Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2555 ( กสทช. เตรียมพร้อมประมูล 3G 2100 ) 3 ร่างประกาศ ต้องเสร็จก่อนเริ่มประมูล // เตรียมศึกษา 4G 1800

( กสทช. เตรียมพร้อมประมูล 3G 2100 ) 3 ร่างประกาศ ต้องเสร็จก่อนเริ่มประมูล // เตรียมศึกษา 4G 1800


ประเด็นหลัก


ขณะที่ประเด็นของคลื่นความ ถี่ ที่จะนำมาประมูลในอนาคตนั้น มีการมองว่า หาก กสทช. สามารถจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz สำเร็จ จะได้โมเดลของการประมูลมา ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า การประมูลย่านความถี่อื่นๆ จะนำโมเดลนี้มาใช้หรือไม่ เนื่องจากปี 2556 จะมีคลื่นความถี่ 1800MHz ความกว้าง 12.5MHz ของ 2 โอเปอเรเตอร์ ที่จะหมดอายุ อย่างไรก็ดี คลื่นความถี่ดังกล่าว มีความกว้างไม่ถึง 45MHz จึงเป็นโจทย์ต่อ กสทช. ว่า หากนำโมเดลนี้มาใช้ จะเป็นอย่างไร

ซึ่ง พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า วิธีปัจจุบัน อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

“เราต้องดูว่าสเปคตรัมที่มันจะ เกิดขึ้นในภาพก็คือโอเปอเรเตอร์ 2 ราย A กับ B ซึ่งมีความถี่คนละ 12.5MHz อยู่แยกกัน เพราะฉะนั้น หากทำแบบเดิมสล็อตละ 5MHz ก็ไม่สามารถทำได้ กล่าวคือ วิธีการที่ กสทช. ทำอยู่เวลานี้ ก็อาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ เช่น โอเปอเรเตอร์ C อยากจะคืนคลื่นความถี่บ้าง ก็อาจจะทำให้คลื่นความถี่นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป โดยส่วนตัวคิดว่าในการประมูลคลื่นความถี่ วิธีประมูลไม่สามารถใช้เป็นโซลูชั่นหลักได้ แต่ต้องวิเคราะห์ดูสถานการณ์นั้นๆ กับสภาพแวดล้อมของบล็อก และที่สำคัญ เราจะประมูลแล้ว ต้องมองว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะวิ่งไปถึงจุดไหนในสเปคตรัมนั้น นี่คือสิ่งที่ควรจะคิด อีกทั้ง ความสำเร็จในอดีต ก็ไม่สามารถที่จะเอามาใช้เป็นความสำเร็จในอนาคตได้โดยทั่วไป จะต้องนำมาพิจารณาใหม่”

“สำหรับคลื่นความถี่ 1800MHz ก็คงจะเป็นการประมูลต่อ จาก 2.1GHz ก็คงต้องมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ยกโมเดลนี้ไปใช้ได้โดยตรง” พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าว



3 ร่างประกาศ ต้องเสร็จก่อนเริ่มประมูล

พิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวถึง 3 ร่างประกาศสำคัญได้แก่ ร่างประกาศ MVNO, Network Sharing และ International Roaming ในแง่ของความจำเป็น ว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ว่า กฎกติกา เป็นสิ่งสำคัญ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรเกิดก่อน เพราะผู้ลงทุน ต้องการเห็นความชัดเจนของกฎระเบียบ



“สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องการ คือความแน่นอนของกฎกระเบียบ เขาอยากรู้เดินเข้ามามีกฎกติกา ถ้าเราทำได้ก่อนจะเป็นการดี เพราะเขาจะได้รู้ว่า กฎกติกาเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เราไม่อยากเห็น และไม่อยากทำกับคนอื่น ผมก็เชื่อว่าผู้ประกอบการไม่อยากเห็น นั่นคือ เชิญชวนผู้ประกอบการมากมายมาเข้าร่วม แต่พอเข้าไปแล้วกติกาเป็นอย่างไรไม่รู้”



