Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป278วันแล้ว) กทค.เตรียมฟ้อกผิด TRUE H (BFTK) พรุ่งนี้++ล่าสุดจากรายงานพบ!!BFTKผิดแต่ไม่เจตนา


ประเด็นหลัก


ตามที่ปรากฏข่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 5 เมษายนนี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะพิจารณาวาระการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะทำงานของสำนักงาน กสทช. เสนอรายงานฉบับแก้ไขล่าสุดมาแล้ว หลังจากรายงานฉบับก่อนถูก กทค. ตีกลับให้ไปแก้ไขภายใต้ข้อสังเกต 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้หาเหตุผลสนับสนุนว่า เหตุใดจึงเชื่อว่าบีเอฟเคทีไม่มีเจตนาทำผิด และพิจารณาข้อกฎหมายว่า กทค. จำเป็นต้องร้องทุกข์กล่าวโทษหรือไม่ 2) ให้ความกระจ่างในประเด็นที่คณะทำงานชี้ว่า การดำเนินกิจการในลักษณะในเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เนื่องจากที่ผ่านมา จากยุค กทช. จนถึง กสทช. ยังไม่เคยมีแนวนโยบายหรือคำตัดสินที่ชัดเจนว่าการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ 3) ประเด็นการให้ความหมายของคำว่า “บุคคลอื่นทั่วไป” ที่ปรากฏในมาตรา 4 แห่ง พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ 4) ให้รวบรวมรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และมติ กทช. ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบจากการวินิจฉัยของ กทค. เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ ตามรายงานล่าสุดของคณะทำงานยังคงยืนยันว่า การดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้นบริษัทบีเอฟเคที จึงเข้าข่ายกระทำความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 67 (3) แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ อันเป็นความผิดทางอาญา มีโทษทั้งจำและปรับ แต่นอกจากพิจารณาพฤติกรรมแล้ว คณะทำงานเสนอว่า กทค. ควรพิจารณาในส่วนของเจตนาประกอบด้วย หากไม่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน ก็ไม่ควรร้องทุกข์กล่าวโทษ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า ในส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบกรณี กทค. เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะทำงานที่จะไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทบีเอฟเคที คณะทำงานก็ชี้เองว่าจะมีผล 3 ประการคือ 1) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกกล่าวหามีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีโทษถึงจำคุก 2) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น วุฒิสภา ปปช. เป็นต้น และ 3) ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้อาจฟ้อง กทค. และสำนักงาน กสทช.

นอกจากนี้ ในการประชุม กทค. เมื่อวันพุธที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กสทช. ยังได้นำเสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาระหว่างบีเอฟเคทีกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ กทค. มีมติสั่งให้แก้ไขเพื่อไม่ให้ขัดต่อมาตรา 46 แห่ง พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง กทค. มีมติตั้งแต่เมื่อกลางปี 2555 โดยให้ดำเนินการใน 30 วัน แต่ต่อมา บมจ. กสท ได้ขอขยายระยะเวลาหลายครั้ง และล่าสุดมีการแจ้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ว่ายังไม่สามารถจัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่คู่สัญญาได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้วและได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อยืนยันถึงเจตนาที่จะแก้ไขสัญญาต่อไป

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. รายงานว่าได้พิจารณาทบทวนบันทึกความเข้าใจของคู่สัญญาแล้ว พบว่า แนวการแก้ไขสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมที่คู่สัญญาตกลงกันยังไม่ชัดเจนว่า บมจ. กสท จะมีสิทธิในการควบคุมสิทธิการใช้งานเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทบีเอฟเคทีอย่างสมบูรณ์ผ่าน Network Operation Center (NOC) เนื่องจากร่างสัญญาแก้ไขยังคงให้สิทธิแก่บริษัทบีเอฟเคทีสามารถปฏิบัติงานกับเครื่องและอุปกรณ์ได้ ส่วนตามสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA คู่สัญญาได้ตกลงให้ข้อผูกพันการรับซื้อความจุสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำลองของ บจ. เรียล มูฟ ได้ทั้งสิ้นกว่า 13.33 ล้านราย หรือใช้ความจุได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งทำให้การกำหนดความจุตามสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้นสำนักงาน กสทช. จึงเห็นว่าเงื่อนไขของข้อสัญญายังไม่ชัดเจนว่าสอดคล้องและเป็นไปตามมติ กทค.











