามารถวางกรอบการเยียวยาผลกระทบของประชาชนที่ใช้บริการมือถือย่านความถี่ 1800 MHz ภายในการประชุมครั้งหน้าวันจันทร์ที่ 8 ต.ค.นี้ รวมถึงอาจจะสามารถกำหนดกรอบการเรียกคืนมาประมูลใหม่ และระยะเวลาช่วงเปลี่ยนผ่านได้

'เราคาดว่าแผน 5 ปีคืนคลื่นความถี่นั้น จะต้องแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนต.ค.-พ.ย.ก่อนส่งให้บอร์ดกทค.พิจารณา ส่วนแผนคืนความถี่ 1800 MHz จะต้องรู้ถึงขั้นตอนรายเอียดภายในเดือนธ.ค.นี้ ว่าจะประมูลเมื่อไร แผนเยียวยาผู้บริโภคเป็นอย่างไร'

แหล่งข่าวจากกสทช.ระบุว่าเดิมได้กำหนดให้มีช่วงการเปลี่ยนผ่านอยู่ในระยะ เวลา 5 ปี แต่ที่ประชุมกทค.ได้มีการหารือกันเบื้องต้นแล้วว่า ระยะเวลา 5 ปีถือว่าช้าเกินไป เพราะในอนาคตจะต้องเร่งให้มีการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 4G LTE ดังนั้น กรอบการเปลี่ยนผ่านจึงไม่ควรเกิน 2-3ปี

ก่อนหน้านี้บอร์ดกทค.ได้เตรียมความพร้อมรับคืนความถี่หลังสัญญาสัมปทานสิ้น สุดโดยบอร์ดตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุดคือ 1.คณะอนุกรรมการวางกรอบการคืนคลื่นทุกย่านในอุตสาหกรรมใน 5ปี หลังหมดสัญญาสัมปทานทุกความถี่ อาทิ 900 MHz ,850 MHz 2.คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจในแต่ละคลื่นความถี่

สำหรับข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย ระบุเบื้องต้นว่า คลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของชาติตามรัฐธรรมนูญปี 2550 จะต้องกลับมาที่ กสทช. เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีการประมูล ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) อาทิ ความถี่ที่บริษัท ทีโอที ถือครองอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ความถี่ย่าน 2.1 GHz, 2.3 GHz จำนวน 64 MHz และคลื่นความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือ ดีพีซีในเดือน ก.ย.2556นี้ เช่นกัน

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรูพร้อมเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1 GHz โดยเตรียมงบประมาณไว้แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะกลุ่มทรูเคารพกฎกติกาของกสทช.ในการเปิดเผยข้อมูลก่อนการประมูลที่อาจจะ เข้าข่ายการชี้นำราคาการประมูลได้ ถึงแม้ว่ากสทช.จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลในวันที่ 9 ต.ค. 2555 ก็ตาม

ส่วนแผนรองรับหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ ในเดือนก.ย. 2556 นั้น ต้องรอแผนงานรายละเอียดจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม และ กสทช.ซึ่งหากมีการเรียกคืนความถี่ย่านดังกล่าว กลุ่มทรูก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลความถี่ 1800 MHzเพื่อให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA กับกสท ซึ่งตามนโยบายกสทช.จะต้องแก้ไขให้เสร็จภายในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ล่าสุดได้ทำการแก้ไขสัญญาดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยและส่งให้ กสท แล้ว ส่วนกรณีการชำระค่าปรับที่ กสท ค้างจ่ายค่าเลขหมายโทรศัพท์ให้กับกสทช.ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย 2555 จำนวน 6 ล้านเลขหมาย เป็นเงิน 45 ล้านบาทนั้นกลุ่มทรูได้แจ้ง กสท เพื่อให้เป็นผู้ชำระค่าเลขหมายที่ค้างจ่ายทั้งหมด แล้วซึ่งคาดว่าหนังสือจะไปถึง กสทช. ภายในสัปดาห์นี้

สำหรับโครงการ ICT Free Wifi by TRUE นั้นเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในที่สาธารณะฟรี (Free Public WiFi) ของไอซีที ซึ่งปัจจุบันมีแล้ว 120,000 จุดทั่วประเทศแบ่งเป็นของทีโอที 20,000 จุด เอไอเอส 50,000 จุด และกลุ่มทรู อีก 50,000 จุด โดยไอซีทีตั้งเป้าขยายจุดไวไฟ ทั่วประเทศ ภายในสิ้นปีนี้ให้มีมากกว่า 100,000 จุดทั่วประเทศ ด้วยความเร็ว 2 Mbps โดยจะเน้นพื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ และสถานศึกษา และในไตรมาส 2/2556 เพิ่มเป็น 250,000 จุด และภายในปี 2558 จะครอบคลุมทั่วประเทศ จำนวน 400,000 จุด


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000121493

___________________________________________


กสทช.ร่นเวลาเรียกคืนคลื่น กสท.ต้องคืน1800ไม่เกิน3ปี ก่อนนำมาประมูลมือถือ 4จี


พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค.เมื่อวันที่3 ตุลาคม 2555 ยังไม่สามารถลงมติอนุมัติแผนการเรียกคืนคลื่นความถี่ ?เนื่องจากกรรมการคือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร เดินทางไปต่างประเทศ

ก่อน หน้านี้ คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมด้านกฏหมาย ได้สรุปผลเบื้องต้นไปแล้ว ว่า หลังจากสัญญาสัมปทาน ที่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ทำไว้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สิ้นสุดลงแล้วจะต้องส่งคืนให้ สำนักงานกสทช.เพื่อจัดสรรใหม่

อย่างไรก็ดี บอร์ด กทค.มีมติในเบื้องต้นว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสท ให้สัมปทานกับ ?บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) และจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 นั้น ได้วางกรอบการเรียกคืนเพื่อนำมาประมูลใหม่ จากเดิมกำหนดให้มีช่วงการเปลี่ยนผ่าน 5 ปี แต่ที่ประชุมบอร์ด กทค.ได้หารือในเบื้องต้นแล้วเห็นสอดคล้องกันว่าใน ระยะเวลา 5 ปีถือว่าช้าเกินไป เพราะในอนาคตจะต้องเร่งจัดสรรให้มีการประมูลคลื่นในย่าน 4 จี แอลทีอี ดังนั้น กรอบการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกิน 2-3ปี

รายงาน ข่าวแจ้งว่า ในการเรียกคืนคลื่นความถี่ หลายฝ่ายกังวลว่าจะกระทบต่อผู้ใช้บริการในปัจจุบัน หลังจากสัญญาสัมปทาน ทรูมูฟ ที่มีลูกค้าอยู่ในระบบจำนวน 17 ล้านราย และ บริษัทดิจิตอลโฟน(ดีพีซี)มีลูกค้าจำนวน 80,000 ราย แต่ กทค.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ด้วยการวางแผนรองรับไว้บ้างแล้ว? เช่น การแต่ตั้งคณะอนุกรรมการฯขึ้นมาหลายชุด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะเกิดขึ้น คาดว่าแผนจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2555

นอกจากนี้ยังมีการ ตั้งคณะอนุกรรมการสำหรับวางแผนการบริหารคลื่นความถี่ในอนาคต (สเปคตรัม เอ้าท์ลุค) ซึ่งจะเป็นโรดแมพ ซึ่งเป็นแผนในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ ว่า จะมีคลื่นใดที่จะหมดสัมปทานลงบ้าง อาทิ คลื่นของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ? เอไอเอส ที่ทำไว้กับ ทีโอที ,คลื่นของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ทำไว้กับ กสท

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1502213
 

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.