Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 เมษายน 2556 SUPERกสทช.แจ้ง!!! ไม่มีการโหวต ( พร้อมตรวจสอบ...กสทช. นื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีผลประโยชน์มหาศาล )

ประเด็นหลัก



พล.อ.ธวัชชัย สมุนทรสาคร ประธานกรรมการ เปิดเผยว่า ขอบคุณที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.)ที่ให้ความไว้วางใจในการเลือกเข้ามาทำงาน โดยการทำงานจะต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีผลประโยชน์มหาศาล ในขณะที่ได้รับคัดเลือกด้านกิจการกระจายเสียง จะเน้นการกำกับดูแลวิทยุที่มีจำนวนมาก

นายพิชัย อุตมาภินันท์ กรรมการด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า การดำเนินการประเมินด้านโทรทัศน์ดิจิทัล จำนวน 48 ช่อง กสทช.ได้ดำเนินการครบถ้วน เป็นธรรมหรือไม่ ดูกระบวนการแข่งขัน แม้กระทั่งการแจกกล่องรับสัญญาณดิจิทัลมีคุณภาพหรือไม่ นอกจากนี้จะเน้นดูการออกใบอนุญาตช่องสาธารณะที่เกิดกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ในขณะนี้ว่าเหมาะสมเป็นบริการสาธารณะหรือไม่

นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ กรรมการด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า จะเร่งดูคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซที่จะหมดสัมญาสัมปทานเดือนก.ย.56 ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ที่มีลูกค้าจำนวน 17 ล้านเลขหมาย จะดูแลอย่างไร รวมไปถึงการประมูลคลื่นความถี่ต่อไปเช่นไร  

'พล.อ. ธวัชชัย ประธานซูเปอร์บอร์ดตีแสกหน้ากทค. ย้ำหลักการพิจารณาในการประชุมเน้นเหตุผล เป็นธรรม ไม่มีการโหวตเพราะเป็นการเปิดช่องให้มีผลประโยชน์ แอบแฝงระบุเตรียมตรวจแถว กสทช.-กสท.-กทค.โดยเฉพาะกรณีหมดสัญญา 1800MHz / ทีวีดิจิตอล คาดกลางเดือนพ.ค.ออกกรอบแผนการทำงาน









_______________________________________





เปิดตัว 5 ซุปเปอร์บอร์ดตรวจสอบกสทช.


5 ซุปเปอร์บอร์ด กสทช. เปิดตัวพร้อมกันครั้งแรก เตรียมจัดทำแผนงานคาดแล้วเสร็จกลางพ.ค.นี้ เร่งตรวจสอบการทำงานทุกด้านของกสทช.
วันนี้(25เม.ย.)ที่ ห้องวิภาวดี บอลรูมซี โรงแรมเซ็นทาราลาดพร้าว เปิดตัวคณะกรรมการติดตามและประเมินผล หรือ ซุปเปอร์บอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) จำนวน 5 คนอย่างเป็นทางการ และได้ประชุมนัดแรก โดยมีมติมอบหมายให้กรรมการไปดำเนินการจัดทำแผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารงานของกสทช. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคม(กสท.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) สำนักงาน กสทช.และเลขาธิการกสทช. ของแต่ละด้านแล้วกลับมานำเสนอที่ประชุมอีกครั้ง เพื่อจัดทำแผนการทำงาน ระเบียบ กรอบระยะเวลาในการตรวจสอบ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกตรวจสอบ คาดประมาณกลางเดือนพ.ค.56 จะดำเนินการได้

พล.อ.ธวัชชัย สมุนทรสาคร ประธานกรรมการ เปิดเผยว่า ขอบคุณที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.)ที่ให้ความไว้วางใจในการเลือกเข้ามาทำงาน โดยการทำงานจะต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีผลประโยชน์มหาศาล ในขณะที่ได้รับคัดเลือกด้านกิจการกระจายเสียง จะเน้นการกำกับดูแลวิทยุที่มีจำนวนมาก

นายพิชัย อุตมาภินันท์ กรรมการด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า การดำเนินการประเมินด้านโทรทัศน์ดิจิทัล จำนวน 48 ช่อง กสทช.ได้ดำเนินการครบถ้วน เป็นธรรมหรือไม่ ดูกระบวนการแข่งขัน แม้กระทั่งการแจกกล่องรับสัญญาณดิจิทัลมีคุณภาพหรือไม่ นอกจากนี้จะเน้นดูการออกใบอนุญาตช่องสาธารณะที่เกิดกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ในขณะนี้ว่าเหมาะสมเป็นบริการสาธารณะหรือไม่

นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ กรรมการด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า จะเร่งดูคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซที่จะหมดสัมญาสัมปทานเดือนก.ย.56 ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ที่มีลูกค้าจำนวน 17 ล้านเลขหมาย จะดูแลอย่างไร รวมไปถึงการประมูลคลื่นความถี่ต่อไปเช่นไร  

นายประเสริฐ อภิปุญญา กรรมการด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจะเป็นดูกระบวนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคในส่วนของ กสทช.และสำนักงานกสทช.ที่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน โดยเบื้องต้นจะดูรูปแบบการเยียวยาว่าได้เอื้อประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือไม่

สุดท้ายพล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า มั่นใจว่าจากประสบการณ์จะสามารถประเมินผลได้สำเร็จ เนื่องจากจะนำเอาภาคประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาสะท้อนการปฎิบัติงานของกสทช.ว่าเข้าถึงประชาชนได้เท่าเทียม และสร้างการแข่งขันให้มีเสรีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ซุปเปอร์บอร์ด ทั้ง 5 คน ได้ลงมติว่า จะใช้วิธีการพิจารณาเรื่องที่เป็นปัญญาในรูปแบบ การหารือ ไม่ใช้วิธีการโหวต ในขณะที่อัตราค่าตอบแทนเป็นไปตามกฎหมายที่ให้สำนักงานกสทช.เป็นผู้กำหนดต่อไป



_________________________________

'ประธานซูเปอร์บอร์ด' ย้ำจุดยืนทุกเรื่องต้องเคลียร์ไม่มีล็อกโหวตเหมือนกทค.


