Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กันยายน 2555 ศุภชัย TRUE สู้ยิบตาประมูล3จีต้องได้15 เมกะเฮิรตซ์ ( สร้างความมั่นใจ เงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท )

ศุภชัย TRUE สู้ยิบตาประมูล3จีต้องได้15 เมกะเฮิรตซ์ ( สร้างความมั่นใจ เงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท )


ประเด็นหลัก

*** ทำไมถึงยื่นทั้ง 3 บริษัท
เพราะประกันความเสี่ยงในเรื่องของข้อผิดพลาดในการกรอกเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอการประมูลในครั้งนี้


*** เตรียมพร้อมกับการประมูลครั้งนี้อย่างไร
เรา ก็เตรียมพร้อมการประมูลทุกอย่างทั้งเรื่องของการเตรียมการลงทุน เรื่องของการขยายเครือข่าย และเตรียมหาเงินมาประมูล ส่วนตัวเลขในการใช้เงินมาประมูลเป็นจำนวนเท่าไหร่นั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เรามีเงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท เพียงพอสำหรับการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 50%



***ราคาประมูลขั้นต่ำมีคนมองว่าเอื้อให้กับทรู เพราะตอนนี้มีปัญหาสภาพคล่อง
ใน ขณะนี้สถานภาพการเงินของกลุ่มบริษัทดีขึ้นทุกปีแต่กำไรก่อนหักภาษีดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาอยู่ในสัดส่วน 1:3 ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งถือว่าสูงที่สุดเพราะสัดส่วนอยู่ที่ 1:13.5 แม้ทุกคนมองว่าสถานการณ์การเงินของอีก 2 เจ้าดีกว่าเราแต่ดีกว่าไม่ได้หมายความว่าเราย่ำแย่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรา


*** การหาพันธมิตร
ผม คิดว่าหลังจากประมูลก่อนถึงจะหาพันธมิตร ถ้าหากมีการประมูลได้แล้วประมาณปีหน้า 2556 คงจะได้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 25% การหาพันธมิตรเข้ามาก็เพื่อต้องการให้บริษัทมีสถานภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นของพันธมิตรนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขจะเข้ามาถือหุ้นใน บริษัทแม่ หรือถือหุ้นในบริษัทลูก แต่พันธมิตรใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นต้องยึดหลักยุทธศาสตร์ Convergence ของกลุ่มทรู เป็นหลัก เพราะยุทธศาสตร์ของเราเรื่อง Convergence นั้นต้องมีความชัดเจน





_______________________________



'ศุภชัย'สู้ยิบตาประมูล3จีต้องได้15 เมกะเฮิรตซ์

ศุภ ชัย เจียรวนนท์เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือน กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่กำหนดวันประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์

ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2555 ซึ่งคลื่นความถี่มีจำนวนทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 9 สลอต สลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์
หาก แต่มีหลายคนตั้งคำถามว่า? จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยประวัติศาสตร์ "ล้ม" ประมูลหรือไม่อย่างไร เพราะในขณะนี้กลิ่นอายเรื่องการ "ล้ม" ประมูลเริ่มมีมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

*** ได้ยื่นหลักการเข้าประมูล 3 จีแล้ว
เรา ได้ยื่นเจตจำนงไปยัง กสทช.แล้วโดยได้ยื่นข้อเสนอไปจำนวนทั้งสิ้น 3 บริษัท คือ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด,บริษัท เรียลมูฟ จำกัด และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด แต่จะใช้ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บริษัท บีเอฟ เคที (ประเทศไทย) จำกัด เข้าไปประมูลในครั้งนี้ และจะเปลี่ยนชื่อจาก "เรียลฟิวเจอร์" มาเป็น บริษัท ทรู ฟิวเจอร์ จำกัด ทำหน้าที่ประมูลในครั้งนี้ ซึ่งครั้งที่ผ่านมากลุ่มทรูได้ใช้บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี

*** ทำไมถึงยื่นทั้ง 3 บริษัท
เพราะประกันความเสี่ยงในเรื่องของข้อผิดพลาดในการกรอกเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอการประมูลในครั้งนี้


