Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 เมษายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กฏไม่ชัด!!! มาตรฐานกล่อง ถ้าเอา2มาตรฐานรวมกันต้นทุนสูง++ซัมซุงพร้อมผลิต่ระบบ DVB-T2 แล้ว


ประเด็นหลัก




ทั้งนี้ กฎมัสต์แคร์รี่ ดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนว่าโครงข่ายจะต้องทำหน้าที่ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน รวมทั้งสัญญาณดาวเทียมในเวอร์ชั่นเดิม หรือ DVB-S1 หรือไม่ เพราะกล่องรับสัญญาณ (Set top box) ของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ 60-70% เป็นกล่องระบบ S1 รับสัญญาณภาพ MPEG-2 ขณะที่มาตรฐานการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล กำหนดให้เป็นเวอร์ชั่น 2 หรือ DVB-S2 ซึ่งเป็นสัญญาณภาพ MPEG-4

หากผู้ให้บริการโครงข่ายจะต้องนำสัญญาณทีวีดิจิทัล ไปแพร่ภาพตามกฎมัสต์แคร์รี่ ทั้งแพลตฟอร์มภาคพื้นดิน, ผ่านดาวเทียมเวอร์ชั่น S1 และเวอร์ชั่น S2 รวมทั้งไฟเบอร์ออปติค จะทำให้มีต้นทุนโครงข่ายสูงมาก โดยผู้ให้บริการโครงข่ายจะต้องมาเรียกเก็บค่าเช่าส่งสัญญาณจากผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลและได้รับใบอนุญาต ดังนั้นหากมีต้นทุนโครงข่ายสูง อาจจะเกิดการกระจุกตัวของผู้ได้รับใบอนุญาตอยู่ในกลุ่มรายใหญ่เป็นหลัก และเป็นการปิดโอกาสรายเล็กและรายกลางที่จะเข้าสู่ตลาด






นายรัชตะ สุทธาพัฒน์ธานนท์ ผู้อำนวยการธุรกิจภาพและเสียง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าซัมซุง เปิดเผยว่า บริษัทรอความชัดเจนเกี่ยวกับสเปกทีวีดิจิตอลจากทางภาครัฐ แม้ว่าขณะนี้จะแจ้งถึงการใช้ระบบสัญญา DVB-T2 แล้ว แต่ผู้ประกอบการต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก

ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิตของซัมซุงสามารถผลิตทีวีดิจิตอลได้เลย เนื่องจากมีโนฮาวพร้อมแล้ว อีกทั้งปัจจุบันโรงงานได้ผลิตทีวีดิจิตอลเพื่อส่งออกอยู่แล้ว โดยกำลังผลิตโรงงานในไทยขณะนี้ แบ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก 70-80% และป้อนตลาดในประเทศ 20-30%

ขณะที่แผนบุกตลาดทีวีในปีนี้ บริษัทมุ่งขยายกลุ่มทีวีจอใหญ่ขนาดตั้งแต่ 46 นิ้วขึ้นไป เพื่อรองรับกับตลาดที่เติบโต 2 เท่า จากปี 2554 ตลาดทีวีจอใหญ่มีจำนวน 2.7 แสนเครื่อง และคาดว่าสัดส่วนตลาดจะเพิ่มจาก 20-30% เป็นมากกว่า 30% ในปีนี้จากตลาดทีวีรวม 1.1 ล้านเครื่อง














__________________________________________________




ไลเซ่นทีวีดิจิทัล48ช่องสะดุด จ่อแก้มัสต์แคร์รี่

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กสทช.เปิดเวทีโฟกัสกรุ๊ปเอกชน ประมูลช่อง"ทีวีดิจิทัล"สะดุด ปัญหากฎมัสต์แคร์รี่ กำหนดเกณฑ์แพร่ภาพช่องรายการทุกแพลตฟอร์ม ดันต้นทุนโครงข่ายพุ่ง


วานนี้ (3 เม.ย.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้ประกอบการทั้งด้านกิจการบรอดแคสต์ และ กิจการโทรคมนาคม กว่า 30 ราย ที่สนใจเข้าประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ประเภทช่องธุรกิจรวม 24 ช่อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูล

