Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 เมษายน 2556 หมอลี่กสทช.ชี้โทรคมนาคมไทยพัง!! เชื่อเกิดสป.จำแลงมากมายแน่นอน ถ้าผล4ต่อ1หลัง // หลังโดยพลังมหาศาล อ้างผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเมือง (แก้ CAT TRUEผ่านไป277วันแล้ว)


ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวจากกสทช.กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.นี้จะมีการพิจารณาวาระสำคัญเพียงวาระเดียวคือผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัดกรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าที่ประชุมบอร์ดกทค.จะมีมติ 4 ต่อ 1 ให้บีเอฟเคทีของกลุ่มทรูพ้นผิดประเภทไร้รอยขีดข่วน ไม่ต้องโดนโทษอาญาเนื่องจากประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาตให้มัวหมอง เป็นชนักติดหลังที่อาจโดนสอยภายหลังจากป.ป.ช.



    โดยคาดว่าแนวทางออกคือ1.สรุปให้บีเอฟเคที ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมจำเป็นต้องมีใบอนุญาต โดยจะกำหนดระยะเวลาให้ยื่นขอรับใบอนุญาต และ 2.ความผิดทางอาญาก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นความผิดที่สำเร็จแล้วจากการประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาต ให้ถือว่า 'ไม่มีเจตนา' อันทำให้เป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด ไม่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ
     
       'ว่ากันว่ามีการใช้พลังมหาศาล อ้างผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเมือง จะทำกันถึงขนาดให้ได้ข้อสรุปว่าบีเอฟเคทีไม่ถือเป็นการประกอบกิจการเพราะแค่ให้เช่าอุปกรณ์ เพื่อที่จะทำให้ไร้มลทิน ไม่ต้องถูกฟื้นฝอยภายหลัง เพราะสิ่งที่กลัวกันมากคือโทษอาญา เนื่องจากหากป.ป.ช.รับลูกต่อ ก็อาจทำได้ถึงขั้นทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หรือ โมฆียะได้ ทำให้ศึกนี้แพ้ไม่ได้ ถึงระดับเบอร์ 1 ต้องออกโรงเอง'
     
       กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก บีเอฟเคที ได้ดำเนินกิจการที่อาจทำให้ผู้ใช้บริการโดยทั่วไปเข้าใจว่า เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายหนึ่ง แยกต่างหากจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจึงอาจเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อ มาตรา7แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544ดังนั้นเพื่อให้การตรวจสอบสถานะความชอบด้วยกฎหมายของบริษัทดังกล่าว จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า บีเอฟเคที เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่
     
       โดยในเวลาต่อมา พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ให้สำนักงานรองประธาน กสทช.ที่มีพล.ต.สุพิชาติ เสนานุรักษ์ ผู้ปฏิบัติงานประจำรองประธานกสทช. ทำการศึกษาพิจารณา และวิเคราะห์สถานะ บีเอฟเคที โดยได้สรุปการพิจารณา และข้อเสนอส่งให้พ.อ.เศรษฐพงค์ เมื่อวันที่ 23พ.ค.2555โดยได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรคมนาคมแก่ประชาชนโดยผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมที่ตนเองมีสิทธิการใช้ ควบ และบริหารจัดการ ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการโดยมีโครงข่ายด้วยกันทั้งสิ้น




น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมให้ความเห็นว่า ในการประชุมวันที่ 5 เม.ย.นี้ มี 2 ประเด็นที่ต้องถกเถียงกันหนักคือ 1.ในเรื่องว่าเป็นการประกอบกิจการหรือไม่ ซึ่งหากสรุปว่าบีเอฟเคทีที่ให้เช่าอุปกรณ์ ไม่ใช่การประกอบกิจการ ก็จะสร้างผลกระทบกับการกำกับดูแลของ กสทช.อย่างมหาศาล เพราะเอกชนอีกหลายบริษัท คงเดินตามแนวทางนี้ ทำให้เหมือนเกิดสัมปทานจำแลงขึ้นมาอีก และที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และทำให้เกิดปัญหา 2 มาตรฐานตามมาทันที 2.ในเรื่องเจตนา ซึ่งผลสรุปของทั้งสำนักงานและความเห็นของเลขาธิการ พยายามชี้ว่า ไม่มีเจตนากระทำผิด ทำให้เป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด ไม่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ บีเอฟเคที
     
