Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กรกฎาคม 2554 จุติ ICT ที่ยืนยันตลอดว่า สัญญา 3G CAT-TRUE โปร่งใส กลับยังไม่กล้าลงนามอนุมัติ

จุติ ICT ที่ยืนยันตลอดว่า สัญญา 3G CAT-TRUE โปร่งใส กลับยังไม่กล้าลงนามอนุมัติ

จุติ ICT ที่ยืนยันตลอดว่า สัญญา 3G CAT-TRUE โปร่งใส กลับยังไม่กล้าลงนามอนุมัติ
ประเด็นหลัก

แหล่ง ข่าว ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หลัง สศช.ส่งเรื่องกลับมาให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้ว ทางรัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ที่ยืนยันตลอดว่า สัญญา 3จี กสท ทรู โปร่งใส กลับยังไม่กล้าลงนามอนุมัติ
_________________________________________________________



ไอซีทีรื้อสัญญา3จีกสท-ทรู โยนรัฐบาลใหม่ตัดสิน


ไอซีทีเสนอทบทวนสัญญา3จี กสท-ทรู ระบุโดนจับตามองหนัก เล็งส่งให้รัฐบาลใหม่พิจารณาอีกรอบ พร้อมทาบไทยคมหาทางออกรักษาวงโคจร 120 องศา

นาย ธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ไอซีทีได้เตรียมเสนอให้ทบทวนสัญญาธุรกิจรูปแบบใหม่ 3จีเอชเอสพีเอ ที่บมจ.กสท โทรคมนาคม ทำร่วมกับ บมจ.กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ให้พิจารณา เนื่องจาก ยอมรับว่าที่ผ่านมาโครงการนี้ ถูกสังคมจับตาถึงความไม่โปร่งใสมาก ยังขณะนี้ก็ไม่ชัดเจนว่าโครงการผ่านความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่

ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ที่ผ่านมากระทรวงไอซีที และสำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ยังไม่สามารถอนุมัติโครงการให้ได้ ในส่วนของมูลค่าการลงทุน 12,000 ล้านบาท และไอซีทีก็เพิ่งมีจดหมายไปถึงกสท อีกรอบเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ชี้แจงสัญญาที่เกิดขึ้นตามที่นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เคยมาหารือถึงสัญญาดังกล่าวร่วมกับนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที

ชี้สัญญา 3จี กสท-ทรูยังมีข้อสงสัย
เขา กล่าวว่า โครงการ 3จีเอชเอสพีเอระหว่างกสท และกลุ่มทรูฯ อยู่ในความสนใจของประชาชน ทางกระทรวงในฐานะดูแลเชิงนโยบาย จำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีหลายประเด็นยังเกิดความสงสัยในการปฎิบัติ และข้อกฎหมาย จึงจำเป็นต้องให้กสทชี้แจง และให้คำตอบกับรัฐบาลชุดใหม่ได้ ทั้งในประเด็นว่าสัญญาขัดต่อมาตรา 46 ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ.กสทช.) หรือไม่ และเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของ รัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน)

"ยังมีเรื่องความคุ้มค่าเงินลงทุน ผลตอบแทนของรัฐ การบริหารคลื่นความถี่ การให้บริการขายต่อขายส่ง ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้ส่งหนังสือขอให้กสท.ตอบในเร็วๆ นี้ และขอหารือปลัดฯ ตั้งคณะทำงาน 1 ชุดเพื่อสรุปรายละเอียดเสนอต่อรัฐมนตรีใหม่ที่เข้ามาทำหน้าที่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในสัญญาโดยเร็ว"

ขณะที่ แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า หากกระทรวงไอซีทีส่งไม้ต่อเรื่องสัญญา3จี ทรู กสท ให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ดูแล คาดว่า ครม.จะต้องส่งเรื่องให้กฏษฏีกาตีความว่า สัญญาฉบับนี้ เข้าข่าย พ.ร.บ ร่วมทุน และขัดต่อ พ.ร.บ การจัดสรรคลื่นความถี่ฉบับใหม่หรือไม่ เพราะสัญญาฉบับดังกล่าวยังมีปัญหาเรื่องข้อกฏหมายที่ยังไม่ชัดเจน และพรรคเพื่อไทยเอง ก็ได้นำประเด็นนี้มาอภิปรายในสภา หากมีการอนุมัติอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง เหมือนปัญหาการจัดซื้อรถดับเพลิง กทม.ที่ยังเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้

แหล่งข่าว ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หลัง สศช.ส่งเรื่องกลับมาให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้ว ทางรัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ที่ยืนยันตลอดว่า สัญญา 3จี กสท ทรู โปร่งใส กลับยังไม่กล้าลงนามอนุมัติ

สำหรับเรื่องเร่งด่วนที่สุด ของผู้จะมาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีไอซีที คือ การหาดาวเทียมดวงใหม่ไปอยู่ในวงโคจรในตำแหน่งที่ 120 องศาตะวันออก เพราะหากไม่ทันดือนพ.ย.นี้ มีโอกาสที่ไทยจะเสียสิทธิ์ไป 1ตำแหน่งทันที ซึ่งหากรอรอคอยผลสรุปของคณะทำงาน กสท ขณะนี้ที่เพิ่งอยู่แค่ขั้นตอนส่งทีมงานไปเจรจากับประเทศต่างๆเพื่อหาดาว เทียมดวงใหม่ ก็จะแก้ปัญหาไม่ทันการ ดังนั้น จึงเห็นว่าควรให้บมจ.ไทยคม เข้ามาช่วยวางแนวทางแก้ปัญหา เพราะเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญด้านดาวเทียมมากที่สุด

หนุน รมว.ไอซีทีเร่งขับเคลื่อนโยบาย
เขา กล่าวว่า รมว.ไอซีทีคนใหม่ ต้องเร่งให้เกิดโครงการโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ที่ได้กำหนดไว้เป็นนโยบายแห่งชาติ ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี 3 จี ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าถึงและเท่าเทียมกัน รวมถึงระบบเตือนภัยที่ทันสมัยและเป็นเรื่องสำคัญที่สหภาพโทรคมนาคม หรือไอทียู ให้ความสำคัญ ส่วนนโยบายแจกแท็บเล็ตพีซี ให้เด็กป.1 นั้น ขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทยว่าจะวางแนวทางดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้อย่างไร

ส่วน การทำงานร่วมกันระหว่างไอซีที และกรรมการกสทช.นั้น คิดว่ารัฐมนตรีใหม่ก็ต้องทำงานกันและประสานกับกสทช.ให้ได้ เพื่อประโยชน์ของประเทศ จะเป็นการถือกฎหมายคนละฉบับ แต่กสทช.จะช่วยพัฒนามากขึ้นอีกด้านในการดูแลเกี่ยวกับวงโคจร และคลื่นความถี่ต่างๆ ส่วนไอซีที ก็ต้องทำงานประสานกันตลอด ซึ่งสมัยนายจุติ เป็นรมว.ไอซีที ก็มีการลงนามร่วมกันกับกทช.ทำนโยบายบอดแบนรด์แห่งชาติ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ไทยต้องพัฒนาและให้ความสำคัญกับภูมิเอเชีย เพิ่มศักยภาพของประเทศด้านไอที


ปานฉัตร สินสุข // กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.