                               
คณะกรรมการติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือ ซูเปอร์บอร์ดด้านกิจการกระจายเสียง




พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร ประธานคณะกรรมการติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ กรรมการซูเปอร์บอร์ดด้านกิจการโทรคมนาคม


               
'พล.อ. ธวัชชัย ประธานซูเปอร์บอร์ด' ตีแสกหน้ากทค. ย้ำหลักการพิจารณาในการประชุมเน้นเหตุผล เป็นธรรม ไม่มีการโหวตเพราะเป็นการเปิดช่องให้มีผลประโยชน์ แอบแฝงระบุเตรียมตรวจแถว กสทช.-กสท.-กทค.โดยเฉพาะกรณีหมดสัญญา 1800MHz / ทีวีดิจิตอล คาดกลางเดือนพ.ค.ออกกรอบแผนการทำงาน
      
       พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร ประธานคณะกรรมการติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือ ซูเปอร์บอร์ดด้านกิจการกระจายเสียง กล่าวว่า การประชุมซูเปอร์บอร์ด นัดแรก เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2556 ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้กรรมการแต่ละคนไปดำเนินการจัดทำแผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารงานของ กสทช. ,คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) รวมถึง สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ในแต่ละด้าน เพื่อนำเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาในครั้งต่อไปประมาณกลางเดือน พ.ค. 2556
      
       ทั้งนี้การทำงาน และพิจารณาเรื่องต่างๆที่เข้ามาในซูเปอร์บอร์ดนั้นจะไม่มีการโหวตลงคะแนนแต่อย่างใด แต่จะใช้หลักการพูดคุยหารือกันภายในบอร์ดอย่างมีเหตุมีผล และเป็นธรรมที่สุด เพราะหากใช้วิธีการโหวตลงคะแนนอาจจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่โดยการเลือกประธานซูเปอร์บอร์ดก็ไม่ได้ใช้การโหวตแต่อย่างใด
      
       พร้อมทั้งบอร์ดยังได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.จัดเตรียมสถานที่ทำงาน ให้กับซูเปอร์บอร์ด โดยให้คำนึงถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมภายใต้ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
      
       นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ กรรมการซูเปอร์บอร์ดด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หลังจากรับแต่งตั้งมาจะเข้ามาดูเรื่องที่กทค.จะนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม ในฐานะเจ้าของสัญญาสัมปทาน กับ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน(ดีพีซี) ในเครือเอไอเอส ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 16 ก.ย.นี้ โดยเฉพาะในแง่ประเด็นการโอนย้ายลูกค้า ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะดำเนินการอย่างไร ผู้ใช้บริการจะเป็นอย่างไร หลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดย กทค. มีแนวนโยบายที่จะนำคลื่นดังกล่าวมาทำการเปิดประมูล คลื่นความถี่โดยใช้ชื่อว่า การประมูล 4G โดยในเบื้องต้นความเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับการใช้ชื่อประมูล 4G เนื่องจากคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz สามารถพัฒนา และอัปเกรดมาเป็น 4G ได้เช่นกัน รวมถึงการเปิดประมูลคลื่นดังกล่าว กสทช.จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันด้วยหรือไม่
      
       'เราจะติดตามผลการดำเนินงานย้อนหลังของกทค. ในเรื่องการประมูล 3G ที่ผ่านมาในภาพรวม ว่าการประมูลดังกล่าว มีประสิทธิภาพในการแข่งขันหรือไม่ รวมถึง ราคาตั้งต้น และราคาที่ประมูลได้ เหมาะสมกับสภาพตลาดและผลประโยชน์ที่ประเทศชาติ ได้รับหรือไม่'
      
       นายพิชัย อุตมาภินันท์ กรรมการซูเปอร์บอร์ด จากด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า การเข้ามารับตำแหน่งในครั้งนี้ สิ่งที่จะต้องติดตามผลและประเมินเป็นงานแรก คือการติดตามงานด้านทีวีดิจิตอลเป็นหลัก เนื่องจากจะเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อก เป็น ดิจิตอล ส่วนที่จะมุ่งเน้นเป็นพิเศษ คือ ทีวีดิจิตอล ช่องสาธารณะ เพราะอยากให้เป็นช่องทีวีสาธารณะอย่างแท้จริง เนื่องช่องทีวีสาธารณะจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
      
       อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับกฏหมายที่บอร์ด กสท.กำหนดหลักเกณฑ์ออกมา หลังจากนี้เบื้องต้นจะส่งหนังสือและข้อเสนอแนะไปยัง บอร์ด กสท. ในเรื่องกฏหมายที่ยังไม่เห็นด้วย ซึ่งหลังจากนั้นบอร์ด กสท. จะดำเนินการหรือไม่ ก็เป็นสิทธิของบอร์ด กสท.เอง ซึ่งซูเปอร์บอร์ด มีหน้าที่ติดตามและประเมินผล โดยจะบันทึกลงในรายงาน เพื่อเสนอต่อสมาชิกวุฒิสภา เป็นรายงานประจำปีที่ต้องดำเนินการต่อไป

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000049890&Keyword=%a1%ca%b7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.