Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 เมษายน 2556 SUPERกสทช. ชี้ตัวเอง..มีหน้าที่ไม่มีอำนาจถอดถอน 11 กสทช.ต้องยื่นไปที่ สว. เท่านั้น (เตรียมเร่งเครื่อง ตรวจสอบทุกเรื่องใช้เวลารวดเร็ว วัน สต็อป เซอร์วิส )


ประเด็นหลัก



  ทั้งนี้กระบวนการติดตามตรวจสอบการทำงานของ 11 กสทช.นั้นจะต้องมีการจัดทำแผนตรวจสอบ หรือมีปฏิทินการตรวจสอบ โดยมีกระบวนการ มีขั้นตอนในการแจ้งผู้ถูกตรวจสอบให้มีเอกสารชี้แจงก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยที่จะไม่มีการออกข่าวหรือประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการอะไรอยู่ จนกว่าจะได้ข้อสรุปมาจากซูเปอร์บอร์ด กสทช.ก่อนว่าพบปัญหาจริง  ซึ่งในเบื้องต้น 5 ซูเปอร์บอร์ด กสทช.มีความเห็นตรงกันว่า จะต้องมีการตรวจสอบร่วมกันในทุกเรื่อง ส่วนกรรมการแต่ละท่านที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็อาจจะมาเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่อง
    "ยกตัวอย่าง เช่น ผมเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคก็อยากให้มีการตรวจสอบประเมินผลการคุ้มครองผู้บริโภคให้รวดเร็วในลักษณะวัน สต็อป เซอร์วิส เพราะที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจะใช้เวลานานมาก "


    สำหรับรูปแบบการทำงานของซูเปอร์บอร์ด กสทช.จะไม่ใช่ลักษณะแบ่งเค้กกันทำงาน แต่ทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันและช่วยกันแสดงความคิดเห็นได้ทุกเรื่อง โดยทั้ง5 คนได้ออกแถลงข่าวร่วมกัน(25เม.ย.56)เพื่อแสดงความพร้อมในการปฏิบัติงาน หลังจากที่เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556 การแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าวมีผลอย่างเป็นทางการ  และผู้ที่ประเมินผลการทำงานของซูเปอร์บอร์ด กสทช.ก็คือวุฒิสภา ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนงานเพื่อจะได้ไม่เกิดคำครหาตามมาว่าการทำงานดังกล่าวไม่มีเป้าหมาย


-วุฒิสภามีอำนาจถอดถอน11อรหันต์  
    ต่อคำถามที่ว่า ซูเปอร์บอร์ด กสทช.มีอำนาจถอดถอน 11 กสทช.ได้หรือไม่  ได้รับการอธิบายว่า ปัจจุบันคนยังเข้าใจผิดคิดว่าคณะทำงานชุดนี้มีอำนาจมากมาย แต่ความจริงแล้วไม่มีอำนาจถอดถอน 11 กสทช. หากมีความผิดถึงขั้นต้องปลดออก แต่คนที่มีอำนาจคือวุฒิสภา ซึ่งซูเปอร์บอร์ด กสทช.ทั้ง 5 ท่านทำงานให้กับวุฒิสภา และขณะนี้ได้เริ่มวางกรอบการทำงานแล้ว โดยมีทีมงานเริ่มต้นที่ 20 คน นั่งทำงานอยู่ที่อาคารไอ ทาวเวอร์( ติดกับอาคารฐานเศรษฐกิจเดิม) ชั้น4-5 ถนนวิภาวดีรังสิต



_______________________________________





ซูเปอร์บอร์ดกสทช. ตรวจการบ้านทุก3เดือน


 หลังจากที่ประชุมวุฒิสภามีมติเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) หรือ "ซูเปอร์บอร์ด กสทช." เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556  จำนวน 5 คน

ประเสริฐ อภิปุญญา  ประกอบด้วย ด้านกิจการกระจายเสียง พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่2 นั่งเป็นประธานกรรมการ  ที่เหลือนั่งเป็นกรรมการ ประกอบด้วย นายพิชัย อุตมาภินันท์ อดีต ส.ว.สรรหา  ด้านกิจการโทรคมนาคม นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ อดีตวิศวกรในเครือล็อกซเล่ย์ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการกสทช. และด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เพื่อเข้ามาติดตาม และตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 11 คนหรือ "11อรหันต์" ที่วุฒิสภาลงคะแนนเลือกเข้ามาเมื่อเดือนกันยายน ปี 2554 ประกอบด้วย 1.พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี 2.พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร 3.พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ 4.พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ 5.พ.อ.นที ศุกลรัตน์ 6.พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า 7.นายสุทธิพล ทวีชัยการ 8.นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ 9.นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ 10.นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา 11.น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์

   

+หน้าที่-บทบาทซูเปอร์บอร์ด
    ล่าสุด"ฐานเศรษฐกิจ"มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายประเสริฐ  อภิปุญญา 1ใน5 ซูเปอร์บอร์ด กสทช. เป็นครั้งแรกหลังได้รับแต่งตั้งให้เป็น 1ในกรรมการติดตามตรวจสอบการทำงานของ 11 อรหันต์  โดยกรรมการป้ายแดงฉายภาพให้เห็นถึง หน้าที่และบทบาทการทำงานของ"ซูเปอร์บอร์ด กสทช."ว่าเป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2553 ตามมาตรา70 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบและให้ข้อแนะนำบอร์ดกสทช. ,เลขาธิการกสทช. และสำนักงานกสทช. โดยยืนอยู่ภายใต้พื้นฐานที่เป็นไปตามกฎหมายที่ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานของ 11 กสทช. ว่าเป็นไปตามแผนแม่บท และแผนงบประมาณต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่


