Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 มีนาคม 2556 TOT3G ได้ประโยชน์++จับมือ CAT - AIS !!! ปิดจุดอ่อนด้านโครงข่ายที่ยังมีน้อยและไม่ต้องลงทุนมาก


ประเด็นหลัก



"ทีโอทีมีจุดอ่อนด้านโครงข่ายที่ยังมีน้อย แต่สปีดดาต้าสูง เมื่อโรมมิ่งกับ HSPA ที่มีกว่าหมื่นแห่ง จะช่วยแก้จุดอ่อนของทีโอทีได้ ซึ่งการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างกันแม้จะเป็นโครงข่ายที่ใช้คนละคลื่น แต่ไม่มีปัญหา และไม่ต้องลงทุนมาก ที่ยากคือทำระบบหลังบ้าน และบิลลิ่งในการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย จึงเจรจากับ กสทฯเพื่อขอจ่ายเป็นแฟลตเรต โดยในข้อตกลงเปิดให้ทั้ง 2 ฝ่ายโรมมิ่งสัญญาณระหว่างกันได้สูงสุดฝั่งละ 4 แสนเลขหมาย เสียค่า IC นาทีละ 50 สตางค์ ส่วนค่าโรมมิ่งไม่สามารถเปิดเผยได้"

ในเบื้องต้นจะเป็นการทำสัญญาโรมมิ่งระยะเวลา 1 ปีก่อนพิจารณาต่ออายุสัญญาในภายหลัง เช่นเดียวกับการทำสัญญาโรมมิ่งที่ทีโอทีทำไว้กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเพิ่งต่ออายุ โดยในสัญญาดังกล่าว ทีโอทีจะขอเข้าไปโรมมิ่งบริการด้านเสียงกับเอไอเอส แลกกับการให้เอไอเอสมาโรมมิ่งบริการดาต้า สูงสุดฝ่ายละ 1 ล้านเลขหมาย คิดค่า IC นาทีละ 50 สตางค์

นายกิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานโครงข่าย บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ความร่วมมือในการโรมมิ่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระหว่างทีโอทีและ กสทฯจะทำให้เกิดการใช้โครงข่ายอย่างคุ้มค่า ถือและเป็นการใช้ทรัพยากรภาครัฐร่วมกันตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ประสิทธิภาพในการบริการทั้งด้านเสียงและดาต้าของทั้งสองบริการดีขึ้น ทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น









____________________________







ทีโอที3Gคัมแบ็กตลาดมือถือ โรมมิ่ง"AIS-กสท"อุดจุดอ่อน

นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า หลังลงนามในบันทึกข้อตกลงในการใช้โครงข่ายร่วมกันระหว่างโครงข่าย 3G บนคลื่น 2.1 GHz ของทีโอที กับโครงข่าย HSPA ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม มีผลให้ลูกค้า TOT3G ทั้งในส่วนของทีโอที และส่วนของผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) ราว 200,000 เลขหมาย และบริการ My ของ กสท (มีลูกค้าราว 20,000 ราย) โรมมิ่งสัญญาณระหว่างกันได้อัตโนมัติ ทั้งบริการด้านเสียงและดาต้า โดยลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ดหรือตั้งค่าบนโทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด

"ทีโอทีมีจุดอ่อนด้านโครงข่ายที่ยังมีน้อย แต่สปีดดาต้าสูง เมื่อโรมมิ่งกับ HSPA ที่มีกว่าหมื่นแห่ง จะช่วยแก้จุดอ่อนของทีโอทีได้ ซึ่งการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างกันแม้จะเป็นโครงข่ายที่ใช้คนละคลื่น แต่ไม่มีปัญหา และไม่ต้องลงทุนมาก ที่ยากคือทำระบบหลังบ้าน และบิลลิ่งในการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย จึงเจรจากับ กสทฯเพื่อขอจ่ายเป็นแฟลตเรต โดยในข้อตกลงเปิดให้ทั้ง 2 ฝ่ายโรมมิ่งสัญญาณระหว่างกันได้สูงสุดฝั่งละ 4 แสนเลขหมาย เสียค่า IC นาทีละ 50 สตางค์ ส่วนค่าโรมมิ่งไม่สามารถเปิดเผยได้"

ในเบื้องต้นจะเป็นการทำสัญญาโรมมิ่งระยะเวลา 1 ปีก่อนพิจารณาต่ออายุสัญญาในภายหลัง เช่นเดียวกับการทำสัญญาโรมมิ่งที่ทีโอทีทำไว้กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเพิ่งต่ออายุ โดยในสัญญาดังกล่าว ทีโอทีจะขอเข้าไปโรมมิ่งบริการด้านเสียงกับเอไอเอส แลกกับการให้เอไอเอสมาโรมมิ่งบริการดาต้า สูงสุดฝ่ายละ 1 ล้านเลขหมาย คิดค่า IC นาทีละ 50 สตางค์

