Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มีนาคม 2556 TOT ร้องลดราคาค่าIC!! ทั้ง2Gและเบอร์บ้าน // 365 ยอมเสนอทำสัญญาใหม่ ขอ 20% ของความจุโครงข่ายเหมือน I-Mobile3GX 40%ของโครงข่ายทั้งหมด


ประเด็นหลัก


กสทช. ได้เห็นชอบกำหนดค่าไอซีเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 3จี ที่อัตรา 0.45 บาท ขณะที่ อัตราค่าไอซีอ้างอิงของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เดิม (2จี) ที่กำหนดไว้ 0.50 บาทต่อนาที แต่สำหรับโทรศัพท์ประจำที่นั้นมีอัตราอ้างอิงต่ำกว่า คือ อยู่ที่ 0.36 บาทต่อนาที

อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวของ กทค. ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีความเห็นแตกต่างจาก กทค. เสียงข้างมากว่า ควรเลือกอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 0.41 บาทต่อนาที ตามผลการศึกษาที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Tilted Annuity ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่สำนักงาน กสทช. ยึดถือมาโดยตลอด และเป็นวิธีคำนวณตามที่กำหนดในกฎหมายด้วย

นายประวิทย์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยให้กำหนดอัตราค่าไอซีสำหรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี และ 3จี เป็นอัตราเดียวกัน เพื่อความเป็นธรรมในการให้บริการของทั้งสองตลาด ตลอดจนเป็นการป้องกันการโอนย้ายผู้ใช้บริการข้ามตลาดผ่านแรงจูงใจด้านราคาด้วย  แต่ไม่ควรรวมบริการโทรศัพท์ประจำที่ เนื่องจากเป็นคนละบริการ และอัตราค่าไอซีของแบบประจำที่ก็ต่ำกว่าอยู่แล้ว







  ทั้งนี้ 4 บริการดังกล่าวได้แก่ 1.กลุ่ม Fixed Line เป็นบริการโทรศัพท์ประจำที่, บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ TOT 007 และTOT 008 2.กลุ่ม Mobile ซึ่งจะให้บริการ TOT 3G และMVNO พาร์ทเนอร์ 3.กลุ่ม บรอดแบนด์ ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบริการ Wi-Fi และ Fiber 2U รวมไปถึง FTTx และ 4.กลุ่มคอนเทนต์ และแอปพลิเคชั่น ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นปี 2556ทีโอทีเพิ่งจะเปิดให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ต ด้วยกล่องรับสัญญาณทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 6Mbps โดยจะสามารถรับชมรายการต่างๆระดับความละเอียดสูง(HD) และครอบคลุมทั้งทีวี คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ซึ่งรับชมช่องพื้นฐานฟรี 74 ช่อง เป็นช่องHD 9ช่อง โดยในกลุ่มนี้ทีโอทีตั้งเป้าสร้างรายได้ราว7,000ล้านบาทภายใน 3 ปี
     
       'นโยบาย4บริการดังกล่าวทีโอทีจะเน้นหาพันธมิตรทั้งหมด เนื่องจากจะทำให้ทีโอทีไม่ต้องลงทุนมากในการทำธุรกิจ แต่เน้นได้รับผลประโยชน์กลับคืนมามากกว่า'
     
       สำหรับโปรโมชันของ Quad Play นั้นทีโอทีตั้งราคาที่ 999 บาทต่อเดือน ซึ่งลูกค้าจะได้รับบริการต่างๆจากทีโอที ประกอบด้วย 1. บริการโทรศัพท์มือถือ ทีโอที 3G ไม่จำกัดบนความเร็วสูงสุดในปริมาณข้อมูลไม่เกิน 2GB หลังจากนั้นความเร็วจะถูกปรับลงไม่เกิน 384 Kbps. 2. ทีโอทีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 10 Mbps. 3. บริการโทร.ฟรีหาโทรศัพท์บ้านทั่วไทยจำนวน 100 บาท 4. ทีโอที ฟรี Wi-Fi 100 ชั่วโมง 5. ดูฟรี ทีโอทีไอพีทีวี 74 ช่องย้อนหลังได้ถึง 72 ชั่วโมง คุณภาพระดับ HD