 ตัดภาพมาที่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นดีกว่าวันที่ 5 เม.ย.จะมีการพิจารณาเรื่องผลสอบข้อกฎหมายบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) ที่สร้างโครงข่ายมือถือให้บริษัท กสท โทรคมนาคม เช่ามาให้บริการขายปลีกขายส่งกับบริษัท เรียลมูฟ แค่เขียนยังงง นับประสาอะไรกับกลุ่มสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ที่มีมากมายหลายฉบับ โดยหากแยกย่อยนำมาปฏิบัติทีละฉบับ ก็ไม่สามารถให้บริการได้ ต้องนำมามัดรวมกันถึงจะผลิตเป็นบริการให้ ณ เดช กับน้องยาย่า มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ โฆษณาชวนเชื่อดึงดูดลูกค้าได้
     
       งานนี้แว่วว่า หมอลี่ กำลังจะเป็นพระเอกเรื่องโดดเดี่ยวผู้น่ารักอีกครั้ง หลังกทค. 4 คนจะลงมติให้บีเอฟเคที ไร้มลทิน ตามที่คณะทำงานฯและเลขาฯฐากร เสนอมา ประเภทถึงแม้บีเอฟเคทีจะได้ชื่อว่าเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม จำเป็นต้องมีใบอนุญาต แต่ไม่มีความผิดทางอาญา ไม่ต้องให้สำนักงานกสทช.ไปร้องทุกข์กล่าวโทษแต่อย่างใด เพราะไม่มีเจตนา อย่างมากก็แค่มาขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องเท่านั้น
     
       งานนี้หมอลี่ แจกแจงให้ฟังชัดเจนว่า ตามมาตรา 59 ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า ' การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผลว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น' แล้วประเภทที่สร้างโครงข่ายผลิตแอร์ไทม์จนมาให้บริการได้ มันไม่รู้สำนึกตรงไหน หรือ มันไม่ประสงค์ผลตรงไหน
     
       เห็นได้ชัดว่าเจตนามันมี มันบรรลุแล้ว แต่จะผิดหรือถูกกฎหมาย ก็ไปว่ากันตามกระบวนการ ไม่ใช่กทค.มาตัดสินเอง ซึ่งการพ่วงเรื่องเจตนาเข้ามาด้วย ก็น่าสงสัยแล้วตั้งแต่เลขาฯฐากร ทำหนังสือแย้งผลสอบคณะทำงานฯ ครั้งแรก ลงวันที่ 13 ก.ย. 2555 โดยให้ไปหาข้อเท็จจริงและรายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า 'หากคณะทำงานเห็นว่ามีการกระทำความผิดซึ่งมีโทษทางอาญา ในรายงานจะต้องแสดงถึงพฤติกรรมแวดล้อมที่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่ากสทกับบีเอฟเคที เข้าข่ายว่าได้กระทำความผิดโดยมีเจตนาอย่างไร'
     
       ตลกร้ายกว่านั้นคือ หมอลี่ขอผลสอบคณะทำงานฯ ครั้งแรก (ที่สรุปว่ากสท กับบีเอฟเคที มีการดำเนินกิจการในลักษณะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานใช้ความถี่โดยไม่ได้รับ อนุญาต ตามมาตรา 11 วรรค 3 ของพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 และความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตและใช้ความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 67(3) ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544
     
       และกสท มีส่วนกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่บีเอฟเคที ใช้ความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตและใช้ความถี่เพื่อการประกอบกิจการ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 86 พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายอาญา ประกอบมาตรา 11 วรรค 3 พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 และมาตรา 67 (3) พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ซึ่งสำนักงานกสทช.จะต้องดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษตามกฎหมายต่อไป) จากเลขาฯฐากรตั้งแต่เดือนก.ย.2555 เพิ่งจะมาได้ตอนเดือนมี.ค.2556 เรียกได้ว่าเป็นกสทช.คนเดียวในกทค.ที่ไม่เห็นเอกสารฉบับเต็ม
     
