Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 เมษายน 2556 ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 25/04/2556 By So Magawn ( โส มกร )

ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 25/04/2556 By So Magawn ( โส มกร )

1.... อนุดิษฐ์ กดดัน TOT ให้ทำสัปทาน จำแลงกับ AIS (หรือแบบเดียวกับCAT-TRUE) ชี้ที่ล้มเหลวเพราะ การลงทุนเป็นเฟส ไม่ลงทุนทั่วประเทศครอบคลุมความต้องการคนไทย
2.... กสทช.ส่งหนังสือ ชี้ RS ต้องถ่ายทอดบอกโลกผ่าน FREE TV ไม่สามารถแพร่ภาพบนซันบ็อกซ์หรือเปย์ทีวีอื่นๆ (ยกเว้นถ้าได้ใบอนุญาติทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจเพราะถือเป็น FREE TV)
3.... กสทช. มีมติก่อนเปิดบริการ 3G 1 พฤษภาคม 2556 ++ ชี้ ต้องมีค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า 15% ทุกค่าย // การเพิ่มวงเงินการใช้บริการ ผู้ใช้บริการต้องเป็นผู้ขอ // 9้องรับผิดชอบSMSขยะ



___________________________

29 เมษายน 2556 กสทช.ส่งหนังสือ ชี้ RS ต้องถ่ายทอดบอกโลกผ่าน FREE TV ไม่สามารถแพร่ภาพบนซันบ็อกซ์หรือเปย์ทีวีอื่นๆ (ยกเว้นถ้าได้ใบอนุญาติทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจเพราะถือเป็น FREE TV)
ประเด็นหลัก

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 29 เม.ย. มีมติให้ บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอคแคสติ้ง แอนด์ สปอร์ต จำกัด ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)ในฐานะผู้ถือครองลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้าย 64 แมชต์ ที่ประเทศบราซิล ต้องแพร่ภาพผ่านสถานีโทรทัศน์เป็นการทั่วไป (ฟรีทีวี) เท่านั้น ตามประกาศกสทช.เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 (มัสต์แฮฟ) พร้อมทั้งไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เปย์ทีวี)

'ถึงแม้อาร์เอสจะได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลโลกมาก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถนำรายการดังกล่าวไปแพร่ภาพบน
ซันบ็อกซ์หรือเปย์ทีวีอื่นๆได้เพราะต้องปฏิบัติตามประกาศมัลต์แฮฟคือเผยแพร่บนฟรีทีวีเท่านั้น'


นอกจากนี้อาร์เอส และฟรีทีวีในปัจจุบันได้แก่ช่อง 3,5,7,9,11(เอ็นบีที)และไทยพีบีเอสจะต้องเจรจาหารูปแบบในการถ่ายทอดสดรายการฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้ายกันเองว่าจะตกลงกันออกมาในรูปแบบใดในการเผยแพร่รายการดังกล่าวแต่ต้องถ่ายทอดให้ครบทั้ง 64 แมชต์ แต่หากกรณีอาร์เอสสามารถประมูลช่องทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจได้ก็จะสามารถนำไปเผยแพร่บนช่องของอาร์เอสที่ประมูลมาได้เช่นเดียวกันเพราะถือว่าเป็นฟรีทีวี



http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051436&Keyword=%A1%CA%B7
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051366
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=180826%3A-2014-64-&catid=176%3A2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B
8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/219103/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3RS%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0
%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%
A5%E0%B8%812014%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5

_______________________________________

29 เมษายน 2556 กสทช. มีมติก่อนเปิดบริการ 3G 1 พฤษภาคม 2556 ++ ชี้ ต้องมีค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า 15% ทุกค่าย // การเพิ่มวงเงินการใช้บริการ ผู้ใช้บริการต้องเป็นผู้ขอ // 9้องรับผิดชอบSMSขยะ
ประเด็นหลัก


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ที่ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบอนุมัติสัญญาให้บริการโทรคมนาคม บนคลื่นย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ชั่วคราว ให้กับทั้ง 3 ผู้ประกอบการ คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2547 ได้เปิดให้บริการในเดือน พ.ค.56 นี้ เพื่อให้ผู้บริการสามารถเปิดให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ส่วนกรณีเงื่อนไขในการระงับบริการชั่วคราวของผู้ใช้บริการนั้นยึดตามมติ กสทช.เดิม พร้อมทั้งจะส่งหนังสือกลับไปยังผู้ประกอบการเพื่อเตรียมปรึกษาหารือกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ กทค.ได้มีมติเห็นชอบในเรื่องของแผนคุ้มครองผู้บริโภค 3 เรื่อง ดังนี้ 1.การรับผิดชอบร่วมกันของผู้ให้บริการและผู้ให้บริการเสริม 2.เรื่องอัตราค่าบริการต้องเป็นไปตามประกาศ กสทช.ที่จะต้องมีค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า 15% ทุกค่าย และ 3.การเพิ่มวงเงินการใช้บริการ ผู้ใช้บริการต้องเป็นผู้ขอเพิ่มวงเงิน ซึ่งจากเดิมผู้ให้บริการจะเป็นผู้เพิ่มให้ ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมในการขอเอกสารนั้นต้องไม่เกินค่าธรรมเนียมที่เป็นไปตามประกาศของ กสทช.



