Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 ธันวาคม 2555 (เดินหน้า3Gประเทศไทย) บทเรียน!! ปรับค่ามือถือ ( กำหนดวันแบบเติมเงิน!! ) วันละแสน ล่าสุด!! ยุค 3G ต้องไม่กำหนดวัน!!

ประเด็นหลัก

ล่าสุดวันนี้  ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่ง ไม่รับคำขอทุเลาของค่ายมือถือ  ทำให้กสทช.มีอำนาจปรับ ค่ายมือถือ ที่กำหนดเวลาหมดอายุบัตรเติมเงินได้   วันละ 1 แสนบาท


“เนื่องจาก 3G เป็นบริการใหม่ที่ไม่เคยมีสัญญาบริการระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ใช้บริการมาก่อน และประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ก็มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 แล้ว ดังนั้นจึงไม่อาจอ้างเรื่องข้อสัญญาเก่าเช่นเดียวกับบริการระบบ 2G ปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ กทค. จะต้องกำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป รวมทั้งอยากฝากไปยังผู้ใช้บริการให้ทราบสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายนี้ด้วย เพื่อจะไม่ถูกเอาเปรียบอย่างไม่สมควร” กสทช. ประวิทย์กล่าวในที่สุด

นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า กรณีห้ามกำหนดวันหมดอายุของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินในบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี อาจยังเป็นข้อถกเถียงกัน เนื่องจากประกาศ กทช.  เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ไม่ใช่บทบังคับในลักษณะเด็ดขาด หากแต่มีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถกำหนดระยะเวลาได้โดยขอรับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าจาก กทช. หรือ กทค. ในปัจจุบัน  ซึ่งประกาศฉบับนี้ออกมาหลังจากมีบริการ 2จีแล้ว ดังนั้นจึงเกิดการถกเถียงกันมาก แต่อย่างไรก็ตามสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้เสนอไปว่าควรกำหนดวันหมดอายุไว้ที่ 180 วัน ซึ่งกทช. หรือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ที่ 1 ปี ดังนั้น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องดำเนินการตาม

“เรื่องการกำหนดวันหมดอายุของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินในระบบ 2จียังคงต้องเดินหน้าต่อไป เมื่อศาลไม่รับคำขอเอกชน กสทช.จึงมีอำนาจในการปรับวันละ 1 แสนบาทจนกว่าเอกชนจะดำเนินการแก้ไขปัญหา ขณะที่เอกชนก็มีทางออก คือ มาหารือกับกสทช.เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมของการกำหนดวันหมดอายุที่เหมาะสม เนื่องจาก ข้อกำหนดตามข้อ 11 ของประกาศ กทช.  เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 นั้นไม่ใช่บทบังคับในลักษณะเด็ดขาด หากแต่มีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถกำหนดระยะเวลาได้โดยขอรับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าจาก กทช. หรือ กทค. ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเอกชนไม่เคยเข้ามาหารือกับกทค.ในเรื่องนี้เลย” นพ.ประวิทย์ กล่าว





__________________________________



ศาลปกครองกลางไม่รับคำขอทุเลาค่ายมือถือ- กสทช.สั่งปรับวันละแสน กรณีกำหนดเวลาหมดอายุบัตรเติมเงิน

 
สืบเนื่องจากเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกคำร้องคดีที่ทรูมูฟเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเลขาธิการ กสทช.และ กทค. กรณีเลขาธิการ กสทช.มีคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า (พรีเพด) และสั่งปรับ ผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนในอัตราวันละ 100,000 บาท


โดยศาลพิจาณาเห็นว่า คำสั่งของเลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย คือข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และเมื่อผู้ฟ้องคดียังคงมีการกำหนดเงื่อนไขการให้บริการ ในลักษณะเป็นการบังคับผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด


ต่อมาค่ายมือถือได้ขอทุเลากรณีคำตัดสินดังกล่าว ล่าสุดวันนี้  ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่ง ไม่รับคำขอทุเลาของค่ายมือถือ  ทำให้กสทช.มีอำนาจปรับ ค่ายมือถือ ที่กำหนดเวลาหมดอายุบัตรเติมเงินได้   วันละ 1 แสนบาท


มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355207571&grpid=03&catid=03

________________________


ศาลสั่งไม่ทุเลาคำสั่ง กสทช. ปรับพรีเพดผู้ประกอบการมือถือวันละแสน


ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ไม่ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองของ กสทช. ที่ห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (pre-paid) กำหนดระยะเวลาให้ผู้บริโภคเร่งใช้งาน รวมทั้งไม่ทุเลาการบังคับของ กสทช. กรณีมีคำสั่งปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาทต่อผู้ให้บริการที่ฝ่าฝืน “หลอลี่” ระบุผู้ให้บริการมือถือทุกค่ายควรเคารพคำพิพากษาศาล โดยเร่งจ่ายค่าปรับและยุติการทำผิดกฎหมายเรื่องนี้ พร้อมทั้งชี้ว่า ในยุคของบริการ 3G จะต้องไม่มีการกำหนดระยะเวลาใช้บริการมือถือแบบเติมเงินอีกต่อไป



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่า เมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีการพิพากษาในคดีที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเลขาธิการ กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จากกรณีที่เลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งกำหนดห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า (pre-paid) และสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนในอัตราวันละ 100,000 บาท เพื่อขอให้ศาลกำหนดมาตรการและวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยศาลพิจาณาเห็นว่า คำสั่งของ เลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย คือข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และเมื่อผู้ฟ้องคดียังคงมีการกำหนดเงื่อนไขการให้บริการในลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด คำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครองของเลขาธิการ กสทช. จึงเป็นมาตรการบังคับเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติตาม ซึ่งมีการใช้มาตรการลงโทษดังกล่าวกับผู้ประกอบการรายอื่นด้วย ดังนั้นหากมีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามที่ฟ้องก็จะก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม อันจะเป็นปัญหาและอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะ

นายประวิทย์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำศาลปกครองกลาง “โดยสรุปก็คือศาลมีคำสั่งยกคำขอตามคำฟ้องของทางทรูมูฟทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของสำนักงาน กสทช. และตามมติ กทค. รวมทั้งคำขอกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยศาลเห็นว่า หากในภายหลังศาลพิพากษาว่าคำสั่งของทางเลขาธิการ กสทช. หรือมติ กทค. ไม่ชอบ ผู้ฟ้องคดีก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระค่าปรับคืน ซึ่งไม่ใช่ความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง ตรงกันข้าม หากมีการกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยให้ระงับการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง กลับจะเป็นปัญหาและอุปสรรคแก่การบริหารงานของเลขาธิการ กสทช. และ กทค. ในการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า”

กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยังเปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังชี้ด้วยว่า ข้อกำหนดตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 นั้นไม่ใช่บทบังคับในลักษณะเด็ดขาด หากแต่มีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถกำหนดระยะเวลาได้โดยขอรับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าจาก กทช. หรือ กทค. ในปัจจุบัน ส่วนในประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า การไม่กำหนดระยะเวลาการใช้บริการทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับภาระต้นทุนในการให้บริการเป็นจำนวนมาก ศาลเห็นว่า แต่ในเมื่อผู้ฟ้องคดียังมีการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ฟ้องคดีก็ย่อมได้รับประโยชน์จากเงินที่เหลืออยู่ของผู้ใช้บริการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการใช้งาน

“จากคำสั่งของศาลปกครองนั้นจะเห็นได้ว่า ศาลเข้าใจในประเด็นปัญหาในเรื่องของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าและการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นผมจึงอยากเรียกร้องให้ผู้ประกอบกิจการมือถือประเภทพรีเพดให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย อันจะส่งผลเป็นการให้ความยุติธรรมต่อผู้บริโภคด้วย โดยสมควรยกเลิกการกำหนดระยะเวลาเร่งใช้บริการโดยเร็ว และเร่งจ่ายค่าปรับทางปกครองตามคำสั่งของสำนักงาน กสทช. ด้วย ซึ่งหากผู้ประกอบการยังละเลย ก็เป็นหน้าที่ของเลขาธิการ กสทช. ที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นผล” กสทช. ประวิทย์ฝากเสียงเรียกร้องถึงผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่และเลขาธิการ กสทช. ไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ กสทช. ประวิทย์ยังระบุว่า สำหรับการให้บริการในระบบ 3G นั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องไม่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้งานอีกต่อไป ทั้งนี้ตามที่มีกฎหมายห้ามไว้