       'ความเห็นของผม เจตนาหมายถึงต้องรู้สำนึกในการกระทำ และตั้งใจให้เกิดผล ซึ่งการเช่าใช้โครงข่ายระหว่างบีเอฟเคทีกับกสท ก็ชัดเจนแล้ว'
     
     
       'หากผลออกมา 4 ต่อ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคืออุตสาหกรรมโทรคมนาคมพัง เพราะเอกชนอีกหลายบริษัทจะเอาเยี่ยงอย่าง ตักตวงทรัพยากรจากหน่วยงานรัฐ การเมืองยิ่งแย่ เพราะจะเป็นการฟอกผิดให้จุติ ไกรฤกษ์ อดีตรมว.ไอซีที พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆที่พรรคเพื่อไทย เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประชาธิปัตย์กรณีนี้มาก่อน แต่ถึงเวลากลับเลือกกลืนน้ำลายเหม็นๆตัวเอง และคนทำเรื่องนี้ขาข้างหนึ่งแหย่ในคุก เพราะต้องมีคนร้องกรรมาธิการแน่ และเรื่องคงส่งต่อไปถึงป.ป.ช รวมทั้งโดนมาตรา 157 และที่สำคัญไม่ควรให้อิทธิพลใดๆหรือของใครก็ตาม มาครอบงำองค์กรอิสระ' แหล่งข่าวกล่าวในที่สุด






ทั้งนี้ ในรายงานเพิ่มเติมของคณะทำงานยังคงยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า บีเอฟเคที มีเจตนาใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้อนุญาต หรือประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้การดำเนินการดังกล่าวจะเข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามกฏหมายมาตรา 67 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แต่ก็เป็นไปโดยขาดเจตนา จึงเห็นว่า กทค.และ กสทช.ยังไม่ควรร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทและ กสท แต่เห็นควรให้เร่งรัดกับดูแลให้ทั้งสองบริษัทปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและ มติ กทค. ที่เกี่ยวข้อง



















________________________________________



ทรูเฮ มติบอร์ดกทค.ศุกร์นี้จ่ออุ้ม 4 ต่อ 1


       คาดบอร์ดกทค.มีมติ 4 ต่อ 1 อุ้มบีเอฟเคที ไร้มลทินไม่ต้องรับผิดทางอาญา อาศัยความเขี้ยวข้อกฎหมายเรื่องไม่มีเจตนา ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบความผิด ด้าน 'ประวิทย์' ค้านหัวชนฝา เจตนาชัดเจนขนาดนี้ ทำไมกทค.ต้องทำตัวเป็นศาลตัดสินว่าไม่ผิด ด้านคนในวงการชี้ มติอุ้ม 4 ต่อ 1 ทำอุตสาหกรรมพังเพราะจะมีเอกชนหลายรายทำตาม การเมืองแย่เท่ากับเพื่อไทยฟอกความผิดให้ประชาธิปัตย์
     
       แหล่งข่าวจากกสทช.กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.นี้จะมีการพิจารณาวาระสำคัญเพียงวาระเดียวคือผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัดกรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าที่ประชุมบอร์ดกทค.จะมีมติ 4 ต่อ 1 ให้บีเอฟเคทีของกลุ่มทรูพ้นผิดประเภทไร้รอยขีดข่วน ไม่ต้องโดนโทษอาญาเนื่องจากประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาตให้มัวหมอง เป็นชนักติดหลังที่อาจโดนสอยภายหลังจากป.ป.ช.
     