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. และ ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับการแข่งขันฯ กล่าวว่า ปัจจุบันทีมวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่ศึกษามูลค่าคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัล เพื่อนำมากำหนดเป็นราคาตั้งต้นประมูลทีวีดิจิทัล ช่องธุรกิจ ขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดราคาตั้งต้นประมูลได้ เนื่องจากยังไม่สามารถกำหนดอัตราค่าเช่าโครงข่าย (Multiplexer : Mux) ที่จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องรับผิดชอบส่งสัญญาณให้ครอบคลุมภาครับสัญญาณประเภทใดบ้าง จากประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ มัสต์ แคร์รี่ (Must Carry) ที่ประกาศใช้เพื่อแก้ปัญหาจอดำรายการลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี
เนื่องจาก ข้อ 5 ของกฎมัสต์แคร์รี่ กำหนดให้ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ต้องให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์เป็นการทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระบบภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียม โดยผู้ให้บริการโครงข่ายเรียกเก็บค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายอย่างเหมาะสม เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ

ทั้งนี้ กฎมัสต์แคร์รี่ ดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนว่าโครงข่ายจะต้องทำหน้าที่ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน รวมทั้งสัญญาณดาวเทียมในเวอร์ชั่นเดิม หรือ DVB-S1 หรือไม่ เพราะกล่องรับสัญญาณ (Set top box) ของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ 60-70% เป็นกล่องระบบ S1 รับสัญญาณภาพ MPEG-2 ขณะที่มาตรฐานการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล กำหนดให้เป็นเวอร์ชั่น 2 หรือ DVB-S2 ซึ่งเป็นสัญญาณภาพ MPEG-4

หากผู้ให้บริการโครงข่ายจะต้องนำสัญญาณทีวีดิจิทัล ไปแพร่ภาพตามกฎมัสต์แคร์รี่ ทั้งแพลตฟอร์มภาคพื้นดิน, ผ่านดาวเทียมเวอร์ชั่น S1 และเวอร์ชั่น S2 รวมทั้งไฟเบอร์ออปติค จะทำให้มีต้นทุนโครงข่ายสูงมาก โดยผู้ให้บริการโครงข่ายจะต้องมาเรียกเก็บค่าเช่าส่งสัญญาณจากผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลและได้รับใบอนุญาต ดังนั้นหากมีต้นทุนโครงข่ายสูง อาจจะเกิดการกระจุกตัวของผู้ได้รับใบอนุญาตอยู่ในกลุ่มรายใหญ่เป็นหลัก และเป็นการปิดโอกาสรายเล็กและรายกลางที่จะเข้าสู่ตลาด

เล็งแก้กฎมัสต์แคร์รี่

นายธวัชชัย กล่าวว่า จากการรับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการมีความกังวลเรื่องต้นทุนการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล ไปออกอากาศในทุกแพลตฟอร์มตามกฎมัสต์แคร์รี่ ที่ยังไม่มีความชัดเจน ดังนั้นจะเสนอให้มีการออกประกาศหลักเกณฑ์มัสต์แคร์รี่ ฉบับใหม่ โดยให้ยกเลิกการใช้ประกาศบางข้อในประกาศมัสต์แคร์รี่เดิมที่ไม่ชัดเจน

โดยประกาศมัสต์แคร์รี่ใหม่จะมีความชัดเจนในเรื่องบทบาทของโครงข่ายว่าจะต้องทำหน้าที่ส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล ไปยังระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน DVB-T2 และสัญญาณผ่านดาวเทียม DVB-S2 เพื่อความชัดเจนในการกำหนดราคาค่าส่งสัญญาณโครงข่าย เนื่องจากในเชิงเทคนิค กล่องรับสัญญาณเดิม รุ่น S1 ไม่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิทัล ประเภท HD
พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ Non Exclusive List ในรายการลิขสิทธิ์ที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับชม โดยไม่มีการปิดกั้นในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อป้องกันปัญหาจอดำแทน

คาดแผนออกใบอนุญาต 48 ช่อง "เลื่อน"

ทั้งนี้ แนวทางการออกประกาศมัสต์แคร์รี่ใหม่ คาดจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน เพราะมีขั้นตอนการเปิดรับฟังความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นประกาศหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญต่อผู้ให้บริการโครงข่าย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกลุ่มแรกที่จะต้องได้รับใบอนุญาต

"หากยังไม่สามารถให้ใบอนุญาตโครงข่ายได้ ก็ยังไม่สามารถให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทั้ง 48 ช่อง ในประเภทสาธารณะ ธุรกิจ และ ชุมชนได้ เชื่อว่าการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล จะเลื่อนจากกรอบเวลาเดิมทุกประเภท"นายธวัชชัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าการแก้ไขหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความชัดเจน ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องและชัดเจนด้านกฎหมาย เพราะหากเน้นให้ความสำคัญที่ความเร็วและดำเนินการอย่างผิดขั้นตอน อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ที่อาจถูกฟ้องร้องให้ล้มกระบวนการจัดสรรคลื่นฯ ได้ในอนาคต