เปลี่ยนโครงข่ายสายทองแดง ADSL เป็นไฟเบอร์ออฟติก หรือ FTTx เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะควบคุมเงินลงทุนไม่เกิน15,000 บาทต่อพอร์ตในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันทีโอทีมีลูกค้าอยู่ราว1.4 ล้านราย และคาดว่าภายในปลายปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 แสนราย
     
   
     
       โดยทั้ง 4 รายแบ่งรายได้ให้ทีโอที 70% เอกชน30% ซึ่งทีโอทีมีหน้าที่ทำคอร์เน็ตเวิร์กเท่านั้น ส่วนเอกชนจะมีหน้าที่ลงทุน Access Network และการวางโครงข่ายทั่วจังหวัดนั้นๆ เอง นอกจากนี้เอกชนยังต้องมาเช่าใช้การออกบิลตามหนี้ และคอลเซ็นเตอร์ ของทีโอทีอีกด้วย โดยรูปแบบธุรกิจมี 2 รูปแบบคือ 1.รูปแบบระยะยาวแบบไม่มีรอยต่อ คือการห้ามขยายโครงข่ายเพิ่มเพื่อเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างทำสัญญา 2.รูปแบบการจำกัดแบนด์วิดท์ในการให้บริการ และห้ามถ่ายโอนโครงข่าย แต่สามารถขยายเน็ตเวิร์กเพิ่มได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเลือกรูปแบบที่ 2 ในการร่วมมือทางธุรกิจ โดยความร่วมมือครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี และมีการประกันยอดรายได้ขั้นต่ำตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป
     


       ***MVNO แบ่งสัดส่วนลงตัวชงบอร์ด เม.ย.นี้
     
       ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญา MVNO (Mobile Virtual Network Operator) กับบริษัทเอกชนซึ่งตอนนี้มีเพียงรายเดียวที่เป็นทางการคือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบายนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55% หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วจะเหลือ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45% จากเดิมที่เอกชนได้ 60% หลังหักค่าการตลาดผ่านช่องทางจำหน่าย 10% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับเอกชนจะได้รับส่วนแบ่ง 43% ขณะที่ทีโอทีได้ 40% เท่านั้นซึ่งในตอนนี้เหลือแค่เสนอบอร์ดทีโอทีอนุมัติเพื่อเซ็นสัญญาเท่านั้นโดยคาดว่าจะเสนอบอร์ดช่วงเดือนเม.ย.นี้
     
       ขณะที่ล่าสุด บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น ได้ทำเรื่องขอเข้ามาทำMVNOกับทีโอทีเช่นเดียวกันโดยขอ 20% ของความจุโครงข่ายที่มี แต่ยังไม่เป็นทางการในตอนนี้ ส่วนรายอื่นๆจะเป็นรายเล็กๆที่ไม่ต้องประกันรายได้
     

     
       บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ถือเป็นบริษัทลูกที่ทีโอทีถือหุ้น100% โดยในเบื้องต้นทีโอทีจะใส่เงินให้กับ เอซีทีราว 1,600 ล้านบาทในการซื้อโครงข่ายเนื่องจาก ก่อนหน้านี้ทีโอทีเช่าใช้โครงข่าย 3G และอุปกรณ์ 3G ของเอซีที จำนวน 547 สถานีฐาน จากนั้นทีโอทีได้นำโครงข่ายดังกล่าวมาเปิดให้บริการ 3G มาตั้งแต่เดือนธ.ค.2552 เป็นต้นมา ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวทีโอทีมองว่าเป็นเสมือนเงินทุนในการเปิดบริษัทใหม่เอซีทีด้วย
     
       โดยทีโอทีตั้งเป้าผลักดันให้เอซีทีเป็นเหมือน NTT DoCoMo ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพ โดยใช้เงินลงทุนเพียง1,600ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ทีโอทีที่เป็นบริษัทแม่เข้มแข็งตามบริษัทลูกไปด้วยในที่สุด โดยชูจุดแข็งเป็นบริษัทเอกชน แต่มีทีโอทีซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ และมีศักยภาพในการเป็นผู้มีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศคอยสนับสนุนอยู่
     
       'คาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้จะมีการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอซีทีก่อน จากนั้นจะเริ่มเห็นบริษัทเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น รวมไปถึงโครงสร้างแผนงานการดำเนินธุรกิจ โดยเชื่อว่าจะมีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานภายใน เพื่อให้ตอบโจทย์ทีโอทียิ่งขึ้น โดยจะต้องทำให้บริษัทเป็นกลาง พร้อมต้อนรับลูกค้าทุกรายในตลาด โดยเฉพาะลูกค้าที่ต้องการเข้ามาทำตลาด3G'
     


     
       ทั้งนี้ในเบื้องต้นเอไอเอส คู่สัญญาสัมปทานทีโอที ที่มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ ได้โอนให้ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่งแล้ว ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (BTO) ซึ่งเสาสัญญาณโทรคมนาคมที่เอไอเอสจะโอนให้ทีโอทีเป็นเสาในระบบ 2G
     
       'สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทาวเวอร์โคเกิดคือเรากับเอไอเอสต้องจบกันได้ เพราะหากไม่จบเราก็ไปลำบาก โดยเชื่อมั่นว่าเอไอเอสไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์ที่เอาเปรียบทีโอทีเหมือนรายอื่นๆแน่นอน'


     


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

23 มกราคม 2556 I-Mobile3GX (เตรียมเซ็นMVNOฉบับใหม่ก.พ.นี้)จะทำตลาดระยะยาว 12ปี)2.8ล้านเลขหมายหรือ40%ของโครงข่ายทั้งหมด // กว่าติดเสร็จครบ 5,320 สถานีฐานเดือน5

http://somagawn.blogspot.com/2013/01/23-2556-i-mobile3gx-mvno-122840-5320-5.html






















______________________________________



ยงยุทธ' อาสาทวงศักดิ์ศรีทีโอที


บริการ TOT 3G ถือเป็น 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์สำคัญของทีโอทีภายใต้การกุมบังเหียนของ "ยงยุทธ วัฒนสินธุ์"


ยงยุทธ วัฒนสินธุ์ ถือได้ว่าเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในช่วงที่ต้องเผชิญกับความท้าท้ายขององค์กรครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 20 ธ.ค.56 นี้ เนื่องจากทีโอทีจะต้องขาดรายได้หลักหมื่นล้านบาทจากส่วนแบ่งรายได้สัญญาสัมปทานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์กรขาดทุนในทันทีทันใดหากไม่เตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น
     
       ทำไมยงยุทธถึงกล้าเข้ามารับตำแหน่งกจญ.ทีโอที ในภาวะวิกฤต และที่ผ่านมาไม่เคยมีใครอยู่ในตำแหน่งครบวาระสักคน ในขณะที่อายุงานในตำแหน่งรองกจญ.อยู่ได้อีกถึง 8 ปี
     
       ยงยุทธ ระบุว่าสาเหตุหลักในการเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีในครั้งนี้เนื่องจากมองแล้วว่าหลังจากวันที่ 20 ธ.ค.56นี้ ทีโอทีก็จะไม่มีรายได้ในส่วนของสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส ในขณะที่ตนมีเวลาอยู่กับทีโอทีได้อีก 8 ปี กว่าจะครบเกษียณอายุราชการ ดังนั้นหากยังคงอยู่ในตำแหน่งรองฯต่อไป เกิดปลายปี 56 องค์กรขาดทุนขึ้นมาก็อาจจะอยู่ไม่ถึง 8 ปีก็เป็นได้ จึงตัดสินใจเข้ามาช่วยให้ทีโอทีผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปให้ได้
     
