Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 เมษายน 2556 (บทความ) แบล็กเบอร์รี Z10 ไหวมั้ย? // นายอาณัติ(ผู้เชี่ยวชาญ) ชะตากรรม BB ไทยขึ้นอยู่กับความประทับใจผู้ใช้งานกลุ่มแรก ชี้เพิ่มBBต้องแก้ไขพฤติกรรมคนไทย ชอบถูกไม่ชอบปลอดภัย


16 เมษายน 2556 (บทความ) แบล็กเบอร์รี Z10 ไหวมั้ย? // นายอาณัติ(ผู้เชี่ยวชาญ) ชะตากรรม BB ไทยขึ้นอยู่กับความประทับใจผู้ใช้งานกลุ่มแรก ชี้เพิ่มBBต้องแก้ไขพฤติกรรมคนไทย ชอบถูกไม่ชอบปลอดภัย

ประเด็นหลัก



อีกอย่างที่ถูกพัฒนาไปคือระบบในการเข้าถึงบริการของแบล็กเบอร์รี ที่ผู้ใช้งานทั่วไปไม่จำเป็นต้องเปิดแพกเกจร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกต่อไป แล้วโดยผู้ใช้สามารถนำซิมการ์ดที่เปิดแพกเกจอินเทอร์เน็ตทั่วไปมาใส่ใช้งานได้ทันที
ส่วนลูกค้าในกลุ่มองค์กรที่ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ทางเครือข่ายผู้ให้บริการอย่าง เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ก็มีทีมงานที่คอยประสานกับกลุ่มองค์กรในการจัดการแพกเกจแบบ BES (BlackBerry Enterprise Server) อยู่เช่นเดิม ซึ่งในส่วนนี้แม้แต่บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ก็เลือกยังเลือกใช้
      
       หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รีในประเทศไทยอย่างนายอาณัติ เลี้ยงพาณิชย์ เจ้าของเว็บไซต์ http://blackberryclubthailand.com/ ที่ทำงานใกล้ชิดกับแบล็กเบอร์รี ให้มุมมองว่า ในช่วงเวลาปัจจุบันเชื่อว่าแบล็กเบอร์รียังไม่สามารถกลับมาในตลาดได้ เพราะจากไลน์ผลิตภัณฑ์อย่าง Z10 และ Q10 ที่กำลังจะวางจำหน่ายในอนาคตอันใกล้ ยังถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี 10 เท่านั้น
      
       'ถ้ามองกันไปยาวๆ แบล็กเบอร์รีน่าจะกลับมาอยู่ในตลาดอย่างเต็มตัวได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือ ต้นปีหน้า เพียงแต่ปัจจุบันแบล็กเบอร์รีต้องการพิสูจน์ให้ตลาดเห็นว่าสามารถพัฒนาเครื่องที่รองรับการใช้งานทัชสกรีนแบบเต็มตัวได้ จึงออกมาเป็นรุ่น Z10 ที่เห็นกันในขณะนี้ ส่วนถ้ามองในโรดแมปอนาคตต่อไปก็จะมีรุ่นที่ออกมารับกับฐานลูกค้าที่เป็นแฟนของแบล็กเบอร์รีอย่าง Q10 ตลอดจนเครื่องในระดับราคาต่ำกว่าที่จะทยอยออกมาวางตลาด'
      
       ด้วยแผนธุรกิจของแบล็กเบอร์รี ที่ต้องการสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้งานกลุ่มแรก จึงเลือกที่จะนำผลิตภัณฑ์ในรุ่นไฮเอนด์ออกมาวางจำหน่ายก่อน หลังจากนั้นจะทยอยนำรุ่นที่มีราคาต่ำกว่าออกมาวางจำหน่าย คล้ายๆกับที่เห็นกันอยู่ในการทำตลาดของโนเกีย ลูเมีย ที่ค่อยๆขยายฐานลูกค้าระดับรากหญ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
ในแง่ของการใช้งานต้องยอมรับว่า Z10 ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่เป็นเวอร์ชัน 1 และออกมาวางจำหน่ายได้สมบูรณ์ที่สุด เพราะถ้ามองย้อนกันไปถึงระบบปฏิบัติการไอโอเอส สมัยไอโฟนรุ่นแรก ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สมัยเวอร์ชัน 1.5 หรือแม้แต่วินโดวส์โฟน 7 แต่ละโอเอสจะมีจุดบกพร่องที่ทำให้ผู้ที่ได้ทดลองใช้ไม่พอใจกันทั้งหมด
      
