Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 ธันวาคม 2555 PSI เริ่มมีเก็บเงินช่องพิเศษขั้นต่ำเดือนละ100 บ.(หลังแผนปีที่แล้วสำเร็จ กระจายได้ 2 ล้านกล่อง)//ร้อง กสทช.ทำต้นทุนพุ่ง

ประเด็นหลัก

บริษัทได้ไปยื่นขอใบอนุญาตโครงข่ายกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่กับ กสทช. ซึ่งคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตราว ม.ค.ปีหน้า ภายใต้ใบอนุญาตดังกล่าวพีเอสไอ จะเป็นผู้ให้บริการช่องรายการในกลุ่มทีวีดาวเทียมประเภทฟรีทูแอร์กว่า 200 ช่อง และบริการช่อง"เพย์ทีวี" ซึ่งสามารถดำเนินการผ่านกล่องรับสัญญาณแบบเข้ารหัส (Conditional Access :CA) ซึ่งจำหน่ายไปแล้วกว่า 2 ล้านกล่อง จากกล่องพีเอสไอทุกรุ่นที่มีอยู่ในตลาดรวม 11 ล้านกล่อง


ในปีหน้าหลังจาก กสทช. เริ่มให้ใบอนุญาตประเภทต่างๆแล้ว รวมทั้งโครงข่ายเพย์ทีวี ทำให้เจ้าของคอนเทนท์จากต่างประเทศสนใจเข้ามาขยายกิจการบรอดแคสต์ในไทยร่วมกับพีเอสไอมากขึ้น ทั้งกลุ่มคอนเทนท์สารคดี บันเทิง และซีรี่ส์ จากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เป็นต้น โดยจะมีทั้งการร่วมทุนและเป็นพันธมิตรบริหารช่องรายการในธุรกิจเพย์ทีวี คาดว่าภายในปี 2557 จะเปิดให้บริการรวม 10 ช่องรายการ เก็บค่าสมาชิกในอัตราต่ำราวเดือนละ 100 บาท


สำหรับพีเอสไอ ได้ปรับทิศทางธุรกิจเพื่อมุ่งหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ นอกจากยอดขายกล่องเช่นกัน ทั้งธุรกิจการส่งสัญญาณดาวเทียมให้กับช่องทีวีดาวเทียม ปัจจุบันให้บริการ 15 ช่อง คาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 35 ช่อง หลังจากดาวเทียมไทยคม 6 เปิดให้บริการราวเดือนส.ค.2557 พร้อมทั้งขยายธุรกิจช่องรายการเพย์ทีวี และการเปิดช่องทีวีดาวเทียมทั้งที่ผลิตเอง และร่วมทุนกับพันธมิตร เช่น เวิร์คพ้อยท์ เพื่อหารายได้จากโฆษณา คาดว่าในหน้าจะมีรายได้รวม 3,500 ล้านบาท เพิ่มจากปีนี้ที่มีรายได้ 3,000 ล้านบาท

ประเด็นที่สมาคมคัดค้านประกอบด้วย 1.การขึ้นค่าธรรมเนียมโดยคิดจากรายได้ มีลักษณะคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริโภคจะเป็นผู้รับภาระ 2.การกำหนดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้ กสทช. มีรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่แท้จริงกฏหมายกำหนดให้การคิดค่าธรรมเนียมคำนึงถึงค่าใช้จ่าย หรือให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และความเป็นธรรมของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

3. วิธีการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้เกิดปัญหาในหลายแง่มุมและน่าจะขัด พ.ร.บ.กสทช. และ 4.การคิดวิธีเดิม กสทช. ก็มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายอยู่แล้ว จึงควรใช้วิธีเดิมไปก่อน หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเก็บได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย กสทช. ย่อมมีเหตุผลโดยชอบที่จะขึ้นค่าธรรมเนียมให้สมดุล

“เราไม่ได้คิดคัดค้านกติกาเดิมที่ใช้อยู่แล้ว และไม่ได้อยากไปขัดแย้งหรือมีปัญหากับคณะกรรมการ เพราะเกรงว่าจะถูกใช้อำนาจมากดดันในภายหลัง แต่เมื่อได้ส่งเรื่องเข้าไป แล้วไม่มีอะไรสะท้อนกลับมาจึงขอเรียกร้องและคิดว่าประชาชนควรรับรู้เพราะต่อไปนอกจากระยะสั้นจะทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้น ระยะยาวมีโอกาสที่ผู้ประกอบการรายเล็กจะหายไปจากตลาด ส่วนรายใหญ่ผูกขาดขึ้นราคาค่าบริการหรือไม่ยอมลดราคาแม้ต้นทุนที่ใช้จะต่ำลง”





___________________________________________


'พีเอสไอ'ลุย'เพย์ทีวี'จับมือพันมิตรเล็งเปิด10ช่อง


พีเอสไอ ยื่นเอกสารขอใบอนุญาตโครงข่ายทำธุรกิจเพย์ทีวีต่อ กสทช.

