Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มิถุนายน 2555 เครือข่ายองค์กรผู้จำนวน 302 องค์กร ชี้ ช่อง 3, 5 และ 9 ซึ่งถือเป็นบริการสาธารณะ ต้อง ยึดใบอนุญาต

เครือข่ายองค์กรผู้จำนวน 302 องค์กร ชี้ ช่อง 3, 5 และ 9 ซึ่งถือเป็นบริการสาธารณะ ต้อง ยึดใบอนุญาต


ประเด็นหลัก

เครือข่ายองค์กรผู้จำนวน 302 องค์กร ร่วมสัมมนาองค์กรผู้บริโภคเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยชี้ว่าแกรมมี่ ดำเนินการผูกขาดในการให้บริการ และไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้าของคู่แข่ง ซึ่งกระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะ ที่ไม่ได้ดูฟุตบอลยูโรครั้งนี้ ขณะเดียวกันยังต้องการให้ กสทช. มีคำสั่งทางปกครองกับ ช่อง 3, 5 และ 9 ซึ่งถือเป็นบริการสาธารณะ แต่ไม่ปฏิบัติตามถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร ทางระบบฟรีทีวี โดยต้องดำเนินการเช่นเดียวกับ ทรูฯ หรือ ยึดใบอนุญาตให้บริการสาธารณะ เพราะปฏิบัติขัดกับแผ่นแม่บทในการเข้าถึงการกระจายเสียงและการแพร่ภาพ สาธารณะ

โดยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายสามารถทำการร้องเรียนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีผ่าน 3 ช่องทางหลักๆ ดังนี้

1. ส่งเรื่องร้องเรียนไปที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.

2. ร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

และ 3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อยื่นเรื่องฟ้องร้องในลำดับต่อไป

“ถ้าคิดว่าตัวเองเสียหายก็สามารถมาฟ้องร้องได้ทันที ส่วนขั้นตอนสำหรับคนที่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตของมูลนิธิฯ ได้ คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องทุกข์ได้เลย แล้วถ้าคิดว่าสิ่งที่คุณได้รับไม่ถูกต้อง หรือไม่พอใจกับสิ่งนั้น คุณก็มีสิทธิร้องเรียนและมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี หรือฟ้องเองที่ศาลก็ได้ตามกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของผู้บริโภค”




_____________________________________________


302องค์กรผู้บริโภคจี้ฟัน'แกรมมี่'ด้วย ต้นเหตุจอดำยูโร

สคบ.เรียก จีเอ็มเอ็ม ทรูวิชั่นส์ เคลียร์จอดำ ย้ำคู่กรณีต้องรับผิดชอบต่อสังคม เนื้อหาข่าว สคบ.เรียกจีเอ็มเอ็ม ทรูวิชั่นส์ เคลียร์ปัญหาจอดำย้ำคู่กรณีต้องรับผิดชอบต่อสังคม ด้าน 302 องค์กรผู้บริโภคเรียกร้อง กสทช.เอาผิดแกรมมี่ด้วยอีกราย...

เมื่อวัน ที่ 12 มิ.ย. นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เรียก บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) มาชี้แจงถึงกรณีการถ่ายทอดสัญญาณฟุตบอลยูโร 2012 โดยมีนายนิโรจน์ เจริญประกอบ เลขาธิการ สคบ.เป็นประธานการประชุม พร้อมกันนี้มีผู้แทนจากบริษัททรู คือ น.ส.สหัฎชญาณ์ เลิศรัชตะประภัสร์ ที่ปรึกษาทั่วไปทรูวิชั่นส์ และนายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด

ทั้งนี้ ทรูวิชั่นส์ได้ชี้แจงถึงประเด็นการเยียวยาเบื้องต้นให้กับผู้บริโภคโดยการ เพิ่มแพ็กเกจขึ้นไปแล้ว และยืนยันถึงประเด็นการโฆษณาเชิญชวนการรับชมฟรีทีวี ว่า บริษัทยืนยันว่าไม่มีการโฆษณาถึงการเชิญชวนการรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ผ่านช่องฟรีทีวีโดยในข้อความการเชิญชวนเป็นการเชิญชวนการรับชมฟรีทีวี จำนวน 27 ช่องเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุว่าสามารถดูบอลยูโร 2012 ได้ นอกจากนี้ ทรูวิชั่นส์ยังยืนยันถึงสาเหตุการเกิดปัญหาดังกล่าวว่าบริษัทเป็นเพียง องค์กรปลายน้ำในการถ่ายทอดสัญญาณเท่านั้น หากองค์กรต้นน้ำอย่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไม่ถ่ายทอดสัญญาณมาก็ไม่สามารถดูได้ ส่วนทางด้านจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ชี้แจงว่า ตนเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และตามสัญญากับยูฟ่าจะต้องป้องกันสัญญาณการละเมิดการ ถ่ายทอดสัญญาณไปยังประเทศอื่น ซึ่งขณะนี้ได้มีการยืนหนังสือไปยังยูฟ่าเพื่อ ขอให้พิจารณาว่าจะสามารถถ่ายทอดได้ขนาดไหน