       ***กลยุทธ์การตลาดแบบ Quad Play
     
       ยงยุทธ เล่าให้ฟังว่า ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่ง และรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นขององค์กร จึงไม่รอช้าที่จะเตรียมแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสิ่งสำคัญคือการหารายได้เข้ามาทดแทนส่วนที่ขาดหายไปจากรายได้สัมปทาน ซึ่งหนึ่งในรายได้ที่จะมาทดแทนคือการทำกลยุทธ์การตลาดแบบ'Quad Play' โดยมี 4 บริการหลักทั้งภาพ เสียง ข้อมูล และแอปพลิเคชั่น
     
       ทั้งนี้ 4 บริการดังกล่าวได้แก่ 1.กลุ่ม Fixed Line เป็นบริการโทรศัพท์ประจำที่, บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ TOT 007 และTOT 008 2.กลุ่ม Mobile ซึ่งจะให้บริการ TOT 3G และMVNO พาร์ทเนอร์ 3.กลุ่ม บรอดแบนด์ ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบริการ Wi-Fi และ Fiber 2U รวมไปถึง FTTx และ 4.กลุ่มคอนเทนต์ และแอปพลิเคชั่น ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นปี 2556ทีโอทีเพิ่งจะเปิดให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ต ด้วยกล่องรับสัญญาณทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 6Mbps โดยจะสามารถรับชมรายการต่างๆระดับความละเอียดสูง(HD) และครอบคลุมทั้งทีวี คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ซึ่งรับชมช่องพื้นฐานฟรี 74 ช่อง เป็นช่องHD 9ช่อง โดยในกลุ่มนี้ทีโอทีตั้งเป้าสร้างรายได้ราว7,000ล้านบาทภายใน 3 ปี
     
       'นโยบาย4บริการดังกล่าวทีโอทีจะเน้นหาพันธมิตรทั้งหมด เนื่องจากจะทำให้ทีโอทีไม่ต้องลงทุนมากในการทำธุรกิจ แต่เน้นได้รับผลประโยชน์กลับคืนมามากกว่า'
     
       สำหรับโปรโมชันของ Quad Play นั้นทีโอทีตั้งราคาที่ 999 บาทต่อเดือน ซึ่งลูกค้าจะได้รับบริการต่างๆจากทีโอที ประกอบด้วย 1. บริการโทรศัพท์มือถือ ทีโอที 3G ไม่จำกัดบนความเร็วสูงสุดในปริมาณข้อมูลไม่เกิน 2GB หลังจากนั้นความเร็วจะถูกปรับลงไม่เกิน 384 Kbps. 2. ทีโอทีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 10 Mbps. 3. บริการโทร.ฟรีหาโทรศัพท์บ้านทั่วไทยจำนวน 100 บาท 4. ทีโอที ฟรี Wi-Fi 100 ชั่วโมง 5. ดูฟรี ทีโอทีไอพีทีวี 74 ช่องย้อนหลังได้ถึง 72 ชั่วโมง คุณภาพระดับ HD
     
       นอกจากกลยุทธ์การตลาดแบบ Quad Play แล้วยังมีในส่วนของงานประเภท G2G หรือรัฐต่อรัฐ และรายได้จากการเจรจากับเอไอเอสในการคืนเสาโทรคมนาคม2G ภายหลังหมดสัญญาสัมปทานในปี 2558 เพื่อนำไปทำธุรกิจทาวเวอร์โค รวมไปถึงการเน้นความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในกลุ่มธุรกิจต่างๆเนื่องจากทำให้ทีโอทีไม่ต้องลงทุนแต่อย่างใด แต่กลับสามารถสร้างรายได้เข้ามาให้ทีโอที
     
       ***ทวงศักดิ์ศรี Big player
     
       ยงยุทธ กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจบรอดแบนด์ถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการทำให้ทีโอทีกลับมาเป็น Big player ในตลาดโทรคมนาคม และยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ทีโอทีมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อมาทดแทนส่วนรายได้ที่ขาดหายไป ทำให้ในปีนี้ทีโอทีมีแผนที่จะเปลี่ยนโครงข่ายสายทองแดง ADSL เป็นไฟเบอร์ออฟติก หรือ FTTx เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะควบคุมเงินลงทุนไม่เกิน15,000 บาทต่อพอร์ตในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันทีโอทีมีลูกค้าอยู่ราว1.4 ล้านราย และคาดว่าภายในปลายปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 แสนราย
     
