Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 เมษายน 2556 กสทช. เตรียมเร่งเล็งปรับ Must Carry คาดใช้เวลา 1-2 เดือนอย่างช้า


ประเด็นหลัก



ทั้งนี้ ยอมรับว่าเวทีครั้งนี้ มีบางประเด็นที่ฝ่ายเทคนิคไม่สามารถตอบคำถามได้ และมีบางที่หากทำตามประกาศหลักเกณฑ์รับชมโทรทัศน์เป็นการทั่วไป หรือมัสต์แคร์รี่ (Must Carry Rule) ทั้งหมด ทางด้านเทคนิคก็ไม่สามารถทำได้ ขณะที่ด้านการเงินต้นทุนจะสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีทางออกเบื้องต้นว่า ควรมีการออกประกาศใหม่ หรือปรับแก้ไขในบางส่วน ซึ่งอาจกระทบและทำให้กรอบระยะเวลาการประมูลช่องธุรกิจยืดออกไปจากเดิมช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้



“เบื้องต้นเห็นว่าควรออกประกาศใหม่ เพื่อให้มีความชัดเจน ทำงานได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลาปรับประมาณ 1-2 เดือน และมีผลกระทบกรอบเวลาการประมูลช่องธุรกิจแน่นอน ซึ่งถ้าขั้นตอนการออกประกาศใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็เดินต่อไม่ได้ ส่วนราคาของทีมวิจัยก็ต้องรื้อใหม่ทั้งหมด เพราะไม่สอดคล้องกับแผนแล้ว” นายธวัชชัย กล่าว




________________________________________


กสทช. เล็งปรับ Must Carry เปิดทางออกประมูลช่องธุรกิจ


กสทช. ยอมรับกฎ Must Carry ทำประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจสะดุด ชี้ติดขัดด้านเทคนิค ต้องใช้เวลาปรับแก้ 1-2 เดือน ขณะที่ต้องรื้อผลศึกษาจากราคาตั้งต้นการประมูลรอบสอง ส่อแววเลื่อนประมูลจาก ส.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 3 เม.ย. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) เรื่องโครงสร้างและข้อกำหนดเพดานจำนวนช่องรายการสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทกิจการทางธุรกิจ โดยมีผู้ประกอบการจากหลายกลุ่มในกิจการสื่อเข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ ฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี เช่น เนชั่น ไทยรัฐ แกรมมี่ อาร์เอส เวิร์คพ้อยท์ สามารถ และไทยคม

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า เวทีครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูลแข่งขันเพื่อครอบครองช่องรายการ ในระบบดิจิตอลประเภทช่องธุรกิจ เพื่อเตรียมตัว และวางแผนทางการเงินเกี่ยวกับต้นทุนในการประกอบกิจการ และรายละเอียด กลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากเจ้าหน้าที่ของ กสทช.เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจและเตรียมวางแผนการเงินในการประมูล พร้อมทั้งเป็นห่วงการเกิดการกระจุกตัวในการประมูลด้วย




ทั้งนี้ ยอมรับว่าเวทีครั้งนี้ มีบางประเด็นที่ฝ่ายเทคนิคไม่สามารถตอบคำถามได้ และมีบางที่หากทำตามประกาศหลักเกณฑ์รับชมโทรทัศน์เป็นการทั่วไป หรือมัสต์แคร์รี่ (Must Carry Rule) ทั้งหมด ทางด้านเทคนิคก็ไม่สามารถทำได้ ขณะที่ด้านการเงินต้นทุนจะสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีทางออกเบื้องต้นว่า ควรมีการออกประกาศใหม่ หรือปรับแก้ไขในบางส่วน ซึ่งอาจกระทบและทำให้กรอบระยะเวลาการประมูลช่องธุรกิจยืดออกไปจากเดิมช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้



“เบื้องต้นเห็นว่าควรออกประกาศใหม่ เพื่อให้มีความชัดเจน ทำงานได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลาปรับประมาณ 1-2 เดือน และมีผลกระทบกรอบเวลาการประมูลช่องธุรกิจแน่นอน ซึ่งถ้าขั้นตอนการออกประกาศใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็เดินต่อไม่ได้ ส่วนราคาของทีมวิจัยก็ต้องรื้อใหม่ทั้งหมด เพราะไม่สอดคล้องกับแผนแล้ว” นายธวัชชัย กล่าว




อย่างไรก็ตาม เวทีครั้งนี้ ยังให้ผู้ประกอบการสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ กสทช.กำหนดประเภท ช่องรายการ จำนวน 24 ช่อง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว 3 ช่อง ช่องข่าว 7 ช่อง ช่องรายการทั่วไป คุณภาพคมชัดปกติ (สแตนดาร์ด) 7 ช่อง และช่องรายการทั่วไป คุณภาพคมชัดสูง (ไฮเดฟิเนชั่น) 7 ช่อง โดยกำหนดห้ามคนที่จะประมูลช่องข่าว ห้ามประมูลช่องไฮเดฟิเนชั่น อีกทั้ง มีการโหวตการกำหนดเพดานจำนวนช่องรายการ โดยแบบที่ได้รับการโหวตสูงสุด คือ แบบ 3 (CAP-2B) เงื่อนไข 2 ช่อง ไฮเดฟ +สแตนดาร์ด ไม่แบ่งประเภทเนื้อหา จำนวนผู้เล่น 17-24 คน จำนวนผู้ประกอบการรายใหญ่  7 ราย ที่จะกลายเป็นขนาดกลาง ส่วนการถือครองของรายใหญ่ 2 ช่อง ส่วนการกำกับดูแล คือ ลดความยุ่งยากในการติดตามและกำกับดูแล แต่มีข้อเสีย คือช่องรายการที่มีแรงจูงใจในการทำกำไรต่ำ มีโอกาสเกิดได้น้อย



สำหรับ ราคาตั้งต้นการประมูลตามรูปแบบเดิมที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยศึกษานั้น พบว่า ช่องไฮเดฟิเนชั่น ช่องละ 2 พันล้านบาท ช่องทั่วไป เริ่มต้นที่ไม่เกิน 500 ล้านบาท ส่วนช่องข่าวเริ่มต้นไม่เกิน 250 ล้านบาท ส่วนช่องเด็กไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยล่าสุดหากมีการปรับเปลี่ยนแล้วผลที่ได้มาจะเป็นครั้งที่ 3



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/336630

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.