นายจิรชัย กล่าวต่อว่า กรณีดังกล่าว สคบ.จะต้องแก้ไขปัญหาในส่วนของผู้บริโภคที่ได้มีการร้องเรียนมายัง สคบ. จนถึงขณะนี้ 23 ราย โดยสาระสำคัญที่ได้มีการร้องเรียนของผู้บริโภคอยากรู้ถึงเหตุผล และการเรียกร้องความเสียหายและการเสียโอกาสซึ่งปกติจะดูฟรีทีวีได้ เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของทั้ง 2 บริษัทที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่ สคบ.ก็ต้องรับเรื่องดังกล่าวมาว่าจะพิจารณาว่าหากเกิดความเสียหายจะเอามา พิจารณาได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม สคบ.ได้ให้ความเห็นว่า หลังจากนี้การถ่ายทอดอะไรก็ตาม ไม่ควรจะมีการปิดกั้นควรเปิดกว้างให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคสูงสุด

"การ เจรจากับยูฟ่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นไปในทิศทางบวก ซึ่งในที่ประชุม เลขาธิการ สคบ.ได้ตั้งคำถามว่าถ้ายูฟ่าอนุญาตให้เป็นการตัดสินใจของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จะทำอย่างไร โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ก็ต้องหาทางออกให้ผู้บริโภคได้รับชมภาพเหล่านั้น"

ด้านนายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาฯ สคบ. กล่าวว่า ภายในสัปดาห์ สคบ.จะเชิญผู้บริโภคที่ร้องเรียนถึงกรณีดังกล่าวมาสอบถามข้อมูลความเป็นจริง ว่าเป็นอย่างไร หากได้รับการยืนยันว่า ได้รับการโฆษณาจากทรูวิชั่นส์จริง ทั้งจากการโฆษณาผ่านสื่อ หรือเป็นการยืนยันจากคอลเซ็นเตอร์ ว่าผู้ที่เป็นสมาชิกจะสามารถรับชมฟุตบอลยูโรได้ จะถือว่า ทรูวิชั่นส์ มีความผิดและต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายของ สคบ. ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ของส คบ.จะตรวจสอบการโฆษณาของทรูวิชั่นส์ อีกครั้งว่าได้ทำการโฆษณาในลักษณะเชิญชวนหรือไม่ด้วย

วันเดียวกัน เครือข่ายองค์กรผู้จำนวน 302 องค์กร ร่วมสัมมนาองค์กรผู้บริโภคเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยชี้ว่าแกรมมี่ ดำเนินการผูกขาดในการให้บริการ และไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้าของคู่แข่ง ซึ่งกระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะ ที่ไม่ได้ดูฟุตบอลยูโรครั้งนี้ ขณะเดียวกันยังต้องการให้ กสทช. มีคำสั่งทางปกครองกับ ช่อง 3, 5 และ 9 ซึ่งถือเป็นบริการสาธารณะ แต่ไม่ปฏิบัติตามถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร ทางระบบฟรีทีวี โดยต้องดำเนินการเช่นเดียวกับ ทรูฯ หรือ ยึดใบอนุญาตให้บริการสาธารณะ เพราะปฏิบัติขัดกับแผ่นแม่บทในการเข้าถึงการกระจายเสียงและการแพร่ภาพ สาธารณะ