ชงโมเดลเพดานถือครองช่องใหม่

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการแข่งขันฯ ได้เสนอรูปแบบการกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการทีวีดิจิทัล ธุรกิจ 24 ช่อง พบว่า ในเวทีโฟกัส กรุ๊ป กลุ่มผู้ประกอบการให้ความสนใจ 2 รูปแบบในอัตราใกล้เคียงกัน คือ แบบที่ 1 กำหนด แคป3 ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีมติไปแล้ว คือ การกำหนดเพดานถือครองช่องสูงสุด 3 ช่องต่อราย โดยห้ามช่อง HD ถือครองช่องข่าว

และแบบที่ 3 กำหนดเพดานถือครองสูงสุด 2 ช่องต่อราย โดยเป็นเจ้าของได้ทั้งช่อง HD และ SD โดยไม่มีการแบ่งประเภทเนื้อหาของช่อง เปิดโอกาสให้ผู้ประมูลได้เลือกผลิตรายการประเภทใดก็ได้ ทั้งเด็ก ข่าว วาไรตี้ โดยรูปแบบนี้จะลดความยุ่งยากในการกำกับดูแลเนื้อหา


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130404/498780/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B
8%8B%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%
E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A548%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%
B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%94-
%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%
B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B
5%E0%B9%88.html



__________________________________________________




"ซัมซุง"รอสเปกทีวีดิจิตอลพร้อมผลิตทันที

ซัมซุง รอภาครัฐฟันธงสเปกทีวีดิจิตอล มั่นใจพร้อมผลิตทันที เปิดเกมบุกทีวีจอยักษ์-สมาร์ตทีวี

นายรัชตะ สุทธาพัฒน์ธานนท์ ผู้อำนวยการธุรกิจภาพและเสียง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าซัมซุง เปิดเผยว่า บริษัทรอความชัดเจนเกี่ยวกับสเปกทีวีดิจิตอลจากทางภาครัฐ แม้ว่าขณะนี้จะแจ้งถึงการใช้ระบบสัญญา DVB-T2 แล้ว แต่ผู้ประกอบการต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก

ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิตของซัมซุงสามารถผลิตทีวีดิจิตอลได้เลย เนื่องจากมีโนฮาวพร้อมแล้ว อีกทั้งปัจจุบันโรงงานได้ผลิตทีวีดิจิตอลเพื่อส่งออกอยู่แล้ว โดยกำลังผลิตโรงงานในไทยขณะนี้ แบ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก 70-80% และป้อนตลาดในประเทศ 20-30%

ขณะที่แผนบุกตลาดทีวีในปีนี้ บริษัทมุ่งขยายกลุ่มทีวีจอใหญ่ขนาดตั้งแต่ 46 นิ้วขึ้นไป เพื่อรองรับกับตลาดที่เติบโต 2 เท่า จากปี 2554 ตลาดทีวีจอใหญ่มีจำนวน 2.7 แสนเครื่อง และคาดว่าสัดส่วนตลาดจะเพิ่มจาก 20-30% เป็นมากกว่า 30% ในปีนี้จากตลาดทีวีรวม 1.1 ล้านเครื่อง

“การเติบโตทีวีจอใหญ่มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคซื้อทีวีจอใหญ่ขึ้น จากช่วงหลายปีที่ผ่านมาซื้อทีวีขนาด 32 นิ้ว และเมื่อปี 2555 เริ่มซื้อทีวีขนาด 40 นิ้ว และคาดว่าปีนี้จะซื้อทีวีขนาด 46 นิ้วขึ้นไป” นายรัชตะ กล่าว

ขณะเดียวกันในกลุ่มสินค้าทีวีทั้งหมด บริษัทจะเน้นสมาร์ตทีวี 80-90% เพื่อตอกย้ำความจุดแข็งความเป็นผู้นำด้านสมาร์ตทีวี รวมถึงแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนจากทีวีธรรมดาเป็นสมาร์ตทีวีมากขึ้น ทำให้คาดว่าปีนี้ตลาดสมาร์ตทีวี|จะเพิ่มจาก 40% เป็น 50% หรือเติบโต 30% จากมูลค่าตลาด 1 หมื่นล้านบาทนอกจากนี้ ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว ซัมซุง สมาร์ตทีวี ทั้งหมด 24 รายการ โดยมีไฮไลต์รุ่น F8000 และยูเอชดีทีวี ขนาดหน้าจอ 85 นิ้ว ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเปิดตัวในไทยเป็นแห่งที่ 3 รองจากอเมริกาและเกาหลี ขณะที่ตลาดทีวีมูลค่า 3 หมื่นล้านบาท ปีนี้เติบโตไม่ถึง 10%



http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B
8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/214374/%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%
B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%81
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B
8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9C%
E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.