Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 ตุลาคม 2555 อนุดิษฐ์ ชี้กสทช. พูดเรื่องราคาของผู้บริโภคหลังประมูล3G น้อยไป // ซอฟต์แบงก์ ย่ำจะจับมือกับ TOT รายเดียวในไทย

ประเด็นหลัก


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้บอร์ดชุดใหม่ดำเนินการ คือ การทบทวนโครงการต่างๆ ที่ไม่สร้างรายได้ เพราะถ้าปล่อยไป จะยิ่งสร้างภาระให้กับทีโอทีมากขึ้น เนื่องจากสถานะปัจจุบันของทีโอทีนั้นต้องการโครงการที่สร้างรายได้เพื่อมาทดแทนบริการพื้นฐานเดิม อาทิ โทรศัพท์พื้นฐาน ที่รายได้ลดลงต่อเนื่อง และโครงการสำคัญ เช่น ขยายโครงข่าย 3 จี ทั่วประเทศ มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ที่บอร์ดชุดที่แล้วได้ดำเนินการไว้ จะต้องเร่งสานต่อให้เสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งมั่นใจว่าบอร์ดชุดใหม่สามารถดำเนินการได้อย่างแน่นอน

ทีโอทีจ้องจับซอฟต์แบงก์ พัฒนา4จี

อย่างไรก็ตามสำหรับการลงทุนในประเทศไทยนั้น ทีโอที จะเป็นพันธมิตรเพียงรายเดียว ที่ซอฟต์แบงก์จะเข้าไปทำธุรกิจด้วย เพราะเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้บริการอินเตอร์เน็ต และ ทีโอที มีจุดแข็งในเรื่องเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมด

**คิดอย่างไรกับการประมูล 3 จี ของ กสทช.

   ก็น่าจะเรียบร้อยเพราะว่าคนที่ดำเนินการในเรื่องนี้ (หมายถึง กสทช.) เหมือนเป็นประเด็นเรื่องที่เป็นสปอตไลต์คนที่ได้รับมอบหมายก็ต้องถูกกดดันและก็กลัวถูกตรวจสอบแต่ขึ้นอยู่กับมิติไหนเท่านั้นหาก กสทช. เปลี่ยนสูตรการประมูลแบ่งคลื่นความถี่เป็น 10-15-20 เมกะเฮิรตซ์ (จากคลื่นความถี่มีทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์)  ก็โดนถูกหยิบยกเป็นประเด็นอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้นหยิบยกประเด็นไหน กสทช. ก็ถูกโจมตี ถ้าหากมีการมองข้อเสียอย่างเดียว แต่ทุกอย่างต้องมองภาพโดยรวม และ  ภาพหลัก สุดท้ายสิ่งที่ กสทช. ต้องพูดมากที่สุดแต่กลับไปพูดน้อยจนเกินไปนั่นก็คือ เรื่องอัตราค่าบริการ ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เป็นสิ่งที่ กสทช.ต้องพูดออกสื่อให้มากที่สุด เพราะอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะนี้อยู่ในอัตรา 899 บาทต่อเดือน เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้บอกว่าปรับอัตราค่าบริการลดลงมา 15 และ 20% มองเห็นว่าปลายน้ำ หมายถึง ผู้บริโภค คือ ใช้บริการที่ถูกลงก็จบ  เงินที่บอกว่ารัฐเสียประโยชน์ก็ไม่ได้เสียคือไปรับภาระให้กับผู้ใช้บริการแทน

** แต่ กสทช.ไม่พูดเรื่องนี้

   เพราะฉะนั้น กสทช. ต้องพูดเรื่องอัตราค่าบริการให้มากกว่านี้  ถ้าหากหยิบเรื่องกระบวนการ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ให้ กสทช.นำไปปฏิบัติตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เพราะกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ใน พ.ร.บ.กำหนดให้มีการทำประชาพิจารณ์ และ กระบวนการประมูลก็ชัดเจน ถ้า กสทช. เป็นหน่วยงานรัฐบาลก็ต้องทำ อี-ออกชัน เป็นไปตามระเบียบพัสดุ หรือเป็นไปตามระเบียบเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี ถ้าหากไม่ใช่ก็ต้องอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไร การประมูลแบบ อี-ออกชันของรัฐบาลเป็นการประมูลโดยมีการตั้งราคากลางผู้ประมูลเสนอเงื่อนไขถูกสุดก็ได้งานไป แต่ว่า อี-ออกชัน ของ กสทช. ตรงกันข้ามผู้ประมูลขอถูกสุด แต่ความเห็นคนทั่วไปการประมูลอี-ออกชัน ของ กสทช.ต้องการราคาแพงสุด ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นคำตอบที่ราคาต้องแพงสุด









________________________________



คลอดแล้ว! “อุดม” หัวโต๊ะ ปธ.บอร์ดใหม่ “ทีโอที”

ทีโอที คลอดบอร์ดใหม่ “อุดม พัวสกุล” อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง มท.นั่งหัวโต๊ะ ขณะที่ รมว.ไอซีที มั่นใจบอร์ดชุดใหม่สานต่อ 3จีได้...