       โดยคาดว่าแนวทางออกคือ1.สรุปให้บีเอฟเคที ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมจำเป็นต้องมีใบอนุญาต โดยจะกำหนดระยะเวลาให้ยื่นขอรับใบอนุญาต และ 2.ความผิดทางอาญาก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นความผิดที่สำเร็จแล้วจากการประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาต ให้ถือว่า 'ไม่มีเจตนา' อันทำให้เป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด ไม่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ
     
       'ว่ากันว่ามีการใช้พลังมหาศาล อ้างผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเมือง จะทำกันถึงขนาดให้ได้ข้อสรุปว่าบีเอฟเคทีไม่ถือเป็นการประกอบกิจการเพราะแค่ให้เช่าอุปกรณ์ เพื่อที่จะทำให้ไร้มลทิน ไม่ต้องถูกฟื้นฝอยภายหลัง เพราะสิ่งที่กลัวกันมากคือโทษอาญา เนื่องจากหากป.ป.ช.รับลูกต่อ ก็อาจทำได้ถึงขั้นทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หรือ โมฆียะได้ ทำให้ศึกนี้แพ้ไม่ได้ ถึงระดับเบอร์ 1 ต้องออกโรงเอง'
     
       กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก บีเอฟเคที ได้ดำเนินกิจการที่อาจทำให้ผู้ใช้บริการโดยทั่วไปเข้าใจว่า เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายหนึ่ง แยกต่างหากจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจึงอาจเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อ มาตรา7แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544ดังนั้นเพื่อให้การตรวจสอบสถานะความชอบด้วยกฎหมายของบริษัทดังกล่าว จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า บีเอฟเคที เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่
     
       โดยในเวลาต่อมา พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ให้สำนักงานรองประธาน กสทช.ที่มีพล.ต.สุพิชาติ เสนานุรักษ์ ผู้ปฏิบัติงานประจำรองประธานกสทช. ทำการศึกษาพิจารณา และวิเคราะห์สถานะ บีเอฟเคที โดยได้สรุปการพิจารณา และข้อเสนอส่งให้พ.อ.เศรษฐพงค์ เมื่อวันที่ 23พ.ค.2555โดยได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรคมนาคมแก่ประชาชนโดยผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมที่ตนเองมีสิทธิการใช้ ควบ และบริหารจัดการ ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการโดยมีโครงข่ายด้วยกันทั้งสิ้น
     
       เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMAย่านความถี่ 800 MHz Band A ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม นั้นได้ทำสัญญามอบหมายให้บีเอฟเคที เป็นผู้ดำเนินการจัดหา และติดตั้งเครื่องอุปกรณ์โครงข่ายสำหรับการให้บริการ CDMA ในเขตพื้นที่ส่วนกลาง 25 จังหวัด ดังนั้น การดำเนินการของ บีเอฟเคที ตามสัญญาเช่าและว่าจ้างให้ปรับปรุง ซ่อมแซม ดูแลรักษาเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคม ระหว่าง กสทและบีเอฟเคที เพื่อดำเนินการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายสำหรับการให้บริการ CDMA จึงเป็นกรณีที่ กสท ได้ทำสัญญามอบหมายหน้าที่ส่วนหนึ่งให้ บีเอฟเคที ดำเนินการกำกับดูแล และได้มอบสิทธิและหน้าที่บางส่วนให้แก่คู่สัญญาในการดำเนินการให้บริการแก่ บุคคลอื่น
     
       อย่างไรก็ตามการใช้โครงข่ายและคลื่นความถี่เพื่อให้บริการกับประชาชนทั้งหมด ดังนั้นการตีความว่า บีเอฟเคที ไม่มีสิทธิใดๆในการใช้คลื่นความถี่ในโครงข่ายโดยสิ้นเชิง ย่อมไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่บริหารจัดการระบบเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้เครื่องโทรคมนาคมติดต่อถึงกันได้โดยอาศัยปัจจัยเหล่านี้ จึงสามารถเรียกได้ว่า บีเอฟเคที เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่มีลักษณะให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้เช่าใช้ Network Provider เท่านั้น
     
