Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent
i mobile 3GX ลุยหนัก!!ขอความจุ MVNO TOT 50%เชื่อสัญญาณดีขึ้นมาก <<ย่ำไม่ร่วมประมูล 3G แต่ถ้าประมูล 4G ร่วมอน่นอน >>

i mobile 3GX ลุยหนัก!!ขอความจุ MVNO TOT 50%เชื่อสัญญาณดีขึ้นมาก <<ย่ำไม่ร่วมประมูล 3G แต่ถ้าประมูล 4G ร่วมอน่นอน >>
ประเด็นหลัก

นายวัฒน์ชัย กล่าวถึงธุรกิจ MVNO 3G TOT ว่าจะเสนอขอความจุของระบบประมาณ 40-50% หรือประมาณ 3 ล้านเลขหมายจากจำนวนเลขหมายทั้งหมด 7.2 ล้านเลขหมายเพื่อทำการตลาด ซึ่งพร้อมที่จะวางเงินประกันขั้นต่ำที่คาดว่าน่าจะเป็นหลักหลายร้อยล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้ทีโอที โดยไอ-โมบาย 3GX จะมีการรีแบรนด์และทำการตลาดอย่างจริงจังอีกครั้ง ในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพราะในช่วงดังกล่าวบริการ 3G TOT จะมีสถานีฐานกว่า 3 พันแห่งเปิดให้บริการซึ่งเพียงพอที่จะรองรับการทำตลาดได้

'ตอนนี้ในกทม.เปิดใช้แล้ว 700-800 ไซต์ คุณภาพอยู่ในระดับดี อย่างวิ่งบนทางด่วนโทลเวย์ สัญญาณไม่หลุด ซึ่งเราคาดว่าจากลูกค้าประมาณ 2 แสนรายในตอนนี้ หากได้ความจุเพิ่มตามที่ต้องการลูกค้าเราจะเพิ่มเป็น 6-7 แสนรายภายในปีนี้'


นายเชฎฐ์ พันธ์จันทร์ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 3G ทีโอทีกล่าวว่า ทีโอทีคงให้โอกาส 5 พันธมิตร MVNO รายเดิมในการเจรจาก่อน เพราะถือว่าร่วมบุกน้ำลุยไฟให้บริการกันมาตั้งแต่ช่วงแรก

'ความเห็นส่วนตัวผม ทีโอทีน่าจะมี MVNO รายใหญ่มากกว่า 1 ราย เพื่อกระจายความเสี่ยง และไม่ได้เป็นการฝากอนาคตไว้ให้กับใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ โดยความจุของระบบ 3G นั้นทีโอทีจะเก็บไว้ทำตลาดเองประมาณ 25% เพื่อบันเดิลเข้าไปกับบริการต่างๆที่ทีโอทีมี เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน ที่เหลือจะมาจัดสรรให้ MVNO ช่วยกันทำตลาด'

อย่าง ไรก็ตาม สำหรับการเปิดประมูล 3 จี บนคลื่น 2.1 กิกกะเฮิร์ตซ์ ยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมประมูล เนื่องจากบริษัทได้ทำ 3G ร่วมกับทีโอทีแล้ว และถ้ามีนักลงทุนต่างชาติมาขอร่วมลงทุนในการประมูล 3 G บริษัทก็จะไม่เข้าร่วมประมูลกับต่างชาติ แต่หากประมูล 4G บริษัทมีความสนใจ ถ้าในอนาคตเกิดขึ้นจริงก็พร้อมพิจารณาโอกาสในการลงทุน

________________________________________________________

'วัฒน์ชัย' ขอความจุ MVNO TOT 50%


กลุ่มสามารถเสนอตัวขอเป็น MVNO 3G TOT รายใหญ่ ด้วยความจุ 40-50% พร้อมวางเงินประกันขั้นต่ำหลายร้อยล้านบาท หวังสร้างความมั่นใจให้ทีโอที เตรียมรีแบรนด์ไอ-โมบาย 3GX เดินหน้าเต็มกำลัง วางเป้าลูกค้าสิ้นปี 6-7 แสนราย