เขายังกล่าวด้วยว่า กฎกติกามีความสำคัญ เพราะก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุน หรือแม้กระทั่งสิทธิเสรีภาพ ทั้งนี้ เขาระบุว่า เรื่องใหญ่ มันควรจะเกิดก่อน ทั้งนี้ ร่างประกาศทั้ง 3 ฉบับ ถือเป็นเงื่อนไข ที่ต้องเสร็จก่อนการประมูล










___________________________________________


นาทีนี้ ไม่มีเกียร์ถอย กสทช.มั่นใจ ประมูลต้องฉลุย



ประเทศ ไทยมีความคาดหวังต่อ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz มาหลายครั้ง ล่าสุด คือ เดือน ก.ย. 2553 ซึ่งครั้งนั้น เรากำลังจะมีการประมูลเกิดขึ้น แต่ก็เกิดเหตุให้การประมูลต้องเป็นหมันไปเสียก่อน



ผ่านมา 2 ปี เรามีความคาดหวังเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง เมื่อเราได้คณะกรรมการ กสทช. ชุดประวัติศาสตร์เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ และเดินหน้าผลักดันให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz อีกครั้ง ภายใต้การขับเคลื่อนของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ที่มี พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นประธาน



การดำเนินการ ใกล้เข้าสู่จุดไคลแม็กซ์ หลังจากกำหนดวิธีการประมูลเป็นแบบ Simultaneous Ascending Bid Auction กสทช. จึงจัดงานสัมมนา Thailand 3G Gear Up 2012 Declaring Auction Procedure for 3G on 2.1 GHz ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจต่อรายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในอีก ไม่ช้า



พ.อ.รศ.ดรเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กทค. กล่าวในงานสัมมนา Thailand 3G Gear Up 2012 Declaring Auction Procedure for 3G on 2.1 GHz ว่า การประมูลที่จะเกิดขึ้นนี้ เป็นการประมูลครั้งประวัติศาสตร์ และเป็นภารกิจชาติ ที่สำคัญคือ การประมูลในครั้งนี้จะล้มไม่ได้โดยเด็ดขาด



“เรากำลังจะมีการ ประมูลครั้งประวัติศาสตร์ เป็นภารกิจเพื่อชาติ และจะไม่ยอมให้ใครมาล้มโดยเด็ดขาด และมั่นใจว่า ภายในระยะเวลาที่กำหนด กสทช. จะสามารถผลักดันให้การประมูลคลื่นความถี่เกิดขึ้น และสำเร็จลุล่วงได้”



เตรียมมาตรการ พร้อมรับมือฮั้วประมูล



ใน ส่วนของมาตรการป้องกันการฮั้ว ดร.พัชสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตลาดและการประมูล Cramton Associates กล่าวว่า โดยปกติแล้ว การฮั้วประมูลมีอยู่ 2 รูปแบบ ซึ่งทั้ง 2 แบบก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยแบบ Tacit Collusion เป็นการฮั้วโดยไม่มีการพูดคุยกัน ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการออกแบบการประมูลที่ดี นั่นคือการไม่เปิดเผยผู้ชนะชั่วคราว การที่ไม่ยอมให้มีการ Jump Bid หรือเสนอราคาสูงกว่าราคาที่กำหนดไว้ ก็สามารถป้องกันการฮั้วในรูปแบบ Tacit collusion ได้ แต่การฮั้วกันแบบ Overt Collusion หรือการสมรู้ร่วมคิดกันแบบจะจะ แต่เราไม่ทราบ จะมีแนวทางป้องกันอยู่ 2 วิธี คือ ลดแรงจูงใจในการฮั้วโดยราคาตั้งต้น และอีกวิธีหนึ่งก็คือใช้กฎหมายที่มีความรุนแรง หากจับได้ว่ามีการฮั้ว