       ดังนั้นการกระทำดังกล่าวของ บีเอฟเคที จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ตามมาตรา7แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
     
       นอกจากนี้ทีมกฎหมายของสำนักรองประธาน ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในกิจการการโทรคมนาคม (การประมูล3G) ทำให้สาธารณะและผู้ประกอบการรายอื่นเสียประโยชน์จึงควรนำเสนอให้คณะอนุกรรมการฯ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาต่อไป
     
       'เข้าใจว่าเอกสารชิ้นนี้ถูกเก็บเข้าลิ้นชัก ไม่ได้มีการนำไปพิจารณาแต่อย่างใด เพราะชี้ให้เห็นความผิดชัดเจนมาก'
     
       น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมให้ความเห็นว่า ในการประชุมวันที่ 5 เม.ย.นี้ มี 2 ประเด็นที่ต้องถกเถียงกันหนักคือ 1.ในเรื่องว่าเป็นการประกอบกิจการหรือไม่ ซึ่งหากสรุปว่าบีเอฟเคทีที่ให้เช่าอุปกรณ์ ไม่ใช่การประกอบกิจการ ก็จะสร้างผลกระทบกับการกำกับดูแลของ กสทช.อย่างมหาศาล เพราะเอกชนอีกหลายบริษัท คงเดินตามแนวทางนี้ ทำให้เหมือนเกิดสัมปทานจำแลงขึ้นมาอีก และที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และทำให้เกิดปัญหา 2 มาตรฐานตามมาทันที 2.ในเรื่องเจตนา ซึ่งผลสรุปของทั้งสำนักงานและความเห็นของเลขาธิการ พยายามชี้ว่า ไม่มีเจตนากระทำผิด ทำให้เป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด ไม่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ บีเอฟเคที
     
       'ความเห็นของผม เจตนาหมายถึงต้องรู้สำนึกในการกระทำ และตั้งใจให้เกิดผล ซึ่งการเช่าใช้โครงข่ายระหว่างบีเอฟเคทีกับกสท ก็ชัดเจนแล้ว'
     
       นอกจากนี้หากตัดสินในเรื่องเจตนา ก็อยากตั้งคำถามสำนักงานกสทช.ว่ากรณี 28บริษัทนำเข้ามือถือจากจีนที่ผิดกฎหมายเรื่องใช้เอกสารรับรองจากประเทศจีน ซึ่งอาจจะไม่รู้หรือไม่มีเจตนา ทำไมสำนักงานต้องไปร้องทุกข์กล่าวโทษทั้ง 28 บริษัท แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมตัดสินต่อไป ซึ่งกรณีบีเอฟเคทีใหญ่กว่าเรื่องนำเข้ามือถือมาก
     
       'รายเล็กรายน้อยกลับไม่สนใจไม่ดูเจตนา แต่บีเอฟเคทีกลับอ้างต้องดูเจตนา ผมตั้งข้อสังเกตว่าเจตนากับเรื่องถูกหรือผิดกฎหมายมันคนละเรื่องกัน เพราะบีเอฟเคทีเจตนาเห็นชัดเจนแล้ว ทำไมไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษไปก่อน แล้วปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้พิจารณา ซึ่งท้ายสุดศาลอาจตัดสินว่าไม่ผิดก็ได้ ไม่ใช่หน้าที่ของกสทช.ที่จะตัดสินเอง'
     
       นอกจากนี้ผลสรุปของคณะทำงานฯ ที่เสนอกทค.พิจารณาในส่วนผลกระทบกับกทค. หากเห็นด้วยกับคณะทำงานฯ ที่ไม่ต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษกับบีเอฟเคที อาจโดน 1.กทค.และสำนักงานกสทช.อาจถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ที่บัญญัติว่า 'ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 2 พันบาทถึง 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ' 2.กทค.และสำนักงานกสทช. อาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น วุฒิสภา และ ป.ป.ช.และ 3.ผู้ที่มีส่วนได้เสียจากกรณีดังกล่าวอาจฟ้องกทค.และสำนักงานกสทช.
     