ที่ประชุมฯ มีมติ 3 ข้อ คือ 1.เห็นชอบสัญญามาตรฐานตามที่มีข้อสังเกตุร่วมกัน โดยมีการปรับปรุงประเด็นเรื่องการระงับการให้บริการชั่วคราว โดยให้ยึดแนวทางตาม กทช.เดิมบอกไว้ว่า กรณีที่ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย จะยุติการให้บริการจะต้องแจ้งล่วงหน้าแก่ผู้บริโภค 1 เดือน หรือไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บเงินแก่ผู้บริโภค 2.เร่งรัดให้จัดทำสัญญามาตรฐานกลางโดยเร็ว 3.ให้เชิญผู้ประกอบการให้มารายงานการให้บริการ 3G ในเรื่องของแผนการคุ้มครองผู้บริโภค และการทำ CSR ซึ่งคาดว่าจะเชิญผู้ให้บริการทั้ง 3 บริษัทมาพบภายในสัปดาห์นี้




นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังมีมติให้ผู้ให้บริการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาการระงับใช้บริการชั่วคราว โดยให้แนบท้ายสัญญาเพิ่มเติมเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคว่า "กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยให้ผู้ใช้บริการขอระงับการใช้บริการชั่วคราวได้จนกว่าเหตุสุดวิสัยนั้นจะยุติลง"

http://www.thaipost.net/news/300413/72857
http://www.naewna.com/business/49966
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=180840%3A-advanc-dtac-true-3g-&catid=176%3A2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://www.ryt9.com/s/iq03/1639728



_______________________________

29 เมษายน 2556 อนุดิษฐ์ กดดัน TOT ให้ทำสัปทาน จำแลงกับ AIS (หรือแบบเดียวกับCAT-TRUE) ชี้ที่ล้มเหลวเพราะ การลงทุนเป็นเฟส ไม่ลงทุนทั่วประเทศครอบคลุมความต้องการคนไทย
ประเด็นหลัก


5.ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และโครงข่ายของทีโอทีที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างกรณี การจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค ภายใต้บริษัท เอซีที โมบายล์ของทีโอทีเพื่อให้บริการกับโอเปอเรเตอร์มือถือ โดยกำลังเจรจากับเอไอเอส เพื่อให้เอไอเอสโอนสิทธิในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาเครือข่ายให้กับทีโอที ก่อนครบกำหนดสัมปทาน 2G กับทีโอทีในปี 2015 โดยเอไอเอสยังได้สิทธิใช้งานเครือข่าย 2G หรือ 2.5G จนหมดสัมปทานและบริษัท AWN ในเครือเอไอเอสที่ได้ใบอนุญาตความถี่ 2.1 GHz จากกสทช. ก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์ 3G และเช่าใช้เครือข่ายได้ทันที ซึ่งถือเป็นการเจรจาแบบวิน-วินทั้งทีโอทีและเอไอเอส

แต่สิ่งที่น.อ.อนุดิษฐ์ แสดงความเป็นกังวลมากสำหรับทีโอทีคือบริการโทรศัพท์มือถือ 3G ที่ยังอยู่ในสถานการณ์เลือดไหล หรือ ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ ในขณะที่บริการอื่นๆสามารถเอาตัวรอดได้ ปัญหาที่เกิดกับ 3G ทีโอที คือ 1.ทีโอทีไม่ควรทำโครงการ 3G แบบเป็นเฟส แต่ควรลงทุนด้วยเงินจำนวนที่สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่มากพอตอบสนองความต้องการและแข่งขันได้ 2.การกำหนดให้ต้องใช้สถานีฐานร่วมหรือโคไซต์กับเอกชน ทำให้เกิดความล่าช้ามากในการติดตั้ง