ต่อ กรณีดังกล่าว ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่า “ก่อนอื่น ขอตั้งคำถามว่า ทุกวันนี้เรามีกฎหมายฆ่าคนตายเป็นความผิดใช่หรือไม่ แต่เราก็พบว่ายังมีการฆาตกรรมเกิดขึ้น เรามีกฎหมายที่บอกว่าห้ามข่มขืน แต่ก็ยังมีคนถูกข่มขืน จะเห็นได้ว่าในแต่ละวันมีคนถูกกระทำ ทั้งๆ ที่มีกฎหมาย ประเด็นคือว่า ไม่ว่าเราจะมีกฎกติกาต่างๆ ก็แล้วแต่ หากคนคนนั้นต้องการที่จะกระทำการใดๆ เพื่อฝ่าฝืน เขาก็บอกว่ามีกฎเอาไว้ฝ่าฝืน ถ้าบอกว่าเรามีกฎหมายแล้วไม่มีการฮั้วกัน ในส่วนนี้เราไม่สามารถตอบได้ 100%”



ดร.สุทธิพล กล่าวต่อว่า ประเด็นต่อมาคือ เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ลดความเสี่ยง หรือทำให้การฮั้วยากขึ้น นี่คือโจทย์ หากลำพังเราไม่มีกฎกติกาอะไรเลย แล้วก็เปิดประมูลไป ไม่มีมาตรการอะไรเลย นี่คือความเสี่ยง เราต้องพิจารณาว่าทุกอย่างต้องประกอบเข้าด้วยกัน



“ผมอยากจะ มองมาตรการลดความเสี่ยงหรือมาตรการป้องกันการฮั้ว ให้มีทั้งในแง่ของมาตรการทางด้านกฎหมาย และมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางด้านกฎหมาย ทั้งนี้ มาตรการจริงๆ ทางเทคนิค ดร.พัชรสุทธิ์ ได้กล่าวว่า มาตรการหนึ่งคือการทำราคาตั้งต้น หากเราตั้งราคาตั้งต้นให้สูงถึงระดับหนึ่ง จะฮั้วอย่างไร ก็คงไม่ต่ำไปกว่าราคาตั้งต้นแน่นอน”



ในส่วนของการคิดราคา ตั้งต้น พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า กสทช. ดำเนินการโดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยมี ดร.พัชรสุทธิ์ เข้าร่วม เนื่องจากการออกแบบรูปแบบการประมูล มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดราคา



“เรา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อรับผิดชอบในส่วนนี้โดยเฉพาะ และมี ดร.พัชรสุทธิ์ เข้าร่วม เนื่องจากการออกแบบ มีความเกี่ยวข้องกับการประมูลในด้านการกำหนดราคา คาดว่าจะเคาะออกมาเป็นทางการได้โดยเร็ว”



เขา กล่าวถึงสูตรการคิดราคาตั้งต้นว่า แต่ละประเทศก็มีสูตรที่คล้ายคลึงกัน แต่บางส่วนจะแตกต่างกัน ต้องพิจารณาจากปัจจัยประกอบ



“สูตร ของการคิดคำนวณราคาตั้งต้น เท่าที่ทราบจาก รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ คือ แต่ละประเทศก็มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วน แต่ในบางส่วนจะมีความแตกต่างกัน นั่นคือตัวปัจจัย ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือตัวสภาพตลาด รวมถึง Demand, Supply กับนโยบายของ Regulator ด้วย”



“แฟคเตอร์ X1 X2 X3 X4 เท่ากับ Y มันไม่เหมือนกันทุกโมเดล ทุกประเทศ บางประเทศก็มี X3 บางประเทศ ก็ไม่มี X 3 อาจจะมี X 4 ซึ่งมันไม่ใช่โซลูชั่นตายตัวเหมือนสูตรเส้นตรงที่เราเคยเรียนมา เพราะฉะนั้นวิธีการคิดเราก็จะดูว่าแฟคเตอร์ตัวไหนที่มีอิทธิพลสูง ในการที่จะมาเล่นกับสูตรนี้”



ประสบการณ์จากต่างแดน “เคสแก้แค้น”



ดร.พัชร สุทธิ์ กล่าวถึงกรณีของการฮั้วในต่างประเทศ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า ที่ฮั้วประมูลแบบถูกกฎหมาย ผมก็พบมามาก และเคยมีโอกาสร่วมการประมูลที่โดนเรื่องดังกล่าวนี้ ล่าสุดคือ เยอรมนีที่ประกาศผู้ชนะชั่วคราว หลังจากนั้น ก็เกิดการแก้แค้นกัน ขณะที่แคนาดา AWS Auction มีการประกาศให้มีผู้ชนะชั่วคราว กล่าวคือ จบการประมูลในแต่ละรอบ เรียกว่าเป็นผู้ชนะชั่วคราว