       'หากผลออกมา 4 ต่อ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคืออุตสาหกรรมโทรคมนาคมพัง เพราะเอกชนอีกหลายบริษัทจะเอาเยี่ยงอย่าง ตักตวงทรัพยากรจากหน่วยงานรัฐ การเมืองยิ่งแย่ เพราะจะเป็นการฟอกผิดให้จุติ ไกรฤกษ์ อดีตรมว.ไอซีที พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆที่พรรคเพื่อไทย เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประชาธิปัตย์กรณีนี้มาก่อน แต่ถึงเวลากลับเลือกกลืนน้ำลายเหม็นๆตัวเอง และคนทำเรื่องนี้ขาข้างหนึ่งแหย่ในคุก เพราะต้องมีคนร้องกรรมาธิการแน่ และเรื่องคงส่งต่อไปถึงป.ป.ช รวมทั้งโดนมาตรา 157 และที่สำคัญไม่ควรให้อิทธิพลใดๆหรือของใครก็ตาม มาครอบงำองค์กรอิสระ' แหล่งข่าวกล่าวในที่สุด
     
http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000040179

____________________________________________



จับตากทค.ลงมติ4:1ตัดสินBFKT พ้นข้อหาไม่มีใบอนุญาตให้เช่าโครงข่ายมือถือ3G


มีรายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)แจ้งว่า ในวันที่ 5 เมษายน 2556 นี้ คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะบอร์ดกทค.วาระพิเศษ เพื่อพิจารณากรณี บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด หรือ BFKT ทำสัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคม กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA (เอชเอสพีเอ) บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ว่า มีใบอนุญาตประกอบกิจการหรือไม่

ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทช. เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กทค.ในวาระดังกล่าว ในเบื้องต้นประเมินว่า ความเห็นของบอร์ดจะลงมติว่า บีเอฟเคทีไม่มีความผิด โดยคะแนนเสียงที่ลงมติจะเป็นคะแนนเสียง 4:1 และเสียงข้างน้อยที่มาจาก นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เพียงคนเดียว หรืออาจมีแนวโน้มที่จะไม่ลงมติเห็นชอบ

ก่อนหน้านี้บอร์ด กทค. ที่มี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. เป็นประธาน ได้มอบหมายให้ คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมกรณีของบีเอฟเคที ว่า มีใบอนุญาตประกอบกิจการหรือไม่ แต่ กทค.ยังมีความขัดแย้งกันเอง จึงให้คณะทำงานสรุปผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหาก กทค.วินิจฉัยไปตามความเห็นของคณะทำงาน

ทั้งนี้ ในรายงานเพิ่มเติมของคณะทำงานยังคงยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า บีเอฟเคที มีเจตนาใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้อนุญาต หรือประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้การดำเนินการดังกล่าวจะเข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามกฏหมายมาตรา 67 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แต่ก็เป็นไปโดยขาดเจตนา จึงเห็นว่า กทค.และ กสทช.ยังไม่ควรร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทและ กสท แต่เห็นควรให้เร่งรัดกับดูแลให้ทั้งสองบริษัทปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและ มติ กทค. ที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้ให้ความเห็นประกอบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า โดยให้กทค.มีคำสั่งให้บีเอฟเคทีดำเนินการขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดเวลา พร้อมทั้งเร่งรัดให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 46โดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นแนบท้ายของคณะทำงานยังระบุด้วยว่า หาก กทค.และกสทช.มีมติไปตามความเห็นของคณะทำงานจะต้องยอมรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะอาจถูกร้องทุกข์กล่าวโทษทั้งในส่วนของ กทค.และสำนักงาน กสทช.ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ที่ต้องระวางโทษตั้งแต่ 1-10 ปี และอาจถูกตรวจสอบทั้งจากวุฒิสภา หรือคณะกรรมการป.ป.ช. ได้

http://www.naewna.com/business/47144

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.