นอกจากนี้ ยังอยากให้ กสทช. ช่วยสนับสนุนการดำเนินการฟ้องคดีกับ ทรูวิชั่นส์ เพราะค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายที่ต่ำมากเกินไปในปัจจุบัน และควรต้องสนับสนุนให้เกิดการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากทรูฯ ไม่สามารถให้บริการลูกค้าหรือผู้บริโภคทางฟรีทีวี หรือดูบอลยูโรได้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา พร้อมกันนี้ เครือข่ายฯ ต้องการให้รัฐบาลเร่งผ่านร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... ที่รอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 3 โดยเร็วเพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภคไทยในการเข้าถึงการแพร่ภาพและการ กระจายเสียงอีกด้วย.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/sport/267772


_______________________________________________________


เครือข่ายผู้บริโภคหนุนคนไทยฟ้อง ทีวีจอดำทำวืดชมบอลยูโร


เครือ ข่ายผู้บริโภคหนุนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หลังฟรีทีวีผ่านดาวเทียมจอดำทำวืดชมบอลยูโร 2012 แนะ 3 ช่องทาง ส่งเรื่องร้องเรียน กสทช.-ร้องเรียน สคบ. หรือร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นฟ้อง พร้อมเปิดเว็บดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องทุกข์

หลังจากที่พบสถานการณ์ “จอดำ” ผ่านช่องฟรีทีวีจึงไม่สามารถรับชมรายการฟุตบอลยูโร 2012 ได้อย่างแน่นอนแล้วนั้น ทำให้ผู้บริโภคกว่า 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศไทยได้รับความเดือนร้อนไปตามๆ กัน จึงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคถึงการลิดรอนสิทธิขั้นพื้น ฐานดังกล่าว หลังจากที่ สคบ.ยืนยันว่าเป็นสิทธิที่ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย และจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการฟ้องร้องต่อไป

ไม่รู้จะปิดฉากอย่างไรกับจอดำอำมหิตที่นำเสนอผ่านช่อง 3, 5 และ 9 (ฟรีทีวี) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลิขสิทธิ์ หรือกลไกธุรกิจของใครก็ตาม นั่นเป็นเรื่องของเอกชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องแก้ไข แต่สำหรับประชาชนแล้วย่อมสามารถรับชมผ่านฟรีทีวีได้โดยไม่เสียเงินสักบาท นั่นเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงได้รับตั้งแต่เกิด

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวถึงการไม่ได้รับความยุติธรรมของผู้บริโภคที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งด้านจิตใจ จึงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายพระราชบัญญัติพิจารณาคดีผู้ บริโภค ซึ่งเป็นคดีแพ่ง และมีบทลงโทษตามที่ผู้เสียหายร้องเรียน

โดยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายสามารถทำการร้องเรียนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีผ่าน 3 ช่องทางหลักๆ ดังนี้

1. ส่งเรื่องร้องเรียนไปที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.

2. ร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

และ 3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อยื่นเรื่องฟ้องร้องในลำดับต่อไป

“ถ้าคิดว่าตัวเองเสียหายก็สามารถมาฟ้องร้องได้ทันที ส่วนขั้นตอนสำหรับคนที่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตของมูลนิธิฯ ได้ คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องทุกข์ได้เลย แล้วถ้าคิดว่าสิ่งที่คุณได้รับไม่ถูกต้อง หรือไม่พอใจกับสิ่งนั้น คุณก็มีสิทธิร้องเรียนและมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี หรือฟ้องเองที่ศาลก็ได้ตามกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของผู้บริโภค”

ไม่ว่าจะไปร้องเรียนในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เขาฟ้อง คดีแทน หรือจะไปเข้าชื่อรวมกลุ่มกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อทำการฟ้องร้องกันก็ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราสามารถเลือกได้ ถ้าคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและเคยถูกเอารัดเอาเปรียบ

เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เห็นดีเห็นงามที่จะให้มีการฟ้องร้องในคดีแพ่ง โดยให้ผู้บริโภคเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย ซึ่งมีบทลงโทษตามมูลค่าความเสียหายนั้นๆ

“ถ้าน้อยกว่า 5 หมื่น ศาลก็จะให้มีการชดเชย ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้มีการเอาเปรียบผู้บริโภคก็จะพิจารณาเชิงลงโทษได้ด้วยการ จ่ายชดเชยได้ถึง 5 เท่า หรืออาจจะมีมาตรการอื่นๆ ตามกฎหมายได้อีก ซึ่งเราเสียหายอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น รวมถึงค่าเสียหายทางจิตใจด้วยก็สามารถฟ้องร้องได้เช่นกัน”


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000071825

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.