เขา กล่าวถึงตัวอย่างของ เคสแก้แค้นว่า “ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือที่อเมริกา นอกจากเปิดให้ประกาศผู้ชนะชั่วคราวในแต่ละรอบแล้ว เขายังไม่ได้กำหนดขอบเขตด้วยว่าราคาเสนอจะเป็นเท่าไร สมมติว่า มีรายใหญ่ 1 ราย ประมูลใบอนุญาตใบที่ 116 แล้วมีคนมาประมูลทับเข้า ผู้ประมูลรายใหญ่นี้ ก็แก้แค้นด้วยการไปประมูลใบอนุญาตของผู้ที่มาประมูลทับ ในราคา 116 ล้านเหรียญ ซึ่งตัวเลขชัดเจนว่า 116 หมายความว่า อย่ามายุ่งกับใบที่ 116 ที่เขาหมายตาไว้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การฮั้วกันแบบ Tacit collusion นี้เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบการประมูลที่ดี”



อนาคต อาจปรับโมเดล



ขณะ ที่ประเด็นของคลื่นความถี่ ที่จะนำมาประมูลในอนาคตนั้น มีการมองว่า หาก กสทช. สามารถจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz สำเร็จ จะได้โมเดลของการประมูลมา ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า การประมูลย่านความถี่อื่นๆ จะนำโมเดลนี้มาใช้หรือไม่ เนื่องจากปี 2556 จะมีคลื่นความถี่ 1800MHz ความกว้าง 12.5MHz ของ 2 โอเปอเรเตอร์ ที่จะหมดอายุ อย่างไรก็ดี คลื่นความถี่ดังกล่าว มีความกว้างไม่ถึง 45MHz จึงเป็นโจทย์ต่อ กสทช. ว่า หากนำโมเดลนี้มาใช้ จะเป็นอย่างไร



ซึ่ง พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า วิธีปัจจุบัน อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์



“เราต้องดูว่าสเปคตรัม ที่มันจะเกิดขึ้นในภาพก็คือโอเปอเรเตอร์ 2 ราย A กับ B ซึ่งมีความถี่คนละ 12.5MHz อยู่แยกกัน เพราะฉะนั้น หากทำแบบเดิมสล็อตละ 5MHz ก็ไม่สามารถทำได้ กล่าวคือ วิธีการที่ กสทช. ทำอยู่เวลานี้ ก็อาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ เช่น โอเปอเรเตอร์ C อยากจะคืนคลื่นความถี่บ้าง ก็อาจจะทำให้คลื่นความถี่นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป โดยส่วนตัวคิดว่าในการประมูลคลื่นความถี่ วิธีประมูลไม่สามารถใช้เป็นโซลูชั่นหลักได้ แต่ต้องวิเคราะห์ดูสถานการณ์นั้นๆ กับสภาพแวดล้อมของบล็อก และที่สำคัญ เราจะประมูลแล้ว ต้องมองว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะวิ่งไปถึงจุดไหนในสเปคตรัมนั้น นี่คือสิ่งที่ควรจะคิด อีกทั้ง ความสำเร็จในอดีต ก็ไม่สามารถที่จะเอามาใช้เป็นความสำเร็จในอนาคตได้โดยทั่วไป จะต้องนำมาพิจารณาใหม่”



“สำหรับคลื่นความถี่ 1800MHz ก็คงจะเป็นการประมูลต่อ จาก 2.1GHz ก็คงต้องมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ยกโมเดลนี้ไปใช้ได้โดยตรง” พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าว



หัวหมอ หมดสิทธิ์ กักตุนคลื่น



พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงกรณีการกักตุนคลื่นว่า สมมติมีผู้ประมูลรายใดรายหนึ่ง ประมูลได้คลื่นความถี่แล้วเก็บไว้เฉยๆ ไม่นำมาใช้ประโยชน์ อาจมีปัญหาถึงขั้นยึดใบอนุญาตคืนได้



