Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มีนาคม 2556 จีนส่งดาวเทียม (GPS) สู้ อเมริกา จีนเล็งใช้ไทยผลิตชิปรับสัญญาณ

ประเด็นหลัก


  จากการลงนามดังกล่าว ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สทอภ.เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า จีนสนใจลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิปสำหรับติดตั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการประยุกต์ใช้งานดาวเทียมระบุพิกัดที่จีนสร้างขึ้นเอง โดยอยู่ระหว่างการคัดเลือกสถานที่ การพิจารณาด้านกฎหมาย และแหล่งทุน


ดาวเทียมดังกล่าวคือเป่ยโต (Beidou) ที่มีความหมายว่าเข็มทิศ ซึ่งจีนส่งขึ้นไปแล้ว 10 ดวง และภายใน 2 ปีนีิจะส่งขึ้นไปให้ครบ 32 ดวง โดยคาดว่าจะเป็นคู่แข่งดาวเทียมจีพีเอส (GPS) ดาวเทียมระบุพิกัดของสหรัฐ หรือดาวเทียมระบุพิกัดกาลิเลโอ (Galileo) ของอิตาลี
   
       สำหรับชิ้นส่วนที่ผลิตได้นั้น ดร.อานนท์ยกตัวอย่างว่าสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย อาทิ ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ ติดตั้งในระบบรถยนต์ หรือนำไปใช้ในระบบเพาะปลูกอัจฉริยะ (Smart Farm) เป็นต้น ส่วนที่เลือกไทยเป็นฐานผลิตนั้นเพราะมีภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน ซึ่งจะขยายธุรกิจบริการไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้



___________________________________________________


จีนเล็งใช้ไทยผลิตชิปรับสัญญาณ "เป่ยโต" ดาวเทียมคู่แข่งจีพีเอส


ระหว่างการลงนามความร่วมมือไทย-จีน ณ ศูนย์รังสตค์นวัตกรรมอวกาศ

       จีนเล็งลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิปติดตั้งอุกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับสัญญาณ "เป่ยโต" ดาวเทียมระบุพิกัดคู่แข่งดาวเทียมจีพีเอสของอเมริกา โดยหวังใช้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน รวมถึงการติดตั้งระบบประมวลและแปรผลดาวเทียมหลายดวงในระบบเดียว
     
       สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. ลงนามความร่วมมือการค้าและร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ กับสถาบันสารสนเทศวิศวกรรม การแผนที่และการสำรวจระยะไกล (LIEMARS) และ ศูนย์วิจัยและการบริการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศอู่ฮั่น (WITOSRC) ซึ่งเป็นสองหน่วยงานภาครัฐจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น จีน เมื่อ 29 มี.ค.56 ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
     
       จากการลงนามดังกล่าว ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สทอภ.เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า จีนสนใจลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิปสำหรับติดตั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการประยุกต์ใช้งานดาวเทียมระบุพิกัดที่จีนสร้างขึ้นเอง โดยอยู่ระหว่างการคัดเลือกสถานที่ การพิจารณาด้านกฎหมาย และแหล่งทุน
     
       ดาวเทียมดังกล่าวคือเป่ยโต (Beidou) ที่มีความหมายว่าเข็มทิศ ซึ่งจีนส่งขึ้นไปแล้ว 10 ดวง และภายใน 2 ปีนีิจะส่งขึ้นไปให้ครบ 32 ดวง โดยคาดว่าจะเป็นคู่แข่งดาวเทียมจีพีเอส (GPS) ดาวเทียมระบุพิกัดของสหรัฐ หรือดาวเทียมระบุพิกัดกาลิเลโอ (Galileo) ของอิตาลี
     
       สำหรับชิ้นส่วนที่ผลิตได้นั้น ดร.อานนท์ยกตัวอย่างว่าสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย อาทิ ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ ติดตั้งในระบบรถยนต์ หรือนำไปใช้ในระบบเพาะปลูกอัจฉริยะ (Smart Farm) เป็นต้น ส่วนที่เลือกไทยเป็นฐานผลิตนั้นเพราะมีภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน ซึ่งจะขยายธุรกิจบริการไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้
     
       นอกจากนี้ในการลงนามครั้งนี้จีนยังสนับสนุนการติดตั้งระบบที่สามารถประมวลผลและแปรข้้อมูลดาวเทียมหลายๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมาระบบดังกล่าวมีราคาแพง โดย ดร.อานนท์อธิบายว่าปกติดาวเทียมแต่ละดวงจะมีระบบแปรผลเฉพาะตัว ซึ่งหลายครั้งข้อมูลจากดาวแต่ละดวงที่ผ่านการแปรผลแล้วไม่สอดคล้องกัน การมีระบบเดียวที่แปรผลดาวเทียมได้หลายๆ ดวง จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกขึ้น
     

http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000038315&Keyword=%b4%d2%c7%e0%b7%d5%c2%c1

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.