Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กันยายน 2555 ( ทำอย่างนี้ เรียกล่าสมัย ) นักวิชาการ-สื่อจี้กสทช.คืนสิทธิ์ “สุภิญญา” โพสต์โซเชียล ( ควรใช้สื่อใหม่เพื่อเข้าใจปปช. )

( ทำอย่างนี้ เรียกล่าสมัย ) นักวิชาการ-สื่อจี้กสทช.คืนสิทธิ์ “สุภิญญา” โพสต์โซเชียล ( ควรใช้สื่อใหม่เพื่อเข้าใจปปช. )

ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีต ส.ว. และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน มองว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นสิทธิส่วนบุคคล พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า ไม่สมควร หากกรรมการ กสทช. จะไปไล่ตรวจสอบการใช้งานของกรรมการ หรือพนักงานคนอื่นๆ เพราะ กสทช.มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคม

ส่วนกรณีที่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าบอร์ด กสทช. พิจารณานั้น นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวว่า ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของมนุษย์ในการสื่อสาร ซึ่งในฐานะกรรมการ กสทช. ควรรับเรื่องนี้ให้ได้ อีกทั้งต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการฯ ของ กสทช. ต่อไป


ด้าน ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบายว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่สื่อเก่ามักจะมองเรื่องการสื่อสารมากขึ้น ในส่วนของโซเชียลมีเดีย มีธรรมชาติอีกประเภทหนึ่ง คือ การสื่อสารหลายทาง ไม่เฉพาะผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสื่อใหม่ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ยึดติดกับการใช้สื่อใหม่ เพราะจะนำมาสู่ปัญหาค่อนข้างมากในหลายๆ คนที่หันมาใช้สื่อใหม่

ส่วนกรณีของ กสทช. นั้น มองว่า กรรมการ กสทช. ควรใช้สื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบในการสื่อสารกับประชาชนให้มากขึ้น ทั้งนี้ไม่เฉพาะสำนักงาน กสทช. เท่านั้น องค์กรอิสระ องค์กรภาครัฐ และองค์กรเอกชน ก็ควรใช้สื่อใหม่ด้วย เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำความเข้าใจกับประชาชน ไม่ใช่ข้อมูลเพียงด้านเดียวที่ให้กับประชาชน



กรรมการผู้ อำนวยการ บริษัท เนชั่นฯ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กสทช.ยังขาดการสื่อสารกับประชาชน มีเพียงแต่การประชาพิจารณ์ หรือโฟกัสกรุ๊ป ซึ่งล้าสมัย ทั้งนี้ กสทช. ควรแสดงบทบาททางสังคมกับประชาชนให้มากกว่านี้ เพราะ กสทช. เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม ควรเป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียสื่อสารข้อความต่างๆ กับสังคมมากกว่านี้

“เป็นสิ่งที่ดีที่กรรมการ กสทช.ออกมาสื่อสารกับสังคมแบบนี้ ส่วนตัวคิดว่า ทาง กสทช. ควรหาวิธีสื่อสารกับสังคม โดยอาจจะให้ออกมาเป็นทางการ เข้าใจว่ามีแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของ กสทช. แต่ก็ไม่ได้ใช้งานมากนัก กสทช.ยังขาดการสื่อสารกับสังคม ทั้งนี้ จะเป็นทางไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโซเชียลมีเดีย” นายอดิศักดิ์ กล่าว











________________________________

นักวิชาการ-สื่อจี้ “กสทช.” คืนสิทธิ์ “สุภิญญา” โพสต์โซเชียล

นัก วิชาการ-สื่อ เห็นพ้อง “สุภิญญา กลางณรงค์” กก.กสทช. ใช้โซเชียลมีเดียโพสต์ข้อความ ขณะที่แหล่งข่าว กสทช. ยันจุดยืนชัดเจน คือ การรักษาสิทธิ์ในการแสดงออกต่อสาธารณะ...

กลายเป็นกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ถึงการใช้งานโซเชียลมีเดียของ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หลังจากเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ หรือ บอร์ด กสทช. มีความเห็นให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายยกร่างระเบียบการปฏิบัติตนและ จรรยาบรรณของ กสทช. ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย แต่ในทางกลับกัน กลับสร้างความกังขาให้เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์


ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีต ส.ว. และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน มองว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นสิทธิส่วนบุคคล พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า ไม่สมควร หากกรรมการ กสทช. จะไปไล่ตรวจสอบการใช้งานของกรรมการ หรือพนักงานคนอื่นๆ เพราะ กสทช.มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคม

ส่วนกรณีที่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าบอร์ด กสทช. พิจารณานั้น นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวว่า ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของมนุษย์ในการสื่อสาร ซึ่งในฐานะกรรมการ กสทช. ควรรับเรื่องนี้ให้ได้ อีกทั้งต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการฯ ของ กสทช. ต่อไป

“ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของคนไทยในฐานะเป็นมนุษย์ ในการสื่อสารของคนไทยทุกคน ถ้า กสทช.ทำแบบนี้ ก็ไม่ต้องอยู่เป็น กสทช. กสทช. ไม่มีอำนาจอะไรเลย การสื่อสารของมนุษย์เป็นเรื่องของแต่ละคน ไม่มีใครมากำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์ ใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมออนไลน์ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. แต่หน้าที่ของ กสทช. คือ การกำกับดูแลการประกอบกิจการฯ ไม่ใช่มากำกับดูแลวิถีชีวิตของคน” ดร.สมเกียรติ กล่าว

ด้าน ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบายว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่สื่อเก่ามักจะมองเรื่องการสื่อสารมากขึ้น ในส่วนของโซเชียลมีเดีย มีธรรมชาติอีกประเภทหนึ่ง คือ การสื่อสารหลายทาง ไม่เฉพาะผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสื่อใหม่ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ยึดติดกับการใช้สื่อใหม่ เพราะจะนำมาสู่ปัญหาค่อนข้างมากในหลายๆ คนที่หันมาใช้สื่อใหม่

ส่วนกรณีของ กสทช. นั้น มองว่า กรรมการ กสทช. ควรใช้สื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบในการสื่อสารกับประชาชนให้มากขึ้น ทั้งนี้ไม่เฉพาะสำนักงาน กสทช. เท่านั้น องค์กรอิสระ องค์กรภาครัฐ และองค์กรเอกชน ก็ควรใช้สื่อใหม่ด้วย เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำความเข้าใจกับประชาชน ไม่ใช่ข้อมูลเพียงด้านเดียวที่ให้กับประชาชน

สำหรับ มติบอร์ด กสทช. ที่ให้คณะอนุกรรมการไปตรวจสอบการใช้งานของนางสาวสุภิญญานั้น รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า คงต้องถามกลับไปว่า กสทช. ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ถ้าตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมสื่อ ก็คงสามารถทำได้ เพราะเป็นแค่ตัวแทนของรัฐ แต่ถ้า กสทช. ต้องการก้าวไปสู่มิติใหม่ของสื่อ ก็ควรทำความเข้าใจและใช้เครื่องมือของสื่อใหม่มาช่วยทำความเข้าใจในการ เปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่ให้กับประชาชนมากกว่า

“กรณีที่เกิดขึ้น ต้องถามก่อนว่าปกติการใช้โซเชียลมีเดียโดยส่วนตัวของผู้ใช้ต้องมีการตรวจ สอบอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นกรณีที่เกิดขึ้น แทนที่จะตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาตรวจสอบการใช้โซเชียลมีเดีย ไปตรวจสอบเรื่องการใช้เงินงบประมาณที่เคยมีข่าวออกไปก่อนหน้านี้ไม่ดีกว่า หรือ เพราะยังมีอีกหลายกรณีที่สร้างความกังขาให้กับประชาชน และ กสทช. ก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้นัก แต่ทำไม กสทช. ถึงหันมาสนใจเรื่องการใช้งานโซเชียลมีเดีย กลับเป็นที่ตั้งคำถามมากขึ้น” ดร.มานะ กล่าว

รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทิ้งท้ายว่า อยากฝากให้ กรรมการ กสทช. ทุกคนใช้งานโซเชียลมีเดียด้วยตัวเองในการสื่อสารกับประชาชน ไม่จำเป็นต้องรอให้กรรมการบางคนใช้ หรือออกข้อห้าม ตรวจสอบการใช้งาน ทุกคนสามารถใช้ในการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนได้ เพราะการใช้งาน คือ การคุยกับคนในสังคมนอกเหนือจากคนที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว เพื่อรับฟังเสียงสะท้อน ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่าการรับฟังความคิดเห็นเพียงบางกลุ่มเท่านั้น


ขณะ ที่ นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าไม่สมควรที่บอร์ด กสทช.จะมาสอบสวนคุณสุภิญญาในการใช้งานโซเชียลมีเดีย ในฐานะที่ติดตามข่าวของ กสทช. ผ่านทวิตเตอร์ของคุณสุภิญญา ได้รับทราบข้อมูลและการทำงานของ กสทช.ค่อนข้างมาก ซึ่งก่อนหน้าไม่ได้ทราบความเคลื่อนไหวของ กสทช.จากส่วนอื่นๆ พร้อมทั้งมองว่าเป็นส่วนที่ดี เพียงแต่อาจมีประเด็นเพียงเล็กน้อยที่ กก.กสทช. บางท่านมองว่าเป็นเรื่องภายในที่ประชุม ซึ่งอาจจะถูกมองว่ามีความไม่เหมาะสมบ้าง แต่โดยทั่วไปยังไม่มีความเสียหายอะไรที่เกิดขึ้นกับองค์กร

กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่นฯ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กสทช.ยังขาดการสื่อสารกับประชาชน มีเพียงแต่การประชาพิจารณ์ หรือโฟกัสกรุ๊ป ซึ่งล้าสมัย ทั้งนี้ กสทช. ควรแสดงบทบาททางสังคมกับประชาชนให้มากกว่านี้ เพราะ กสทช. เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม ควรเป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียสื่อสารข้อความต่างๆ กับสังคมมากกว่านี้

“เป็นสิ่งที่ดีที่กรรมการ กสทช.ออกมาสื่อสารกับสังคมแบบนี้ ส่วนตัวคิดว่า ทาง กสทช. ควรหาวิธีสื่อสารกับสังคม โดยอาจจะให้ออกมาเป็นทางการ เข้าใจว่ามีแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของ กสทช. แต่ก็ไม่ได้ใช้งานมากนัก กสทช.ยังขาดการสื่อสารกับสังคม ทั้งนี้ จะเป็นทางไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโซเชียลมีเดีย” นายอดิศักดิ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่มี การนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. นั้น กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น กล่าวว่า ไม่ควรนำเรื่องนี้เข้าบอร์ด โดยประธานบอร์ด กสทช.ควรเรียกคุณสุภิญญาเข้าไปหารือถึงความเหมาะสมมากกว่า แต่เมื่อมาถึงบอร์ดกลับกลายเป็นว่า เรื่องโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งไม่ถูกต้อง แม้แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานระดับประเทศของไทย ยังสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย

อย่าง ไรก็ตาม มองว่า กสทช. อาจจะเกิดภาพลบกับคนภายนอก เพราะบุคคลเหล่านี้ไม่รู้ช่องทางที่จะสื่อสารกับ กสทช. เนื่องจาก กสทช. ไม่ได้ประชาสัมพันธ์อย่างรอบด้านเพียงพอ หรือการออกร่างประกาศฯ ต่างๆ บนเว็บไซต์บางครั้งก็ไม่เพียงพอกับการรับรู้ของสังคม เพราะมีร่างประกาศฯ จำนวนมาก และส่วนใหญ่รับทราบจากทวิตเตอร์คุณสุภิญญา

“กสทช. ยังมีปัญหาเรื่องการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ส่วนตัวมองว่าคุณสุภิญญาอุดช่องว่างได้บ้าง แต่ทำในนามส่วนตัวมากกว่า ไม่ได้ทำในนาม กสทช. ซึ่ง กสทช. ควรใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นทางการ เพราะเชื่อว่าถ้า กสทช. มีการใช้งานอย่างเป็นทางการ คุณสุภิญญาก็อาจจะไม่จำเป็นต้องสื่อสารผ่านทวิตเตอร์มากกว่านี้ และขอให้กำลังใจคุณสุภิญญา เพราะติดตามข่าวสารบนทวิตเตอร์อยู่ตลอด” นายอดิศักดิ์ กล่าว

แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ นางสาวสุภิญญาได้หยุดพักจากการโพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ชั่วคราว และยืนยันว่าจะกลับมาใช้งานโซเชียลมีเดียอีกแน่นอน เพราะมีจุดยืนชัดเจน คือ การรักษาสิทธิ์ในการแสดงออกต่อสาธารณะ ส่วนมติบอร์ดที่ออกมาเป็นแค่มติเสียงส่วนน้อยเท่านั้น

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ล่าสุด คณะกรรมการ กสทช. ที่ใช้งานทวิตเตอร์ มีจำนวน 2 ท่าน คือ ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (@DrNateeDigital) และนางสาวสุภิญญา (@supinya) และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. (@TakornNBTC)

สำหรับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 อันเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นให้เป็นไปตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

ทั้งนี้ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ขณะที่เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีคณะกรรมการ กสทช. จำนวน 11 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ที่ผ่านการสรรหาและคัดเลือกมาอย่างเข้มข้น ก่อนที่วุฒิสภาจะมีมติเลือกภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด จนได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เข้ามาดำรงตำแหน่ง กสทช. เพื่อมีอำนาจในการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของประเทศอย่างเต็มรูปแบบได้ในที่ สุด





ทีมข่าวไอทีออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/tech/291104

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.