*** เตรียมพร้อมกับการประมูลครั้งนี้อย่างไร
เรา ก็เตรียมพร้อมการประมูลทุกอย่างทั้งเรื่องของการเตรียมการลงทุน เรื่องของการขยายเครือข่าย และเตรียมหาเงินมาประมูล ส่วนตัวเลขในการใช้เงินมาประมูลเป็นจำนวนเท่าไหร่นั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เรามีเงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท เพียงพอสำหรับการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 50%


*** คิดว่าครั้งนี้จะพลิกล็อกหรือไม่
ผม ว่าแนวโน้มไม่น่าพลิกล็อกเพราะ กสทช.ก็ทำตามกฎระเบียบกติกา และประชาชนเองก็ต้องให้มีการเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ผมคิดว่าครั้งนี้ไม่น่าจะมีอะไรพลิกล็อกอย่างแน่นอน

** ถ้าเกิดขึ้นจริงเตรียมแผนรับมือหรือยัง
ถ้า เกิดเหตุการณ์พลิกล็อกเหมือนครั้งที่แล้วเราก็ไปซื้อ "ฮัทช์" มาครั้งหนึ่งแล้ว(หัวเราะ) แต่ผมคิดว่าครั้งนี้ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นมาอีก เพราะไม่มีปัจจัยอะไรเกิดขึ้นมาได้อีกอย่างแน่น และเป็นความฝันของเรา (หมายถึง ทรู) ลงประมูลแน่ ๆ และมีความพร้อมลงประมูล และยินดีทำทุกอย่างให้เกิดการประมูลและเห็นอุตสาหกรรมนี้ได้เกิดขึ้นอย่าง เร่งด่วน


**แต่มีคนบอกครั้งนี้เอกชน "ฮั้วประมูล" แน่
อันนี้ก็เป็นเรื่องสัจธรรมจะได้ประมูลหรือไม่ได้ประมูลก็โดนอยู่ดี


***เรื่องการลดถือครองคลื่นจาก 20 มาเป็น 15 เมกะเฮิรตซ์
จะ "ฮั้ว" ได้อย่างไรในเมื่อเราก็มีจุดยืนที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ควรจัดสรรคลื่นเพิ่ม เป็น 20 เมกะเฮิรตซ์ เพราะการเพิ่มขึ้นเป็น 20 เมกะเฮิรตซ์ เป็นความเป็นไปได้เกิดได้แค่ 2 ใบอนุญาต เพราะมูลค่าการประมูลรวมถึงมูลค่าการขับรายที่ 3 ออกจากตลาด ถ้าเป็นแบบนั้นผิดวัตถุประสงค์ กสทช. อยู่แล้ว "ฮั้ว" หรือ ไม่ "ฮั้ว" กสทช. ต้องหารายที่ 3 หรือ รายที่ 4 หรือรายที่ 5 เข้ามาร่วมประมูลให้ได้ แต่ถ้าหาก กสทช.บอกคลื่นความถี่เพียงพอที่ 3 รายเข้าประมูลและบังเอิญไม่มีรายอื่นเข้าร่วมประมูลด้วยจะ "ฮั้ว" ได้อย่างไร ทุกอย่างเข้าขั้นตอนซัพพลายและดีมานด์ การประมูลก็คือการสะท้อนการตลาดเพื่อความโปร่งใส ถ้าเกิดมีรายที่ 4 หรือรายที่ 5 ผมว่าอาจจะมีก็ได้

***3 รายมีการคุยกันหรือไม่
ที่ เจอกันคุยกัน 3 เจ้าเกิดขึ้นแล้วที่งานไอซีทีเอ็กซ์โป (หัวเราะ) และเป็นไปไม่ได้ไม่มีการเจรจาร่วมกันและนี่จะเข้าสู่ silent period อยู่แล้ว

***เราก็ต้องประมูลให้ได้ 15 เมกะเฮิรตซ์
เราต้องเอาให้ ได้ 15 เมกะเฮิรตซ์ เพราะไม่ต้องการให้ได้คลื่นความถี่ต่ำกว่า 15 เมกะเฮิรตซ์ เพราะวัตถุประสงค์ของเราต้องการให้ได้คลื่นความถี่เต็มจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ ถ้าได้น้อยกว่านี้ก็อยู่ได้แบบเหมือนทุกวันนี้มีคลื่นความถี่น้อยกว่าคนอื่น

** ต้องสู้เต็มที่
ใช่..เราก็ต้องสู้เต็มที่เพื่อให้ได้คลื่นความถี่เต็มจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์

