Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 ธันวาคม 2554 ปิดทาง สัญญาคลุมเครือซ้ำรอย ”ทรู-กสท”ไอซีที ย้ำ สอบลึกรอบด้าน เชื่อจบในชั้นศาล

ปิดทาง สัญญาคลุมเครือซ้ำรอย ”ทรู-กสท”ไอซีที ย้ำ สอบลึกรอบด้าน เชื่อจบในชั้นศาล


ประเด็นหลัก


ไอซีทีระบุจะไม่ให้เปิดโอกาส สัญญาคลุมเครืออย่างกรณีของทรู-กสท อีก ยกตัวอย่างหากเอไอเอส ขอเลี่ยงทำสัญญาแบบนี้กับ TOT3G ได้ความถี่ย่าน 2000MHz ไปบริหาร อุตสาหกรรมจะยอมรับได้หรือไม่ โดยยืนยันจะเดินหน้าพิจารณาสัญญาเจ้าปัญหาทรู-กสทไปจนสิ้นสุดคาด ก.พ. ปี 55 จบ แม้ไม่ใช่หน่วยงานชี้ขาด แต่การสอบสวนเพียงครึ่งทางพบพิรุธมากมาย หนุนกสทช.ควรเป็นจุดให้คำตอบ เชื่อกรณีนี้จบที่ศาลแน่นอน

_________________________________________________________



ปิดทาง สัญญาคลุมเครือซ้ำรอย ”ทรู-กสท”ไอซีที ย้ำ สอบลึกรอบด้าน เชื่อจบในชั้นศาล



ไอ ซีทีระบุจะไม่ให้เปิดโอกาสสัญญาคลุมเครืออย่างกรณีของทรู-กสท อีก ยกตัวอย่างหากเอไอเอส ขอเลี่ยงทำสัญญาแบบนี้กับ TOT3G ได้ความถี่ย่าน 2000MHz ไปบริหาร อุตสาหกรรมจะยอมรับได้หรือไม่ โดยยืนยันจะเดินหน้าพิจารณาสัญญาเจ้าปัญหาทรู-กสทไปจนสิ้นสุดคาด ก.พ. ปี 55 จบ แม้ไม่ใช่หน่วยงานชี้ขาด แต่การสอบสวนเพียงครึ่งทางพบพิรุธมากมาย หนุนกสทช.ควรเป็นจุดให้คำตอบ เชื่อกรณีนี้จบที่ศาลแน่นอน


น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า กระทรวง เห็นชอบให้คณะกรรมการสอบสวนความไม่โปร่งใสการทำสัญญาโครงการโทรศัพท์เคลื่อน ที่รูปแบบใหม่ บนระบบเทคโนโลยี 3G ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และกลุ่มบมจ. ทรู คอร์เปอเรชั่น ขยายเวลาการสอบสวนออกไปอีก 60 วัน หรือจะไปสิ้นสุดในก.พ..ปี 2555


โดย เบื้องต้นมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการพบว่า แนวทางการสอบสวนชุดที่มี พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธาน ได้มีความเห็นว่าการสอบสวนมีความผิดปกติในหลายประเด็น


“วันนี้ เดินไปครึ่งทางกว่าก็มีเรื่องไม่ปกติมากมายแล้ว เราไม่ได้เป็นหน่วยงานชี้ขาด แต่จะสรุปเพื่อเสนอหรือชี้ความเป็นไปได้ กสทช.ควรจะมาดูแลเรื่องนี้ชัดเจนด้วย”


เขากล่าวว่า โครงการนี้แม้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่เกี่ยวข้องว่าเมื่อพรรคเพื่อไทย หรือ พท.เข้ามาบริหาร จะเสมือนกลั่นแกลัง หรือมีเจตนายกเลิกสัญญาโครงการนี้ หากไม่ได้ข้อสรุป ทางออกคงต้องยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอให้ชี้ขาดแน่นอน


ขณะที่ยืน ยันว่ากระทรวงไอซีทีพร้อมตรวจสอบทุกสัญญาที่พบว่าเกิดความไม่ปกติ ซึ่งหลายโครงการเกี่ยวกับหลายหน่วยงาน จึงไม่สามารถสรุปผลสอบสวนได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ยืนยันในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ปัญหาการทำสัญญา หรือสัมปทานที่ไม่โปร่งใส จะต้องมีข้อสรุปในทุกโครงการ


