Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤษภาคม 2555 ( คิดดีมากๆเพื่ออก้ปัญหา ) เรียกบอร์ดถกด่วน CAT เล็งให้ ครม. ซื้อเสา3G จากBFBKคืน จากTURE ต้องภายในเดือน 7

( คิดดีมากๆเพื่ออก้ปัญหา ) เรียกบอร์ดถกด่วน CAT เล็งให้ ครม. ซื้อเสา3G จากBFBKคืน จากTURE ต้องภายในเดือน 7


ประเด็นหลัก

เขา กล่าวว่า แนวทางแก้ไขคือ กสท จะเสนอขอซื้อเสาโทรคมนาคม และสถานีฐานที่ตามสัญญาบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการติดตั้ง ซึ่งขณะนี้มีมากกว่า 5,000 แห่ง ให้กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ กสท หลังจากนั้น จึงจะให้ทรูเข้ามาเช่าใช้ไปให้บริการ 3จีภายใต้แบรนด์ทรูมูฟ เอชอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโมเดลการซื้อคืนเสาโทรคมดังกล่าวต้องเสร็จภายในก.ค.นี้

ที่ผ่าน มา ได้หารือเบื้องต้นกับน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ไปแล้ว หากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) และไอซีที ก็จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต่อไป

"ทรู" ชี้ กสท ซื้อคืนได้บางส่วน
ขณะที่ นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานฝ่ายกฎหมาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงประเด็น กสท จะซื้อคืนโครงข่ายจากบีเอฟเคทีว่า ตามสัญญา กสท มีสิทธิ์ที่จะซื้อคืนอุปกรณ์บางอย่างอยู่แล้ว ส่วนรายละเอียดคงต้องขึ้นอยู่กับการเจรจา
___________________________________________


'กิตติศักดิ์'ปลดล็อคสัญญา3จี เจรจาทรูแก้สัญญาใหม่

กสท.เล็ง ชงครม.ซื้อเสา3จี จากบีเอฟเคทีคืน จากนั้นจึงให้ทรูเช่าใช้ หวังปลดล็อค ม.46 ขณะที่ผู้บริหาร "ทรู" ระบุตามสัญญา กสท ซื้อคืนได้บางส่วน

กสท เปิดโต๊ะเจรจากลุ่มทรู หาทางลงสัญญา 3จี หลังป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเจ้าหน้ารัฐ แถมคณะอนุฯกสทช.ฟันเข้าข่ายผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรร เล็งขอซื้อเสา-โครงข่ายคืนจากบีเอฟเคทีกว่า 5,000 แห่ง เชื่อทางเดียวช่วยปลดล็อคปัญหา ตีกรอบเวลาเจรจาต้องเสร็จ ก.ค.นี้ ก่อนส่งเข้า ครม.ขอเห็นชอบ ล่าสุด เรียกบอร์ดถกด่วน หาแผนฉุกเฉินหลังไอซีทีสั่งระงับทำตลาด 3จีแบรนด์ "มาย"

นายกิตติ ศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า หลังจากคณะอนุกรรมการไต่สวนหาข้อเท็จจริงกรณีการทำสัญญาโครงการโทรศัพท์มือ ถือ 3จีเอชเอสพีเอระหว่างบมจ.กสท โทรคมนาคม และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) ได้ลงมติสรุปให้การทำสัญญาดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กสท ได้เรียกให้กลุ่มทรูมาหารือ หาทางออกเกี่ยวกับสัญญาฉบับดังกล่าวแล้ว

เสนอซื้อเสาคืนจาก"บีเอฟเคที"
เบื้อง ต้นได้ตั้งทีมงานฝ่ายกฎหมาย และเทคนิคขึ้นมาระหว่างกสท และทรู เพื่อประเมินความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งพิจารณาทางออกว่า สัญญาฉบับดังกล่าว เบื้องต้นจะปรับเปลี่ยนแก้ไขส่วนใดได้หรือไม่

ทั้ง นี้ ความเป็นไปได้มากที่สุด คือ แก้ไขสัญญาให้เป็นไปตามมาตรา 46 ที่ห้ามไม่ให้โอนคลื่นความถี่บางส่วน หรือทั้งหมดไปให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)

เขา กล่าวว่า แนวทางแก้ไขคือ กสท จะเสนอขอซื้อเสาโทรคมนาคม และสถานีฐานที่ตามสัญญาบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการติดตั้ง ซึ่งขณะนี้มีมากกว่า 5,000 แห่ง ให้กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ กสท หลังจากนั้น จึงจะให้ทรูเข้ามาเช่าใช้ไปให้บริการ 3จีภายใต้แบรนด์ทรูมูฟ เอชอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโมเดลการซื้อคืนเสาโทรคมดังกล่าวต้องเสร็จภายในก.ค.นี้

ที่ผ่าน มา ได้หารือเบื้องต้นกับน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ไปแล้ว หากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) และไอซีที ก็จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต่อไป

"ทรู" ชี้ กสท ซื้อคืนได้บางส่วน
ขณะที่ นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานฝ่ายกฎหมาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงประเด็น กสท จะซื้อคืนโครงข่ายจากบีเอฟเคทีว่า ตามสัญญา กสท มีสิทธิ์ที่จะซื้อคืนอุปกรณ์บางอย่างอยู่แล้ว ส่วนรายละเอียดคงต้องขึ้นอยู่กับการเจรจา

นายกิตติศักดิ์ กล่าวยอมรับว่า การปลดล็อกครั้งนี้ อาจต้องปรับแก้สัญญามากพอสมควร และอาจจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องจากทรู หากแต่เชื่อว่า การเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างกัน จะเกิดความความใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะอย่างไรเสียก็ต้องหาทางออกร่วมกันให้ได้ ธุรกิจจึงเดินได้ต่อ