       ศึกบีเอฟเคทีครั้งนี้ ถือว่าใหญ่กว่าศึกวันทรงชัยเยอะ เพราะจะเป็นบทพิสูจน์ศักดิ์ศรีขององค์กรอิสระว่าจะเลือกตัดสินใจบนความถูกต้องหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของกลุ่มทุนหรือกลุ่มการเมืองรายใด เฉพาะแค่ผลสอบคณะทำงานฯ ก็มีถึง 3 ชุด ต้องปรับต้องเปลี่ยนต้องชงให้กลมกล่อม แต่สิ่งที่ยังน่ายกย่องคณะทำงานฯ ที่ต้องทำผลสรุปภายใต้แรงกดดัน ยังให้ความเห็นผลกระทบกทค.ว่าหากไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษตามที่คณะทำงานฯมีความเห็น กทค.อาจเจอ ม.157 และกระบวนการตรวจสอบจากกรรมาธิการ รวมทั้งป.ป.ช. ด้วย เรียกว่าให้สรุปตามใจก็ได้ แต่ระวังตัวล่ะกัน
     
 
















__________________________________________________






งานนี้เชียร์ 'หมอลี่' (Cyber Talk)


ประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอย แค่ระยะเวลาผ่านไปไม่กี่เดือน จากการประมูลความถี่ 2.1 GHz ของกสทช.เมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา หากยังจำกันได้ น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เป็นเสียงเดียวที่ออกมาคัดค้าน เงื่อนไขที่เสียงส่วนใหญ่ในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เห็นชอบให้ปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) จากเดิม 20 MHz ให้เหลือ 15 MHz โดยไม่มีการปรับราคาเริ่มต้นการประมูลที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก 4,500 ล้านบาท แม้จะมีหน่วยงานและนักวิชาการหลายแขนงออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นราคาที่ต่ำเกินไป หรืออย่างไม่น่าเกลียดที่สุดก็สามารถตั้งราคาได้เท่ากับที่ปรึกษาเสนอมาคือประมาณ 6,440 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต
     
       หมอลี่หรือน.พ.ประวิทย์ ฟันธงล่วงหน้าว่าการปรับSpectrum Cap เหลือ15 MHz ในขณะที่ราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาตละ 4,500 ล้านบาทไม่มีการเพิ่มขึ้น จะเป็นการลดระดับการแข่งขันการประมูลอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้คาดได้ว่าราคาชนะการประมูลจะไม่แตกต่างจากราคาเริ่มต้น
     
       ตัดภาพมาที่ผลการประมูลปรากฎว่ามีการเคาะราคาเพิ่มขึ้นเพียง 3 ใบอนุญาต จากทั้งหมด 9 ใบอนุญาต (ใบอนุญาตละ 5 MHz รวมทั้งหมดจำนวนความถี่ 45 MHz) แบ่งเป็น 4,950 ล้านบาท 2 ใบ และ 4,725 ล้านบาท 1 ใบ รวมมูลค่า 14,625 ล้านบาท ซึ่งผู้ที่เคาะราคา 3 ใบ นี้ คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (บริษัทลูกของเอไอเอส) ส่วนอีก 6 ใบที่เหลือ ราคาสุดท้ายยังคงอยู่ที่ราคาตั้งต้นการประมูลใบละ 4,500 ล้านบาท โดยเรียล ฟิวเจอร์ (บริษัทลูกของทรู) และ ดีแทค เนทเวอร์ค (บริษัทลูกของดีแทค) เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาทรายละ 3 ใบ
     
       สรุปแล้วราคาประมูล 9ใบอนุญาตความถี่ 2.1 GHz ได้เงินรวม 41,625 ล้านบาท ขยับจากราคากลาง 40,500 ล้านบาท หรือเพิ่มจากราคาเริ่มต้นเพียง 2.38% มาจากใบอนุญาตของบริษัทลูกเอไอเอสเท่านั้น
     