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่นกล่าวว่าผลประกอบการไตรมาสแรกของปีนี้ ดีขึ้นกว่าเดิมเติบโตถึง 30-50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมาจากการเติบโตของบริษัท สามารถเทลคอม ธุรกิจคอนเทนต์ของบริษัท สามารถมัลติมีเดีย ในชื่อบริการ BUG ซึ่งเติบโตทั้งในส่วนออนไลน์ และออฟไลน์ อย่างการรับจ้างผลิตหนังสือแจกฟรี โดยใช้ข้อมูลจากคอนเทนต์กิน ดื่ม เที่ยวของบริษัท

นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างปิดดีลการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติในแถบเอเซีย ที่จะมาร่วมลงทุนพัฒนาคอนเทนต์กิน ดื่ม เที่ยว ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปและสามารถเปิดเผยชื่อพาร์ทเนอร์ได้ในเดือนเม.ย. - พ.ค.นี้และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในช่วงสิ้นปี

ในช่วงไตรมาส 2 กลุ่มสามารถจะเสนอตัวเข้าไปทำระบบเกี่ยวกับผู้โดยสาร มูลค่าประมาณ 500 - 1,000 ล้านบาท ในสนามบินสุวรรณภูมิ หลังจากที่มีปัญหาในส่วนของงานตม.ที่ไม่สามารถให้บริการผู้โดยสารได้อย่าง สะดวกคล่องตัว

กลุ่มสามารถยังจะขยายธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ลาว และ กัมพูชา ในลักษณะการให้บริการไอซีที โซลูชัน โดยอาศัยประสบการณ์และศักยภาพของพันธมิตรไม่ว่าจะเป็นซิสโก้ SAP หัวเว่ย อัลคาเทล ในลักษณะไม่ใช่การเข้าไปขอสัมปทาน แต่เป็นการให้บริการ Back Office ของบริษัทข้ามชาติต่างๆที่เข้าไปทำธุรกิจใน 3 ประเทศดังกล่าว

'ผมเริ่มส่งทีมเข้าไปในประเทศดังกล่าวแล้ว ซึ่งครึ่งปีหลังเชื่อว่าน่าจะต้องทำรายได้ไม่น้อยกว่า 5-10 ล้านเหรียญ บริการที่จะเข้าไปในลำดับแรกๆอย่างเรื่อง POS หรือเครื่องรูดการ์ด บริการประเภทไวร์เลส หรือบรอดแบนด์'

นอกจากนี้ในลาวกลุ่มสามารถได้เสนอตัวเข้าไปให้บริการด้านการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control) กับรัฐบาลลาวแล้วในรูปแบบของสัมปทาน คล้ายกับที่ให้บริการในกัมพูชา ส่วนประเทศพม่า ที่วัฒน์ชัยจะเดินทางไปปลายเดือนนี้ สนใจธุรกิจด้านโทรคมนาคม อย่างเซลลูล่าร์ ระบบวิทยุการบิน โรงไฟฟ้า

นายวัฒน์ชัย กล่าวถึงธุรกิจ MVNO 3G TOT ว่าจะเสนอขอความจุของระบบประมาณ 40-50% หรือประมาณ 3 ล้านเลขหมายจากจำนวนเลขหมายทั้งหมด 7.2 ล้านเลขหมายเพื่อทำการตลาด ซึ่งพร้อมที่จะวางเงินประกันขั้นต่ำที่คาดว่าน่าจะเป็นหลักหลายร้อยล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้ทีโอที โดยไอ-โมบาย 3GX จะมีการรีแบรนด์และทำการตลาดอย่างจริงจังอีกครั้ง ในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพราะในช่วงดังกล่าวบริการ 3G TOT จะมีสถานีฐานกว่า 3 พันแห่งเปิดให้บริการซึ่งเพียงพอที่จะรองรับการทำตลาดได้

'ตอนนี้ในกทม.เปิดใช้แล้ว 700-800 ไซต์ คุณภาพอยู่ในระดับดี อย่างวิ่งบนทางด่วนโทลเวย์ สัญญาณไม่หลุด ซึ่งเราคาดว่าจากลูกค้าประมาณ 2 แสนรายในตอนนี้ หากได้ความจุเพิ่มตามที่ต้องการลูกค้าเราจะเพิ่มเป็น 6-7 แสนรายภายในปีนี้'

