Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 สิงหาคม 2554 CAT 'จิรายุทธ' เปิดใจ ไม่กังวลรัฐบาล'ปู1' +++ พร้อมส่ง MY แข่งแบบไม่สร้างความหวือหวาหรือไปแข่งกับเอกชน

CAT 'จิรายุทธ' เปิดใจ ไม่กังวลรัฐบาล'ปู1' +++ พร้อมส่ง MY แข่งแบบไม่สร้างความหวือหวาหรือไปแข่งกับเอกชน

CAT 'จิรายุทธ' เปิดใจ ไม่กังวลรัฐบาล'ปู1' +++ พร้อมส่ง MY ไม่แข่งแบบไม่สร้างความหวือหวาหรือไปแข่งกับเอกชน
ประเด็นหลัก

เปลี่ยนรัฐบาลใหม่กังวลไหม
ตอน นี้ ทรู ก็โล่งไปหลายเรื่องสำนักงานอัยการสูงสุดมีจดหมายออกมายืนยันเรื่องความถูก ต้องทางกฎหมาย เรื่องการตั้งเครื่องอุปกรณ์สื่อสารทั้งหลาย กสทช.(สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) อนุมัติไปแล้วเพราะฉะนั้นแต่ละจุดที่เคยรอความชัดเจนก็เคลียร์หมดแล้วก็น่า จะชี้แจงได้

แผนธุรกิจ
เราตั้งเป้ารีเซลเลอร์ขายมือถือ MY ถึงสิ้นปี 40,000 เลขหมาย รายได้ประมาณ 140 ล้านบาท แผนเดิมประมาณ 1,000 สถานีเพิ่มเป็น 5,000 ไซด์ โครงข่ายแบ่งเป็นสองส่วน คือ เสาส่งสัญญาณ ประมาณ 1,600 สถานี ส่วนระบบทรานส์มิสชัน กสท ทำหน้าที่ลงทุนเอง และบางส่วนลงทุนเองทั้งหมดซึ่งเสาอุปกรณ์ในการรับ-ส่งสัญญาณ สามารถต่อยอดธุรกิจอื่น ๆ ได้อีก ส่วน ทรานส์มิสชัน ก็นำไปให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

สำหรับ กสท ที่ทำเงื่อนไขสัญญาแบบนี้เป็นการปิดความเสี่ยงเพราะเรามี Capacity ในปีนี้มีประมาณ 5,000 สถานี รองรับเลขหมายประมาณไม่เกิน 5 ล้านเลขหมาย สิ่งที่เราโฟกัสเราไม่แข่งกับ เอไอเอส -ดีแทค และ ทรูมูฟ โดย กสท ต้องการเน้นลูกค้าองค์กรและบันเดิล ดังนั้นประมาณการของ กสท ไม่สร้างความหวือหวาหรือไปแข่งกับเอกชน

_______________________________________________________

'จิรายุทธ' เปิดใจ ไม่กังวลรัฐบาล'ปู1'

จิ รายุทธ รุ่งศรีทองแม้ภาพตอนนี้การทำสัญญาระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับ กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นฯ ราบรื่นไปแล้วก็ตามหลังสำนักงานอัยการสูงสุดส่งหนังสือมายัง กสท ว่าการทำสัญญาของทั้งสองฝ่ายถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากทั้งสองฝ่ายเซ็นสัญญาตกลงอย่างเป็นทางการโดย กสทให้สิทธิ์ ทรู ทำการตลาดและขายในลักษณะโฮลเซลเลอร์และรีเทลเลอร์เป็นระยะเวลา 14.5 ปี และให้สิทธิ์ขยายเครือข่ายเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ โดย กสท ทำหน้าที่ในการเช่าเครือข่ายทดแทน

ถูกตั้งคำถามมาอย่างต่อเนื่อง
แต่ อย่างไรก็ตามทำให้หลายฝ่ายยังอดคิดไม่ได้เช่นเดียวกันว่า? เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลใหม่จะมีการหยิบยกประเด็นหรือนำช่องโหว่ทางด้าน กฎหมายมาหยิบยกเป็นประเด็นหรือไม่นั้น อ่านบทสัมภาษณ์ของ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้จากบรรทัดถัดจากนี้!