“เนื่องจาก 3G เป็นบริการใหม่ที่ไม่เคยมีสัญญาบริการระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ใช้บริการมาก่อน และประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ก็มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 แล้ว ดังนั้นจึงไม่อาจอ้างเรื่องข้อสัญญาเก่าเช่นเดียวกับบริการระบบ 2G ปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ กทค. จะต้องกำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป รวมทั้งอยากฝากไปยังผู้ใช้บริการให้ทราบสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายนี้ด้วย เพื่อจะไม่ถูกเอาเปรียบอย่างไม่สมควร” กสทช. ประวิทย์กล่าวในที่สุด


http://www.ryt9.com/s/prg/1547742


_________________________________________

จี้ ′ค่ายมือถือ′ ยกเลิก วันหมดอายุเติมเงิน

กสทช.จี้ค่ายมือถือเร่งยกเลิกกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน หลังศาลปกครองมีคำสั่งชัดเจนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า หลังจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีอนุมัติการออกใบอนุญาต 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ให้แก่ผู้ที่ชนะการประมูลทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด และ บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุด ในวันที่ 11 ธันวาคม จะมีการจัดงาน "กสทช.พร้อมออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หรือ 3จี แก่ 3 ผู้ประกอบการเพื่อขยายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี" เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย เดินทางมารับมอบใบอนุญาต 3จี อย่างเป็นทางการ

ภายในงานจะมีการเปิดเผยถึงรายละเอียดต่างๆ ของการออกใบอนุญาต 3จี อาทิ ข้อกำหนด ข้อบังคับต่างๆ และรายละเอียดแนบท้ายใบอนุญาต การกำหนดลดค่าบริการราคาลง 15%

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. และกรรมการ กทค. ด้านคุ้มครอง ผู้บริโภค กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทพรีเพด ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค โดยเห็นว่าควรยกเลิกการกำหนดระยะเวลาใช้บริการโดยเร็ว และเร่งจ่ายค่าปรับทางปกครองตามคำสั่งของสำนักงาน กสทช.ด้วย หากผู้ประกอบการยังเพิกเฉยก็เป็นหน้าที่ของเลขาธิการ กสทช. จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นผล

สำหรับเรื่องค่าปรับทางปกครอง สืบเนื่องจากเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกคำร้องคดีที่ทรูมูฟเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเลขาธิการ กสทช.และ กทค. กรณีเลขาธิการ กสทช.มีคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า (พรีเพด) และสั่งปรับ ผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนในอัตราวันละ 100,000 บาท โดยศาลพิจาณาเห็นว่า คำสั่งของเลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย คือข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และเมื่อผู้ฟ้องคดียังคงมีการกำหนดเงื่อนไขการให้บริการ ในลักษณะเป็นการบังคับผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด

นพ.ประวิทย์กล่าวว่า สำหรับการให้บริการในระบบ 3จี ที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องไม่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้งานอีกต่อไป เนื่องจากระบบ 3จี เป็นบริการใหม่ ไม่เคยมีสัญญาบริการระหว่างผู้ประกอบการกับ ผู้ใช้บริการมาก่อน และประกาศเรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ก็มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ.2549 แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจอ้างเรื่องข้อสัญญาเก่าเช่นเดียวกับบริการระบบ 2จี ในปัจจุบันได้ จึงเป็นเรื่องที่ กทค.ต้องกำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป รวมทั้งอยากฝากไปยังผู้ใช้บริการให้ทราบสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายนี้ด้วย เพื่อจะไม่ถูกเอาเปรียบอย่างไม่สมควร




ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?
newsid=1355200835&grpid=&catid=06&subcatid=0600