"การ สอบสวนของอนุฯป.ป.ช.ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่วนนี้เราจะไม่เข้าไปยุ่ง แต่การไต่สวนของคณะอนุฯกสทช.เกี่ยวกับม.46 ประเด็นมันจะอยู่ที่การได้สิทธิในการครอบครองคลื่นความถี่ ความจุของโครงข่าย ซึ่งเขามองว่าการมีบีเอฟเคทีมาเป็นผู้ดำเนินจะขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น เราจำเป็นต้องคุยกับทรูเพื่อขอซื้อเสาที่บีเอฟเคทีสร้างไว้แล้ว และที่กำลังขยายมาเป็นของเรา เพราะหากเป็นในรูปนี้ มันจะช่วยปลดล็อคได้"

นอก จากนี้ สัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายดุษฎี สินเจิมสิริ เป็นประธานเพื่อหารือเกี่ยวกับ แผนสำรองฉุกเฉิน และแนวทางแก้ไขกรณีที่ไอซีที และ สศช. ได้ส่งหนังสือมาให้ กสท ระงับการบริการ 3จีเอชเอสีเอแบรนด์ "มาย" เอาไว้จนกว่าจะชัดเจนในประเด็นกฎหมาย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากสัญญา 3จีที่ทำร่วมกับทรูโดนตรวจสอบจากหลายหน่วยงาน โดยการหารือนั้น เขาจะขอมติบอร์ดอย่างเป็นทางการ เพื่อจะดำเนินการยุติการให้บริการ 3จีมายเอาไว้ก่อน

งัดแผนสำรองโรมมิ่งลูกค้ามาย
อย่างไรก็ดี ประเด็นแนวทางการแก้ไขนั้น ปัจจุบันมายมีลูกค้าอยู่ราว 2,000-3,000 ราย จึงจะดำเนินการเจรจากับผู้ประกอบการรายอื่น ขอโรมมิ่งสัญญาณชั่วคราว เพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบหรือต้องหยุดใช้บริการ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งโรมมิ่งกับบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หรือทรูมูฟ ส่วนลูกค้าของทรูมูฟ เอช เป็นหน้าที่ของทรูต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจว่าจะหยุดดำเนินการหรือไม่ เพราะไอซีทีก็ได้สั่งให้กสท ส่งหนังสือไปแจ้งแล้วว่า หากทรูจะดำเนินธุรกิจทางการตลาดอย่างไรต่อไปก็ต้องพร้อมยอมรับความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

1 มิ.ย.ขึ้นเวทีแจงพนักงาน
เขากล่าวด้วย ว่า วันที่ 1 มิ.ย. นี้ จะขึ้นเวทีชี้แจงให้พนักงานได้ทราบถึงความเคลื่อนไหว การปรับยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งเชื่อว่า จะมีพนักงานบางส่วนอาจมีทั้งคัดค้าน และสนับสนุน แต่โดยส่วนรวมเชื่อว่า พนักงานในองค์กรทั้งหมดพร้อมจะให้บริษัทเดินไปข้างหน้า

"กสท ไม่ได้อยากได้เงิน แต่อยากได้ธุรกิจที่ยั่งยืน นั่นคือเหตุผลที่ว่าเหตุใด ผมถึงไม่มีแนวคิดที่จะขายโครงข่ายไปให้ใคร ท้ายที่สุดเราอยากเป็นเจ้าของโครงข่ายทั้งหมด ขณะที่ในอนาคต ธุรกิจมือถือของเราอย่างน้อย ต้องเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งหมด " นายกิตติศักดิ์ กล่าว

สรุปผลสอบ ม.46 กสทช.
รายงาน ข่าวแจ้งว่า คณะอนุ กสทช. ได้สรุปผลการสอบสวนมาตรา 46 แล้วพบว่า การทำสัญญา 3จีกสท-ทรู ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และให้ กสท ในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตจากกสทช.ปฏิบัติ 7 ประการ คือ 1.กสท ต้องนำคลื่นความถี่ย่าน 800 เมกะเฮิรตซ์ (แบรนด์ วี) ไปใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้ 2. กสท ต้องควบคุมดูแลและบริหารจัดการเน็ตเวิร์ค โอเปอเรชั่น เซ็นเตอร์ อย่างสมบูรณ์ 3. ข้อมูลการใช้งานต้องอยู่ในความครอบครองของ กสท

4. อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการปฏิบัติงานตามสัญญาต้องชัดเจน โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของ กสท โดยชัดแจ้ง 5. กระบวนการสร้าง และจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จะต้องแสดงให้เห็นว่า กสท เป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการตัดสินใจเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ การขยายโครงข่าย และให้บริการอย่างสมบูรณ์

6. กสท ต้องเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการเจรจาการให้บริการข้ามโครงข่ายภาย ในประเทศ และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่น และ 7. ความจุตามสัญญา ต้องแสดงให้เห็นว่า กสท เป็นผู้มีอำนาจควบคุมการใช้คลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์ และควรให้เรื่องความจุตามสัญญาเป็นไปตามกลไกตลาด

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120530/45
4203/%A1%D4%B5%B5%D4%C8%D1%A1%B4%D4%EC%BB%
C5%B4%C5%E7%CD%A4%CA%D1%AD%AD%D23%A8%D5-
%E0%A8%C3%A8%D2%B7%C3%D9%E1%A1%E9%CA%D1%A
D%AD%D2%E3%CB%C1%E8.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.