       ส่งผลให้ล่าสุด ทีโอที ลงนามความร่วมมือทางการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้ว FTTx กับ 4 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา บริษัท เวลดัน ไอที เซอร์วิส ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น บริษัท เค.พี. อีสเทิร์นเวิร์ค ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และบริษัท ฟิท เทเลคอม ดำเนินการตลาดในในพื้นที่กรุงเทพฯ (นครหลวง 1.2) ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปจะรอเพียงการเซ็นต์สัญญากับทั้ง4บริษัทเท่านั้น จากนั้นเอกชนที่ร่วมมือกันก็สามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ทันที
     
       โดยทั้ง 4 รายแบ่งรายได้ให้ทีโอที 70% เอกชน30% ซึ่งทีโอทีมีหน้าที่ทำคอร์เน็ตเวิร์กเท่านั้น ส่วนเอกชนจะมีหน้าที่ลงทุน Access Network และการวางโครงข่ายทั่วจังหวัดนั้นๆ เอง นอกจากนี้เอกชนยังต้องมาเช่าใช้การออกบิลตามหนี้ และคอลเซ็นเตอร์ ของทีโอทีอีกด้วย โดยรูปแบบธุรกิจมี 2 รูปแบบคือ 1.รูปแบบระยะยาวแบบไม่มีรอยต่อ คือการห้ามขยายโครงข่ายเพิ่มเพื่อเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างทำสัญญา 2.รูปแบบการจำกัดแบนด์วิดท์ในการให้บริการ และห้ามถ่ายโอนโครงข่าย แต่สามารถขยายเน็ตเวิร์กเพิ่มได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเลือกรูปแบบที่ 2 ในการร่วมมือทางธุรกิจ โดยความร่วมมือครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี และมีการประกันยอดรายได้ขั้นต่ำตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป
     
       นอกจากนี้ทีโอทียังมีแผนในอนาคตที่จะขยายไปยังจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ โดยจะใช้โมเดลเดียวกับ4บริษัทดังกล่าวในการทำตลาดในลักษณะการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ซึ่งมีข้อดีที่ว่าทีโอทีไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่กลับสามารถสร้างรายได้
     
       ก่อนหน้านี้ทีโอทีก็ได้ลงนามในความร่วมมือกับบริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง (ซีทีเอช) ในการให้เช่าโครงข่าย โดยทีโอทีเล็งเห็นถึงจำนวนฐานลูกค้าซีทีเอชที่ปัจจุบันมีลูกค้าเคเบิลรวมประมาณ 3.5 ล้านครัวเรือน ดังนั้นในอนาคตทีโอทีอาจจะมีการเจรจาต่อยอดทางธุกริจร่วมกับซีทีเอชอีกแน่นอน ในลักษณะWin-Win ทั้ง2ฝ่าย
     
       'เช่นเดียวกันกลุ่มธุรกิจ Fixed Line ที่จะใช้โมเดลเดียวกับธุรกิจบรอดแบนด์คือ เป็นการเน้นหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจจากนั้นจึงจะมาตกลงหาโมเดลร่วมกันในการทำธุรกิจแต่ละโมเดล'
     
       ***เป็นห่วง 3G เฟส 2 จะประมูลได้เมื่อไหร่
     
       ยงยุทธ กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการ 3G เฟส1 ทีโอทีมีการติดตั้งแล้วเสร็จ 4,200 สถานีฐาน ซึ่งคาดว่าจะครบทั้งเฟสแรกจำนวน 5,320 สถานีฐานได้อีกราว 1-2 เดือน โดยสาเหตุหลักที่ทำให้การติดตั้งสถานีฐานเฟส1ล่าช้าเพราะติดปัญหาเรื่องของการติดตั้งภายในอาคาร และการโคไซต์กับเอกชน ดังนั้นหากเริ่มดำเนินการในเฟส 2 ทีโอทีจะใช้เทคโนโลยีไมโครเซลล์ในการกระจายสัญญาณภายในอาคารแทนการเข้าไปติดตั้งเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเฟส1
     