"ถือว่าปัญหาใกล้จบแล้ว สถานีฐานเหลืออีก 100 กว่าไซต์เท่านั้น ส่วนเรื่องบริการก็บันเดิลเข้าไปกับบริการบรอดแบนด์ โทร.พื้นฐานในลักษณะควอดเพลย์ร่วมกับบริการอื่นๆที่ทำกำไร ซึ่งทำให้ตอนนี้ในภูมิภาคติดตั้งแทบไม่ทันแล้ว" น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวและย้ำว่าบริการ 3G ทีโอทีต้องเน้นไปที่ลูกค้าหน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจต่างๆ โดยหากมีลูกค้าเพียง 2 ล้านรายก็เชื่อว่าคุ้มทุนแล้ว

ปัญหาที่เกิดกับ 3G เฟสแรกคือการปรับลดงบประมาณจาก 2.9 หมื่นล้านบาทเป็น 1.59 หมื่นล้านบาททำให้ได้สถานีฐานเพียง 5,200 แห่ง เพื่อให้บริการทั่วประเทศและยังถูกบังคับให้ทำโคไซต์อีกกว่าพันแห่ง

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่าสำหรับ 3G เฟส 2 นั้น ทีโอทีจะต้องระวังไม่ให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดอีกครั้ง โดยทีโอทีสามารถเลือกใช้วิธีการหาพาร์ตเนอร์เหมือนบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่เลือกเป็นพาร์ตเนอร์กับกลุ่มทรู ทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ที่ได้รับการรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายจากกสทช.แล้ว

สำหรับข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทรูและกสท นั้นเกิดขึ้นจากการที่บริษัท BFKT บริษัทลูกของกลุ่มทรูนำความถี่ 850MHz จากกสทมาใช้ร่วมกับอุปกรณ์โครงข่ายที่ BFKTสร้างมาให้กสทเช่า และนำความจุของโครงข่ายที่กสทเช่ามาขายส่งบริการให้บริษัท เรียลมูฟ ของกลุ่มทรูเพื่อทำตลาดให้บริการ 3G อีกทอดหนึ่ง โดยที่ กสทช.มีมติตรวจสอบสัญญานี้ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2555ว่าการขอเช่าโครงข่ายของ BFKT เข้าข่ายละเมิดกฏหมายมาตรา 7 และ 67 ของกฎหมายโทรคมนาคมหรือไม่ เนื่องจากสัญญาเช่านั้นเกิดขึ้นโดยไม่มีใบอนุญาตจากกสทช โดยความคืบหน้าล่าสุดของกรณีนี้คือ กสทช.ตัดสินให้สัญญานี้ไม่ผิดกฏหมาย โดยตีความให้ BFKT เป็นบริษัทโทรคมที่ให้บริการเช่าเครือข่าย 3G เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ให้บริการทั่วไป ผลการตีความนี้ทำให้ BFKT ไม่ถูกจัดเป็นโอเปอเรเตอร์ ทำให้ไม่เข้าข่ายที่ต้องใช้ใบอนุญาตในการดำเนินการใดๆ ส่งให้ทรูและกสทยังเป็นพันธมิตรกันได้ต่อไป

ส่วนวิธีการทำโครงการแบบเดิม ประเภทตั้งงบประมาณ เขียนทีโออาร์ และใช้วิธีการประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีออกชัน) นอกจากนี้จะใช้เวลานานและยังอาจเกิดการรั่วไหล ไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยกเว้นทีโอทีจะพิสูจน์ให้เห็นว่าวิธีการแบบเดิมๆ สามารถดำเนินการสร้างโครงข่ายได้เร็วและมี MVNO ที่สามารถสร้างรายได้ให้คุ้มค่าเพียงพอกับที่สถาบันการเงินจะปล่อยกู้ให้ เพราะปัจจุบันแหล่งเงินภายในประเทศจะถูกจับจองจากโครงการ 2 ล้านล้านบาทและโครงการบริหารจัดการน้ำ3.5 แสนล้านบาทไปแล้ว





TOT should seek private partners to help promote 3G service for mutual benefit, he suggested.

Regulations require state enterprises to seek government approval for any new investment projects.

Endorsements are needed for the project's feasibility draft and budget plan, taking into consideration ineffective measures under the current business environment.

"It's time for TOT to shift away from the existing red tape if it is to survive after its core concession revenue vanishes," said Gp Capt Anudith.













ข่าวที่เกี่ยวข้อง

25 เมษายน 2556 AIS3Gใหม่ ตัดสินใจ เช่าความจุ TOT3G พร้อมคุยเช่าติดตั้งเสา 15,000 - 40,000 บาท ต่อสถานี!(คาดประชุมครั้งต่อไป รู้ผลแน่นอน
http://somagawn.blogspot.com/2013/04/25-2556-ais3g-tot3g-15000-40000.html



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050937
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050909&Keyword=%A1%CA%B7
http://www.bangkokpost.com/business/news/347492/anudith-okays-tot-private-ties

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.