***ราคาประมูลขั้นต่ำมีคนมองว่าเอื้อให้กับทรู เพราะตอนนี้มีปัญหาสภาพคล่อง
ใน ขณะนี้สถานภาพการเงินของกลุ่มบริษัทดีขึ้นทุกปีแต่กำไรก่อนหักภาษีดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาอยู่ในสัดส่วน 1:3 ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งถือว่าสูงที่สุดเพราะสัดส่วนอยู่ที่ 1:13.5 แม้ทุกคนมองว่าสถานการณ์การเงินของอีก 2 เจ้าดีกว่าเราแต่ดีกว่าไม่ได้หมายความว่าเราย่ำแย่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรา


*** การหาพันธมิตร
ผม คิดว่าหลังจากประมูลก่อนถึงจะหาพันธมิตร ถ้าหากมีการประมูลได้แล้วประมาณปีหน้า 2556 คงจะได้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 25% การหาพันธมิตรเข้ามาก็เพื่อต้องการให้บริษัทมีสถานภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นของพันธมิตรนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขจะเข้ามาถือหุ้นใน บริษัทแม่ หรือถือหุ้นในบริษัทลูก แต่พันธมิตรใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นต้องยึดหลักยุทธศาสตร์ Convergence ของกลุ่มทรู เป็นหลัก เพราะยุทธศาสตร์ของเราเรื่อง Convergence นั้นต้องมีความชัดเจน


***จุดขายบริษัทเป็นคนไทย
ก็ยังถือ ว่าเป็นบริษัทคนไทยเพราะเราให้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนเพียง 25% เท่านั้น เพราะพันธมิตรใหม่ที่เข้ามาเราก็ต้องยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

*** ตลาดมือถือปีหน้าจะเป็นอย่างไร
ตลาด ก็จะคึกคักขึ้นเพิ่มมากขึ้น เพราะทั้งอุปกรณ์ เครือข่าย สิ่งเหล่านี้ก็จะสร้างเครือข่ายมากขึ้นและคิดว่าตลาดในปีหน้าจะมีอะไรที่ สนุกขึ้นเยอะ




ผนึกพันธมิตรเคเบิล


เหตุผลที่ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เข้าไปจับมือกับ PSI และกลุ่มไทยเคเบิ้ล โฮลดิ้ง หรือ CTH เพราะ PSI เป็นผู้ผลิตกล่อง และในเชิงยุทธศาสตร์การเป็นพาร์ตเนอร์ระหว่างกันนั้นจะช่วยในเรื่องของการ ส่งเสริมทั้งการขายกล่องและติดตั้ง และลูกค้าของบริษัทสามารถดูรายการของ ทรูวิชั่นส์ ได้เช่นเดียวกัน และการที่ ทรูวิชั่นส์ สามารถขายคอนเทนต์เข้าไปในกลุ่มนี้ทำให้บริษัทมีรายได้
อย่างไรก็ตาม บทบาทหน้าที่ของ ทรูวิชั่นส์ นั้นมีด้วยกัน 2 มิติ มิติแรกทำหน้าที่เป็นคอนเทนต์ โพรไวเดอร์ และมิติที่สองทำหน้าที่เป็น เน็ตเวิร์ก โพรไวเดอร์
ส่วนการร่วมมือกับ CTH ในครั้งนี้เพราะ CTH เป็นผู้นำในเรื่องคอนเทนต์เช่นเดียวกัน และ ทรูวิชั่นส์ ต้องการนำคอนเทนต์รายการของ ทรูวิชั่นส์ ไปเผยแพร่ในช่อง ไทยเคเบิ้ลโฮลดิ้ง ที่มีจำนวนสมาชิกค่อนข้างมาก
ทั้งนี้การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการให้ บริการผ่านฟรีทีวี และ เคเบิลทีวี และ PSI มีจำนวนจานดำติดตั้งนับล้านใบและต่อไปก็จะมีการพัฒนา Set top Box รุ่นต่อไปได้ทั้งจานดำ และ จานเล็ก และจะส่งผลให้คนชมจำนวนฟุตบอลแบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้นในตอนนี้จำนวน 2 ล้านครัวเรือน และชมฟุตบอลแบบผ่านเคเบิลทีวี มากกว่า 10 ล้านครัวเรือน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=141523:315-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.