พีเอสไอ เดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจรับยุค กสทช. ยื่นขอใบอนุญาตโครงข่ายลุยขยายธุรกิจ "เพย์ทีวี" เล็งจับมือคอนเทนท์ต่างชาติผุด 10 ช่อง


นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผย "กรุงเทพธุรกิจ"ว่าบริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับดูแลของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่กำลังอยู่ระหว่างการออกใบอนุญาตใหม่ในกิจการบรอดแคสต์ ทั้งในกลุ่มใช้คลื่นความถี่และไม่ใช้คลื่นความถี่

จากเดิมพีเอสไอมีรายได้หลัก 70% จากการขายจานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียม(ฮาร์ดแวร์) แต่ในปีหน้าสัดส่วนดังกล่าวจะลดลงเหลือ 60% โดยบริษัทได้ขยายธุรกิจใหม่อีก 2 กลุ่มคือ ธุรกิจช่องทีวีดาวเทียม ทั้งที่ผลิตรายการเอง และร่วมทุนกับคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ทั้งไทยและต่างประเทศ และธุรกิจเพย์ทีวี

โดยวานนี้ (11 ธ.ค.) บริษัทได้ไปยื่นขอใบอนุญาตโครงข่ายกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่กับ กสทช. ซึ่งคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตราว ม.ค.ปีหน้า ภายใต้ใบอนุญาตดังกล่าวพีเอสไอ จะเป็นผู้ให้บริการช่องรายการในกลุ่มทีวีดาวเทียมประเภทฟรีทูแอร์กว่า 200 ช่อง และบริการช่อง"เพย์ทีวี" ซึ่งสามารถดำเนินการผ่านกล่องรับสัญญาณแบบเข้ารหัส (Conditional Access :CA) ซึ่งจำหน่ายไปแล้วกว่า 2 ล้านกล่อง จากกล่องพีเอสไอทุกรุ่นที่มีอยู่ในตลาดรวม 11 ล้านกล่อง

ในปีหน้าหลังจาก กสทช. เริ่มให้ใบอนุญาตประเภทต่างๆแล้ว รวมทั้งโครงข่ายเพย์ทีวี ทำให้เจ้าของคอนเทนท์จากต่างประเทศสนใจเข้ามาขยายกิจการบรอดแคสต์ในไทยร่วมกับพีเอสไอมากขึ้น ทั้งกลุ่มคอนเทนท์สารคดี บันเทิง และซีรี่ส์ จากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เป็นต้น โดยจะมีทั้งการร่วมทุนและเป็นพันธมิตรบริหารช่องรายการในธุรกิจเพย์ทีวี คาดว่าภายในปี 2557 จะเปิดให้บริการรวม 10 ช่องรายการ เก็บค่าสมาชิกในอัตราต่ำราวเดือนละ 100 บาท

"ปัจจุบันผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมช่องรายการหลากหลาย ทั้งจากทีวีดาวเทียมกว่า 200 ช่อง และทีวีดิจิทัลในปีหน้า อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายจากการเป็นสมาชิกเคเบิลทีวีอยู่แล้ว การเสนอช่องเพย์ทีวี ผ่านกล่องรับสัญญาณ จึงไม่สามารถตั้งราคาได้สูง แต่มีโอกาสหารายได้เพิ่มจากสปอนเซอร์สนับสนุนช่องรายการแทน" นายสมพรกล่าว

จากสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจกล่องรับสัญญาณ ทำให้เกิดสงครามราคาต่อเนื่องตลอดปีนี้ ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่สามารถทำกำไรจากธุรกิจกล่องได้ และในปีหน้ายังต้องเผชิญกับการเปิดตัวกล่องรับสัญญาณ"ทีวีดิจิทัล" อีกประเภท เชื่อว่าผู้ประกอบการอาจใช้กลยุทธ์แจกกล่องฟรี เพื่อหวังหารายได้จากธุรกิจอื่น ทั้งรายได้โฆษณาจากช่องรายการ และธุรกิจเพย์ทีวี

