Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 มิถุนายน 2554 ปฏิวัติ3G!! TOT3Gร่วมกับCAT3G ร่วมทำ 3G ร่วมกัน10000สถานี-ร่างMOUแล้ว++// แฉการเมืองบล็อกAISจับมือTOT

ปฏิวัติ3G!! TOT3Gร่วมกับCAT3G ร่วมทำ 3G ร่วมกัน10000สถานี-ร่างMOUแล้ว++// แฉการเมืองบล็อกAISจับมือTOT

ปฏิวัติ3G!! TOT3Gร่วมกับCAT3G ร่วมทำ 3G ร่วมกัน10000สถานี-ร่างMOUแล้ว++// แฉการเมืองบล็อกAISจับมือTOT
ปฏิวัติ3G!! TOT3Gร่วมกับCAT3G ร่วมทำ 3G ร่วมกัน10000สถานี-ร่างMOUแล้ว++// แฉการเมืองบล็อกAISจับมือTOT
ประเด็นหลัก

ทั้ง นี้ ภายหลังโรมมิ่งแล้ว ทีโอที และ กสทฯ จะมีโครงข่าย 3จี รวมกัน 1 หมื่นสถานี แบ่งเป็น ทีโอที 5,000 สถานี มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ที่มีกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซอร์เตียม กำลังดำเนินการเฟสแรกอยู่ ขณะที่ กสทฯ หากไม่มีอุปสรรคในการนำเข้าและติดตั้งอุปกรณ์ จะติดตั้ง 3จี เอชเอสพีเอ ในปีแรก 5,000 สถานีเช่นกัน
แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า การโรมมิ่งเครือข่ายกับ กสทฯ จะทำให้ทีโอทีได้ประโยชน์ แต่จะส่งผลกระทบต่อการเจรจาในการใช้สถานีฐานร่วมกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จำนวน 2,000 สถานี หรือเกือบ 40% ของโครงการ 3จี เพราะจะเข้าไปช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่ม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มากขึ้น
“ขณะนี้มีความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะบล็อกเพื่อไม่ให้เอไอ เอสเข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทีโอที ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ทำให้ทีโอทีเสียมากกว่าที่ควรได้ เพราะการที่โครงการ 3จี สามารถลดวงเงินการดำเนินการจาก 2.9 หมื่นล้านบาทเดิม เหลือ 1.6 หมื่นล้านบาทนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องใช้สถานีฐานร่วมกับเอไอเอส” แหล่งข่าวกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับบริการ 3จี เอชเอสพีเอ ระหว่าง กสทฯ และกลุ่มทรูที่จะเกิดขึ้นนั้น ให้บริการที่ 40 เมกะบิตต่อวินาที หรือเทียบเท่า 4จี ซึ่งทรูจะให้บริการในนามทรูมูฟเอช หลังจากเซ็นสัญญาให้บริการนี้กับ กสทฯ ระยะเวลา 14 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) อนุมัติ ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาใดๆ จากการที่บอร์ด กสทช. ประกาศชัดเจนว่าจะให้การสนับสนุนเรื่อง 3จี อย่างเต็มที่

_________________________________________________________

แฉการเมืองบล็อกAISจับมือTOT พาณิชย์ลุยสอบผู้ถือหุ้นดีแทคเชิงลึก


กสทฯ เล็งโรมมิ่งให้บริการ 3จี-ทีโอที ขยายโครงข่ายครอบคลุม ด้านทีโอทีหวั่นโครงการดังกล่าวกระทบเจรจาเอไอเอสสร้างความแข็งแกร่ง "กลุ่มทรูฯ พาณิชย์” ตั้งกรรมการสอบดีแทค หวังสางปมผิดกฎหมายต่างด้าว คาดรู้ผลภายใน 10 วัน
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ กสทฯ และ บมจ. ทีโอที อยู่ระหว่างการร่างข้อตกลงเพื่อบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ในการโรมมิ่งเครือข่าย 3จี เอชเอสพีเอ ของ
กสทฯ ที่ 850 เมกะเฮิรตซ์ กับ 1900 เมกะเฮิรตซ์ของทีโอที เพื่อให้การขยายโครงข่าย 3จี ไปได้ไกลและครอบคลุมมากขึ้น
ทั้ง นี้ ภายหลังโรมมิ่งแล้ว ทีโอที และ กสทฯ จะมีโครงข่าย 3จี รวมกัน 1 หมื่นสถานี แบ่งเป็น ทีโอที 5,000 สถานี มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ที่มีกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซอร์เตียม กำลังดำเนินการเฟสแรกอยู่ ขณะที่ กสทฯ หากไม่มีอุปสรรคในการนำเข้าและติดตั้งอุปกรณ์ จะติดตั้ง 3จี เอชเอสพีเอ ในปีแรก 5,000 สถานีเช่นกัน
แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า การโรมมิ่งเครือข่ายกับ กสทฯ จะทำให้ทีโอทีได้ประโยชน์ แต่จะส่งผลกระทบต่อการเจรจาในการใช้สถานีฐานร่วมกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จำนวน 2,000 สถานี หรือเกือบ 40% ของโครงการ 3จี เพราะจะเข้าไปช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่ม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มากขึ้น
“ขณะนี้มีความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะบล็อกเพื่อไม่ให้เอไอ เอสเข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทีโอที ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ทำให้ทีโอทีเสียมากกว่าที่ควรได้ เพราะการที่โครงการ 3จี สามารถลดวงเงินการดำเนินการจาก 2.9 หมื่นล้านบาทเดิม เหลือ 1.6 หมื่นล้านบาทนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องใช้สถานีฐานร่วมกับเอไอเอส” แหล่งข่าวกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับบริการ 3จี เอชเอสพีเอ ระหว่าง กสทฯ และกลุ่มทรูที่จะเกิดขึ้นนั้น ให้บริการที่ 40 เมกะบิตต่อวินาที หรือเทียบเท่า 4จี ซึ่งทรูจะให้บริการในนามทรูมูฟเอช หลังจากเซ็นสัญญาให้บริการนี้กับ กสทฯ ระยะเวลา 14 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) อนุมัติ ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาใดๆ จากการที่บอร์ด กสทช. ประกาศชัดเจนว่าจะให้การสนับสนุนเรื่อง 3จี อย่างเต็มที่
ขณะเดียวกัน นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบกรณี ที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้ร้องทุกข์ต่อกองปราบปรามถึงปัญหาโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค แล้ว เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีนายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นประธาน และมีตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรมสรรพากร และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นคณะกรรมการร่วมพิจารณา โดยกำหนดให้พิจารณาแล้วเสร็จภายใน 10 วัน ทำการนับจากวันที่ลงนามแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้พิจารณาอย่างเร่งด่วนและให้ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นนิติบุคคล 56 ราย.

ไทยโพสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.