Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 เมษายน 2555 AIS เร่งกำจัดจุดอ่อน(กับโครงสร้างผู้ถือหุ้น) ก่อนระเบิดศึกประมูล 3G // สงคราม 3G หลังปูพรมเสร็จ 3-6 เดือนรู้ผล!!

AIS เร่งกำจัดจุดอ่อน(กับโครงสร้างผู้ถือหุ้น) ก่อนระเบิดศึกประมูล 3G // สงคราม 3G หลังปูพรมเสร็จ 3-6 เดือนรู้ผล!!


ประเด็นหลัก

"ฐิติพงศ์ เขียวไพศาล" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานการตลาด เอไอเอส เสริมว่า ปัญหาของผู้บริโภคเวลานี้คือ คุณภาพโครงข่ายโดยเฉพาะการใช้ดาต้าที่เติบโตสูงขึ้นมาก ขณะที่แบนด์วิดท์ไม่เพียงพอ ตราบที่ยังไม่มี 2.1 GHz ปัญหาก็ยังไม่หมด เพราะไม่สามารถนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพได้ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ดาต้ามาเบียดแบนด์วิดท์การใช้ด้านเสียง แต่ได้พยายามเพิ่มสถานีฐานให้มากขึ้นเป็น 3,000 แห่ง ภายใน มิ.ย.-ก.ค. จากที่มีอยู่ 1,800 สถานีฐาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา

"ความต้องการของ ตลาดวันนี้คือการใช้โมบายดาต้า เราจึงต้องพยายามพัฒนาโครงข่ายให้รองรับการใช้งานให้ได้มากที่สุด มาร์เก็ตติ้งต่าง ๆ ต้องเทไปทางนี้ก่อน อาทิ ทำแพ็กเกจรองรับแอปพลิเคชั่นหรือพ่วงสมาร์ทโฟน รวมถึงเน้นทำตลาดแนวลึก สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ เวลานี้ต่อให้ออกโปรโมชั่นใหม่ ผู้บริโภคก็ไม่ตื่นเต้นเหมือนก่อน เขารอ 3G สีสันการตลาดแรง ๆ แบบปูพรม การแข่งขันที่รุนแรงจะกลับมาอีกครั้งเพื่อช่วงชิงผู้บริโภคในอีก 3-6 เดือน หลังการประมูลและเครือข่ายเริ่มพร้อมเปิดให้บริการ"
_________________________________________________________

"เอไอเอส" เร่งกำจัดจุดอ่อน ก่อนระเบิดศึกประมูล 3G


ลุ้น กันอีกรอบกับการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G โดย "กสทช." ภายในเดือนนี้ เดือนหน้าจะเริ่มชัดเจนขึ้น ทีนี้ก็ต้องมาดูกันต่อว่าระหว่างทางจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง

เริ่มเข้าสู่กระบวนการประมูลได้จริงในไตรมาส 3 นี้หรือไม่

พี่ ใหญ่ "เอไอเอส" ก็เตรียมความพร้อมมาตลอด ตั้งแต่ตั้งทีมเฉพาะแยกโฟกัสเรื่อง 3G ต่างหาก มีซีอีโอ "วิเชียร เมฆตระการ" คุมทีมเอง แต่รู้ดีว่าที่อ่อนไหวเป็นพิเศษ ทั้งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้

บริษัทแม่ "อินทัช" จัดการเอง หนีไม่พ้นการปิดจุดอ่อนเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้น

ก่อน หน้านี้ยังชิมลางขอทดลองเทคโนโลยี 4G ในระหว่างรอลุ้นใบอนุญาตใหม่ และความชัดเจนในการจัดการกับคลื่น 1800 MHz ของดีพีซีเดิมที่จะหมดอายุเดือน ก.ย.ปีหน้า

"เราต้องเตรียมตนเองให้พร้อมรับการแข่งขัน ทั้งจาก 3G ที่จะเข้าประมูลทั้งคลื่น 2.1GHz และ 1800 MHz ซึ่งนำไปให้บริการ 4G ได้ โดยตั้งเป้าว่าจะต้องได้สิทธิ์ใช้คลื่น 2.1 GHz อย่างน้อย 15 MHz ส่วน 1800 MHz ต้องการ 20 MHz หลังทดสอบบริการแล้วพบว่า หากได้แบนด์วิดท์น้อยกว่านี้จะมีปัญหาในการให้บริการ"