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลังส่งรายชื่อคณะกรรมการบริหาร หรือ บอร์ด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ชุดใหม่มายังทีโอทีแล้ว โดยมีรายชื่อ ดังนี้ นายอุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบัน นายพงศพัท จิตรสำเริง พล.อ.อ.พิธพร กลิ่นเฟื่อง นายจักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายพจน์ จิรวุฒิกุล และ นายกอบพงษ์ ตรีสุขี และบอร์ดอีก 3 รายเดิมที่กลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง คือ นายพงศ์รักษ์ จินดาสมบัติเจริญ นายวัลลภ พลอยทับทิม และ น.อ.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง เมื่อรวมกับบอร์ดทีโอที 5 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยราชการซึ่งไม่ได้ยื่นหนังสือลาออก ประกอบด้วย พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย นายประสิทธิ์ ศิริภากร นายสาธิต รังคสิริณ์ นายจุมพล ริมสาคร และนายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รวมทั้งหมด 14 คน

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้บอร์ดชุดใหม่ดำเนินการ คือ การทบทวนโครงการต่างๆ ที่ไม่สร้างรายได้ เพราะถ้าปล่อยไป จะยิ่งสร้างภาระให้กับทีโอทีมากขึ้น เนื่องจากสถานะปัจจุบันของทีโอทีนั้นต้องการโครงการที่สร้างรายได้เพื่อมาทดแทนบริการพื้นฐานเดิม อาทิ โทรศัพท์พื้นฐาน ที่รายได้ลดลงต่อเนื่อง และโครงการสำคัญ เช่น ขยายโครงข่าย 3 จี ทั่วประเทศ มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ที่บอร์ดชุดที่แล้วได้ดำเนินการไว้ จะต้องเร่งสานต่อให้เสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งมั่นใจว่าบอร์ดชุดใหม่สามารถดำเนินการได้อย่างแน่นอน

รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า ขณะนี้ เตรียมมอบนโยบายเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ ที่มีการใช้งานเพียง 20% เท่านั้น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น บอร์ดชุดใหม่จะต้องเข้ามาบริหารจัดการเรื่องต้นทุนที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่ามากที่สุด

สำหรับ บอร์ดใหม่ของทีโอที กระทรวงการคลังตั้งขึ้นมาแทนบอร์ดเก่าที่มีนายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน อดีตประธานบอร์ดทีโอที หลังจากลาออกพร้อมกรรมการอีก 7 คนเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 1. น.อ.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง 2.นายธนวัฒน์ อัมพุนันทน์ 3.นายสุรพันธ์ เมฆนาวิน 4.นายวัลลภ พลอยทับทิม 5.นายวาสุกรี กล้าไพรี 6.นายธนา ธรรมวิหาร และ 7.นายพงศ์รักษ์ จินดาสมบัติเจริญ

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/302764

_________________________________


ทีโอทีจ้องจับซอฟต์แบงก์ พัฒนา4จี



ทีโอทีเตรียมผนึกซอฟต์แบงก์ โอเปอเรเตอร์อันดับ 2 ของญี่ปุ่น พัฒนาสู่ระบบ 4 จี เตรียมเสนอแผนถึง "อนุดิษฐ์" ขอคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมล่าสุดส่งบุคลากรทำการฝึกอบรมแล้ว

   นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในขณะนี้ ทีโอทีกำลังจะร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท ซอฟต์แบงก์ฯ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออันดับ 2 ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำความรู้ด้านการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ที่ซอฟต์แบงก์ให้บริการแก่ลูกค้ามาประยุกต์ใช้กับตลาดเมืองไทยในอนาคต โดยเบื้องต้นได้นำเอาโมเดลการวางเสา สถานีฐานที่มีขนาดไม่สูงมากมาใช้ในการทำแผนที่ขยายโครงสร้าง 3 จี ทีโอที และในระยะยาวยังจะมีการเซ็นสัญญาความร่วมมือในอีกหลายธุรกิจ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในตอนนี้ แต่ในเบื้องต้นได้ส่งทีมงานของทีโอทีมาฝึกอบรมกับซอฟต์แบงก์แล้ว
   อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ทีโอที อยู่ระหว่างร่างแผนการขอใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่มีคลื่นความถี่ทั้งหมด 64  เมกะเฮริตซ์เพื่อเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เนื่องจากเดิมใบอนุญาตการใช้ความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กลทช.) ให้ใช้เฉพาะบริการโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ห่างไกล (TDMA) แต่เพียงอย่างเดียว    

   ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวทีโอทีต้องการนำคลื่นมาใช้เพื่อทำโมบาย แบ็กฮอล สำหรับเป็นโครงข่ายสำรองให้สถานีฐาน ในการเชื่อมต่อจุดไว-ไฟ และขอใช้ทดสอบเทคโนโลยี 4 จี (LTE) เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปสู่พื้นที่ห่างไกลตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาล

   ด้านนายจูนิชิ มิยากาวา  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ซอฟต์แบงก์ กล่าวว่า  สำหรับซอฟต์แบงก์ มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 25% ซึ่งมีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 รองจาก NTT DOCOMO โดยมีลูกค้าโทรศัพท์มือถือราว 35 ล้านราย แต่หากรวมกับ emobile ที่บริษัทเพิ่งเข้าซื้อกิจการก็จะทำให้มีลูกค้า 40 ล้านราย และยังมีลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทได้เข้าไปซื้อกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสปริ้นท์ มีฐานลูกค้าอีก จำนวน 55 ล้านราย โดยคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 7.5  หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีอัตราที่สูงสุดในโลก  มีพนักงานจำนวน 1หมื่นคน โดยในปัจจุบันครอบคลุมการให้บริการไปแล้วจำนวน 400 ล้านคนและบริการของซอฟต์แบงก์จะครอบคลุมบริการ 7 พันล้านคน ภายใน 10 ปีข้างหน้าเพื่อขยายบริการครอบคลุมตลาดทั่วโลก
   "เราเริ่มธุรกิจโทรคมนาคมเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ไม่มีรายได้จากธุรกิจโทรคมนาคม แต่ 12 ปีผ่านไปสร้างรายได้ให้ถึง 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯมีอัตราสูงที่สุดในโลก  และด้วยจำนวนประชากรญี่ปุ่นมีอยู่ 100 ล้านคน ขณะที่ประชากรไทยมี 60 ล้านคน ซึ่งซอฟต์แบงก์ต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศที่มีประชากรจำนวน 100 ล้านคน ทำให้ส่วนหนึ่งจึงไปซื้อกิจการจากสปรินท์ที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีประชากรถึง 300 ล้านคน เมื่อรวมกับประชากรของญี่ปุ่นมีถึง 400 ล้านคน"
   นายจูนิชิ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โดยในอนาคตบริษัทกำลังศึกษาแผนขยายธุรกิจและเพิ่มฐานลูกค้าในแถบประเทศอาเซียน โดยหลักๆจะเป็น ไทย กัมพูชา และลาว ซึ่งเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพในแถบเอเชีย-แปซิฟิก โดยคาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนภายใน 3-5 ปีข้างหน้า    
    อย่างไรก็ตามสำหรับการลงทุนในประเทศไทยนั้น ทีโอที จะเป็นพันธมิตรเพียงรายเดียว ที่ซอฟต์แบงก์จะเข้าไปทำธุรกิจด้วย เพราะเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้บริการอินเตอร์เน็ต และ ทีโอที มีจุดแข็งในเรื่องเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=151218:-4&catid=123:20
09-02-08-11-44-33&Itemid=491

__________________________________


'กสทช.'พูดเรื่องค่าบริการน้อยไป

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพเรื่องของการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ของ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ยังเป็นคำถาม เรื่องราคาในการประมูล

โดย กสทช.ตั้งราคาเริ่มต้นไว้ที่ 4.5 พันล้านบาท โดยผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ชนะการประมูลในราคา 1.46 หมื่นล้านบาท บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ชนะการประมูล 1.35 หมื่นล้านบาท โดยได้รับใบอนุญาตตลอดระยะเวลา 15 ปี
   อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ภายหลังบินตรงจากกรุงเทพฯมายังประเทศญี่ปุ่น (เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา) เพื่อพบปะสื่อมวลชน เนื่องจากสื่อมวลชนกว่า 15 ฉบับได้รับเชิญจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไปดูเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4 จีในประเทศญี่ปุ่น และ รัฐมนตรีไอซีที ได้เป็นแขกรับเชิญในงานนี้ด้วย ติดตามบทสัมภาษณ์ได้ในบรรทัดถัดจากนี้!!