      
       ความปลอดภัยด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่แบล็กเบอร์รีได้รับการยกย่องและเชื่อถือจากองค์กรระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัยนั่นก็คือ การแยกเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้งานเฉพาะเครื่อง แบล็กเบอร์รีเท่านั้น และนี่ก็คือปัญหาเบื้องต้นที่ต้องแก้ไขเมื่อสมาร์ทโฟนกลายเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไปเสียแล้ว
      
       การใช้เซิร์ฟเวอร์ของตนเองทำให้ซิมการ์ดที่ใช้งานทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้งานบริการเฉพาะได้ หากแต่จะต้องทำเปลี่ยนโปรโมชันที่ทำไว้สำหรับแบล็กเบอร์รีเท่านั้น จึงจะสามารถใช้งานฟีเจอร์ที่เฉพาะอย่าง BBM ได้
      
       ปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายของแบล็กเบอร์รีนั้นกลายเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัยมากนัก แต่ต้องการเพียงความเร็วในการเชื่อมต่อและราคาค่าบริการที่ถูกลงเท่านั้น การที่ต้องจ่ายค่าบริการเฉพาะอย่าง เพื่อแลกกับความปลอดภัยจึงไม่ตอบโจทย์ลูกค้าปัจจุบันที่ต้องการใช้ความเสถียรของระบบแบล็กเบอร์รี
      
       การเปิดโอกาสให้อัปเดตระบบได้โดยง่ายก็เป็นปัญหาที่สะท้อนกลับเข้ามาโดน แบล็กเบอร์รี อีกเช่นกัน เนื่องจากการอัปเดตเครื่องนั้น หากทำผิดขั้นตอนก็อาจจะทำให้เครื่องเกิดอันตรายถึงขั้นเปิดไม่ติดอีกต่อไปเลยก็ได้ แน่นอนว่าเมื่อเครื่องอยู่กับผู้ใช้ที่เป็นมือถืออาชีพด้านเทคโนโลยีก็จะไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดหากแต่เมื่อผู้ใช้เป็นบุคคลทั่วไปปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้นมาให้เห็นอยู่เนืองๆ
      
      


_____________________________________


แบล็กเบอร์รี Z10 ไหวมั้ย?

               
คำถามที่ประดังเข้ามาหลังจากงานแถลงข่าวเปิดตัวแบล็กเบอรรี Z10 ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ที่ผู้บริหารแบล็กเบอร์รี ประกาศอย่างมั่นใจว่าจะสามารถทวงบัลลังก์แชมป์ในตลาดสมาร์ทโฟนกลับคืนมาได้ด้วยแบล็กเบอร์รี 10 คงหนีไม่พ้นว่า 'จะทำได้จริงหรือ'
      
       ช่วงเวลา 2 ปีที่แบล็กเบอร์รีเสียไปในการฟูมฟักพัฒนาระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี 10 จนกระทั่งผลิดอกออกผลในปัจจุบันนั้น ก็ต้องยอมรับว่าเป็นช่วงเวลาที่ตลาดสมาร์ทโฟนมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูงจากการมาของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสินค้าตระกูลGalaxyของซัมซุง ที่ออกผลิตภัณฑ์ในทุกช่วงราคาออกมากวาดต้อนตลาดไป
ยอดจำหน่ายแบล็กเบอร์รี Z10 ที่มากถึง1 ล้านเครื่อง ในช่วง 1 สัปดาห์ หลังจากเริ่มวางจำหน่าย น่าจะเป็นตัวเลขที่แบล็กเบอร์รีค่อนข้างพอใจ แต่เชื่อว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการกลับมาของแบล็กเบอร์รีเท่านั้น เพราะล่าสุดแม้แบล็กเบอร์รี Q10 จะยังไม่วางจำหน่าย ก็มีข้อมูลหลุดออกมาว่าทางรัฐบาลจีนเตรียมสั่งซื้อไปใช้งานอีก 2 ล้านเครื่อง
      
