Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 เมษยน 2556 ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 16/04/2556 By So Magawn ( โส มกร )

ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 16/04/2556 By So Magawn ( โส มกร )


1.... ฐากร กสทช. (ชี้ 18 เมษายน รู้แน่นอน) อ้างต้องเข้าประชุมก่อน( 3ค่ายขอราคาเดิมเพิ่มมากกว่า 15%ปริมาณการใช้มากกว่าลดราคา )
2.... สงคราม3Gเริ่มแล้ว++ DTACสู้เรื่องคุณภาพ(คลื่นเหลือให้บริการ) AISเน้นราคาเท่าเดิมแต่การให้เพิ่ม TRUE ขอกระโดดไป 4G 2100 คู่ให้บริการ 3G
3.... (แก้ CAT TRUEผ่านไป287วันแล้ว) CAT จี้กฤษฎีกา เร่งร่างสัมปทานจำแลง++// CAT เดินหน้าให้ BFTK ตั้งเสาอีก 1500 แห่งเป็น13,500 แห่ง // MY BY CAT จะให้ความสำคัญกลุ่มองค์กร


16 เมษายน 2556 ฐากร กสทช. (ชี้ 18 เมษายน รู้แน่นอน) อ้างต้องเข้าประชุมก่อน( 3ค่ายขอราคาเดิมเพิ่มมากกว่า 15%ปริมาณการใช้มากกว่าลดราคา ) ว่าจะเห็นชอบตามที่ผู้ประกอบการเสนอมาหรือไม่
ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด (ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส), บริษัท ดีแทค เนทเวิร์ค จำกัด (เครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค) และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ (เครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น) ได้ยื่นแผนสัญญาการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz มายัง กสทช. เป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อเตรียมการเปิดให้บริการดังกล่าว

“ขณะที่ สำนักงาน กสทช. จะส่งแผนสัญญาการให้บริการดังกล่าวให้ทาง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) พิจารณาอีกครั้ง ในวันที่ 18 เมษายนนี้ต่อไป” นายฐากร กล่าว

สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.naewna.com/business/48118


_____________________________________


16 เมษายน 2556 สงคราม3Gเริ่มแล้ว++ DTACสู้เรื่องคุณภาพ(คลื่นเหลือให้บริการ) AISเน้นราคาเท่าเดิมแต่การให้เพิ่ม TRUE ขอกระโดดไป 4G 2100 คู่ให้บริการ 3G




ประเด็นหลัก


DTAC

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าดีแทคค่อนข้างเงียบไปสักนิด คงเป็นเพราะเราต้องเร่งทำงานหลังบ้านเยอะมาก ดีแทคเพิ่งผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงข่าย (Network Swap) ทั่วประเทศไปเมื่อไม่นานมานี้ นั่นทำให้เครือข่ายของดีแทคทันสมัยที่สุด พร้อมต่อการให้บริการ 3 จีมากที่สุด และทำให้เรามีโอกาสได้เปรียบมากที่สุดด้วย
ปัจจุบัน ดีแทคให้บริการฐานลูกค้า 25 ล้านเลขหมาย บนคลื่นความถี่หลากหลายและเหลือเฟือ ได้แก่ คลื่น 1800 MHz เพื่อให้บริการ 2 จีด้วยสถานีฐานจำนวน 11,000 สถานี คลื่น 850 MHz เพื่อให้บริการ 3 จี จำนวน 5,500 สถานีฐาน และคลื่น 2.1 GHz ซึ่งเพิ่งทยอยติดตั้งเครือข่ายหลักร้อยสถานี ยึดตามความต้องการของลูกค้า โดยเฟสแรกมีเป้าหมายที่ 1,000 สถานีฐานก่อน






“ถ้าพิจารณาจากราคาค่าบริการ 3 จีปัจจุบันบนคลื่นความถี่เดิม (ดีแทคบนคลื่น 850 MHz ทรูมูฟเอชบนคลื่น 850 MHz และเอไอเอสบนคลื่น 900 MHz) แล้ว จะมีแค่ดีแทคกับทรูมูฟเอชเท่านั้นที่แข่งขันราคากัน บางทีเขาออกแพ็กเกจมา เราก็ออกตามเขา บางทีเขาก็ออกตามเรา ลอกกันไปมา ส่วนเอไอเอสไม่อยู่ในจุดที่จะสามารถเข้ามาร่วมแข่งขันราคาได้ เนื่องจากมีคลื่นจำกัด”