“ใน IM กำหนดว่าภายใน 2 ปี จะต้องมีการ Roll out Network ครอบคลุมประชากร 50% 4 ปี 80% เพราะถ้าเก็บเอาไว้ไม่สามารถขยายโครงข่ายได้ถึงขั้นที่กำหนด ก็อาจมีปัญหาถูกยึดใบอนุญาตคืน โดยธรรมชาติแล้วโอเปอเรเตอร์ที่ได้คลื่นไปจะต้องรีบ Roll out ซึ่ง 2 ปี 50% มองว่าเป็นเรื่องธรรมดามาก ถ้ามีเจตนาที่จะกักตุนไว้ หรือไม่ให้โครงข่ายขยายถึงขอบเขตที่กำหนด ก็อาจถึงขั้นยึดใบอนุญาตซึ่งไม่คุ้มที่จะทำ”



เขายังกล่าวด้วยว่า หากมีใครก็ตามที่คิดแบบเจ้าเล่ห์ แล้วตีความในลักษณะของคนหัวหมอ ไม่ว่าจะลักษณะใดก็ตาม ก็ไม่อาจทำได้



“เรื่องแบบนี้ พูดง่าย แต่ทำไม่ได้จริงๆ ในทางปฏิบัติ เพราะถ้าทำแบบนั้น ก็จะไม่มีใครใช้บริการ ถึงเวลาก็ต้องปิดตัวลง”



นอก จากนี้ เรายังมีการหารือกันถึงประเด็นต่างๆ ในลักษณะนี้ ที่จะเป็นองค์ประกอบเรื่องการควบคุมกิจการ ซึ่งจะต้องมีประกาศที่เกี่ยวข้อง หากมีรอยรั่วอยู่ ขณะนี้ ดร.สุทธิพล ก็กำลังดำเนินการในเรื่องการปรับปรุงประกาศต่างๆ อยู่แล้ว อีกทั้ง ประเด็นที่กล่าวถึง ก็มีการหารือในคณะอนุกรรมการ 3G ด้วย และเราคงไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นง่ายๆ



มั่นใจ เสร็จทันเวลา



พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงค์ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ กสทช. ไม่ได้ทำแค่ IM อย่างเดียว แต่ทำร่างประกาศอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น QoS Data, QoS Voice, ร่างประกาศ Infrastructrue Sharing, โรมมิ่ง รวมทั้ง ร่างประกาศการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ที่มีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจ กสทช.ด้วย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ดำเนินการพร้อมกันหมด ซึ่งอยู่ในแนวคู่ขนานกันทั้งหมด โดยร่างทั้งหมดเหลือเพียงแค่ผ่านมติบอร์ด กทค. เท่านั้น



ด้าน ดร.สุทธิพล กล่าวว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่ายกร่างจะใช้เวลา แต่ประเด็นที่เป็นหัวใจ ได้ข้อยุติหรือยัง แล้วเมื่อเราออกกติกาแล้ว จะต้องมีการทำความเข้าใจให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะหลายๆ เรื่อง



เนื่อง จากครั้งที่แล้ว เคยมีประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz คราวนี้พอ กสทช. ดำเนินการแล้ว เรามีการวางหลักซึ่งแตกต่างออกไป ก็ต้องชี้แจงว่าเหตุผลที่เราไปวางหลักดีขึ้นอย่างไร เพราะเราไม่ได้ตั้งจากศูนย์ เรามีประกาศ กทช. เดิม แต่เราเอาประกาศ กทช. เดิมมาวิเคราะห์ ณ ขณะนี้ค่อนข้างมั่นใจ เพราะว่าตัวร่างต่างๆ เสร็จแล้ว เช่น ราคาตั้งต้น ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา เราก็ละไว้ โดยร่างประกาศที่จะไปปฏิบัติตามตัวประกาศใหญ่ ตรงนี้ก็เสร็จ คณะอนุกรรมการ ก็มีการตั้งคณะทำงาน ทำงานคู่ขนานกันไป



เมื่อเข้าสู่คณะ อนุกรรมการ ก็จะเข้าที่ประชุม กทค. แล้วเข้าสู่ กสทช. จากนั้น จึงเป็นการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าอย่างน้อยต้องได้ 30 วัน เราต้องพยายามที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนที่เราจะนำมาใช้