       แสดงให้เห็นว่าความขลังของแบล็กเบอร์รีในตลาดองค์กรยังมีความแข็งแรงอยู่ เพียงแต่ต้องดูกันต่อไปว่าท่ามกลางการสู้รบกันระหว่างระบบปฏิบัติการอย่าง ไอโอเอส แอนดรอยด์ และวินโดวส์โฟน แบล็กเบอร์รีจะสามารถสอดแทรกเข้าไปในตลาดได้มากแค่ไหน
      
       อีกอย่างที่ถูกพัฒนาไปคือระบบในการเข้าถึงบริการของแบล็กเบอร์รี ที่ผู้ใช้งานทั่วไปไม่จำเป็นต้องเปิดแพกเกจร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกต่อไป แล้วโดยผู้ใช้สามารถนำซิมการ์ดที่เปิดแพกเกจอินเทอร์เน็ตทั่วไปมาใส่ใช้งานได้ทันที
ส่วนลูกค้าในกลุ่มองค์กรที่ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ทางเครือข่ายผู้ให้บริการอย่าง เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ก็มีทีมงานที่คอยประสานกับกลุ่มองค์กรในการจัดการแพกเกจแบบ BES (BlackBerry Enterprise Server) อยู่เช่นเดิม ซึ่งในส่วนนี้แม้แต่บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ก็เลือกยังเลือกใช้
      
       หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รีในประเทศไทยอย่างนายอาณัติ เลี้ยงพาณิชย์ เจ้าของเว็บไซต์ http://blackberryclubthailand.com/ ที่ทำงานใกล้ชิดกับแบล็กเบอร์รี ให้มุมมองว่า ในช่วงเวลาปัจจุบันเชื่อว่าแบล็กเบอร์รียังไม่สามารถกลับมาในตลาดได้ เพราะจากไลน์ผลิตภัณฑ์อย่าง Z10 และQ10 ที่กำลังจะวางจำหน่ายในอนาคตอันใกล้ ยังถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี 10 เท่านั้น
      
       'ถ้ามองกันไปยาวๆ แบล็กเบอร์รีน่าจะกลับมาอยู่ในตลาดอย่างเต็มตัวได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือ ต้นปีหน้า เพียงแต่ปัจจุบันแบล็กเบอร์รีต้องการพิสูจน์ให้ตลาดเห็นว่าสามารถพัฒนาเครื่องที่รองรับการใช้งานทัชสกรีนแบบเต็มตัวได้ จึงออกมาเป็นรุ่น Z10 ที่เห็นกันในขณะนี้ ส่วนถ้ามองในโรดแมปอนาคตต่อไปก็จะมีรุ่นที่ออกมารับกับฐานลูกค้าที่เป็นแฟนของแบล็กเบอร์รีอย่าง Q10 ตลอดจนเครื่องในระดับราคาต่ำกว่าที่จะทยอยออกมาวางตลาด'
      
       ด้วยแผนธุรกิจของแบล็กเบอร์รี ที่ต้องการสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้งานกลุ่มแรก จึงเลือกที่จะนำผลิตภัณฑ์ในรุ่นไฮเอนด์ออกมาวางจำหน่ายก่อน หลังจากนั้นจะทยอยนำรุ่นที่มีราคาต่ำกว่าออกมาวางจำหน่าย คล้ายๆกับที่เห็นกันอยู่ในการทำตลาดของโนเกีย ลูเมีย ที่ค่อยๆขยายฐานลูกค้าระดับรากหญ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
ในแง่ของการใช้งานต้องยอมรับว่า Z10 ถือเป็นสมาร์ทโฟนที่เป็นเวอร์ชัน 1 และออกมาวางจำหน่ายได้สมบูรณ์ที่สุด เพราะถ้ามองย้อนกันไปถึงระบบปฏิบัติการไอโอเอส สมัยไอโฟนรุ่นแรก ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สมัยเวอร์ชัน 1.5 หรือแม้แต่วินโดวส์โฟน 7 แต่ละโอเอสจะมีจุดบกพร่องที่ทำให้ผู้ที่ได้ทดลองใช้ไม่พอใจกันทั้งหมด
      
