Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 สิงหาคม 2555 ( เต่าวิ่ง ) TOT เดินหน้าลงทุน 3G เฟส 2 ที่ช้าเพราะน้ำท่วมติดปัญหากับ AIS TRUE /ขุดโครงข่ายรุ่นเก่า300000ต้นทำ3G4G

( เต่าวิ่ง ) TOT เดินหน้าลงทุน 3G เฟส 2 ที่ช้าเพราะน้ำท่วมติดปัญหากับ AIS TRUE /ขุดโครงข่ายรุ่นเก่า300000ต้นทำ3G4G


ประเด็นหลัก

ทีโอทีจะเข้าหารือกับกสทช.ใน เร็วๆ นี้ เพื่อขอใบอนุญาตให้บริการ LTE หรือ 4G ในความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีแบนด์วิธอยู่ 64 MHz ทั้งนี้ LTE ที่ความถี่ 2.3GHz นั้นจะรวมอยู่ในส่วนหนึ่งของโครงการ 3G เฟส 2 ด้วย โดยการลงทุนอุปกรณ์ LTE นั้น ไม่น่าจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะจะลงทุนแบบไมโครเซลล์ ที่เล็กและเบามีน้ำหนักเพียง 10 กิโลกรัมต่อสถานีฐานเท่านั้น โดยไมโครเซลล์ของบริการ LTE จะเป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ต่างๆให้ สมบูรณ์และครอบคลุมมากขึ้น


ทั้งนี้บริษัท ทาวเวอร์ โค คัมปานี ของทีโอทีคาดว่าจะจัดตั้งภายในเดือนต.ค.นี้ โดยบริษัทลูกของทีโอทีจะมีการจัดการกองทุนในรูปผู้ถือหุ้น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันไม่เกิน 50% ขณะที่ทีโอทีจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่มีสัดส่วนไม่เกิน 49% และเมื่อดำเนินงานได้ระยะหนึ่งก็จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและการระดมทุน โดยจะเข้าจดทะเบียนในกลุ่มกองทุนเพื่อสาธารณูปโภค และการบริหารงานจะเป็นไปโดยกองทุน

'บริษัททาวเวอร์โค ของทีโอทีไม่มีปัญหาเหมือนของกสท เราเดินหน้าได้ทันที ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการรองรับนโยบายของกระทรวงไอซีที เรื่อง สมาร์ทไทยแลนด์ และบริการไวไฟทั่วประเทศ'

ในการเตรียมพร้อมก่อนตั้งเป็นบริษัททาวเวอร์ โคนั้น ทีโอทีจะทยอยขายหรือโอนทรัพย์สินเข้าไปที่บริษัทย่อย ตั้งแต่โครงข่ายกว่า 13,000 สถานีฐานของเอไอเอสที่ทีโอทีรับโอนมาตามลำดับ และโครงข่าย 3G เฟสแรกที่มีกว่า 5,200 สถานีฐาน โดยวันนี้ติดตั้งดำเนินการได้แล้วกว่า 3,000 สถานีฐานและจะครบทั้ง 5,200ในราวเดือนต.ค. โดยความล่าช้าในการติดตั้งสถานีฐานนอกจากปัญหาอุทกภัยช่วงปลายปีที่แล้ว ยังเกิดจากความล่าช้าในเรื่องโคไซต์กับเอไอเอสและกลุ่มทรู

นอกจากนี้ทีโอทียังมีโครงข่ายรุ่นเก่าที่สามารถประยุกต์มาใช้เป็นโครงข่ายใน การให้บริการรุ่นใหม่มากมายที่จะถูกโอนไปที่บริษัทย่อยเช่นเสาซีเมนต์ที่เคย ใช้ในการพาดสายเคเบิลทองแดง โดยเสาแบบนี้มีความสูงตั้งแต่ 8-20 เมตร และอยู่ทั่วประเทศกว่า 300,000 ต้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายยุค 3G-4G รวมทั้งเป็นโครงข่ายระบบสื่อสัญญาณสำหรับบริการไวไฟหรือบริการไร้สายอื่นๆ ได้ ยิ่งกว่านั้นทีโอทียังมีเสาของบริการ MSAN ที่กระจายตัวในทั่วประเทศอีกกว่า 10,000 ต้น ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บริการในยุคหน้า และเป็นสินทรัพย์ที่ดีของทีโอทีในการสร้างรายได้จากการเช่าให้กับบริษัทย่อย ด้วย








________________________________________


ทีโอทีเดินหน้าลงทุน 3G เฟส 2


เปิด แผน 3G TOT เฟส 2 ลงทุน 1.2 หมื่นสถานีฐาน คาดแผนถึงมือสภาพัฒน์ ในเดือนต.ค. ประธานบอร์ด 'พันธ์เทพ' เล็งใช้บล.ภัทรแต่งตัวบริษัทลูกทาวเวอร์โค ให้เสร็จภายในเดือนต.ค.รวบรวมโครงข่ายให้เอกชนเช่า พร้อมดันเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ สานยุทธศาสตร์เน็ตเวิร์กโพรวายเดอร์

นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีอยู่ระหว่างการจัดทำแผนการลงทุนและให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 2 โดยคาดว่าหลังจากบอร์ดทีโอทีอนุมัติ และกระทรวงไอซีทีให้ความเห็นชอบ จะสามารถส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พิจารณาได้ภายในเดือนต.ค.หลังจากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมครม.ต่อไป