ทั้งนี้สามารถจะใช้บริษัท ไอ-โมบาย พลัส ที่มีไลเซ่นส์ MVNO เป็นผู้ทำการตลาดไอ-โมบาย 3GX โดยต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ต้องมุ่งเน้นเรื่องบริการเสริม (VAS) และเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งแนวโน้มต่อไปโทรศัพท์มือถือของไอ-โมบายจะหยุดผลิตเครื่อง 2G ในอีก 1-2 ปีข้างหน้าแต่จะผลิตฟีเจอร์โฟน 3G ในราคาถูกเพื่อให้ตอบสนองกับทิศทางการตลาด 3G

'ต่อไปดีไวส์ของไอ-โมบาย ต้องถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองบริการ BUG และ MVNO ซึ่งเราจะไม่ผลิตในลักษณะแมสอีกต่อไป'

ส่วนการขยายโครงข่าย 3G เฟสต่อไปของทีโอทีนั้น กลุ่มสามารถพร้อมเข้าร่วมประมูล โดยคาดว่าจะยังคงใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยต่อไป และมองว่าทีโอทีจำเป็นต้องขยายโครงข่ายให้มีสถานีฐานมากขึ้น เพราะปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจเซลลูล่าร์คือพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม ได้มากน้อยแค่ไหน

'ถ้าทีโอทีไม่ขยายโครงข่าย บริการ 3G ก็อาจตายสนิทเหมือนเอซีทีโมบายล์ 1900 เมกะเฮิรตซ์ในอดีต ซึ่งผมเชื่อว่าตามแผนขยายโครงข่ายดังกล่าวที่จะมีทั้ง 3G และต่อยอดด้วย 4G แบงก์ปล่อยกู้แน่นอน'

นายเชฎฐ์ พันธ์จันทร์ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 3G ทีโอทีกล่าวว่า ทีโอทีคงให้โอกาส 5 พันธมิตร MVNO รายเดิมในการเจรจาก่อน เพราะถือว่าร่วมบุกน้ำลุยไฟให้บริการกันมาตั้งแต่ช่วงแรก

'ความเห็นส่วนตัวผม ทีโอทีน่าจะมี MVNO รายใหญ่มากกว่า 1 ราย เพื่อกระจายความเสี่ยง และไม่ได้เป็นการฝากอนาคตไว้ให้กับใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ โดยความจุของระบบ 3G นั้นทีโอทีจะเก็บไว้ทำตลาดเองประมาณ 25% เพื่อบันเดิลเข้าไปกับบริการต่างๆที่ทีโอทีมี เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน ที่เหลือจะมาจัดสรรให้ MVNO ช่วยกันทำตลาด'

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000040572

____________________________________________________

SAMART คาดรายได้ Q1/55 โต 30-50%, ยื่นประมูลงานเพิ่มทั้งใน-ตปท.


นาย วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น(SAMART) คาดว่า ในไตรมาส 1/55 รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนราว 30-50% ทั้งนี้มาจากธุรกิจคอนเทนต์ที่เติบโตดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเริ่มรับรู้รายได้จากการวางระบบ 3G ให้กับ บมจ.ทีโอที โดยคาดว่างานวางระบบ 3G ของทีโอที เฟสแรกจะแล้วเสร็จในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ ซึ่งขณะนี้ยังติดปัญหาความล่าช้าซึ่งเกิดจากทีโอทีไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์ ให้กับบริษัทได้


สำหรับการประมูลงานวางระบบ 3G เฟส 2 คาดว่า ทีโอที จะเปิดประมูลปลายปีนี้ ซึ่งบริษัทก็มีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงาน ส่วนจะร่วมกับล็อกซเล่ย์(LOXLEY)อีกหรือไม่ คงต้องรอดู TOR ที่จะออกมา

