Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กรกฎาคม 2555 กสท ของบเพิ่มเดินหน้า 3GMy 1,218 ล้านบาท แบ่งหลักๆๆ อุปกรณ์เครื่องลูกข่าย 540 ลบ. ค่าIC 402 ลบ. // ส่วน CDMA 80 ล้าน

กสท ของบเพิ่มเดินหน้า 3GMy 1,218 ล้านบาท แบ่งหลักๆๆ อุปกรณ์เครื่องลูกข่าย 540 ลบ. ค่าIC 402 ลบ. // ส่วน CDMA 80 ล้าน


ประเด็นหลัก

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) โดยที่ประชุมมีวาระเรื่องบอร์ดบริหารของบประมาณดำเนินทำธุรกิจไร้สาย (3G) จำนวนเงิน 1,298 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนธุรกิจ คือ CDMA 80 ล้านบาท และ 3G My 1,218 ล้านบาท

อย่างไรก็ดีงบประมาณในส่วนของ 3G My ที่จะขอมานั้นแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆได้แก่ อุปกรณ์เครื่องลูกข่าย 540 ล้านบาท ค่าไอซี 402 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านโรมมิ่ง 150 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมเลขหมาย 33 ล้านบาท ที่ต้องจ่ายให้พันธมิตรการค้าที่อีก 13 ล้านบาท ค่าส่งเสริมการตลาด 50 ล้านบาท และค่าอบรมต่างๆอีกจำนวน 30 ล้านบาท รวมเป็นเงินจำนวน 1,218 ล้านบาท

ขณะที่ธุรกิจ CDMA แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายออกเป็นค่าไอซีจำนวน 35 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมเลขหมายอีก 35 ล้านบาท อื่นๆอีก 10 ล้านบาท รวมเป็น 80 ล้านบาท


__________________________________________



กสท ของบเพิ่มเดินหน้า "3G My"

กสท เล็งของบธุรกิจไร้สายเพิ่ม 1,298 ล้านบาท ชี้ชัดไม่อยากคืนคลื่น 1800 MHz ให้ กสทช.เตรียมส่งกฤษฎีกาตีความด้าน “พันธ์เทพ” ระบุไม่คืน 900 MHz อ้างสิทธิควรอยู่กับทีโอที

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) โดยที่ประชุมมีวาระเรื่องบอร์ดบริหารของบประมาณดำเนินทำธุรกิจไร้สาย (3G) จำนวนเงิน 1,298 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนธุรกิจ คือ CDMA 80 ล้านบาท และ 3G My 1,218 ล้านบาท

ทั้งนี้บอร์ดยังไม่มีการอนุมัติเรื่องดังกล่าวในวันนี้ (11ก.ค.) เนื่องจากเล็งเห็นว่ายังได้ข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งบอร์ดจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งเป็นวาระพิเศษปลายเดือนก.ค.นี้ โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจไร้สาย และ FTTX จากนั้นจะส่งเรื่องให้กระทรวงไอซีที ก่อนเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ต่อไป

อย่างไรก็ดีงบประมาณในส่วนของ 3G My ที่จะขอมานั้นแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆได้แก่ อุปกรณ์เครื่องลูกข่าย 540 ล้านบาท ค่าไอซี 402 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านโรมมิ่ง 150 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมเลขหมาย 33 ล้านบาท ที่ต้องจ่ายให้พันธมิตรการค้าที่อีก 13 ล้านบาท ค่าส่งเสริมการตลาด 50 ล้านบาท และค่าอบรมต่างๆอีกจำนวน 30 ล้านบาท รวมเป็นเงินจำนวน 1,218 ล้านบาท

ขณะที่ธุรกิจ CDMA แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายออกเป็นค่าไอซีจำนวน 35 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมเลขหมายอีก 35 ล้านบาท อื่นๆอีก 10 ล้านบาท รวมเป็น 80 ล้านบาท

นอกจากนี้ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า กสท ยังได้หารือเบื้องต้นกับฝ่ายกฎหมาย เกี่ยวกับการขอใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไปจากกสทช. หลังสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) จะสิ้นสุดลงใน 30 ก.ย.2556 นี้ ซึ่งกรณีดังกล่าวต้องส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อนว่า การคืน หรือ ไม่คืนคลื่นความถี่ให้กสทช.สามารถดำเนินการในรูปแบบใดได้บ้าง เนื่องจากหาก กสท ต้องคืนคลืนความถี่แล้ว กสท จะดำเนินการอย่างไรกับอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้รับโอนจากคู่สัญญาสัมปทาน รวมถึงลูกค้าผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันด้วย

ส่วนกรณีความคืบหน้าการเจรจาแก้ไขสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 850MHz กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น มีความคืบหน้าไปมาก โดยมีการลงรายละเอียดของสัญญาแล้ว ซึ่งมีประเด็นสำคัญในเรื่องที่อาจยกเลิกเงื่อนไขการใช้ความจุโครงข่าย จากเดิมในสัญญาระบุไว้ไม่เกิน 80% ก็จะไม่มีการระบุไว้ในสัญญา เพื่อเปิดกว้างรายอื่นเข้ามาใช้โครงข่ายของ กสท โดยคาดว่าการแก้ไขสัญญาดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 30 วันตามระยะเวลาที่คณะกรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กำหนดมา

ขณะที่ทางฝั่งของทีโอที นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า บริษัทก็อยู่ระหว่างการเตรียมการขอขยายระยะเวลาในการคืนคลื่น 900MHz ซึ่งสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.2558

“ทีโอที มีความเข้าใจ และมั่นใจว่า คลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของทีโอที และทีโอที คงไม่คืนให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แน่”

แต่ถึงอย่างไรก็ตามทีโอทีได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปศึกษารายละเอียดของพ.ร.บ.องค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) และแผนแม่บทบริหาคลื่นความถี่ 2555 เกี่ยวกับเรื่องคลื่นความถี่อย่างชัดเจน เพื่อทีโอทีจะได้เป็นแนวทางในการไม่คืนคลื่นให้กับกสทช.ต่อไป


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000085289


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.