ปรัธนา ลีลพนัง
ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริการดิจิตอล
บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส

“ขณะนี้เอไอเอสเปิดให้บริการ 3 จีบนคลื่น 2.1 GHz เชิงพาณิชย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่เป็นการให้บริการลูกค้าในกลุ่มจำกัดก่อนราว 200,000 เลขหมาย ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะได้รับประสบการณ์ 3 จีใหม่ของเอไอเอสที่มีประสิทธิ– ภาพมากขึ้น ความเร็วสูงขึ้นมากกว่า 1 เท่า รวมทั้งคุณภาพของสัญญาณเสียงด้วย”
ทั้งนี้ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ประกาศเชิญชวนลูกค้าที่สนใจใช้บริการ 3 จีใหม่เป็นกลุ่มแรกๆ ลงทะเบียนอัพเกรดบริการผ่านทางข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอส ซึ่งปรากฏมีลูกค้าแสดงความสนใจราว 700,000-800,000 ราย จากนั้นระบบได้ทำการสุ่มเลือกลูกค้า 200,000 รายแรกที่จะได้ใช้บริการ โดยต้องมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ มีเครื่องโทรศัพท์รองรับการใช้งาน 3 จีบนคลื่น 2.1 GHz, มีซิมรองรับการใช้งาน และอยู่ในพื้นที่ที่บริการครอบคลุม

ณ ปัจจุบัน เอไอเอสติดตั้งสถานีฐานบนคลื่น 3 จี 2.1 GHz เสร็จสิ้นแล้ว 3,600 สถานี และคาดว่าก่อนเปิดบริการเต็มรูปแบบในช่วงต้นเดือน พ.ค.ที่จะถึง จะมีจำนวนสถานีฐานแตะ 3,800 สถานี และเดินหน้าสู่ 8,000 สถานีภายในสิ้นปีนี้ ส่วนสถานีฐานที่รองรับ 3 จีบนคลื่น 900 MHz เดิมนั้น มีอยู่ประมาณ 3,700 สถานี และสถานีฐาน 2 จี อีกราว 17,000 สถานี

โดย 3 จีเฟสแรกของเอไอเอส 3,600 สถานีนั้น จะให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล รวมทั้งหัวเมือง 18 จังหวัด และภายในสิ้นปีจะขยายเครือข่ายครอบคลุมหัวเมือง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

ในส่วนของค่าบริการนั้น เนื่องจากยังเป็นบริการนำร่อง ลูกค้า 200,000 เลขหมายแรก จะถูกคิดค่าบริการตามแพ็กเกจที่เลือกอยู่เดิม แต่ได้ใช้บริการที่ดีขึ้น ความเร็วสูงขึ้น ส่วนแพ็กเกจใหม่นั้น จะเปิดตัวในช่วงที่เปิดบริการเต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ให้บริการ 3 จีใหม่บนคลื่น 2.1 GHz ทุกราย ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กสทช.ที่กำหนดให้เก็บอัตราค่าบริการต่ำกว่าอัตราปัจจุบัน 15%

“ขณะนี้เรากำลังทำความเข้าใจกับ กสทช.ว่าอัตราค่าบริการที่ถูกกำหนดให้ต่ำกว่า 15% นั้น คิดจากราคาเฉลี่ยใด เพราะปัจจุบันโปรโมชั่นราคามือถือมีความหลากหลายมาก เฉพาะของเอไอเอสมีกว่า 2,000 รูปแบบ อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วเราพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาในรูปแบบของการคิดราคาตามแพ็กเกจเดิม แต่ให้บริการที่เพิ่มขึ้น เช่นเดิมให้ปริมาณใช้งานที่ 100 MB เพิ่มเป็น 150 MB ก็ถือว่าเพิ่มปริมาณใช้งานให้ 15% เป็นต้น รวมทั้งการตั้งราคาแพ็กเกจใหม่ ซึ่งจะได้เห็นกันแน่ในช่วงการเปิดตัวเต็มรูปแบบ”





อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข
กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์
บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

“วันนี้ทรูมูฟเอชคือเครือข่าย 3 จีที่ดีที่สุด ที่เรากล้าพูด เพราะขณะนี้เรามีเครือข่ายที่สมบูรณ์ที่สุด ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด 928 อำเภอ 6,378 ตำบล 51,161 หมู่บ้าน ณ วันนี้ไม่มีใครที่มีเครือข่าย 3 จีครอบคลุมเท่าเราอีกแล้ว”

ปัจจุบันทรูมูฟเอชมีเครือข่าย 3 จีบนคลื่น 850 MHz ทั้งสิ้น 12,000 สถานีฐาน และกำลังติดตั้งเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายขยับเป็น 13,000 สถานีฐานภายในสิ้นเดือน เม.ย. ส่วน 3 จีบนคลื่น 2.1 GHz นั้น มีเป้าหมายขยายให้ได้ 5,000 สถานีภายในสิ้นปี เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้ทรูมูฟเอชมีสถานีฐาน 3 จีเพื่อให้บริการทั้งสิ้น 18,000 สถานีบน 2 คลื่นความถี่

และด้วยความที่ทรูมูฟเอช ลงทุนขยายเครือ-ข่าย 3 จีนำหน้าคู่แข่งไปได้มากโข จากการทำสัญญา 3 จีรูปแบบใหม่กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด ในช่วงต้นปี 2554 การเปิดตัว 3 จีบนคลื่น 2.1 GHz อย่างเป็นทางการในวันที่ 8 พ.ค. อันเป็นวันเดียวกันกับดีแทคนั้น ไฮไลต์ของทรูมูฟเอชจึงไม่ได้อยู่ที่ 3 จีอย่างเช่นคู่แข่งรายอื่น แต่จะกระโดดข้ามไปสู่การให้บริการ 4 จี บนคลื่น 2.1 GHz เลยทีเดียว

“เนื่องจากเรามี 3 จีบนคลื่น 850 MHz ค่อนข้างครอบคลุมแล้ว เราจะใช้คลื่น 2.1 GHz ติดตั้ง 3 จีบางส่วนที่จำเป็น และเจียดคลื่นบางส่วนไปให้บริการ 4 จี มีเป้าหมายติดตั้งสถานีฐาน 4 จีทั้งสิ้น 2,000 สถานีภายในสิ้นปี เฟสแรกเน้นในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชน เช่น สยามสแควร์ สีลม สาทร ปทุมวัน และจึงขยายสู่หัวเมืองหลัก แหล่งท่องเที่ยว เช่น พัทยา ชะอำ หัวหิน รวมไปถึงจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียง– ใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ โคราช ขอนแก่น เป็นต้น”

นั่นจะทำให้ทรูมูฟเอชกลายเป็นผู้ให้บริการที่เปิด 4 จีเชิงพาณิชย์รายแรก ถือเป็นสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้งานเครือข่ายความเร็วสูงก่อนใคร เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน แม้ปัจจุบันมือถือที่รองรับการใช้งาน 4 จีบนคลื่น 2.1 GHz จะมีเพียงไม่กี่รุ่น อันได้แก่ ไอโฟน 5 ไอแพดมินิ ไอแพดเรติน่า โนเกียลูเมีย 920 เป็นต้น







สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://m.thairath.co.th/content/eco/338946







_____________________________________________

16 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป287วันแล้ว) CAT จี้กฤษฎีกา เร่งร่างสัมปทานจำแลง++// CAT เดินหน้าให้ BFTK ตั้งเสาอีก 1500 แห่งเป็น13,500 แห่ง // MY BY CAT จะให้ความสำคัญกลุ่มองค์กร
ประเด็นหลัก




อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา “3 จี มาย” ได้เปิดให้บริการลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเน้นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าองค์กร ปัจจุบัน กสท มี แคท ช็อป และมาย ช็อป จำนวน 100–150 สาขา มีแพ็กเกจเพื่อให้บริการ ได้แก่ มาย สมาร์ท เหมาะสำหรับลูกค้าใช้โทรฯ และเล่นอินเทอร์เน็ต มาย คลิก สำหรับลูกค้าเน้นใช้งานอินเทอร์เน็ต และ มาย ทอล์ก สำหรับลูกค้าที่เน้นการใช้งานโทรฯ เพื่อติดต่อเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวเป็นแพ็กเกจที่ตอบสนองการใช้งานลูกค้าทั่วไป

สำหรับ “3 จี มาย” และ “ทรูมูฟ เอช” ต่างอยู่บนสัญญาบริการ 3 จี บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ และตั้งเป้าสร้างเสาโทรคมนาคม สถานีฐานจำนวน 13,500 แห่ง แต่ในปัจจุบันมีเสาโทรคมนาคมแล้วจำนวน 12,000 แห่ง ที่สามารถรองรับลูกค้าได้กว่า 16 ล้านเลขหมาย รวมทั้ง กสท ก็เป็นผู้ขอเลขหมายจาก กสทช. จำนวน 16.25 ล้านเลขหมาย เพื่อโอนย้ายลูกค้า 2 จี มายัง ทรูมูฟ เอช เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้อย่างราบรื่น

นับจากนี้จะได้เห็น กสท ลุยตลาดบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี อย่างจริงจัง หลังชะงักมานาน.


“กสท ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ก่อนการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการที่มีมูลค่า 29,000 ล้านบาทต่อไป”

แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กสท ได้มีการหารือไปยัง กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้น กสท 100% แต่ กระทรวงการคลัง ไม่สามารถพิจารณาตอบข้อหารือได้ โดยเฉพาะประเด็นกฎหมายที่ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ว่า การใช้คลื่นความถี่ ถือเป็นการใช้ทรัพย์สินของรัฐหรือไม่บางหน่วยงานแจ้งว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐ บางหน่วยงานแจ้งว่าไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ฉะนั้นจึงต้องส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

สำหรับการทำสัญญา 3G ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูนั้น ได้มีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา นับเป็นเวลา 2 ปีกว่า แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นว่าการทำสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ โดยกสท ได้ทำหนังสือหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา จากก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง และสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน กสท จึงต้องเร่งสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นสำหรับสัญญา 3G ดังกล่าว เพื่อ กสท จะได้เดินหน้าการทำธุรกิจ เนื่องจากเวลาผ่านไปกว่า 2 ปี กสท ก็ยังไม่สามารถรับรู้รายได้จากการประกอบกิจการ และหากปล่อยเวลาให้ผ่านไปเรื่อยๆ กสท จะสูญเสียรายได้และอาจมีผลต่อฐานะการเงินของ กสทด้วย เนื่องจากในปี 2557 เป็นต้นไป กสท จะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร กสท มั่นใจว่า กสท น่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจดังกล่าวในไตรมาส 3 ของปีนี้

“ในปีนี้ทรูฯจะรับรู้รายได้ราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญากลุ่มทรูฯจะเป็นได้สิทธิเป็นผู้ทำตลาดแบบขายส่ง (โฮลเซล) บนโครงข่ายที่บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้สร้างขึ้น” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

ในส่วนของ กสท เองจะรับรู้รายได้จริงเข้าบริษัทตามสัดส่วนในสัญญาคือ 23% แต่เมื่อหักค่าเช่าอุปกรณ์ และการจ่ายค่าเช่าให้กับ บีเอฟเคที แล้วจะเหลือรายได้ 17% ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ทางบัญชี ส่วนการรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อ กสท มีการจ่ายค่าเช่าให้แก่ บีเอฟเคที แล้ว คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้ เป็นต้นไป

“การรับรู้รายได้จะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งจะเหลือสุดท้ายเข้า กสท ราว 2,500-3,300 ล้านบาท” นายกิตติศักดิ์ กล่าว











สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.dailynews.co.th/technology/197319
http://www.naewna.com/business/48018
http://www.naewna.com/business/48541

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.