สำหรับพีเอสไอ ได้ปรับทิศทางธุรกิจเพื่อมุ่งหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ นอกจากยอดขายกล่องเช่นกัน ทั้งธุรกิจการส่งสัญญาณดาวเทียมให้กับช่องทีวีดาวเทียม ปัจจุบันให้บริการ 15 ช่อง คาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 35 ช่อง หลังจากดาวเทียมไทยคม 6 เปิดให้บริการราวเดือนส.ค.2557 พร้อมทั้งขยายธุรกิจช่องรายการเพย์ทีวี และการเปิดช่องทีวีดาวเทียมทั้งที่ผลิตเอง และร่วมทุนกับพันธมิตร เช่น เวิร์คพ้อยท์ เพื่อหารายได้จากโฆษณา คาดว่าในหน้าจะมีรายได้รวม 3,500 ล้านบาท เพิ่มจากปีนี้ที่มีรายได้ 3,000 ล้านบาท


กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/media/2
0121212/481760/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%
B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E
0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A2
%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%
B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8
%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B
8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%
B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0
%B8%B4%E0%B8%9410%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD
%E0%B8%87.html


________________________________


ไอเอสพีอัดกสทช.ค่าธรรมเนียม2%ทำต้นทุนพุ่ง


'พีเอสไอ'ลุย'เพย์ทีวี'จับมือพันมิตรเล็งเปิด10ช่อง

สมาคมไอเอสพีร้อง กสทช. ขึ้นค่าธรรมเนียมโทรคมไม่เป็นธรรม ชี้ไม่เป็นตามเจตนารมณ์กฎหมาย ระยะสั้นทำต้นทุนผู้ประกอบการพุ่ง ระยะยาวรายเล็กเสี่ยงสูญ ซ้ำรายใหญ่ผูกขาดตลาด กสทช.แจงเจตนาแก้ปัญหาผู้ประกอบการเลี่ยงจ่ายค่าธรรมเนียม หากไม่เห็นด้วยให้ส่งเรื่องอุทธรณ์มา

นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (ไอเอสพี) กล่าวว่า สมาคมไม่เห็นด้วยกับการกระทำของสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่จะประกาศเก็บค่าธรรมเนียมโทรคมเพิ่มอีก 2% ด้วยเห็นว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมายและส่งผลต่อกระทบทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการที่ต้องรับภาระเพิ่ม

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่สมาคมคัดค้านประกอบด้วย 1.การขึ้นค่าธรรมเนียมโดยคิดจากรายได้ มีลักษณะคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริโภคจะเป็นผู้รับภาระ 2.การกำหนดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้ กสทช. มีรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่แท้จริงกฏหมายกำหนดให้การคิดค่าธรรมเนียมคำนึงถึงค่าใช้จ่าย หรือให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และความเป็นธรรมของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

3. วิธีการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้เกิดปัญหาในหลายแง่มุมและน่าจะขัด พ.ร.บ.กสทช. และ 4.การคิดวิธีเดิม กสทช. ก็มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายอยู่แล้ว จึงควรใช้วิธีเดิมไปก่อน หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเก็บได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย กสทช. ย่อมมีเหตุผลโดยชอบที่จะขึ้นค่าธรรมเนียมให้สมดุล

“เราไม่ได้คิดคัดค้านกติกาเดิมที่ใช้อยู่แล้ว และไม่ได้อยากไปขัดแย้งหรือมีปัญหากับคณะกรรมการ เพราะเกรงว่าจะถูกใช้อำนาจมากดดันในภายหลัง แต่เมื่อได้ส่งเรื่องเข้าไป แล้วไม่มีอะไรสะท้อนกลับมาจึงขอเรียกร้องและคิดว่าประชาชนควรรับรู้เพราะต่อไปนอกจากระยะสั้นจะทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้น ระยะยาวมีโอกาสที่ผู้ประกอบการรายเล็กจะหายไปจากตลาด ส่วนรายใหญ่ผูกขาดขึ้นราคาค่าบริการหรือไม่ยอมลดราคาแม้ต้นทุนที่ใช้จะต่ำลง”

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าวว่า ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการบางรายพยายามหลีกเลี่ยงโดยขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ตรงกับประเภทที่เป็นจริง หรือทำรายได้ให้จ่ายค่าธรรมเนียมน้อยๆ ไว้ ฉะนั้นกสทช.จึงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหา หากมีประเด็นใดที่ไม่เห็นด้วยขอให้ส่งเรื่องอุทธรณ์เข้ามา เพื่อว่า กสทช.จะได้นำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแก้ไขต่อไป

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20121214/4
82111/%E4%CD%E0%CD%CA%BE%D5%CD%D1%B4%A1%CA
%B7%AA.%A4%E8%D2%B8%C3%C3%C1%E0%B9%D5%C2%
C12%B7%D3%B5%E9%B9%B7%D8%B9%BE%D8%E8%A7.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.