Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 เมษายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) อ.มานะ ม.หอการค้า!!! ทีวีสาธารณะใจความสำคัญหลักใหญ่ คือ ต้องการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนทุกคน ต้องระบุให้ชัด ความมั่นคง เป็นความมั่นคงของใคร คำว่า รัฐ เป็นรัฐแบบไหน


ประเด็นหลัก



เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ เรื่องทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอน ทีวีสาธารณะ จัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า คำว่า ทีวีสาธารณะใจความสำคัญหลักใหญ่ คือ ต้องการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนทุกคน ที่ไม่มีสิทธิ์จะพูดกับสื่อ ได้มีโอกาสได้พูด เล่า และนำเสนอข้อเท็จจริง เนื่องจากที่ผ่านมา คนที่ต้องการใช้พื้นที่ในสื่อ ต้องทำสิ่งในที่รุนแรง เพื่อเรียกร้องความสนใจผ่านสื่อในเรื่องกระบวนการเป็นประชาธิปไตย

อาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า คำถามเกี่ยวกับทีวีสาธารณะ คือ ผู้ถือครองยังเป็นแบบเดิมหรือไม่ คำว่า ความมั่นคง เป็นความมั่นคงของใคร คำว่า รัฐ เป็นรัฐแบบไหน และประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงจะบอกเล่าหรือไม่ ส่วนคำว่า ทีวีบริการสาธารณะ คือ การบริการสาธารณะซึ่งผิดไปจากเดิม เพราะนั่นหมายความว่า ประชาชนเป็นผู้รับบริการ ไม่มีสิทธิ์มีเสียง เพราะฉะนั้นประชาชนอย่ามายุ่ง


____________________________






ฟันธง! นิยามสื่อบริการสาธารณะไทย ไม่ตรงกับคำนิยามสากล


นักวิชาการ ฟันธง นิยามสื่อบริการสาธารณะของประเทศไทย ต่างจากคำนิยามของสากลโดยสิ้นเชิง ขณะที่ อ.คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้า ชี้ ความหมายทีวีบริการสาธารณะ ผิดจากเดิม เปรียบเสมือน ปชช.เป็นผู้รับบริการ ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง เพราะฉะนั้นอย่ามายุ่ง...

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ เรื่องทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอน ทีวีสาธารณะ จัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า คำว่า ทีวีสาธารณะใจความสำคัญหลักใหญ่ คือ ต้องการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนทุกคน ที่ไม่มีสิทธิ์จะพูดกับสื่อ ได้มีโอกาสได้พูด เล่า และนำเสนอข้อเท็จจริง เนื่องจากที่ผ่านมา คนที่ต้องการใช้พื้นที่ในสื่อ ต้องทำสิ่งในที่รุนแรง เพื่อเรียกร้องความสนใจผ่านสื่อในเรื่องกระบวนการเป็นประชาธิปไตย

อาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า คำถามเกี่ยวกับทีวีสาธารณะ คือ ผู้ถือครองยังเป็นแบบเดิมหรือไม่ คำว่า ความมั่นคง เป็นความมั่นคงของใคร คำว่า รัฐ เป็นรัฐแบบไหน และประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงจะบอกเล่าหรือไม่ ส่วนคำว่า ทีวีบริการสาธารณะ คือ การบริการสาธารณะซึ่งผิดไปจากเดิม เพราะนั่นหมายความว่า ประชาชนเป็นผู้รับบริการ ไม่มีสิทธิ์มีเสียง เพราะฉะนั้นประชาชนอย่ามายุ่ง


นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า บริการสาธารณะเป็นคำศัพท์ทางกฎหมายมหาชน ในทางทฤษฎีต้องตอบสนอง 2 เรื่อง ได้แก่ 1. ยึดโยงกับรัฐ และ 2. ตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งประเด็นสำคัญ คือ ทำอย่างไรทีวีแต่ละช่องจะมีเนื้อหาที่น่าสนใจและตอบสนองคนดูที่เป็นประชาชน ส่วนนิยามการไม่แสวงหากำไร หรือการไม่เน้นกำไร พ.ศ.2542 มีการตั้งหน่วยงานองค์การมหาชน เพราะรัฐต้องการตั้งหน่วยงานเพื่อจัดทำบริการสาธารณะที่ต่างจากรัฐวิสาหกิจที่มุ่งหากำไร ดังนั้น การใช้ดุลพินิจของ กสทช. ควรออกประกาศหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด และต้องดำเนินการให้หลุดพ้นข้อครหาของตัวเอง เพื่อความรอบคอบและเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติและรัฐ และต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยไม่ใช่ดุลพินิจ

นางสาวพิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านระบบทีวีจากอะนาล็อกมาสู่ดิจิตอล จะก่อให้เกิดการแข่งขันแบบใหม่ ที่สามารถเปิดให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้หลายช่องทางขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบอะนาล็อกที่แหล่งรายได้จะอยู่ที่สถานีโทรทัศน์


อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อว่า นิยามและความหมายตามทฤษฎีและที่ปฏิบัติกันในระดับสากลคำว่า ทีวีสาธารณะ หมายถึง การกระจายเสียงแพร่สาธารณะ Public Service Broadcasting (PSB) ซึ่งต้องมีบริการพื้นฐาน คือ ทุกคนต้องเข้าถึงได้ มีความเป็นสาธารณะไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ และเน้นความหลากหลาย แต่ที่ผ่านมาการดำเนินการของ กสทช. และการกำหนดนิยาม สามารถฟันธงได้ว่า นิยามสื่อบริการสาธารณะไทย ต่างจากคำนิยามของสากลโดยสิ้นเชิง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า จากเวทีครั้งนี้ จะรวบรวมและสรุปก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ กสท.เพื่อขอให้ทบทวนเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกทีวีดิจิตอลสาธารณะ หรือ บิวตี้คอนเทส (Beauty Contest) ในวันที่ 29 เม.ย.นี้



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/340791

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.