ดร. สุทธิพล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่สำคัญคือ จะต้องแสดงให้เห็นว่ากติกาที่ กสทช. ดำเนินการเป็นกติกาที่ไม่เลือกปฏิบัติ เป็นกติกาที่เป็นธรรม ขณะเดียวกัน ครั้งนี้เป็นครั้งที่เดิมพันประโยชน์ของประเทศชาติ แล้วเราก็ไม่สามารถที่จะยอมให้การประมูลคลื่นความถี่ 3G ในครั้งนี้ล้มได้อีกแล้ว



เขายังกล่าวด้วยว่า เราต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่สำคัญที่สุดก็คือแนวร่วม ถ้าเราเข้าใจกันแล้วจับมือไปด้วยกันประเด็นอะไรที่เป็นประเด็นที่มีความ เสี่ยง เช่น ฝ่ายนักวิชาการหรือหลายๆ ฝ่ายก็มีข้อสงสัยว่า จะมีโอกาสให้มีการฮั้วหรือไม่ ในส่วนนี้ การตั้งราคาตั้งต้นให้เหมาะสมเป็นมาตรการหนึ่งเท่านั้น แต่ว่ามาตรการทางด้านกฎหมายเป็นสิ่งที่เราเน้น เพราะเราศึกษาจากประกาศ กทช. เดิม จะเห็นว่าเขามีมาตรการป้องกันการฮั้วอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่เข้มข้น แล้วจะทำอย่างไร



อย่างไรก็ดี มาตรการทางด้านกฎหมายเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆ เสริมด้วย



ขณะ ที่ พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า การดำเนินการทุกอย่าง ณ เวลานี้ ก็อยู่ในตารางที่กำหนดอยู่ ยังไม่หลุด สำหรับเหตุผลที่ต้องกำหนดเส้นตายที่เดือน ต.ค. ทั้งๆ ที่เป็นเวลาที่กระชั้นชิดมาก จนแทบจะไม่ได้หายใจ เพราะไม่ต้องการให้หลุดไปถึงปี 2556 ซึ่ง กสทช. เห็นว่ามันไม่สมเหตุสมผล



“หาก หลุดจากเวลา จะทำให้ประชาชนผิดหวัง เพราะบอกว่าปี 2556 ก็กลายเป็น 2557 เราไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น เราอยากให้เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ จะได้หลุดพ้นวังวนที่น่าเบื่อหน่าย”



ในกรณีที่มีผู้ประมูล แข่งขันกัน 3 ราย มี 2 รายได้คลื่นความถี่ไป 4 สล็อตเท่ากัน เหลือให้รายสุดท้ายเพียงสล็อตเดียว ซึ่ง 5MHz ที่ได้ไป อาจทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าว ทาง กสทช. ตระหนักดี และมีการหารือในอนุกรรมการอยู่เสมอว่า ถ้าเกิดกรณี 20-20-5 เกิดขึ้น 5 MHz จะอยู่อย่างไร ถามว่า 5MHz มีไหมในโลกนี้ คำตอบคือ มี ที่อินเดีย อินโดนีเซีย เราเองก็คำนึงถึงเรื่องนี้ ถามว่า 5MHz โอเปอเรตได้ไหม ได้ แต่ถามว่าประสิทธิภาพหรือการแข่งขันในตลาดจะเกิดขึ้นได้ไหม ข้อนี้ตอบยากมาก



ทาง คณะกรรมการจึงมีแนวคิดว่า ถ้าเราไม่สามารถตัดสินใจว่าจะ 15 หรือ 20 แต่ 20 จะทำให้เกิดการแข่งขันในการประมูล เพราะจะต้องแย่งชิงกัน เราก็ยังรับฟังความคิดเห็น ทั้งจากนักวิชาการ โอเปอเรเตอร์ ซึ่งทางอนุกรรมการต้องการฟังอย่างละเอียด ใน Public Consultation ที่จะถึงนี้ โดยที่ประเด็นปัญหานี้ ยังแก้ได้อยู่ และยังไม่เข้า กทค. เนื่องจากยังอยู่ในชั้นอนุกรรมการ



