Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 เมษายน 2555 CAT กลับลำไม่ขายโครงข่าย 2G ให้ TRUE GSM1800 DTAC ( อ้างต่อยอดดีกว่าขาย..ถ้าขายแล้วจะมีอะไรทำกิน )

CAT กลับลำไม่ขายโครงข่าย 2G ให้ TRUE GSM1800 DTAC ( อ้างต่อยอดดีกว่าขาย..ถ้าขายแล้วจะมีอะไรทำกิน )


ประเด็นหลัก

ดังนั้น เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงเอกชนก็ไม่สามารถใช้โครงข่ายดังกล่าว เพื่อให้บริการต่อไปได้ กสท ก็จะได้สิทธิ์ให้บริการบนโครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินของ กสท ซึ่งอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า สามารถนำมาสร้างรายได้ให้ กสท ด้วยการนำมาพัฒนาโครงข่ายให้ทันสมัย รองรับการให้บริการ 3G และ 4G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันกรณีเสาโทรคมนาคมจะเป็นข้อพิพาทกันระหว่างคู่สัญญา และมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาล แต่ กสท ก็เชื่อมั่นว่า อุปกรณ์ตามสัญญาสัมปทานนั้น ต้องเป็นสมบัติของ กสท เพราะการสื่อสารโทรคมนาคมหากขาดอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งก็ไม่สามารถติดต่อสื่อ สารได้ โดยปัจจุบัน กสท มีเสา และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่คู่สัญญาจะต้องโอนให้เป็นทรัพย์สินของ กสท มากกว่า 20,000 แห่ง
_________________________________________________________


กสท กลับลำไม่ขายโครงข่าย 2G เล็งจับมือคู่สัญญาพัฒนาต่อยอด


กสท เปลี่ยนใจเลิกแผนขายโครงข่าย 2G คืนเอกชน เล็งพัฒนาต่อยอดเป็น 3G และ 4G ในอนาคต จับเข่าคุยคู่สัญญาเดิม ทั้ง ดีแทค ทรูมูฟ ดีพีซี ศึกษาแนวทางลงทุน คาดรู้ผลกลางปีนี้

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า จากเดิมที่กสทมีแนวคิดต้องการขายทรัพย์สิน คือ โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 2G คืนให้เอกชน แต่หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก็มีความต้องการที่จะนำโครงข่าย 2G มาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้ กสท และยังสนองตอบนโยบายของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที รวมทั้งเป็นแนวทางของบอร์ด กสท ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ภายใต้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือซึ่งอยู่ในรูปแบบ สร้าง-โอน-ดำเนินการ หรือ Built-Transfer-Operate (BTO) โดยเอกชนหลังจากสร้างโครงข่ายเสร็จ ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้รัฐ ส่วนเอกชนได้สิทธิในการนำทรัพย์สินนั้นมาให้บริการประชาชน โดยต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ

ดังนั้น เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงเอกชนก็ไม่สามารถใช้โครงข่ายดังกล่าว เพื่อให้บริการต่อไปได้ กสท ก็จะได้สิทธิ์ให้บริการบนโครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินของ กสท ซึ่งอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า สามารถนำมาสร้างรายได้ให้ กสท ด้วยการนำมาพัฒนาโครงข่ายให้ทันสมัย รองรับการให้บริการ 3G และ 4G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

‘เราต้องยอมรับว่า เดิม กสท มีนโยบายที่จะขายคืนทรัพย์สินโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 2G แต่เมื่อมาคิดดูหากขายทรัพย์สินไปแล้ว กสท จะเหลืออะไรไว้ทำธุรกิจ สุดท้ายองค์กรจะอยู่อย่างไร ดังนั้น เราจึงคิดว่าการนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาสร้างรายได้แบบยั่งยืนจะดีกว่า’

นอกจากนี้ กสท กำลังศึกษารูปแบบการลงทุนว่าจะดำเนินการอย่างไร สำหรับโครงข่ายดังกล่าว ซึ่งอาจจะชักชวนให้เอกชนที่สนใจ หรือผู้รับสัมปทานเดิมให้เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนพัฒนาโครงข่ายกับ กสท โดยคาดว่า ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จกลางปีนี้ พร้อมทั้งจะเจรจากับคู่สัญญาสัมปทานเพื่อหาแนวทางการทำธุรกิจร่วมกัน

เบื้องต้นได้หารือกับผู้บริหารของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ รวมถึงบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) แล้ว ซึ่งทุกรายต่างให้ความสนใจในรูปแบบดังกล่าว เนื่องจากเป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และยังเป็นการดำเนินการรองรับการประกาศใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันของคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้วยเช่นกัน

‘แม้จะมีข้อโต้แย้งจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า อุปกรณ์ 2G จะกลายเป็นเศษเหล็กเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงก็ตาม แต่เรามองว่า การสร้างเสาโทรคมนาคม และอุปกรณ์โทรคมนาคม จากนี้ไปไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฉะนั้นควรใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด’

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันกรณีเสาโทรคมนาคมจะเป็นข้อพิพาทกันระหว่างคู่สัญญา และมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาล แต่ กสท ก็เชื่อมั่นว่า อุปกรณ์ตามสัญญาสัมปทานนั้น ต้องเป็นสมบัติของ กสท เพราะการสื่อสารโทรคมนาคมหากขาดอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งก็ไม่สามารถติดต่อสื่อ สารได้ โดยปัจจุบัน กสท มีเสา และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่คู่สัญญาจะต้องโอนให้เป็นทรัพย์สินของ กสท มากกว่า 20,000 แห่ง

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000047197

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.