Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2554 (( กวน-มึน-และงงง.)) TOT ได้ขอยกเลิกการเรียกร้องยกเลิกโนติส ต่อAIS มูลค่า3.7 หมื่นล.// ไม่เกี่ยวเปลี่ยนรัฐบาล

(( กวน-มึน-และงงง.)) TOT ได้ขอยกเลิกการเรียกร้องยกเลิกโนติส ต่อAIS มูลค่า3.7 หมื่นล.// ไม่เกี่ยวเปลี่ยนรัฐบาล


ประเด็นหลัก

นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า การที่ทีโอทีตัดสินใจยื่นฟ้องเอไอเอสเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย 37,000 ล้านบาท เป็นผลสืบเนื่องตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) สมัยนั้น ได้มีมติให้ ทีโอทีฟ้องเอไอเอสเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานทั้งหมด และค่าเสียหายจากการแปลงส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต รวมเป็นจำนวนถึง 7.5 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2553

“ถึงแม้จะมีกระแสข่าวออกมาว่าที่ยกฟ้องเพราะการเมืองมีการเปลี่ยนขั้วก็ตาม แต่ยังยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากจริงๆแล้วมีสาเหตมาจากเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานมีการคำนวนความ เสียหายที่ซ้ำซ้อน เราจึงต้องแจ้งไปยังอนุญาโตฯเพื่อถอนฟ้อง”


__________________________________________________________

ทีโอที อ้างมึน ยกเลิกโนติสเอไอเอส 3.7 หมื่นล.

ทีโอทีส่งหนังสือถึงเอไอเอส หลังยกเลิกหนังสือเตือน (โนติส) คดีความเรื่องความเสียหายจากการแก้สัมปทานมือถือมูลค่ากว่า 37,000 ล้านบาท อ้างสาเหตมาจากการคำนวนเงินผิดซ้ำซ้อน ด้านอนุญาโตฯสั่งถอนพิพาทออกจากระบบตั้งแต่ 10 ต.ค.

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2554 ทีโอทีได้ส่งหนังสือแจ้งถึง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ว่า ทีโอทีได้ขอยกเลิกการเรียกร้องจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่เอไอเอสแก้อัตราการปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายรวม (โรมมิ่ง) รวมเป็นเงินมูลค่ากว่า 3.7 หมื่นล้านบาท โดยให้เหตุผลพบข้อเท็จจริงของตัวมูลค่าความเสียหายที่คลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดจากการคำนวนที่ซ้ำซ้อนของเก่า

ทั้งนี้จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีข้อพิพาทที่ทำให้บริษัทต้องดำเนินการในชั้นอนุญาโตตุลาการต่อทีโอที อีกต่อไป จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา เอไอเอสจึงได้ยื่นคำร้องขอถอนคำเสนอข้อพิพาท และล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ต.ค. สถาบันอนุญาโตตุลาการได้แจ้งคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำเสนอข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า การที่ทีโอทีตัดสินใจยื่นฟ้องเอไอเอสเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย 37,000 ล้านบาท เป็นผลสืบเนื่องตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) สมัยนั้น ได้มีมติให้ ทีโอทีฟ้องเอไอเอสเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานทั้งหมด และค่าเสียหายจากการแปลงส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต รวมเป็นจำนวนถึง 7.5 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2553

“ถึงแม้จะมีกระแสข่าวออกมาว่าที่ยกฟ้องเพราะการเมืองมีการเปลี่ยนขั้วก็ตาม แต่ยังยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากจริงๆแล้วมีสาเหตมาจากเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานมีการคำนวนความ เสียหายที่ซ้ำซ้อน เราจึงต้องแจ้งไปยังอนุญาโตฯเพื่อถอนฟ้อง”

สำหรับค่าเสียหายในจำนวนดังกล่าวในเบื้องต้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นค่าเสียหายจากการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับเงินเพิ่มรวม 36,800 ล้านบาท และ 2. ส่วนที่เป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่แก้อัตราการปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายรวม (โรมมิ่ง) รวมเป็นเงินกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท รวมในช่วงนั้น ที่นายจุติ ให้ทีโอทียื่นฟ้องเอไอเอสรวม 75,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ประเด็นแรกที่เกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตนั้นได้มีการเสนอข้อพิพาทขึ้นสู่กระบวน การอนุญาโตตุลาการไปแล้วตั้งแต่ปี 2551 และก็ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยที่ยังมิได้มีคำชี้ขาดแต่อย่างใด ส่วนในประเด็นของค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานทีโอที ได้ดำเนินการส่งหนังสือเตือน (โนติส) ไปยังเอไอเอส เพื่อให้ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ดังกล่าวแล้วตามจำนวนเงินที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือเงินจำนวนกว่า 37,000 ล้านบาท

โดยในขณะนั้น นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส ก็ได้ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 4 ก.พ. 2554 ถึงฝ่ายกฎหมายของ ทีโอที เพื่อโต้แย้งการขอให้ชำระเงินดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าสัญญาสัมปทานไม่ได้กำหนดห้ามมิให้แก้ไขสัญญา อีกทั้ง ข้อสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความสมัครใจและความประสงค์ที่จะให้มีข้อผูกพันตามที่ปรากฏในข้อตกลง

อย่างไรก็ดี ทีโอที และ เอไอเอส ต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะคู่สัญญา ดังนั้น เมื่อ เอไอเอส มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทีโอที จึงไม่มีสิทธิที่จะยกเหตุผลอันไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นกล่าวอ้างว่าเป็นข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาที่ไม่มีผลผูกพัน เอไอเอส และ ทีโอที ต่อไป

ขณะที่ นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในขั้นตอนการฟ้องร้องระหว่างทีโอที กับเอไอเอส ยังคงอยู่ในขบวนการทางกฎหมาย โดยกรณีภาษีสรรพสามิตโทรศัพท์มือถือ และค่าปรับ คิดเป็นเงิน 36,800 ล้านบาท

ทั้งนี้ถึงแม้คณะอนุญาโตตุลาการจะได้ตัดสินไปก่อนหน้านี้ว่าการชำระภาษีสรรพ สามิตของเอไอเอสเป็นไปอย่างถูกต้อง ทีโอที ไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหาย แต่ทีโอที ก็ต้องยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการต่อศาลปกครอง ฉะนั้นกรณีของการพิพาทก็อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของศาลปกครอง

ส่วนกรณีข้อพิพาทการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่ให้ปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) คิดเป็นเงิน 37,000 ล้านบาทนั้น ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติแต่อย่างใด

นอกจากนี้กรณีที่ทีโอทีได้ทำหนังสือแจ้งเตือนให้เอไอเอสชำระค่าเสียหายรวม เป็นเงิน 75,000 ล้านบาทนั้น เป็นการพิจารณาเมื่อต้นปี 2554 ที่ผ่านมานั้น เป็นการดำเนินการของฝ่ายกฎหมาย เพื่อแจ้งให้เอไอเอสรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีข้อพิพาททั้งหมด แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ากรณีข้อพิพาทดังกล่าว อยู่ในขบวนการพิจารณาฟ้องร้องที่ยังไม่มีข้อยุติ ทางฝ่ายกฎหมายก็ได้ทำหนังสือแจ้งให้เอไอเอสได้รับทราบอีกครั้ง

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129784

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.