       ครั้งนั้นหมอลี่ ไม่ต้องพึ่งจิตสัมผัส ไม่ต้องเปิดไพ่ทาโร หรือ ไม่ต้องนั่งทางใน ก็คาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้าได้แม่นยำ แต่ไม่ต้องสนใจกสทช.ผู้ทรงเกียรติท่านอื่นจะมีเหตุผลอะไร ถือว่ามันผ่านไปแล้ว
     
       ตัดภาพมาที่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นดีกว่าวันที่ 5 เม.ย.จะมีการพิจารณาเรื่องผลสอบข้อกฎหมายบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) ที่สร้างโครงข่ายมือถือให้บริษัท กสท โทรคมนาคม เช่ามาให้บริการขายปลีกขายส่งกับบริษัท เรียลมูฟ แค่เขียนยังงง นับประสาอะไรกับกลุ่มสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ที่มีมากมายหลายฉบับ โดยหากแยกย่อยนำมาปฏิบัติทีละฉบับ ก็ไม่สามารถให้บริการได้ ต้องนำมามัดรวมกันถึงจะผลิตเป็นบริการให้ ณ เดช กับน้องยาย่า มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ โฆษณาชวนเชื่อดึงดูดลูกค้าได้
     
       งานนี้แว่วว่า หมอลี่ กำลังจะเป็นพระเอกเรื่องโดดเดี่ยวผู้น่ารักอีกครั้ง หลังกทค. 4 คนจะลงมติให้บีเอฟเคที ไร้มลทิน ตามที่คณะทำงานฯและเลขาฯฐากร เสนอมา ประเภทถึงแม้บีเอฟเคทีจะได้ชื่อว่าเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม จำเป็นต้องมีใบอนุญาต แต่ไม่มีความผิดทางอาญา ไม่ต้องให้สำนักงานกสทช.ไปร้องทุกข์กล่าวโทษแต่อย่างใด เพราะไม่มีเจตนา อย่างมากก็แค่มาขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องเท่านั้น
     
       งานนี้หมอลี่ แจกแจงให้ฟังชัดเจนว่า ตามมาตรา 59 ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า ' การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผลว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น' แล้วประเภทที่สร้างโครงข่ายผลิตแอร์ไทม์จนมาให้บริการได้ มันไม่รู้สำนึกตรงไหน หรือ มันไม่ประสงค์ผลตรงไหน
     
       เห็นได้ชัดว่าเจตนามันมี มันบรรลุแล้ว แต่จะผิดหรือถูกกฎหมาย ก็ไปว่ากันตามกระบวนการ ไม่ใช่กทค.มาตัดสินเอง ซึ่งการพ่วงเรื่องเจตนาเข้ามาด้วย ก็น่าสงสัยแล้วตั้งแต่เลขาฯฐากร ทำหนังสือแย้งผลสอบคณะทำงานฯ ครั้งแรก ลงวันที่ 13 ก.ย. 2555 โดยให้ไปหาข้อเท็จจริงและรายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า 'หากคณะทำงานเห็นว่ามีการกระทำความผิดซึ่งมีโทษทางอาญา ในรายงานจะต้องแสดงถึงพฤติกรรมแวดล้อมที่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่ากสทกับบีเอฟเคที เข้าข่ายว่าได้กระทำความผิดโดยมีเจตนาอย่างไร'
     
       ตลกร้ายกว่านั้นคือ หมอลี่ขอผลสอบคณะทำงานฯ ครั้งแรก (ที่สรุปว่ากสท กับบีเอฟเคที มีการดำเนินกิจการในลักษณะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานใช้ความถี่โดยไม่ได้รับ อนุญาต ตามมาตรา 11 วรรค 3 ของพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 และความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตและใช้ความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 67(3) ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544
     
       และกสท มีส่วนกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่บีเอฟเคที ใช้ความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตและใช้ความถี่เพื่อการประกอบกิจการ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 86 พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายอาญา ประกอบมาตรา 11 วรรค 3 พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 และมาตรา 67 (3) พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ซึ่งสำนักงานกสทช.จะต้องดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษตามกฎหมายต่อไป) จากเลขาฯฐากรตั้งแต่เดือนก.ย.2555 เพิ่งจะมาได้ตอนเดือนมี.ค.2556 เรียกได้ว่าเป็นกสทช.คนเดียวในกทค.ที่ไม่เห็นเอกสารฉบับเต็ม
     