**คิดอย่างไรกับการประมูล 3 จี ของ กสทช.

   ก็น่าจะเรียบร้อยเพราะว่าคนที่ดำเนินการในเรื่องนี้ (หมายถึง กสทช.) เหมือนเป็นประเด็นเรื่องที่เป็นสปอตไลต์คนที่ได้รับมอบหมายก็ต้องถูกกดดันและก็กลัวถูกตรวจสอบแต่ขึ้นอยู่กับมิติไหนเท่านั้นหาก กสทช. เปลี่ยนสูตรการประมูลแบ่งคลื่นความถี่เป็น 10-15-20 เมกะเฮิรตซ์ (จากคลื่นความถี่มีทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์)  ก็โดนถูกหยิบยกเป็นประเด็นอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้นหยิบยกประเด็นไหน กสทช. ก็ถูกโจมตี ถ้าหากมีการมองข้อเสียอย่างเดียว แต่ทุกอย่างต้องมองภาพโดยรวม และ  ภาพหลัก สุดท้ายสิ่งที่ กสทช. ต้องพูดมากที่สุดแต่กลับไปพูดน้อยจนเกินไปนั่นก็คือ เรื่องอัตราค่าบริการ ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เป็นสิ่งที่ กสทช.ต้องพูดออกสื่อให้มากที่สุด เพราะอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะนี้อยู่ในอัตรา 899 บาทต่อเดือน เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้บอกว่าปรับอัตราค่าบริการลดลงมา 15 และ 20% มองเห็นว่าปลายน้ำ หมายถึง ผู้บริโภค คือ ใช้บริการที่ถูกลงก็จบ  เงินที่บอกว่ารัฐเสียประโยชน์ก็ไม่ได้เสียคือไปรับภาระให้กับผู้ใช้บริการแทน

** แต่ กสทช.ไม่พูดเรื่องนี้

   เพราะฉะนั้น กสทช. ต้องพูดเรื่องอัตราค่าบริการให้มากกว่านี้  ถ้าหากหยิบเรื่องกระบวนการ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ให้ กสทช.นำไปปฏิบัติตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เพราะกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ใน พ.ร.บ.กำหนดให้มีการทำประชาพิจารณ์ และ กระบวนการประมูลก็ชัดเจน ถ้า กสทช. เป็นหน่วยงานรัฐบาลก็ต้องทำ อี-ออกชัน เป็นไปตามระเบียบพัสดุ หรือเป็นไปตามระเบียบเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี ถ้าหากไม่ใช่ก็ต้องอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไร การประมูลแบบ อี-ออกชันของรัฐบาลเป็นการประมูลโดยมีการตั้งราคากลางผู้ประมูลเสนอเงื่อนไขถูกสุดก็ได้งานไป แต่ว่า อี-ออกชัน ของ กสทช. ตรงกันข้ามผู้ประมูลขอถูกสุด แต่ความเห็นคนทั่วไปการประมูลอี-ออกชัน ของ กสทช.ต้องการราคาแพงสุด ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นคำตอบที่ราคาต้องแพงสุด

**ทำไมไม่ต้องการราคาแพง

   สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับไป คือ เรื่องต้นทุน เพราะสุดท้ายปลายน้ำประชาชนผู้ใช้บริการ 3 จี และ ให้บริการได้เต็มคุณภาพจะได้ใช้ค่าบริการในราคาเท่าไหร่
** แต่ค่าบริการไม่ถูก

   ก็ กสทช.ก็พูดไปแล้วว่าจะปรับลดอัตราค่าบริการลงมา 15%


*** แล้ว 3 จีของ ทีโอที กับ แคท ผลักดันอย่างไร

   เรื่องของ ทีโอที 3 จี ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่เกิดขึ้น คือ การให้บริการ 3 จี ของ ทีโอที ในปัจจุบันตอบสนองเรื่องการให้บริการครบถ้วนหรือไม่อย่างไรก็ต้องตอบว่ายังไม่ครบถ้วนและได้แสดงความคิดเห็นหลายครั้ง
*** เพราะอะไร ทีโอที ถึงช้า