เตรียมตัวกับรัฐมนตรีคนใหม่อย่างไร
ไม่ เห็นต้องเตรียมตัวอะไรเลย เพราะที่ผ่านมาได้สัมผัสรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร หรือ ไอซีที มาแล้วตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน ซึ่งผ่านรัฐมนตรีทั้งหมดจำนวน 6 คน และคนใหม่ที่จะมาเป็นคนที่ 7 เชื่อว่าไม่ต้องเตรียมตัวเรื่องอะไรและพร้อมอธิบายทุกประเด็น


เปลี่ยนรัฐบาลใหม่กังวลไหม
ตอน นี้ ทรู ก็โล่งไปหลายเรื่องสำนักงานอัยการสูงสุดมีจดหมายออกมายืนยันเรื่องความถูก ต้องทางกฎหมาย เรื่องการตั้งเครื่องอุปกรณ์สื่อสารทั้งหลาย กสทช.(สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) อนุมัติไปแล้วเพราะฉะนั้นแต่ละจุดที่เคยรอความชัดเจนก็เคลียร์หมดแล้วก็น่า จะชี้แจงได้


แต่เพื่อไทยอภิปรายเรื่องซื้อ "ฮัทช์"
ต้องยอม รับว่าในจังหวะนั้น (หมายถึง:พรรคเพื่อไทย) ต้องอภิปรายเพราะความชัดเจนไม่มีคำยืนยันจากสำนักงานอัยการสูงสุด และ กสทช. ก็ไม่ได้อนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์เวลานั้นยังเป็นประเด็นที่อภิปรายแล้วแต่ตอน นี้วาระต่างกันและทุกเรื่องเริ่มมีความชัดเจนขึ้นมาหลายเรื่องแล้ว


คิดว่ามีประเด็นไหนอ่อนไหว
ไม่ มีหรอกครับ...ค่อนข้างมั่นใจเพราะเราดูดีล (การเซ็นสัญญากับทรูทำโฮลเซลเลอร์ และ รีเทลเลอร์) นี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม และ กว่าจะเซ็นสัญญาก็สิ้นเดือนมกราคม 2554 และคณะกรรมการก็พิจารณาหลายรอบ และมีคณะกรรมการกลั่นกรองไม่ต้องพูดถึงมีการพิจารณาถึง 10 ครั้ง และยังมีคำยืนยันจากสำนักงานอัยการสูงสุด และ กสทช.อนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เอชเอสพีเอ


ความเสี่ยงตอนนี้มีไหม
เรา ได้รับหนังสือจากสำนักงานอัยการสูงสุดว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผมเชื่อว่าเรื่องนี้เราสามารถชี้แจงได้ทั้งหมด ตอนนี้ใครจะตรวจสอบเชื่อว่าเราสามารถชี้แจงได้ทั้งหมด ส่วนเรื่องเอื้อเอกชนหรือไม่นั้นผมว่าการทำสัญญาในครั้งนี้ไม่ได้เอื้อ ประโยชน์แต่จะทำให้ กสท อยู่รอดได้


ทำไมยกเลิกซื้อฮัทช์
เรื่อง ฮัทช์ เป็นเรื่องที่ยากที่สุดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปด้วยถ้าเราซื้อเองในตอนนั้น มาดูตอนขณะนี้ในสิ่งที่ทำไปดีกว่าไปซื้ออยู่ดีเมื่อประเมินแล้ว ประกอบกับเขา (ฮัทช์) ไม่ได้ขายลดลงไปกว่านี้และราคาที่ขายให้กับทรูก็ไม่ใช่ราคาต่ำ คือ เป็นราคาเดียวที่เราเสนอซื้อ คือ 210 ล้านเหรียญ เพียงแต่อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวลดลงในแง่เงินที่ "ฮัทช์" ได้รับจากการขาย คือ 210 ล้านเหรียญ ถ้ามาเทียบกับเราทำเองก็ไม่คุ้มเพราะลูกค้า "ฮัทช์" ลดลงและต้องมาปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี


ถ้าซื้อเองทำธุรกิจได้มากกว่านี้
ก็ เกิดปัญหาอีก คือ ต้องลงทุนใหม่ ต้องตั้งงบประมาณ และต้องส่งเรื่องไปสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และทำการประมูล ซึ่งการประมูลในโครงการใหญ่แต่ละครั้งมีปัญหากันอีกทำให้สะดุด ถ้าเราซื้อมาตอนนี้เราก็ไม่ได้ทำอะไร ต้องนำเรื่องส่ง ครม. (คณะรัฐมนตรี) เพื่อขอทำการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี


แผนธุรกิจ
เราตั้งเป้ารี เซลเลอร์ขายมือถือ MY ถึงสิ้นปี 40,000 เลขหมาย รายได้ประมาณ 140 ล้านบาท แผนเดิมประมาณ 1,000 สถานีเพิ่มเป็น 5,000 ไซด์ โครงข่ายแบ่งเป็นสองส่วน คือ เสาส่งสัญญาณ ประมาณ 1,600 สถานี ส่วนระบบทรานส์มิสชัน กสท ทำหน้าที่ลงทุนเอง และบางส่วนลงทุนเองทั้งหมดซึ่งเสาอุปกรณ์ในการรับ-ส่งสัญญาณ สามารถต่อยอดธุรกิจอื่น ๆ ได้อีก ส่วน ทรานส์มิสชัน ก็นำไปให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง


3 จีธุรกิจแคทคิดว่าสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์
ตอน นี้เราเปิดสัญญาแล็วแต่ช่วงแรกๆ เป็นลักษณะให้ทดลองใช้เพราะมีพื้นที่จำกัดประมาณต้นเดือนสิงหาคม ตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นไปตามแผนและ กสทช.อนุมัติให้นำเข้าอุปกรณ์เครือข่ายในช่วงจังหวะนี้พอดี ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ กสท ตอนนี้เราเริ่มเดินแล้ว


วัดผลเมื่อไหร่
ต้องดูผลประกอบการอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วแต่ตอนนี้เพิ่งเริ่มยังไม่ได้เก็บค่า
ใช้ จ่ายต้องรอผล 6 เดือนหรือ 1 ปี จะเห็นผลประกอบการ เพียงแต่ว่ายังไม่ค่อยกังวลใจมากเท่าไหร่นัก เพราะในเงื่อนไขสัญญา เอกชนที่เข้ามารับซื้อ (Capacity) ไปต้องมารับซื้อทั้งหมดเลยทำให้บริษัทมีรายได้แน่นอน


รีเซลเลอร์มีใครอีก
สาย การบินไทยแอร์เอเชีย และ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) กำลังทำเรื่องเข้ามา และ แอร์เอเชีย ได้เข้ามาเจรจาแล้วบางส่วน ส่วนสัญญาต้องเป็นเงื่อนไขแบบเดียวกับของทรู และการขายส่งในปีนี้เราคาดการณ์ลำบากเป็นช่วงขยายเครือข่ายและเราคิดว่ามี เอกชนบางรายอาจจะรอในช่วงที่ กสท ขยายเครือข่าย และสัญญาของ กสท เปิดกว้างเอกชนรายใดเคยได้รับสัญญาทำตลาดและขายให้กับ ทีโอที ก็ยังสามารถยื่นขอทำการขายส่งมือถือ MY ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเอกชนที่เซ็นสัญญาต้องอยู่ในเงื่อนไข 14.5 ปี เพราะเราต้องการให้สัญญาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับ กสท ที่ทำเงื่อนไขสัญญาแบบนี้เป็นการปิดความเสี่ยงเพราะเรามี Capacity ในปีนี้มีประมาณ 5,000 สถานี รองรับเลขหมายประมาณไม่เกิน 5 ล้านเลขหมาย สิ่งที่เราโฟกัสเราไม่แข่งกับ เอไอเอส -ดีแทค และ ทรูมูฟ โดย กสท ต้องการเน้นลูกค้าองค์กรและบันเดิล ดังนั้นประมาณการของ กสท ไม่สร้างความหวือหวาหรือไปแข่งกับเอกชน


หลักการทำตลาดค้าปลีกและค้าส่ง
ประเด็น แรก คือ การแยกระหว่างขายส่งกับค้าปลีก เพราะฉะนั้นต้นทุนขายปลีกที่ให้กับเอกชนต้องเท่ากันทั้งหมดเพราะต้องมี เงื่อนไขชัดเจนตามกติกา ส่วนอัตราค่าบริการ My ที่ถูกกว่าผู้ประกอบการรายอื่นเรายอมแบกรับต้นทุนเป็นไปตามหลักการตลาดราย เล็กก็ต้องเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่


แผนรองรับสัมปทานหมดอายุ
ขณะ นี้คณะกรรมการบอร์ด ได้เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรองรับกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานโทรศัพท์ เคลื่อนที่โดยให้ กสท เสนอขายคืนอุปกรณ์ 2 จี ยกเว้นเสาโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณให้กับผู้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในสังกัดทั้ง 3 ราย คือ ดีแทค,ทรูมูฟ และ ดีพีซี ซึ่ง ทรูมูฟ ได้แจ้งความจำนงเข้ามาแล้ว เพราะสัญญาสัมปทานของ ทรูมูฟ นั้นสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2556 ส่วน ดีพีซี สัญญาใกล้หมดอายุเช่นเดียวกันแต่ยังไม่ยื่นข้อเสนอเข้ามา ส่วน ดีแทค ยังไม่ได้ยื่นความจำนงเพราะสัญญาสัมปทานเหลือระยะเวลาอีก 8 ปี โดยราคาขายคืนจะขึ้นอยู่กับการประเมินในช่วงเวลานั้น ๆ ส่วนสาเหตุที่ต้องคืนอุปกรณ์เป็นเพราะเมื่อสัญญาสิ้นสุด กสท ต้องคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช. เพื่อนำคลื่นความถี่ออกไปประมูลใหม่ ดังนั้นการเก็บอุปกรณ์ไว้จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนเอกชนที่ต้องการซื้อกลับคืนนั้นน่าจะเป็นเพราะมั่นใจว่าจะประมูลคลื่น กลับมาใช้ต่อได้

ฐานเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.