Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มกราคม 2555 CAT กังวลจัด ( เพราะจะรู้ผลไม่เกิน 60 วัน กลัวมาตรการทางปกครองรอง ) ขอ กสทช. ปรับแก้สัญญา3Gกับ TRUE อีก 30 วัน

CAT กังวลจัด ( เพราะจะรู้ผลไม่เกิน 60 วัน กลัวมาตรการทางปกครองรอง ) ขอ กสทช. ปรับแก้สัญญา3Gกับ TRUE อีก 30 วัน


ประเด็นหลัก

ล่าสุดจากความไม่ชัดเจนมาตรา 46 ทำให้ กสท ขอขยายเวลาในการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์ 3G HSPA กับกลุ่มทรู ออกไปอีก 30 วันซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 7 ม.ค. 55 โดยกสทช. มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามมติของบอร์ดชุดเก่าซึ่งได้มอบหมายทางสำนักงานก สทช.เป็นผู้ดำเนินงานติดตามการแก้ไขสัญญาระหว่างกสท กับทรูอย่างใกล้ชิดแล้ว ซึ่งหากในกรณีที่กสท ไม่แก้ไขสัญญาตามคำสั่งกสทช.ก็อาจจะมีมาตรการทางปกครองรองรับอยู่ เช่น การบังคับให้แก้ไขตามคำสั่งศาล เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบของสำนักงานกสทช.ว่าผลสรุปสุดท้ายจะออก มาอย่างไร


***เอกชนบ่นอินเตอร์ฯโรมมิ่ง

นายสุทธิพล กล่าวว่า ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในตลาดมีความเห็นเรื่องกฎกติกาที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ หลายเรื่อง เช่นเรื่องอินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่ง (International Roaming) ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายมีความคิดเห็นตรงกันเนื่องจากเมื่อผู้ประกอบการไทย ทำสัญญากับผู้ประกอบการต่างประเทศ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา มติเดิมของบอร์ดชุดเก่าระบุไว้อย่างชัดเจนว่าให้ยึดหลักกฎหมายในประเทศไทย เท่านั้น ซึ่งต่างจากบริษัทเอกชนในต่างประเทศที่เมื่อทำสัญญาจะมีรูปแบบมาตราฐาน โดยระบุให้ใช้กฎหมายประเทศใดประเทศหนึ่งที่ไม่ใช่ประเทศไทย ส่งผลให้บริษัทไทยไม่มีอำนาจในการต่อรองในที่สุด



_________________________________________________________

'สุทธิพล' เร่งบูรณาการกฏกติกา กสทช.

'กสทช.สุทธิ พล' เดินหน้าบูรณาการกฎกติกาที่ไม่ชัดเจนทุกอย่างให้เสร็จภายใน 2 ปี ส่วนกรณีความไม่ชัดเจนมาตรา 46 ยันไม่เกิน 60 วันรู้ผล เชือดสัญญาทรู/กสทหรือไม่ ด้านเอกชนโวยกฎเกณฑ์โรมมิ่งไม่เอื้อการทำธุรกิจ

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าประธานกสทช.ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการบูรณาการ และปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทรคมนาคมโดยตั้งเป้าจะสามารถบูรณาการกฎ กติกาต่างๆให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี

ทั้งนี้คาดว่าในการประชุมคณะอนุกก.ครั้งแรกในวันที่ 9 ม.ค.ที่จะถึงนี้ จะเป็นการสรุปกฎกติกากิจการโทรคมนาคมว่ามีอะไรบ้าง, มีฐานอำนาจจากกฎหมายอะไร แล้วนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้คณะอนุกก.เห็นภาพ หลังจากนั้นจะมาดูในข้อขัดข้อง ว่ามีกฎกติกาอะไรที่มากเกินไป, ที่ซ้ำซ้อนกัน และมีกฎกติกาอะไรที่ยังขาดอยู่ รวมไปถึงที่มีอยู่แล้วแต่ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ หรืออาจไม่ต้องปรับปรุงกฎหมาย แต่ปรับปรุงสภาพการบังคับใช้ให้เหมาะสมมากขึ้น

'กฎกติกาบางเรื่องเกิดผลไม่คาดคิด ซึ่งเราต้องปรับปรุง เพราะบางเรื่องเป็นการเพิ่มภาระโดยไม่จำเป็น ขณะที่บางเรื่องไม่ใช่เป็นเพราะกฎกติกาที่ออกมา แต่เป็นเรื่องของการบังคับใช้มากกว่า เช่นมีประกาศออก จากนั้นบอร์ดชุดที่แล้วก็ออกเป็นมติแล้วสั่งให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม ประกาศที่ออกมา'

***เอกชนบ่นอินเตอร์ฯโรมมิ่ง

นายสุทธิพล กล่าวว่า ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในตลาดมีความเห็นเรื่องกฎกติกาที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ หลายเรื่อง เช่นเรื่องอินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่ง (International Roaming) ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายมีความคิดเห็นตรงกันเนื่องจากเมื่อผู้ประกอบการไทย ทำสัญญากับผู้ประกอบการต่างประเทศ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา มติเดิมของบอร์ดชุดเก่าระบุไว้อย่างชัดเจนว่าให้ยึดหลักกฎหมายในประเทศไทย เท่านั้น ซึ่งต่างจากบริษัทเอกชนในต่างประเทศที่เมื่อทำสัญญาจะมีรูปแบบมาตราฐาน โดยระบุให้ใช้กฎหมายประเทศใดประเทศหนึ่งที่ไม่ใช่ประเทศไทย ส่งผลให้บริษัทไทยไม่มีอำนาจในการต่อรองในที่สุด

ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่าไม่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ในตัวประกาศที่มีปัญหา เนื่องจากปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ตัวมติบังคับใช้มากกว่าโดยการปรับให้มีผล หรือยกเลิกประกาศนั้น แต่ต้องดูว่ามีผลกระทบต่อผู้บริโภค และทำให้ประเทศชาติเสียหายหรือไม่

หลังจากนั้นนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการ และปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทรคมนาคม ก่อนจะนำเสนอในที่ประชุมกทค.ต่อไป ซึ่งไม่ต้องทำการประชาพิจารณ์ (Public hearing) แต่อย่างใด

อีกทั้งในเรื่องแบบสัญญามาตราฐาน เนื่องจากเดิมผู้ประกอบการจะต้องส่งสัญญามาให้บอร์ดกสทช.เห็นชอบก่อนที่จะมี การทำสัญญาใดๆ ทำให้เสียเวลา ขณะที่หากมีสัญญามาตรฐานเกิดขึ้น ผู้บริโภคจะได้มีโอกาสได้เห็นแบบของสัญญาที่เป็นแบบมาตราฐานก่อนจึงมีความ โปร่งใส นอกจากนี้ยังมีเรื่องการร้องเรียนผู้ประกอบการ ซึ่งกำหนดเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการในการแก้ไขข้อขัดข้องที่เกี่ยวกับการ ให้บริการ และจัดกระบวนการต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

***ไม่เกิน 60 วันรู้ผลกสท/ทรู

ขณะที่ความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะอนุกก.เพื่อศึกษามาตรา 46 นั้นรอเพียงประธานกสทช.ลงนามแต่งตั้งเท่านั้น โดยมีพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และนายสุทธิพล ทวีชัยการ เป็นที่ปรึกษา นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ เป็นประธานอนุกก.ส่วนกรรมการประกอบด้วยศาสตราจารย์ศักดา ธนิตกุล, นายกิตติน อุดมเกียรติ, นายสงขลา วิชัยขัทคะ, นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์, นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทับทิม อ่างแก้ว, ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์, นายปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง, นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายประเสริฐ อภิปุญญา อนุกรรมการและเลขานุการ, นายพากเพียร สุนทรสิต ผู้ช่วยเลขานุการ ,นางสุพินญา จำปี ผู้ช่วยเลขานุการ,นางสาวกอกนก กิจบาลจ่าย ผู้ช่วยเลขานุการ ขณะที่ฝ่ายเลขานุการมีนางสาวพรพักตร์ สถิตเวโรจน์, นายโสรัจจ์ ศรีพุฒ และนางสาวณัฐจิรา ขันทอง

นายสุทธิพลกล่าวว่า จะยึดหลักบอร์ดชุดที่แล้วที่มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยมีข้อสรุปในส่วนของ ตัวกฎหมาย และในด้านเทคนิคเอาไว้แล้ว เพียงแต่ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร โดยจะนำหลักการดังกล่าวมาต่อยอด รวมไปถึงได้เชิญคณะทำงานชุดเก่าเข้ามาร่วมในคณะอนุกก.ด้วยเช่นกัน

สำหรับเนื้อหาในมาตรา 46 ที่มีปัญหามานานเนื่องจากในตัวกฎหมายระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นเฉพาะตัวของผู้ได้รับใบ อนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเองจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือ ยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้

โดยเนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นยังมีหลายเรื่องที่ยังไม่ชัดเจนใน เนื้อหาของกฎหมาย จึงทำให้มีหลายกรณีที่เข้าข่าย และหลายประเด็นที่กำลังมีการดำเนินการให้แก้ไขสัญญาหากขัดต่อมาตรา 46 โดยเฉพาะกรณีการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม และกลุ่ม ทรู รวมถึงการเข้าซื้อกิจการฮัทช์ของกลุ่มทรู รวมไปถึงขอบเขตการเปิดให้มีการเช่าใช้โครงข่ายเพื่อทำการตลาด หรือ MVNO ว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด

ทั้งนี้บอร์ดกสทช.ได้กำหนดระยะเวลาทำงานให้อนุกก.มาตรา 46 ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังจากประธานกสทช.แจ้งคำสั่งให้ประธานคณะอนุกก. แต่หากดำเนินการไม่เสร็จสามารถขอขยายเวลาได้ 2 ครั้งๆละไม่เกิน 15 วัน

'บอร์ดชุดนี้ต้องการให้มาตรา 46 มีความชัดเจน เนื่องจากบอร์ดชุดที่ผ่านมายังตีความกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่ละเอียดพอ จึงทำให้เกิดความสับสนในการดำเนินธุรกิจของเอกชน รวมไปถึงการนำกฎหมายในมาตรา 46 ออกมาใช้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น'

ล่าสุดจากความไม่ชัดเจนมาตรา 46 ทำให้ กสท ขอขยายเวลาในการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์ 3G HSPA กับกลุ่มทรู ออกไปอีก 30 วันซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 7 ม.ค. 55 โดยกสทช. มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามมติของบอร์ดชุดเก่าซึ่งได้มอบหมายทางสำนักงานก สทช.เป็นผู้ดำเนินงานติดตามการแก้ไขสัญญาระหว่างกสท กับทรูอย่างใกล้ชิดแล้ว ซึ่งหากในกรณีที่กสท ไม่แก้ไขสัญญาตามคำสั่งกสทช.ก็อาจจะมีมาตรการทางปกครองรองรับอยู่ เช่น การบังคับให้แก้ไขตามคำสั่งศาล เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบของสำนักงานกสทช.ว่าผลสรุปสุดท้ายจะออก มาอย่างไร

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000001434

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.