       'คนที่ชอบสมาร์ทโฟนถ้าได้ลองใช้งาน Z10 ไปสักครึ่งชั่วโมง จะเริ่มติดใจกับการทำงานแบบมัลติเทสกิ้ง ที่เป็นจุดเด่นมาตั้งแต่ตอนที่แบล็กเบอร์รีทดลองนำQNX มาพัฒนา Playbook รวมถึงระบบเดาศัพท์บนคีย์บอร์ดที่แตกต่างไปจากคีย์บอร์ดในสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นอย่างชัดเจน'
      
       สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือตัวแบล็กเบอร์รี Z10 มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลที่เป็นดูอัลคอร์เท่านั้น แต่ให้ความรู้สึกในการใช้งานไม่ต่างจากควอดคอร์ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในปัจจุบัน ต่อไปก็ต้องดูกันต่อเนื่องถึงระบบนิเวศน์ที่มีให้นักพัฒนาว่ามีเครื่องมือพร้อมแค่ไหน
      
       ซึ่งในจุดนี้แอนดรอยด์ยังค่อนข้างเสียเปรียบจากการที่กูเกิลปล่อยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสมาร์ทโฟนที่หลากหลายออกมาจนมีขนาดหน้าจอที่แตกต่างกันมากเกินไป ส่งผลให้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันต้องมีการปรับปรุงตลอดเวลา ไม่เหมือนกับแบล็กเบอร์รีที่มีเครื่องมือช่วยในการจัดการสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ง่าย คล้ายคลึงกับบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส
      
       อีกสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าทางแบล็กเบอร์รีต้องสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศไทย คือการหาพันธมิตรในการสร้างแอปพลิเคชันท้องถิ่นมาไว้ในสโตร์ของตนเอง เพราะปัจจุบันยังมีจำนวนแอปที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยอยู่เพียง 30 - 40 แอปเท่านั้น ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงแอปข่าวจาก ASTVผู้จัดการด้วย
(ล้อมกรอบ) ข้อจำกัดของ แบล็กเบอร์รี ในอดีต
      
       คุณสมบัติของ แบล็กเบอร์รี นั้นเป็นที่รู้ดีกันอยู่แล้วว่า เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับใช้ทำงานในองค์กร ด้วยความปลอดภัยทางด้านข้อมูล หากแต่ความเปลี่ยนแปลงของความต้องการ ได้เกิดขึ้นเมื่อกระแสของการแชทผ่าน BBM และต่อเนื่องด้วยโซเชียลมีเดียต่างๆที่ถาโถมให้เกิดความต้องการใช้ จนกลายเป็นกระแสในช่วง 2 ปีก่อน
      
       แน่นอนว่าเมื่อผู้ใช้งานถูกเปลี่ยนคนจากมืออาชีพด้านการใช้งานมาเป็นลูกค้าทั่วไปที่อยากแชท เรื่องวุ่นๆของการใช้งานก็บังเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในมุมของผู้บริโภคจึงเกิดคำถามตามมาว่า มีไว้เพื่ออะไร
      
       ความปลอดภัยด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่แบล็กเบอร์รีได้รับการยกย่องและเชื่อถือจากองค์กรระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัยนั่นก็คือ การแยกเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้งานเฉพาะเครื่อง แบล็กเบอร์รีเท่านั้น และนี่ก็คือปัญหาเบื้องต้นที่ต้องแก้ไขเมื่อสมาร์ทโฟนกลายเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไปเสียแล้ว
      
       การใช้เซิร์ฟเวอร์ของตนเองทำให้ซิมการ์ดที่ใช้งานทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้งานบริการเฉพาะได้ หากแต่จะต้องทำเปลี่ยนโปรโมชันที่ทำไว้สำหรับแบล็กเบอร์รีเท่านั้น จึงจะสามารถใช้งานฟีเจอร์ที่เฉพาะอย่าง BBM ได้
      
       ปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายของแบล็กเบอร์รีนั้นกลายเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัยมากนัก แต่ต้องการเพียงความเร็วในการเชื่อมต่อและราคาค่าบริการที่ถูกลงเท่านั้น การที่ต้องจ่ายค่าบริการเฉพาะอย่าง เพื่อแลกกับความปลอดภัยจึงไม่ตอบโจทย์ลูกค้าปัจจุบันที่ต้องการใช้ความเสถียรของระบบแบล็กเบอร์รี
      