ในกรณีดังกล่าว ดร.สุทธิพล กล่าวเสริมว่า ประเด็นที่ทางอนุกรรมการเสนอ 20MHz เพื่อเกิดการแข่งขัน โดยหลักการคนต้องการถือครองคลื่นความถี่ให้ได้มากที่สุดเพื่อการแข่งขัน ก็ต้องพยายามไล่บี้กัน ขณะเดียวกัน 15MHz ตามสูตรที่คิดใหม่ ก็จะแตกต่างจาก N-1 เพราะ N-1 เท่ากับจะเหลือ 1 ใบ แล้วจึงนำมาประมูลในท้ายที่สุดก็เหลืออยู่เจ้าเดียว หรืออาจจะมีนอมินีเข้ามา แต่ขณะนี้เราเห็นว่า มีหลายสูตร ถ้าอยากจะประมูลทีละ 5 คนก็อยากจะได้ 3 สล็อตติดกัน ก็คงจะให้ราคาที่ดีที่สุด ในจุดนี้เราก็รับฟังความคิดเห็นถ้าสมมติอนุกรรมการส่วนใหญ่จะเห็นที่ 20MHz มันจะมีข้อเสียอย่างไร แล้วในชั้นที่ กทค. พิจารณา เราก็รับฟังความคิดเห็นเช่นเดียวกัน



3 ร่างประกาศ ต้องเสร็จก่อนเริ่มประมูล



พิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวถึง 3 ร่างประกาศสำคัญได้แก่ ร่างประกาศ MVNO, Network Sharing และ International Roaming ในแง่ของความจำเป็น ว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ว่า กฎกติกา เป็นสิ่งสำคัญ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรเกิดก่อน เพราะผู้ลงทุน ต้องการเห็นความชัดเจนของกฎระเบียบ



“สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องการ คือความแน่นอนของกฎกระเบียบ เขาอยากรู้เดินเข้ามามีกฎกติกา ถ้าเราทำได้ก่อนจะเป็นการดี เพราะเขาจะได้รู้ว่า กฎกติกาเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เราไม่อยากเห็น และไม่อยากทำกับคนอื่น ผมก็เชื่อว่าผู้ประกอบการไม่อยากเห็น นั่นคือ เชิญชวนผู้ประกอบการมากมายมาเข้าร่วม แต่พอเข้าไปแล้วกติกาเป็นอย่างไรไม่รู้”



เขายังกล่าวด้วยว่า กฎกติกามีความสำคัญ เพราะก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุน หรือแม้กระทั่งสิทธิเสรีภาพ ทั้งนี้ เขาระบุว่า เรื่องใหญ่ มันควรจะเกิดก่อน ทั้งนี้ ร่างประกาศทั้ง 3 ฉบับ ถือเป็นเงื่อนไข ที่ต้องเสร็จก่อนการประมูล



มั่นใจ ไม่มีช่องโหว่



ดร.สุทธิ พล แสดงความเห็นต่อประเด็นที่อาจมีการล้มประมูล โดยอาศัยอำนาจศาลว่า ทนายความ นักกฎหมายเมืองไทยต้องมีงานทำ อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายไทย เราไปห้ามคนที่เสียประโยชน์ คนที่เขานำคดีไปร้องไม่ได้ เพียงแต่เราต้องมาวิเคราะห์ก่อนว่าในอดีตที่ผ่านมา มีเงื่อนไขอะไรที่คนที่เขาเสียประโยชน์เขานำคดีไปฟ้องต่อศาลได้ ถ้าเราดูที่การประมูลใน 2.1GHz ที่ผ่านมา ที่เป็นมิชชั่นอิมพอสซิเบิล จะพบว่าเป็นการประมูลที่ออกตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 มีช่องโหว่ เพราะกฎหมายออกแบบให้มี 2 องค์กร ที่เป็น 2 นิติบุคคล ได้แก่ กสช. คือบอร์ดกำกับดูแลทางด้านกระจายเสียง กับ กทช. กำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคม แต่ในทางปฏิบัติ เรามีเพียง กทช. เท่านั้น แล้วระบบเดิมออกแบบไว้ว่า หากตัดสินใจในประเด็นใหญ่ๆ ต้องผ่านกรรมการร่วม