   เนื่องจากการขยายเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ของ ทีโอที คือ เป็นเรื่องของเฟสที่หนึ่ง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเฟสที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นวันนี้ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ให้กับ 3 โอเปอเรเตอร์ไปแล้ว เราถือว่าสิ่งที่เราเดินไปก่อนหน้าโอเปอเรเตอร์ปกติของ ทีโอที เองมีความก้าวหน้าไประดับหนึ่งเราก็คิดถึงเรื่องการทำเครือข่ายระบบ 3 จีที่มีคุณภาพ เราไม่ผูกยึดติดอยู่ว่าการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เราจะไม่พูดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี เฟสที่สองแต่เราจะพูดถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่เฟสที่สอง
   อย่างไรก็ตามเรื่องเทคโนโลยีจะเห็นว่าการให้บริการในเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ในคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ยังมีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง ทีโอที สามารถให้บริการได้อยู่แล้ว

*** นั่งเก้าอี้ รมต.ไอซีที สมัยที่ 2 สานต่อนโยบายอย่างไร

   สำหรับนโยบายนั้นต้องรอการแต่งตั้งบอร์ด ทีโอที  เสียก่อนและจะให้นโยบาย ซึ่งโจทย์ในขณะนี้เราได้เตรียมการเอาไว้อยู่แล้วรอให้บอร์ดใหม่ แต่งตั้งให้แล้วเสร็จก่อน

** แต่รายได้สัมปทานต้องให้ กสทช.

   ปีหน้ารายได้สัมปทานต้องส่งให้ กสทช. คือ ใครมองว่า ทีโอที สูญเสียสัมปทานและกลายเป็นจุดอ่อนต้องมองใหม่สักนิดหนึ่ง ทั้งทีโอทีและแคท สิ่งที่ 2 บริษัทมีอยู่น่าจะเป็นข้อได้เปรียบมากทีเดียวคือสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ถ้า    ตั้งคำถามง่าย ๆ คือ การติดตั้งเสาโทรคมนาคมในโลเกชันเหมือนกันหมด แต่ความยากง่ายต่างกันหมด เพราะกฎหมายมีเงื่อนไขมีมากมายรวมไปถึงระยะเวลาและสภาพแวดล้อม การตั้งเสาไม่ใช่มีเงินแล้วตั้งได้ แต่ ทีโอที และ แคท  เป็นรัฐวิสาหกิจการทำแบบลักษณะจีทูจี เสาโทรคมนาคมไม่ใช่เสาโทรศัพท์ เช่น สถานีตำรวจ ทุกตำบลมีสถานีตำรวจและทุกตำบลมีเสาสัญญาณ ถ้า ทีโอที ใช้ศักยภาพในการบริหารจัดการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่เข้าตาม พ.ร.บ.กสทช.ด้วยวิธีการแชร์โครงข่ายใช้ร่วมกันได้เราได้เปรียบเอกชน เพราะเอกชนต้องดูสถานที่ และทำประชาพิจารณ์

*** แต่ซีอีโอ ทีโอที ยังไม่มี

   ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบอร์ด ทีโอที  นโยบายการปรับแผน ครั้งนี้วางวัตถุประสงค์ไว้แล้วการเปลี่ยนบอร์ดก็เป็นเรื่องของนโยบาย คือ ในวันนี้ต้องเร่งเรื่องการขยายเครือข่ายในเฟสที่สอง วันนี้ ทีโอที มีธุรกิจ 3 ก้อนใหญ่ ก้อนที่หนึ่ง คือ  ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน  และ บรอดแบนด์ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำกำไรให้เห็นชัด ๆ แต่อีกก้อนหนึ่งที่กินเลือดและไหลอยู่ คือ ก้อนโมบาย แต่ผมยืนยันว่าไม่มีใครทำโมบายแล้วขาดทุน

*** แต่ทีโอทีและแคทขาดทุน

   แต่ผมจะทำให้ได้กำไรในสมัยผมนี้แหละ แต่เฟสที่หนึ่งต้องเร่งให้เสร็จภายในสิ้นปี 2555 แต่วันนี้อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคต้องปลดล็อกให้เสร็จภายในสิ้นปี รอให้บอร์ด ทีโอที แต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อนผมจะเน้น ทีโอที เรื่องของบรอดแบนด์ และ ฟิกซ์ไลน์ด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=151219:2012-10-30-06-
00-24&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.