       ส่วนความคืบหน้า 3G เฟส 2 ในตอนนี้รอการจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการทำโครงการอยู่ ซึ่งเบื้องต้นที่ปรึกษาเก่าที่เคยประเมินไว้คือในเฟส 2 ต้องขยายสถานีฐานเพิ่มอีกราว 9,000 สถานีฐาน แบ่งเป็น 3G จำนวน 7,500 สถานีฐาน 4G บน 2.1GHz อีกประมาณ 2,000 สถานีฐาน อย่างไรก็ตามยังเชื่อมั่นว่าจะเกิดภายในปีนี้แน่ ซึ่งมูลค่าทั้งโครงการประมาณ 30,000 ล้านบาท
     
       'เรามีความเป็นห่วงโครงการ 3Gเฟส2 อยู่เหมือนกัน เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินการต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนทั้งผ่านบอร์ดทีโอที กระทรวงไอซีที ผ่านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่รวมถึงอาจมีคนลอบเตะตัดขาระหว่างทางซึ่งถ้าได้ประมูลจริงก็คงจะเห็นได้เร็วสุดในช่วงเดือนธ.ค.56 นี้'
     
       ***MVNO แบ่งสัดส่วนลงตัวชงบอร์ด เม.ย.นี้
     
       ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญา MVNO (Mobile Virtual Network Operator) กับบริษัทเอกชนซึ่งตอนนี้มีเพียงรายเดียวที่เป็นทางการคือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบายนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55% หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วจะเหลือ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45% จากเดิมที่เอกชนได้ 60% หลังหักค่าการตลาดผ่านช่องทางจำหน่าย 10% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับเอกชนจะได้รับส่วนแบ่ง 43% ขณะที่ทีโอทีได้ 40% เท่านั้นซึ่งในตอนนี้เหลือแค่เสนอบอร์ดทีโอทีอนุมัติเพื่อเซ็นสัญญาเท่านั้นโดยคาดว่าจะเสนอบอร์ดช่วงเดือนเม.ย.นี้
     
       ขณะที่ล่าสุด บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น ได้ทำเรื่องขอเข้ามาทำMVNOกับทีโอทีเช่นเดียวกันโดยขอ 20% ของความจุโครงข่ายที่มี แต่ยังไม่เป็นทางการในตอนนี้ ส่วนรายอื่นๆจะเป็นรายเล็กๆที่ไม่ต้องประกันรายได้
     
       ***ทีโอที ปั้นบริษัทลูก 'เอซีที' ช่วยบริษัทแม่ เม.ย.นี้
     
       บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ถือเป็นบริษัทลูกที่ทีโอทีถือหุ้น100% โดยในเบื้องต้นทีโอทีจะใส่เงินให้กับ เอซีทีราว 1,600 ล้านบาทในการซื้อโครงข่ายเนื่องจาก ก่อนหน้านี้ทีโอทีเช่าใช้โครงข่าย 3G และอุปกรณ์ 3G ของเอซีที จำนวน 547 สถานีฐาน จากนั้นทีโอทีได้นำโครงข่ายดังกล่าวมาเปิดให้บริการ 3G มาตั้งแต่เดือนธ.ค.2552 เป็นต้นมา ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวทีโอทีมองว่าเป็นเสมือนเงินทุนในการเปิดบริษัทใหม่เอซีทีด้วย
     
       โดยทีโอทีตั้งเป้าผลักดันให้เอซีทีเป็นเหมือน NTT DoCoMo ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพ โดยใช้เงินลงทุนเพียง1,600ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ทีโอทีที่เป็นบริษัทแม่เข้มแข็งตามบริษัทลูกไปด้วยในที่สุด โดยชูจุดแข็งเป็นบริษัทเอกชน แต่มีทีโอทีซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ และมีศักยภาพในการเป็นผู้มีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศคอยสนับสนุนอยู่
     
       'คาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้จะมีการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอซีทีก่อน จากนั้นจะเริ่มเห็นบริษัทเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น รวมไปถึงโครงสร้างแผนงานการดำเนินธุรกิจ โดยเชื่อว่าจะมีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานภายใน เพื่อให้ตอบโจทย์ทีโอทียิ่งขึ้น โดยจะต้องทำให้บริษัทเป็นกลาง พร้อมต้อนรับลูกค้าทุกรายในตลาด โดยเฉพาะลูกค้าที่ต้องการเข้ามาทำตลาด3G'
     

 ***เล็งตั้งบริษัท 'ทาวเวอร์โค' ไตรมาส3ปี 56
     
       ส่วนการตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค ของทีโอทีในตอนนี้ล่าสุดได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาในการวางแผนธุรกิจทาวเวอร์โคแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปเหลือเพียงการวางรูปแบบของธุรกิจ และการระดมทุนเท่านั้น ซึ่งโครงการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเข้าเสนอ ครม. และจะพยายามไม่ให้เข้าข่ายพรบ.ร่วมทุนฯด้วยเพื่อย่นระยะเวลาในการดำเนินการ
     
       'อย่างเร็วที่สุดคาดว่าจะเริ่มเห็นบริษัททาวเวอร์โคได้ภายในต้นไตรมาส 3 ปี56 แต่อาจจะยังไม่เห็นเป็นโครงสร้างธุรกิจแบบชัดเจน ซึ่งหากโมเดลของทาวเวอร์โคสำเร็จ ทีโอทีจะต่อยอดเดินหน้าทำธุรกิจไฟเบอร์โคต่อทันที เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า'
     
       ทั้งนี้ในเบื้องต้นเอไอเอส คู่สัญญาสัมปทานทีโอที ที่มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ ได้โอนให้ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่งแล้ว ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (BTO) ซึ่งเสาสัญญาณโทรคมนาคมที่เอไอเอสจะโอนให้ทีโอทีเป็นเสาในระบบ 2G
     
       'สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทาวเวอร์โคเกิดคือเรากับเอไอเอสต้องจบกันได้ เพราะหากไม่จบเราก็ไปลำบาก โดยเชื่อมั่นว่าเอไอเอสไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์ที่เอาเปรียบทีโอทีเหมือนรายอื่นๆแน่นอน'
     
       ***ทุ่ม 5,500 ล้านบาทดันไทยเป็นเมืองหลวงอาเซียน
     
       ยงยุทธ กล่าวว่า ในส่วนของอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศนั้นทีโอทีใช้เงินลงทุนไปราว 5,500 ล้านบาท ในการเตรียมแผนการลงทุนสร้างเคเบิลใยแก้วใต้น้ำเชื่อมอ่าวไทยกับอันดามัน และเพิ่มจุดเชื่อมต่อในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มภายในสิ้นปีนี้ระยะเวลายาวไปถึงปี 2559
     
       โดยโครงข่ายที่จะมีการสร้างใหม่มี 3 เส้นทางคือ ไทยแลนด์ บรานซ์ เชื่อมสงขลาไปถึงสิงคโปร์และญี่ปุ่น 2. Sea ME WE 5 เชื่อมสตูลกับฝั่งทะเลอันดามันซึ่งมีความยาวประมาณ 1,223 กิโลเมตร และ 3. Submarine รวมทั้งจะมีการเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อใช้ศักยกาพของเคเบิ้ลใยแก้วตามเส้นทางรถไฟให้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีความยาวประมาณ 3,000 กิโลเมตร
     
       ทั้งนี้เมื่อโครงการสำเร็จจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อกับต่างประเทศ และเชื่อมในประเทศ โดยจะทำให้โครงข่ายที่เป็นสายใยแก้วนำแสงมีเส้นทางที่สามารถทดแทนกันได้ทั้งหมด และจะทำให้ทีโอทีเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายหลักในอาเซียน
     