__________________________________


“นพ.ประวิทย์” ชี้บริการ 3จีต้องไม่กำหนดวันหมดอายุ


ศาลสั่งไม่ทุเลาคำสั่ง กสทช. ปรับพรีเพดผู้ประกอบการมือถือวันละ 1 แสนบาท ด้าน “นพ.ประวิทย์” เผยเรื่องวันหมดอายุสำหรับบริการ 2จียังต้องคุยกัน ส่วนเรื่องบริการ 3จี กสทช.ต้องกำหนดให้ชัดเจน
วันนี้ (11 ธ.ค.) นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ให้ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองของ กสทช. ที่ห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (พรีเพด) กำหนดระยะเวลาให้ผู้บริโภคเร่งใช้งาน โดยศาลมีคำสั่งไม่ทุเลาการบังคับของ กสทช. กรณีมีคำสั่งปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาทต่อผู้ให้บริการที่ฝ่าฝืน ดังนั้นสำนักงาน กสทช. สามารถเรียกค่าปรับบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ยังกำหนดวันหมดอายุของการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบพรีเพดได้วันละ 1 แสนบาท จนกว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้

นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า กรณีห้ามกำหนดวันหมดอายุของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินในบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี อาจยังเป็นข้อถกเถียงกัน เนื่องจากประกาศ กทช.  เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ไม่ใช่บทบังคับในลักษณะเด็ดขาด หากแต่มีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถกำหนดระยะเวลาได้โดยขอรับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าจาก กทช. หรือ กทค. ในปัจจุบัน  ซึ่งประกาศฉบับนี้ออกมาหลังจากมีบริการ 2จีแล้ว ดังนั้นจึงเกิดการถกเถียงกันมาก แต่อย่างไรก็ตามสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้เสนอไปว่าควรกำหนดวันหมดอายุไว้ที่ 180 วัน ซึ่งกทช. หรือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ที่ 1 ปี ดังนั้น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องดำเนินการตาม

“เรื่องการกำหนดวันหมดอายุของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินในระบบ 2จียังคงต้องเดินหน้าต่อไป เมื่อศาลไม่รับคำขอเอกชน กสทช.จึงมีอำนาจในการปรับวันละ 1 แสนบาทจนกว่าเอกชนจะดำเนินการแก้ไขปัญหา ขณะที่เอกชนก็มีทางออก คือ มาหารือกับกสทช.เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมของการกำหนดวันหมดอายุที่เหมาะสม เนื่องจาก ข้อกำหนดตามข้อ 11 ของประกาศ กทช.  เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 นั้นไม่ใช่บทบังคับในลักษณะเด็ดขาด หากแต่มีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถกำหนดระยะเวลาได้โดยขอรับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าจาก กทช. หรือ กทค. ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเอกชนไม่เคยเข้ามาหารือกับกทค.ในเรื่องนี้เลย” นพ.ประวิทย์ กล่าว

นพ.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า วันนี้เมื่อกสทช.กำลังจะออกใบอนุญาต 3จีให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลทั้ง 3ราย ก็ควรบังคับใช้ประกาศดังกล่าวไปด้วยเลยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนระบบ 2จี โดยกำหนดให้บริการ 3จีไม่มีโปรโมชั่นที่กำหนดวันหมดอายุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ธ.ค.) เวลา 14.00 น. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ได้จัดแถลงข่าว “กสทช.พร้อมออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เพื่อให้บริการ 3จี แก่ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่ชนะการประมูลใบอนุญาต 3จี ของกสทช. เมื่อวันที่ 16 ต.ค.55 โดยมี พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ร่วมแถลงข่าว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.55 ที่ประชุม ได้มีมติรับรองผลการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ให้กับผู้ชนะการประมูลทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งตามขั้นตอนจะนำเรื่องเสนอให้ประธานกสทช. ลงนาม และดำเนินการแจ้งเอกชนเพื่อให้รับใบอนุญาต ขณะที่ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ส่วนการลดค่าบริการเฉลี่ยลดลง15% ทั้งประเภทเสียงและข้อมูลได้ระบุไว้ในเงื่อนไขการออกใบอนุญาตเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค จนกว่า กสทช.จะออกประกาศ เรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูง ซึ่งคาดจะใช้ระยะเวลานาน  เบื้องต้นประชาชนสามารถใช้อัตราค่าบริการดังกล่าวได้ประมาณเดือนเม.ย.56 นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถที่จะเตรียมนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมได้ตามกระบวนการขั้นตอน.


เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/171811

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.