Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 เมษายน 2556 สารี เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค++ชี้องค์กรอนามัยโลกยังแถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่คลื่นมือถือเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งสมอง


ประเด็นหลัก


น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากข้อมูลการร้องเรียนสถานีวิทยุคมนาคม กสทช. พบว่าตั้งแต่ปี 2552-2556 มีจำนวนประมาณ 127 เรื่อง โดยเฉพาะประเด็นการร้องเรียนเกี่ยวกับความวิตกกังวลเรื่องสถานีวิทยุคมนาคม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ ก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงผลกระทบด้านเสียงดังรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการที่ผู้ให้บริการเครือข่าย (โอเปอเรเตอร์) ไม่ได้ทำความเข้าใจกับชุมชนก่อนดำเนินการตั้งสถานี

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่างมีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้ในปี 2555 องค์กรอนามัยโลกยังแถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งสมองอีกด้วย

น.ส.สารี กล่าวอีกว่า กสทช.ควรตรวจสอบว่าโอเปอเรเตอร์ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ตามกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นจึงควรรับเรื่องร้องเรียนการติดตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคมทั้งหมด หรือให้สั่งระงับการก่อสร้างหรือยุติการดำเนินการจนกว่าจะพิจารณาเรื่องร้องเรียนจนแล้วเสร็จ รวมทั้งเปิดเผยข้อร้องเรียนเรื่องการติดตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคมทั้งหมดให้สาธารณะรับทราบ

ส่วน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้นถือเป็นเรื่องที่คณะกรรมการ (บอร์ด) ได้ให้ความสำคัญอยู่แล้ว แต่เรื่องดังกล่าวมักเกิดความไม่ลงตัวกันจากการตีความระหว่างเอกชนซึ่งเป็นผู้ให้บริการและประชาชน ซึ่ง กสทช.จะได้วางกรอบเพื่อหาความเหมาะสมจากข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน เพราะการที่ไม่มีเสาสัญญาณนั้น หมายถึงการที่ประชาชนจะขาดพื้นที่การสื่อสารอย่างโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกันหากมีเสาสัญญาณที่ไม่ถูกต้องก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ กสทช.นั้นไม่ใช่การห้ามไม่ให้ตั้งเสาสัญญาณ แต่เป็นการกำหนดให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง.


_______________________________________





จี้คุมความปลอดภัยคลื่นเสามือถือ ภาคปชช.เน้นประเด็นสุขภาพ


กสทช. เปิดเวทีเสวนาประเด็นเสาสัญญาณการสื่อสาร ล้อมวงถกปัญหาคลื่นกระทบสุขภาพ เผยงานวิจัยระบุคลื่นมือถือต้นเหตุเกิดมะเร็งได้...

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดเวทีเสวนา NBTC Public Forum หัวข้อ “เสาสัญญาณการสื่อสาร : ความปลอดภัยที่ไม่ได้เลือก” โดยมีนักวิชาการอิสระ อาจารย์ ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็ก ร่วมเสวนาในประเด็นดังกล่าว

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากข้อมูลการร้องเรียนสถานีวิทยุคมนาคม กสทช. พบว่าตั้งแต่ปี 2552-2556 มีจำนวนประมาณ 127 เรื่อง โดยเฉพาะประเด็นการร้องเรียนเกี่ยวกับความวิตกกังวลเรื่องสถานีวิทยุคมนาคม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ ก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงผลกระทบด้านเสียงดังรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการที่ผู้ให้บริการเครือข่าย (โอเปอเรเตอร์) ไม่ได้ทำความเข้าใจกับชุมชนก่อนดำเนินการตั้งสถานี

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่างมีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้ในปี 2555 องค์กรอนามัยโลกยังแถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งสมองอีกด้วย

น.ส.สารี กล่าวอีกว่า กสทช.ควรตรวจสอบว่าโอเปอเรเตอร์ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ตามกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นจึงควรรับเรื่องร้องเรียนการติดตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคมทั้งหมด หรือให้สั่งระงับการก่อสร้างหรือยุติการดำเนินการจนกว่าจะพิจารณาเรื่องร้องเรียนจนแล้วเสร็จ รวมทั้งเปิดเผยข้อร้องเรียนเรื่องการติดตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคมทั้งหมดให้สาธารณะรับทราบ

ส่วน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้นถือเป็นเรื่องที่คณะกรรมการ (บอร์ด) ได้ให้ความสำคัญอยู่แล้ว แต่เรื่องดังกล่าวมักเกิดความไม่ลงตัวกันจากการตีความระหว่างเอกชนซึ่งเป็นผู้ให้บริการและประชาชน ซึ่ง กสทช.จะได้วางกรอบเพื่อหาความเหมาะสมจากข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน เพราะการที่ไม่มีเสาสัญญาณนั้น หมายถึงการที่ประชาชนจะขาดพื้นที่การสื่อสารอย่างโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกันหากมีเสาสัญญาณที่ไม่ถูกต้องก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ กสทช.นั้นไม่ใช่การห้ามไม่ให้ตั้งเสาสัญญาณ แต่เป็นการกำหนดให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/341800

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.