       ***จ่อประมูล USO กสทช. 2 จังหวัดนำร่อง
     
       นอกจากนี้ทีโอทีมีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลในโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ของกสทช.ซึ่งจะนำร่องก่อน2จังหวัดคือจังหวัดหนองคาย และพิษณุโลกมูลค่ารวม 500 ล้านบาท โดยได้มอบหมายให้ทีโอทีในพื้นที่นำรองทั้ง2จังหวัดดังกล่าวเตรียมความพร้อมในเรื่องของข้อมูลโครงข่ายเน็ตเวิร์ก และแบ็กโบนของทีโอทีที่มีอยู่ทั่วประเทศเพื่อเป็นจุดแข็งในการไปแข่งกับรายอื่น ซึ่งโครงการดังกล่าวยังเป็นการประเมิน KPI ของพนักงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าประมูลครั้งนี้ด้วยหากไม่สามารถชนะการประมูลครั้งนี้ได้
     
       'รายได้จากสัญญาสัมปทานที่หมดไป จะถูกแทนที่ด้วยรายได้จากโครงการ G2G ยุทธศาสตร์ Quad Play ในขณะที่ทีโอที พร้อมอ้าแขนรับพันธมิตรทุกรูปแบบ ทุกบริการ เพราะทีโอทีไม่มีเงินลงทุน ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักของผม ที่จะเอาศักยภาพด้านโครงข่ายทีโอที ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทั่วประเทศ มาเป็นจุดแข็งทำให้ทีโอทีจะต้องกลับมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้ได้'

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031520

_______________________________



ทีโอทีร้องลดค่าไอซี2จีให้เท่า3จี

ทีโอที ร่อนหนังสือถึง กสทช. ร้องปรับลดค่าไอซี ระบบ 2จี ลงเท่ากับอัตราที่เพิ่งอนุมัติในระบบ 3จี เพื่อความเป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ทีโอที ได้ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นรายบุคคล เสนอให้ กสทช. พิจารณานำอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม หรือค่าไอซี (Interconnection Charge) ที่จะประกาศใช้กับผู้ประกอบการ 3จี มาใช้บังคับกับผู้ประกอบการทุกราย ทั้งที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี และที่ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ โดยทีโอทีให้เหตุผลว่าจะเป็นการลดอุปสรรคในการเจรจาเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายของผู้ประกอบการและทำให้โครงข่ายโทรคมนาคมสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับอุตสาหกรรมและผู้ใช้บริการต่อไป

ก่อนหน้านี้  กสทช. ได้เห็นชอบกำหนดค่าไอซีเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 3จี ที่อัตรา 0.45 บาท ขณะที่ อัตราค่าไอซีอ้างอิงของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เดิม (2จี) ที่กำหนดไว้ 0.50 บาทต่อนาที แต่สำหรับโทรศัพท์ประจำที่นั้นมีอัตราอ้างอิงต่ำกว่า คือ อยู่ที่ 0.36 บาทต่อนาที

อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวของ กทค. ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีความเห็นแตกต่างจาก กทค. เสียงข้างมากว่า ควรเลือกอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 0.41 บาทต่อนาที ตามผลการศึกษาที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Tilted Annuity ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่สำนักงาน กสทช. ยึดถือมาโดยตลอด และเป็นวิธีคำนวณตามที่กำหนดในกฎหมายด้วย

นายประวิทย์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยให้กำหนดอัตราค่าไอซีสำหรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี และ 3จี เป็นอัตราเดียวกัน เพื่อความเป็นธรรมในการให้บริการของทั้งสองตลาด ตลอดจนเป็นการป้องกันการโอนย้ายผู้ใช้บริการข้ามตลาดผ่านแรงจูงใจด้านราคาด้วย  แต่ไม่ควรรวมบริการโทรศัพท์ประจำที่ เนื่องจากเป็นคนละบริการ และอัตราค่าไอซีของแบบประจำที่ก็ต่ำกว่าอยู่แล้ว


http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD
%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/210538/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B
9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%
A5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B52
%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0
%B8%B23%E0%B8%88%E0%B8%B5




ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.