การ ประมูลคลื่นความถี่เป็นเรื่องใหญ่ ต้องมีแผนแม่บท ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีกรรมการร่วม ขณะที่ประเทศไทยมีกรรมการเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือ กทช. ตรงนี้เป็นช่องโหว่เมื่อเดินหน้าไป ก็มีคนที่เป็นนักกฎหมายเขานำเรื่องนี้ไปทำให้เป็นประเด็น



เขา กล่าวว่า ขณะนี้ไม่มี 2 องค์กรแล้ว มีองค์กรเดียว ตาม รธน. ม. 47 ไม่ผิดกติกาแล้ว แล้วเงื่อนไขที่ กสทช. ต้องทำคือร่างแผนแม่บทและประกาศใช้ ซึ่งเราก็ดำเนินการไปแล้ว ถามว่าคดีที่คาอยู่ในศาล ที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ดำเนินการจะเป็นอุปสรรคไหม คำตอบก็คือ ว่าการประมูลครั้งที่ผ่านมา เป็นการประมูลโดยอาศัยกฎหมาย พ.ศ. 2543 และออกเป็นประกาศ กทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 ซึ่งยกเลิกไปแล้ว ณ ขณะนี้เราจะออกประกาศ กสทช. ออกตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 เพราะฉะนั้น เราเดินคู่ขนานไป แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำเมื่อมีตัวประกาศ กสทช. เรื่องการประมูลคลื่นความถี่แล้ว เราก็คงต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้มีการจำหน่ายคดีไป



“ครั้งนี้จุดที่กำลังมอง ประเด็นใดที่ไม่ชัดเจน เราต้องทำให้ชัดเจน ต้องดูรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ กล่าวคือ บอร์ดชุดปัจจุบันรับฟังความคิดเห็น กติกาที่เราจะใช้ถึงแม้ว่าบอร์ดดูแล้ว อนุกรรมการ กทค. ดูแล้ว เห็นว่าดี แต่กติกาจะต้องไปบังคับกับท่าน ก็ถามท่านว่ามันเป็นไปได้แค่ไหน แล้วมาช่วยกันออกแบบ เมื่อออกแบบกฎกติกาแล้วท่านพึงพอใจหรือไม่ หากพอใจ เราก็เดินหน้าตามนั้น ถ้ามองตรงนี้ ผมมองว่าเป็นกติกาที่ทุกคนยอมรับ แล้วต้องแสดงให้เห็น บอร์ดเองก็โปร่งใส ผู้ที่อยู่ภายใต้กติกา เมื่อท่านยอมรับกติกาแล้ว ก็เดินหน้าด้วยกัน ช่วยกัน”



“เพราะฉะนั้น ผมมองว่าความเสี่ยงตรงนี้มันน้อยลงไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีใครที่จะหยิบยกประเด็น ผมมองว่าครั้งที่ผ่านมาเป็นบทเรียน สำหรับผู้ที่จะเดินหน้าไป ก็ต้องทำให้รอบคอบ บทเรียนดังกล่าว ผมก็มองว่าศาลเองท่านก็พิจารณาอยู่เช่นเดียวกัน สิ่งที่เรากำลังทำ เราทำเป็นขั้นเป็นตอน เราคงไม่จำเป็นที่จะต้องไปให้ความรู้กับฝ่ายกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ผมมองว่า ณ ปัจจุบันเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องหมดไปแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำประเด็นที่ไม่ชัดเจน ให้มีความชัดเจนได้ แล้วอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เชื่อว่าเราเดินไปได้” ดร.สุทธิพล กล่าว



เหลือเวลานับถอยหลังอีกเพียง 3 เดือนเศษๆ ภายใต้กรอบเวลาที่กระชั้นชิด แต่ กสทช. ก็ยังฟิตปั๋งเดินหน้าไม่มีถอย ทำให้เรามั่นใจได้ว่า สิ่งที่เรารอคอย และสูญเสียโอกาสไปถึง 2 ปี จะมิใช่แค่ความฝันที่เกินเอื้อมอีกต่อไป

tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=2084


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.