"วิเชียร" ย้ำอีกว่า เอไอเอสเตรียมความพร้อมไว้ทุกด้านแล้ว รอเพียงกฎกติกาที่ชัดเจนจาก กสทช. หากเปิดประมูลได้ภายในไตรมาส 3 บริษัทจะเปิดให้บริการได้ภายในไตรมาส 2 ปีหน้า

"ฐิติพงศ์ เขียวไพศาล" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานการตลาด เอไอเอส เสริมว่า ปัญหาของผู้บริโภคเวลานี้คือ คุณภาพโครงข่ายโดยเฉพาะการใช้ดาต้าที่เติบโตสูงขึ้นมาก ขณะที่แบนด์วิดท์ไม่เพียงพอ ตราบที่ยังไม่มี 2.1 GHz ปัญหาก็ยังไม่หมด เพราะไม่สามารถนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพได้ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ดาต้ามาเบียดแบนด์วิดท์การใช้ด้านเสียง แต่ได้พยายามเพิ่มสถานีฐานให้มากขึ้นเป็น 3,000 แห่ง ภายใน มิ.ย.-ก.ค. จากที่มีอยู่ 1,800 สถานีฐาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา

"ความต้องการของ ตลาดวันนี้คือการใช้โมบายดาต้า เราจึงต้องพยายามพัฒนาโครงข่ายให้รองรับการใช้งานให้ได้มากที่สุด มาร์เก็ตติ้งต่าง ๆ ต้องเทไปทางนี้ก่อน อาทิ ทำแพ็กเกจรองรับแอปพลิเคชั่นหรือพ่วงสมาร์ทโฟน รวมถึงเน้นทำตลาดแนวลึก สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ เวลานี้ต่อให้ออกโปรโมชั่นใหม่ ผู้บริโภคก็ไม่ตื่นเต้นเหมือนก่อน เขารอ 3G สีสันการตลาดแรง ๆ แบบปูพรม การแข่งขันที่รุนแรงจะกลับมาอีกครั้งเพื่อช่วงชิงผู้บริโภคในอีก 3-6 เดือน หลังการประมูลและเครือข่ายเริ่มพร้อมเปิดให้บริการ"

ก่อนจะถึงวัน นั้น ปัญหาที่ผู้บริโภคต้องเจอมากขึ้นจากความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนและการใช้โซ เชียลเน็ตเวิร์กคือ ภาวะ "บิลช็อก" จากการนำมือถือไปใช้ต่างประเทศ ดังนั้นแต่ละปีมีลูกค้าร้องเรียนหลักร้อยราย แม้ไม่มากแต่มูลค่าความเสียหายบางรายเป็นหลักหลายแสนบาท "เอไอเอส" จึงกำหนดค่าบริการ 1 ประเทศ 1 เรต เพื่อป้องกันการสับสน ทั้งมีแพ็กเกจโรมมิ่งให้เลือกหลากหลาย ทั้งโทร.เข้า-ออก, SMS และการใช้โมบายดาต้า มีตั้งแต่ใช้ไม่มากไปจนถึงใช้ไม่อั้น

ล่าสุดมี "AIS Worry Free Data Roaming" แจ้งเตือนหากปริมาณการใช้ในแพ็กเกจเหลือสิทธิ์ใช้ 1 MB พร้อมแจ้งข้อมูลแพ็กเกจใหม่ที่สมัครเพิ่มเติมได้ทันที หรือกรณีที่เลือกแพ็กเกจใช้ไม่อั้นซึ่งต้องใช้บนเครือข่ายที่บริษัทกำหนด เท่านั้น บริการนี้จะบล็อกการใช้ดาต้าทันทีหากโทรศัพท์ไปจับสัญญาณเครือข่ายอื่น

หลังกำจัดจุดอ่อน (ไหว) ไปแล้วก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป จนกว่ากระบวนการประมูลไลเซนส์ใหม่จะจบ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1335367178&grpid=&catid=06&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.