Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 กันยายน 2554 ICTวางใจCAT ++ ทุ่ม 20 ล้านบาท ผนึกกระทรวงเกษตรฯ เปิดบริการ CAT e-smart farm ระบบตามสอบ-เรียกคืนสินค้าเกษตรด้วย

ICTวางใจCAT ++ ทุ่ม 20 ล้านบาท ผนึกกระทรวงเกษตรฯ เปิดบริการ CAT e-smart farm ระบบตามสอบ-เรียกคืนสินค้าเกษตรด้วย


ประเด็นหลัก

นางอโณทัย คล้ามไพบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ กสท กล่าวว่า บริการ CAT e-smart farm นี้ เป็นการผนึกกำลังระหว่างกระทรวงไอซีที โดย กสท กระทรวงเกษตรฯ สมาคมผู้ส่งออกผักผลไม้และภาคเอกชน เพื่อร่วมมือการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรส่งออกไปกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) โดยเปิดตัวระบบตามสอบและเรียกคืนสินค้าเกษตรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ยังเป็นการร่วมมือกันพัฒนาระบบ ระหว่างสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง บริษัทเอกชนชั้นนำหลายแห่ง ทั้งในภาคเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และ กสท รวมทั้ง ปรับปรุง รวมไปถึงการยกระดับระบบการตามสอบ และเรียกคืนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบมาตรฐาน Electronic Product Code Information Services : EPCIS

“ใน เฟสแรก กสท ลงทุน CAT e-smart farm จำนวน 20 ล้านบาท ตั้งเป้าปีแรกจะมีลูกค้ามาใช้บริการ 50-100 รายในสมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการผลไม้ไทย กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และสหกรณ์หมู่บ้าน เป็นต้น โดยเสียค่าบริการรายละ 1-2 พันบาทต่อคนต่อเดือน ไม่จำกัดจำนวนของสินค้า” นางอโณทัย กล่าว
_________________________________________________________

กสท ผนึกก.เกษตรฯ เปิดตัว 'e-smart farm'

ไอ ซีทีวางใจ กสท ทุ่ม 20 ล้านบาท ผนึกกระทรวงเกษตรฯ สมาคมผู้ส่งออกผักผลไม้ไทยและภาคเอกชน เปิดบริการ CAT e-smart farm ระบบตามสอบ-เรียกคืนสินค้าเกษตรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แก้ปัญหาสินค้าเกษตรส่งออกไปกลุ่มอียู...

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายในงานลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีการตามสอบสินค้า เกษตร และการจัดการห่วงโซ่อุปทานอาหารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แคท อี-สมาร์ท ฟาร์ม (CAT e-smart farm) ว่า กระทรวงส่งเสริมสนับสนุนการใช้ไอซีทีทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยมอบนโยบายให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT นำบริการนี้ มาดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการอย่างเต็มความสามารถ

นาง อโณทัย คล้ามไพบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ กสท กล่าวว่า บริการ CAT e-smart farm นี้ เป็นการผนึกกำลังระหว่างกระทรวงไอซีที โดย กสท กระทรวงเกษตรฯ สมาคมผู้ส่งออกผักผลไม้และภาคเอกชน เพื่อร่วมมือการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรส่งออกไปกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) โดยเปิดตัวระบบตามสอบและเรียกคืนสินค้าเกษตรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ยังเป็นการร่วมมือกันพัฒนาระบบ ระหว่างสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง บริษัทเอกชนชั้นนำหลายแห่ง ทั้งในภาคเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และ กสท รวมทั้ง ปรับปรุง รวมไปถึงการยกระดับระบบการตามสอบ และเรียกคืนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบมาตรฐาน Electronic Product Code Information Services : EPCIS

ผู้ ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ กสท กล่าวต่อว่า กสท พัฒนาต่อยอดระบบ CAT e-smart farm ให้ที่มีโครงสร้าง และข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับทั่วโลกแล้วเสร็จ พร้อมให้บริการขยายผลสู่หน่วยงานราชการและผู้ประกอบการส่งออกต่างๆ ในเดือน ก.ย. 2554 นี้ โดยใช้งบลงทุนจำนวน 20 ล้านบาท ตั้งเป้าลูกค้าเกษตรกร 50-100 คน โดยเสียค่าใช้จ่ายคนละ 1-2 พันบาทต่อเดือน

“ในเฟสแรก กสท ลงทุน CAT e-smart farm จำนวน 20 ล้านบาท ตั้งเป้าปีแรกจะมีลูกค้ามาใช้บริการ 50-100 รายในสมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการผลไม้ไทย กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และสหกรณ์หมู่บ้าน เป็นต้น โดยเสียค่าบริการรายละ 1-2 พันบาทต่อคนต่อเดือน ไม่จำกัดจำนวนของสินค้า” นางอโณทัย กล่าว

สำหรับโครงการความร่วมมือฯ ดังกล่าว ใช้เวลาในการจัดเตรียมกระบวนการก่อนการนำเข้าข้อมูลแล้วเสร็จในเดือน ต.ค. 2554 กระบวนการนำข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อถือได้ของข้อมูลจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถแถลงผลความสำเร็จของโครงการ และขยายผลการดำเนินโครงการได้ ในเดือน มี.ค.2555 ทั้งนี้ ไม่ได้บังคับผู้ประกอบการทุกรายให้เข้าร่วม แต่จะเชิญชวนผู้ประกอบมาใช้ให้มากที่สุด เพื่อให้ตรวจสอบกระบวนการผลิตในประเทศได้

นางอโณทัย กล่าวอีกว่า กสท สนับสนุนโครงการความร่วมมือฯ ทางด้านไอซีที ร่วมพัฒนาระบบการตามสอบด้วยอิเล็กทรอนิกส์ กับกระทรวงเกษตรฯ มาเป็นเวลากว่า 5 ปี ดังนั้น จึงเข้าใจปัญหาด้านการใช้งานระบบการตามสอบด้วยอิเล็กทรอนิกส์โดยละเอียด ซึ่งระบบการตามสอบ CAT e-smart farm จะสามารถช่วยผู้ประกอบการของสมาคมที่เข้าร่วมโครงการได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ระบบนี้จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบการตามสอบของกรมวิชาการเกษตรได้ โดยอัตโนมัติ ทำให้ความผิดพลาดในการนำเข้าข้อมูลน้อยลงและสามารถตรวจสอบได้

ทั้ง นี้ ภายในงานยังมี นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และนายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นางมัณฑนา มิลน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายปฐม แทนขำ นายกสมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ และนายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟเอ็กซ์เอ จำกัด ร่วมด้วย.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/205740

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.