Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 กุมภาพันธ์ 2555 ( อนุมัติ แล้ว !!! ) CAT ลุยเคเบิลใต้น้ำ มูลค่า 300 ล้านบาทเชื่อมประเทศในเอเชียแปซิฟิก

( อนุมัติ แล้ว !!! ) CAT ลุยเคเบิลใต้น้ำ มูลค่า 300 ล้านบาทเชื่อมประเทศในเอเชียแปซิฟิก

( อนุมัติ แล้ว !!! ) กสท ลุยเคเบิลใต้น้ำ มูลค่า 300 ล้านบาทเชื่อมประเทศในเอเชียแปซิฟิก
ประเด็นหลัก


สำหรับ บริการเคเบิลใต้น้ำนั้น ล่าสุดบอร์ดกสท ได้อนุมัติงบลงทุนเคเบิลใต้น้ำเอเชีย แปซิฟิก เกตเวย์ (เอพีจี) มูลค่า 300 ล้านบาทเชื่อมประเทศในเอเชียแปซิฟิกอยู่ระหว่างการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2557 มีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตร มีจุดขึ้นบกในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย


_________________________________________________________

กสท ลุยเคเบิลใต้น้ำ รุกบรอดแบนด์-3จี

กสท รุกธุรกิจบริการวงจรสื่อสารข้อมูล เร่งหาพันธมิตรต่างประเทศ คาดรายได้ธุรกิจปีนี้ 7,650 ล้านบาท โตกว่า 8.1% หวังขึ้นฮับเน็ตเวิร์คอินโดจีน

กสทรุกธุรกิจบริการวงจรสื่อสารข้อมูล เดินหน้าหาพันธมิตรต่างประเทศ คาดรายได้ธุรกิจปีนี้ 7,650 ล้านบาท เติบโตกว่า 8.1% หวังขึ้นเป็นฮับเน็ตเวิร์คอินโดจีน ทุ่ม 300 ล้านบาท สร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำเอพีจียาว 8,000 กิโลเมตร เชื่อมประเทศเอเชียแปซิฟิกกว่า 14 ประเทศ คาดแล้วเสร็จกลางปี 57

นาย สมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจบรอดแบนด์ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า กสท ต้องการเป็นศูนย์กลางด้านโครงข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกตเวย์ไปต่างประเทศ แถบอินโดไชน่า ประกอบด้วย พม่า ลาว และกัมพูชา โดยคาดว่าปี 2555 นี้ รายได้จากธุรกิจสื่อสารข้อมูลจะมีมากกว่า 7,650 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตระหว่างปี 2555-2556 ราว 8.1%

ทั้งนี้ รายได้ในธุรกิจสื่อสารข้อมูลดังกล่าว คิดเป็น 15% ของรายได้รวมปีนี้ โดยคาดว่าผลประกอบการจะอยู่ที่ 61,279 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากสัญญาสัมปทาน 60% คิดเป็น 26,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นรายได้จากบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ วงจรสื่อสารข้อมูล โทรศัพท์มือถือ3จี เอชเอสพีเอแบรนด์ "มาย" และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

โดยหากไม่รวมรายได้จากสัญญา สัมปทานที่ได้รับจากบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นนั้น ธุรกิจสื่อสารข้อมูลจะมีรายได้คิดเป็น 50% จากรายได้รวมของกสท รายได้ดังกล่าวแบ่งเป็นธุรกิจ วงจรเช่า 5,177 ล้านบาท บรอดแบนด์ 1,200 ล้านบาท อี-บิสซิ เนส 100 ล้านบาท และธุรกิจไอที ซิเคียวริตี้จำนวน 200 ล้านบาท

"กลุ่มบริการวงจรสื่อสารข้อมูลใน ประเทศ เรามีแชร์มากกว่า 20% บริการวงจรสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศมีแชร์มากกว่า 40%ซึ่งส่วนแบ่งลดลง เพราะมีคู่แข่งขยายเส้นทางเกตเวย์เพิ่ม แต่ กสท ยังมีจุดแข็งที่มีจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครอบคลุมมากสุดรองรับแบรนด์วิธ ได้สูง" นายสมพล กล่าว

สำหรับบริการเคเบิลใต้น้ำนั้น ล่าสุดบอร์ดกสท ได้อนุมัติงบลงทุนเคเบิลใต้น้ำเอเชีย แปซิฟิก เกตเวย์ (เอพีจี) มูลค่า 300 ล้านบาทเชื่อมประเทศในเอเชียแปซิฟิกอยู่ระหว่างการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2557 มีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตร มีจุดขึ้นบกในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย

สำหรับ โครงการสัญญาเช่าไฟเบอร์ออฟติกทูดิเอ็กซ์ (เอฟทีทีเอ็กซ์) จำนวน 10 จังหวัดภูมิภาคได้แก่ เกาะสมุย หัวหิน โคราช อุบลราชธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ อุดรธานี ภูเก็ต และพัทยา ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบทางราชการ และได้ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว

ทั้งนี้ ตามแผนธุรกิจของกสท ในปี 2555 โครงการเอฟทีทีเอ็กซ์ภูมิภาคจะมีรายได้ 528 ล้านบาท ในปี 2556 จะเพิ่มเป็น 1,373 ล้านบาท โดยสัญญาเช่าทั้ง 10 จังหวัด มีอายุ 6 ปี ซึ่ง กสท คาดว่าจะมีรายได้มากกว่า 12,000 ล้านบาท ส่วนในกทม.และปริมณฑลนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) โดยเฟสแรกจะดำเนินการก่อน 1 แสนพอร์ตมูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120216/43
6434/%A1%CA%B7-
%C5%D8%C2%E0%A4%E0%BA%D4%C5%E3%B5%E9%B9%E9
%D3-%C3%D8%A1%BA%C3%CD%B4%E1%BA%B9%B4%EC-
3%A8%D5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.