อย่าง ไรก็ตาม สำหรับการเปิดประมูล 3 จี บนคลื่น 2.1 กิกกะเฮิร์ตซ์ ยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมประมูล เนื่องจากบริษัทได้ทำ 3G ร่วมกับทีโอทีแล้ว และถ้ามีนักลงทุนต่างชาติมาขอร่วมลงทุนในการประมูล 3 G บริษัทก็จะไม่เข้าร่วมประมูลกับต่างชาติ แต่หากประมูล 4G บริษัทมีความสนใจ ถ้าในอนาคตเกิดขึ้นจริงก็พร้อมพิจารณาโอกาสในการลงทุน

ส่วนการทำ MVNO ให้กับทีโอทีนั้น บริษัทยังคงเดินหน้าแม้ว่าช่วงน้ำท่วมทำให้งานล่าช้า และไม่มีการทำการตลาด แต่เชื่อว่าทีโอทีจะรีบดำเนินการ โดยเดือนเม.ย.-พ.ค. คงต้องมีความความชัดเจนในการทำการตลาดใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปิดประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกกะเฮิร์ตซ์ ไม่อย่างนั้นจะแข่งขันลำบาก

นอก จากนี้ บริษัทเตรียมยื่นข้อเสนอทำระบบ Check-in Passenger ให้บมจ.ท่าอากาศยานไทย(AOT) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่างานราว 500-1,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะทราบผลประมาณไตรมาส 2/55 เนื่องจาก ทอท.คงต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ มองว่าการเติบโตของสนามบินสุวรรณภูมิน่าจะทำให้มีโครงการใหม่ๆ ออกมาอีก

และ บริษัทอยุ่ระหว่างเจรจากับบริษัทต่างชาติ 1 แห่งในการพัฒนาธุรกิจคอนเทนท์ โดยจะทำคอนเทนท์ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทประสบความสำเร็จในการทำคอนเทนท์ "กิน ดื่ม เที่ยว" ทั้งในรูปแบบออนไลน์และสิ่งสิ่งพิมพ์ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาร่วมทุน ทั้งนี้ บริษัทสามารถนำไปต่อยอดกับธุรกิจมือถือที่บริษัทมีอยู่ในมือได้ด้วย

อีก ทั้งบริษัทจะต่อยอดธุรกิจเดิม โดยมีแผนร่วมกับ บมจ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท(SPORT) ในการเข้าประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ที่จะเกิดขึ้นกลางปีนี้ แม้ว่าจะหลายรายให้ความใสนใจแต่ก็พร้อมที่จะสู้ราคา เพราะเชื่อว่าสยามสปอร์ตมีความสามารถในการทำรายการกีฬา และมีสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ในมือ โดยที่ผ่านมา บริษัทได้ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท ไอสปอร์ต กับสยามสปอร์ต โดยถือหุ้น 50:50 ทำรายการกีฬา 3 ช่องบนทรูอยู่แล้ว

นายวัฒน์ชัย กล่าวถึงการลงทุนในต่างประเทศว่า บริษัทเตรียมประมูลงานวางระบบงานที่บริษัทมีความถนัดในด้านอื่นๆ ในประเทศลาว กัมพูชา และพม่า โดยมีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนในธุรกิจ Air Traffic Control ในประเทศลาว ซึ่งได้เข้าไปเจรจาและยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลแล้ว ซึ่งลาวได้แสดงความสนใจเนื่องจากเห็นผลงานของบริษัทที่ทำธุรกิจนี้ในกัมพูชา

นอก จากนี้ บริษัทยังสนใจทำธุรกิจวางระบบเทคโนโลยีต่างๆ เช่น เครื่องรูดการ์ดของธนาคาร ซึ่งประเทศเปิดใหม่ เช่น ลาว และ พม่า น่าจะมีโอกาสเติบโตจำนวนมาก ทั้งนี้ บริษัทได้ตั้งทีมเพื่อศึกษาการลงทุนในต่างประเทศขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อรองรับการเปิด AEC ในอนาคต แต่คงเน้นใน 3 ประเทศหลักดังกล่าว ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเริ่มได้งาน เบื้องต้นคาดว่าจะได้งาน 5-10 ล้านเหรียญ และเชื่อว่าประเทศเหล่านี้ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1376114

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.