    ทั้งนี้กระบวนการติดตามตรวจสอบการทำงานของ 11 กสทช.นั้นจะต้องมีการจัดทำแผนตรวจสอบ หรือมีปฏิทินการตรวจสอบ โดยมีกระบวนการ มีขั้นตอนในการแจ้งผู้ถูกตรวจสอบให้มีเอกสารชี้แจงก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยที่จะไม่มีการออกข่าวหรือประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการอะไรอยู่ จนกว่าจะได้ข้อสรุปมาจากซูเปอร์บอร์ด กสทช.ก่อนว่าพบปัญหาจริง  ซึ่งในเบื้องต้น 5 ซูเปอร์บอร์ด กสทช.มีความเห็นตรงกันว่า จะต้องมีการตรวจสอบร่วมกันในทุกเรื่อง ส่วนกรรมการแต่ละท่านที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็อาจจะมาเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่อง
    "ยกตัวอย่าง เช่น ผมเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคก็อยากให้มีการตรวจสอบประเมินผลการคุ้มครองผู้บริโภคให้รวดเร็วในลักษณะวัน สต็อป เซอร์วิส เพราะที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจะใช้เวลานานมาก "


    สำหรับรูปแบบการทำงานของซูเปอร์บอร์ด กสทช.จะไม่ใช่ลักษณะแบ่งเค้กกันทำงาน แต่ทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันและช่วยกันแสดงความคิดเห็นได้ทุกเรื่อง โดยทั้ง5 คนได้ออกแถลงข่าวร่วมกัน(25เม.ย.56)เพื่อแสดงความพร้อมในการปฏิบัติงาน หลังจากที่เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556 การแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าวมีผลอย่างเป็นทางการ  และผู้ที่ประเมินผลการทำงานของซูเปอร์บอร์ด กสทช.ก็คือวุฒิสภา ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนงานเพื่อจะได้ไม่เกิดคำครหาตามมาว่าการทำงานดังกล่าวไม่มีเป้าหมาย
-ทบทวนแผนตรวจสอบ3-6เดือน
    อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวมองว่าการทำงานของซูเปอร์บอร์ด กสทช.จะอยู่ภายใต้กรอบที่ชัดเจน ดังนั้นการดำเนินการใดๆที่เป็นไปด้วยกระแสหรือความเห็นส่วนตัวน่าจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะกรรมการชุดนี้ หากการดำเนินการใดๆที่บอร์ดกสทช. เลขาธิการกสทช. หรือสำนักงานกสทช.ทำได้เหมาะสมอยู่แล้วซูเปอร์บอร์ด กสทช.ก็จะเป็นคนสร้างความมั่นใจให้ประชาชนเข้าใจ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นทั้งผู้ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของกสทช. ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การตรวจสอบจากรายงานประจำปีแต่ต้องตรวจสอบเป็นไปตามสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยแผนการตรวจสอบ ติดตามจะต้องมีการทบทวนประเด็นอย่างต่อเนื่องทุกๆ3-6 เดือนเพื่อให้ทันสมัยทันเหตุการณ์
    นายประเสริฐกล่าวถึงการตัดสินใจเข้ามาทำงานด้านการติดตาม และตรวจสอบการทำงานของ 11 กสทช. เนื่องจากมีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้มาก่อน ในขณะที่กรรมการท่านอื่นก็มาจากหน่วยงานภายนอก อาจจะมีข้อสงสัยในกรอบปฏิบัติของสำนักงาน ก็จะได้มีส่วนเข้าไปช่วยทำความชัดเจนตรงนี้ได้ และบางเรื่องหากได้รับการชี้แจงในแง่มุมที่เหมาะสม สังคมก็จะคลายความสงสัย ก็สามารถเข้าไปเสนอแนะ ชี้แจงได้ ในฐานะที่เคยทำงานมาตั้งแต่สมัยที่ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ก่อนที่จะมาเป็นสำนักงานกสทช.ในปัจจุบัน
-วุฒิสภามีอำนาจถอดถอน11อรหันต์  
    ต่อคำถามที่ว่า ซูเปอร์บอร์ด กสทช.มีอำนาจถอดถอน 11 กสทช.ได้หรือไม่  ได้รับการอธิบายว่า ปัจจุบันคนยังเข้าใจผิดคิดว่าคณะทำงานชุดนี้มีอำนาจมากมาย แต่ความจริงแล้วไม่มีอำนาจถอดถอน 11 กสทช. หากมีความผิดถึงขั้นต้องปลดออก แต่คนที่มีอำนาจคือวุฒิสภา ซึ่งซูเปอร์บอร์ด กสทช.ทั้ง 5 ท่านทำงานให้กับวุฒิสภา และขณะนี้ได้เริ่มวางกรอบการทำงานแล้ว โดยมีทีมงานเริ่มต้นที่ 20 คน นั่งทำงานอยู่ที่อาคารไอ ทาวเวอร์( ติดกับอาคารฐานเศรษฐกิจเดิม) ชั้น4-5 ถนนวิภาวดีรังสิต



จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=180517:-3&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.