ขณะที่ความคืบหน้าในการทำสัญญา MVNO กับ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย เพื่อเป็นตัวแทนในการทำตลาดบริการ TOT3G ล่าสุดได้นำร่างสัญญาเสนอให้บอร์ดทีโอทีพิจารณาแล้ว แต่บอร์ดตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับส่วนแบ่งรายได้ คาดว่าจะนำเข้าบอร์ดได้อีกครั้งเดือน มี.ค. หลังฝ่ายบริหารเจรจากับสามารถฯ เพื่อปรับส่วนแบ่งรายได้จากเดิมทีโอทีได้ 40% เป็น 45% แล้ว

"การเจรจาล่าสุดสามารถฯยินดีปรับส่วนแบ่งให้ทีโอที 45% และสามารถฯได้ 55% โดยยอมรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และค่าธรรมเนียมการทำตลาดที่ต้องจ่ายเพื่อวางสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ร้านสะดวกซื้ออีก 10% ด้วย ทำให้สามารถฯได้ส่วนแบ่งรายได้จริง ๆ 38% เชื่อว่าบอร์ดจะเห็นด้วย หลังโรมมิ่งกับ กสทฯ และทำสัญญา MVNO กับสามารถฯได้แล้ว ทำให้ทีโอทีมีลูกค้า 3G มากขึ้น แต่คงไม่ถึงล้านภายในสิ้นปีนี้"

สำหรับความคืบหน้าของการขยายสถานีฐาน ล่าสุดทดลองอัพเกรด 100 สถานีฐานบริการสำนักงานใหญ่ทีโอที สยามสแควร์ และสถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE บนคลื่น 2.1 GHz แต่ยังแค่ทดลองเพื่อนำผลการรับส่งสัญญาณมาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการวางแผนสร้างโครงข่ายในเฟส 2 เท่านั้น

"เราอยากได้ข้อมูลก่อนว่า 4G บนคลื่น 2.1 GHz ทำได้ดีแค่ไหน คาดว่าอีก 2-3 เดือนจะเห็นผลการรับส่งสัญญาณ และรวมถึงผลกระทบกับ 3G เดิม จากนั้นจะมาวิเคราะห์อีกครั้ง ถ้าทำได้ต้องวางแผนบริหารคลื่นความถี่ด้วยว่า 15 MHz ที่มีจะแบ่งแต่ละพื้นที่อย่างไร ส่วนการลงทุนขยายโครงข่ายเฟส 2 ต้องจ้างที่ปรึกษามาวิเคราะห์ให้รอบคอบ รวมถึงดีไซน์พื้นที่ตั้งสถานีฐานที่เหมาะสม ไม่ให้มีปัญหาเหมือนเฟสแรกที่หาจุดติดตั้งสถานีฐานล่าช้า คาดว่า มี.ค.นี้จะรู้ว่าใครเป็นที่ปรึกษา ส่วนการนำเสนอรายละเอียดโครงการให้สภาพัฒน์อนุมัติได้น่าจะอีก 3 เดือน"

ด้านนายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า การทำสัญญาเช่าใช้โครงข่าย (MVNO) กับทีโอทีบนโครงข่าย 3G เพื่อนำไปขายปลีกการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ i-mobile 3GX น่าจะได้ลงนามภายในมี.ค.นี้ โดยบริษัทขอสิทธิ์เป็น MVNO 40% ของความจุโครงข่ายของทีโอที หรือราว 2.8 ล้านเลขหมาย โดยมีแผนขยายฐานลูกค้า i-mobile 3GX ให้ได้ 1.2 ล้านเลขหมาย ภายใน 1 ปี จากปัจจุบันมีลูกค้า 2 แสนราย

"เมื่อทีโอทีและ กสทฯโรมมิ่ง 3G กับ HSPA ตามนโยบายรัฐมนตรีไอซีทีแล้วจะทำให้ 3G ทีโอทีมีครอบคลุมพื้นที่การให้บริการมากขึ้น ไม่เป็นอุปสรรคในการทำตลาดอีกต่อไป"

นายกิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานโครงข่าย บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ความร่วมมือในการโรมมิ่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระหว่างทีโอทีและ กสทฯจะทำให้เกิดการใช้โครงข่ายอย่างคุ้มค่า ถือและเป็นการใช้ทรัพยากรภาครัฐร่วมกันตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ประสิทธิภาพในการบริการทั้งด้านเสียงและดาต้าของทั้งสองบริการดีขึ้น ทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362110949&grpid=no&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.