แต่ อนาคต หากนายกรัฐมนตรีจะปรับคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ใหม่ ก็มีความเป็นไปได้ว่าการสอบสวนความผิดปกติทุกโครงการอาจต้องสะดุด และเริ่มนับหนึ่งอีกครั้ง เมื่อได้ รมว.คนใหม่

รมว.ไอซีที กล่าวด้วยว่า เรื่องสัญญาทรูและกสท ไม่ควรมีกรณีไหนเกิดในลักษณะนี้ได้อีก เพราะนโยบายของตนชัดเจนว่า การดำเนินการอะไรที่นำมาซึ่งความไม่เรียบร้อย หรือไม่ถูกต้อง และอาจสร้างความไม่ชัดเจนในอนาคตขึ้นมาอีก ก็ไม่ควรจะเกิดขึ้น


เขายกตัวอย่างด้วยว่า หากมีเอไอเอส หรือใครมาบอกว่าจะทำสัญญาแบบที่ทรู และกสททำ แต่ไปทำกับทีโอทีเพื่อให้ได้ความถี่ย่าน 2000 MHz มาดำเนินการระยะยาว แบบนี้อุตสาหกรรมต้องการเห็น หรือรับได้หรือไม่ถ้ามันเกิดขึ้น และมั่นใจว่า จะต้อวงมีเรื่องวุ่นวายทางคดีความตามมาแน่นอน


“เรื่องของทรูและ กสท ผมว่าไม่ว่าหน่วยงานที่มีอำนาจไหน ชี้ขาดออกมาแล้ว ก็เชื่อว่าไม่จะจบโดยง่าย เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจไม่ยอมรับ และมีการดำเนินการในชั้นคดีความที่ศาลแน่นอน” รมว.ไอซีทีให้ความเห็น


พิ ศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รักษาการผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้ กสท และกลุ่ม ทรู ได้เดินหน้าโครงการ 3G ไปแล้ว โดยมีฐานลูกค้าประมาณ 7 แสนเลขหมายในปัจจุบัน แต่ก็เป็นการดำเนินการท่ามกลางข้อกังขาของสังคมมาตลอดนั้น แต่ในทางปฏิบัตินั้น สตง.ยังมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินที่จะเกิดจากโครงการนี้ว่าสมประโยชน์ กับสิ่งที่ดำเนินการหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะต้องตรวจสอบเชิงลึกต่อไปว่า สัญญาใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการทำสัญญาโครงการนี้ จะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายเม็ดเงินแผ่นดินหรือไม่ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องผลตอบแทนที่รัฐควรจะได้จากเอกชนที่เป็นคู่สัญญา ซึ่งหากเกิดความเสียหายตามมา ก็ต้องมีคนรับผิดชอบกับเรื่องที่เกิดขึ้นแน่นอน


สำหรับการทำ สัญญาโครงการ 3G ระหว่าง กสท และทรู ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.2554 หรือเกือบ 1 ปี นั้น หลังจากได้ลงนามสัญญาร่วมกันเพื่อดำเนินกิจการโครงการที่เรียกว่า 3G รูปแบบใหม่ และทำให้เกิดข้อกังขาจากหลายฝ่ายว่า มีการดำเนินการอย่างรวบรัด และผิดสังเกตหลายประการ


โดยฝ่ายเกี่ยวข้องต้องเข้ามาตรวจสอบ เช่น คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีฯ สมาชิกวุฒิสภา /คณะกรรมาธิการตรวจสอบการทุจริต และธรรมาภิบาลฯ สมาชิกวุฒิสภา และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ไปพิจารณา จนมีมติรับเรื่องไว้สอบสวน พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง จิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดใหญ่ กสท ฐานร่ำรวยผิดปกติ หรือ บอร์ด กสท ว่าทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่


ขณะที่การตรวจสอบของสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน หรือ สตง.ได้สรุปผลสอบสวนที่พบความผิดปกติมากถึง 14 ประเด็น เช่น เป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท แต่ไม่ทำตามระเบียบว่าด้วยพระราชบัญญัติร่วมทุนรัฐวิสาหกิจปี 2535

นอก จากนี้ ยังเห็นว่าการทำโครงการระหว่าง กสท ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ กับเอกชนคู่สัญญา ทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์มหาศาล ที่ควรจะได้จากการเปิดกว้างให้ค่ายโทรคมนาคม เข้ามาแข่งขันพร้อมกันทุกราย แทนที่จะเลือกลงนามกับเอกชนเพียงรายเดียว.

tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1081

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.