สำหรับการลงทุนในเฟส 2นั้น มีหลักการในวันนี้คือ ทีโอทีจะลงทุนติดตั้งสถานีฐานเองทั้งหมด ไม่มีการขอทำโค-ไซต์ หรือการร่วมเช่าใช้โครงข่ายกับเอกชนรายอื่นเหมือนอย่างที่ทำในเฟสแรก เพราะจะทำให้การติดตั้งเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โดยทีโอทีเตรียมที่จะประสานงานกับหน่วยงานราชการทั่วประเทศ เพื่อขอเช่าใช้สถานที่ราชการเหล่านั้นในการติดตั้งสถานีฐานสำหรับ 3G ในเฟส 2 ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะส่วนราชการนั้นมีอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศและ น่าจะอำนวยความสะดวกแก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน

'โครงข่ายของ 3G เฟส 2นั้น จะมีการลงทุนในราว 12,000 สถานีฐาน เพื่อบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ'

ทีโอทีจะเข้าหารือกับกสทช.ในเร็วๆ นี้ เพื่อขอใบอนุญาตให้บริการ LTE หรือ 4G ในความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีแบนด์วิธอยู่ 64 MHz ทั้งนี้ LTE ที่ความถี่ 2.3GHz นั้นจะรวมอยู่ในส่วนหนึ่งของโครงการ 3G เฟส 2 ด้วย โดยการลงทุนอุปกรณ์ LTE นั้น ไม่น่าจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะจะลงทุนแบบไมโครเซลล์ ที่เล็กและเบามีน้ำหนักเพียง 10 กิโลกรัมต่อสถานีฐานเท่านั้น โดยไมโครเซลล์ของบริการ LTE จะเป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ต่างๆให้ สมบูรณ์และครอบคลุมมากขึ้น

นอกจากนี้เพื่อเดินตามยุทธศาสตร์เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์หรือผู้ให้บริการโครงข่าย ทีโอทีเตรียมว่าจ้างบล.ภัทร เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์ โค คัมปานี และเตรียมตัวในการเป็นบริษัทย่อยที่จะเข้าขอใบอนุญาตทำธุรกิจให้เช่าโครง ข่ายเพื่อให้บริการมือถือในยุคใหม่หรือ Infrastructure sharing company ที่กสทช.เตรียมที่จะให้ใบอนุญาตนี้ในช่วงปลายปีโดยบล.ภัทร มีประสบการณ์ในด้านวาณิชธนกิจ และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มายาวนาน

ทั้งนี้บริษัท ทาวเวอร์ โค คัมปานี ของทีโอทีคาดว่าจะจัดตั้งภายในเดือนต.ค.นี้ โดยบริษัทลูกของทีโอทีจะมีการจัดการกองทุนในรูปผู้ถือหุ้น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันไม่เกิน 50% ขณะที่ทีโอทีจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่มีสัดส่วนไม่เกิน 49% และเมื่อดำเนินงานได้ระยะหนึ่งก็จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและการระดมทุน โดยจะเข้าจดทะเบียนในกลุ่มกองทุนเพื่อสาธารณูปโภค และการบริหารงานจะเป็นไปโดยกองทุน

'บริษัททาวเวอร์โค ของทีโอทีไม่มีปัญหาเหมือนของกสท เราเดินหน้าได้ทันที ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการรองรับนโยบายของกระทรวงไอซีที เรื่อง สมาร์ทไทยแลนด์ และบริการไวไฟทั่วประเทศ'

ในการเตรียมพร้อมก่อนตั้งเป็นบริษัททาวเวอร์ โคนั้น ทีโอทีจะทยอยขายหรือโอนทรัพย์สินเข้าไปที่บริษัทย่อย ตั้งแต่โครงข่ายกว่า 13,000 สถานีฐานของเอไอเอสที่ทีโอทีรับโอนมาตามลำดับ และโครงข่าย 3G เฟสแรกที่มีกว่า 5,200 สถานีฐาน โดยวันนี้ติดตั้งดำเนินการได้แล้วกว่า 3,000 สถานีฐานและจะครบทั้ง 5,200ในราวเดือนต.ค. โดยความล่าช้าในการติดตั้งสถานีฐานนอกจากปัญหาอุทกภัยช่วงปลายปีที่แล้ว ยังเกิดจากความล่าช้าในเรื่องโคไซต์กับเอไอเอสและกลุ่มทรู

นอกจากนี้ทีโอทียังมีโครงข่ายรุ่นเก่าที่สามารถประยุกต์มาใช้เป็นโครงข่ายใน การให้บริการรุ่นใหม่มากมายที่จะถูกโอนไปที่บริษัทย่อยเช่นเสาซีเมนต์ที่เคย ใช้ในการพาดสายเคเบิลทองแดง โดยเสาแบบนี้มีความสูงตั้งแต่ 8-20 เมตร และอยู่ทั่วประเทศกว่า 300,000 ต้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายยุค 3G-4G รวมทั้งเป็นโครงข่ายระบบสื่อสัญญาณสำหรับบริการไวไฟหรือบริการไร้สายอื่นๆ ได้ ยิ่งกว่านั้นทีโอทียังมีเสาของบริการ MSAN ที่กระจายตัวในทั่วประเทศอีกกว่า 10,000 ต้น ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บริการในยุคหน้า และเป็นสินทรัพย์ที่ดีของทีโอทีในการสร้างรายได้จากการเช่าให้กับบริษัทย่อย ด้วย

'โครงการของบริษัทย่อย ถ้าเกิดขึ้นมาก็จะเลี้ยงตัวเองได้ และมีสินทรัพย์เป็นเสาโทรคมนาคมมากกว่า 325,000 เสา ซึ่งเพียงพอที่จะดึงดูดนักลงทุนทั้งจากกองทุนที่จะเข้ามาบริหารและผู้ลงทุน หน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป นอกจากนี้ในระยะกลางบริษัทย่อยนี้จะมีสินทรัพย์ที่มาจากการโอนทรัพย์สินใน โครงข่ายทีโอที 3G เฟส 2 อีกด้วย'

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000100159

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.