       การเปิดโอกาสให้อัปเดตระบบได้โดยง่ายก็เป็นปัญหาที่สะท้อนกลับเข้ามาโดน แบล็กเบอร์รี อีกเช่นกัน เนื่องจากการอัปเดตเครื่องนั้น หากทำผิดขั้นตอนก็อาจจะทำให้เครื่องเกิดอันตรายถึงขั้นเปิดไม่ติดอีกต่อไปเลยก็ได้ แน่นอนว่าเมื่อเครื่องอยู่กับผู้ใช้ที่เป็นมือถืออาชีพด้านเทคโนโลยีก็จะไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดหากแต่เมื่อผู้ใช้เป็นบุคคลทั่วไปปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้นมาให้เห็นอยู่เนืองๆ
      
       แต่อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว เมื่อ Blackberry Z10 ได้ออกมาแก้ข้อบกพร่องต่างๆเหล่านี้ออกไปหมดแล้ว เหลือเพียงความเสถียรที่รอการใช้งานจากผู้บริโภคเท่านั้น
(ล้อมกรอบ) รู้หรือไม่?
      
       - BlackBerry Z10 อาจเผยให้คนอื่นรู้ว่าคุณกำลังดูคลิปโป๊เมื่อใด เพราะความสามารถของระบบ BBM เวอร์ชันล่าสุดที่ผู้ใช้จะสามารถบอกเพื่อนทั่วBBM ว่ากำลังดูวิดีโอบนเว็บไซต์อะไรอยู่
      
       แบล็กเบอรี่สร้างสรรค์ให้โปรแกรมรับส่งข้อความ BBM ในระบบปฏิบัติการ BB10 สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมเล่นมัลติมีเดีย BlackBerry Media Player เพื่อให้ BBM อัปเดตข้อมูลเพลงหรือวิดีโอที่กำลังเปิดอยู่ให้เพื่อนในเครือข่ายได้เห็น คุณสมบัตินี้อาจเป็นเรื่องดีถ้าคุณดูการ์ตูนหรือภาพยนตร์ทั่วไป แต่หากเป็นการเปิดคลิปโป๊ เพื่อนทุกคนที่ติดตาม BBM ของคุณจะสามารถรับรู้ได้หมดไม่ว่าคลิปโป๊นั้นจะเป็นไฟล์ที่อยู่ในเครื่องหรือไฟล์ออนไลน์บนเว็บไซต์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่อยากเจอปัญหานี้จะต้องเลือกตั้งค่าที่ BBM settings แล้วปิดการทำงานคุณสมบัติ “show what I’m listening to,” ให้เรียบร้อย
       
       - Blackberry Z10 มีรุ่นพิเศษสีฟ้าและแดงสด
      
       ใครว่า Blackberry Z10 มีแต่สีขาวและดำ รายงานจากสื่อออนไลน์ระบุว่า Blackberry Z10 มีรุ่นพิเศษจำนวนจำกัดเป็นสีแดงและสีฟ้าสด โดยสีแดงเริ่มมีข่าวจัดส่งถึงนักพัฒนาตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่สีฟ้ายังไม่มีรายงานรายละเอียด
      
       - “BBM Music” โบกมือลา 2 มิ.ย.นี้
      
       แบล็กเบอร์รีส่งอีเมลประกาศยกเลิกบริการเพลงบนระบบบีบี “BBM Music” อย่างเป็นทางการ ขีดเส้นวันที่ 2 มิถุนายนปิดฉากบริการเพลงออนไลน์อายุ 2ขวบที่เคยได้รับเสียงชื่นชมเมื่อครั้งแรกเปิดตัว แต่ยังไม่มีการเปิดเผยเหตุผลในการปิดบริการครั้งนี้
      
       แม้บริการ BBM Music จะจากไป แต่ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด BlackBerry 10 จะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดบริการ BBM Musicเนื่องจาก BBM Music ไม่สามารถรองรับระบบปฏิบัติการใหม่ของแบล็กเบอร์รีได้ โดยผู้ใช้ BB10 จะสามารถดาวน์โหลดเพลงจากร้าน BlackBerry Worldได้โดยตรง การประกาศปิดบริการ BBM Music จึงอาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่าแบล็กเบอรี่กำลังปรับตัวเพื่อกรุยทาง BB10 แบบดับเครื่องชน

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000044456

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.