       ศึกบีเอฟเคทีครั้งนี้ ถือว่าใหญ่กว่าศึกวันทรงชัยเยอะ เพราะจะเป็นบทพิสูจน์ศักดิ์ศรีขององค์กรอิสระว่าจะเลือกตัดสินใจบนความถูกต้องหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของกลุ่มทุนหรือกลุ่มการเมืองรายใด เฉพาะแค่ผลสอบคณะทำงานฯ ก็มีถึง 3 ชุด ต้องปรับต้องเปลี่ยนต้องชงให้กลมกล่อม แต่สิ่งที่ยังน่ายกย่องคณะทำงานฯ ที่ต้องทำผลสรุปภายใต้แรงกดดัน ยังให้ความเห็นผลกระทบกทค.ว่าหากไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษตามที่คณะทำงานฯมีความเห็น กทค.อาจเจอ ม.157 และกระบวนการตรวจสอบจากกรรมาธิการ รวมทั้งป.ป.ช. ด้วย เรียกว่าให้สรุปตามใจก็ได้ แต่ระวังตัวล่ะกัน
     
       งานนี้เชียร์ หมอลี่เต็มตัว เพราะแพ้โหวตในที่ประชุม ไม่ใช่หมายถึงสังคมไทย และ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม จะต้องแพ้กับเหลี่ยมกฎหมาย ที่ไร้ยางอาย !!

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000040693


__________________________________________________




จับตาประชุมบอร์ด กทค. พรุ่งนี้ (5 เม.ย.)


5 เม.ย.บอร์ด กทค.ประชุมพิจารณาวาระการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิร์ตซ กับ กสท โทรคมนาคมฯ
ผลตรวจการแก้ไขสัญญาบีเอฟเคทีล่าสุด พบ สิทธิควบคุมและบริหารจัดการโครงข่าย รวมถึงสิทธิการควบคุมเครื่องและอุปกรณ์ยังเป็นของบริษัทผู้เช่า และเรียลมูฟมีสิทธิใช้ความจุถึงร้อยละ 80 จึงยังไม่สามารถสางปมผิดกฎหมาย มาตรา 46 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯ พ.ศ. 2553 ส่วนผลตรวจสอบสำนักงาน กสทช. ฟันธงชัด เข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดตามมาตรา 67 พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ภายใต้ข้อเท็จจริงมัดแน่นนี้ จึงต้องจับตา กทค. ว่าจะมีมติอย่างไรในวันที่ 5 เม.ย. นี้

ตามที่ปรากฏข่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 5 เมษายนนี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะพิจารณาวาระการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะทำงานของสำนักงาน กสทช. เสนอรายงานฉบับแก้ไขล่าสุดมาแล้ว หลังจากรายงานฉบับก่อนถูก กทค. ตีกลับให้ไปแก้ไขภายใต้ข้อสังเกต 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้หาเหตุผลสนับสนุนว่า เหตุใดจึงเชื่อว่าบีเอฟเคทีไม่มีเจตนาทำผิด และพิจารณาข้อกฎหมายว่า กทค. จำเป็นต้องร้องทุกข์กล่าวโทษหรือไม่ 2) ให้ความกระจ่างในประเด็นที่คณะทำงานชี้ว่า การดำเนินกิจการในลักษณะในเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เนื่องจากที่ผ่านมา จากยุค กทช. จนถึง กสทช. ยังไม่เคยมีแนวนโยบายหรือคำตัดสินที่ชัดเจนว่าการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ 3) ประเด็นการให้ความหมายของคำว่า “บุคคลอื่นทั่วไป” ที่ปรากฏในมาตรา 4 แห่ง พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ 4) ให้รวบรวมรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และมติ กทช. ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบจากการวินิจฉัยของ กทค. เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ ตามรายงานล่าสุดของคณะทำงานยังคงยืนยันว่า การดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้นบริษัทบีเอฟเคที จึงเข้าข่ายกระทำความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 67 (3) แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ อันเป็นความผิดทางอาญา มีโทษทั้งจำและปรับ แต่นอกจากพิจารณาพฤติกรรมแล้ว คณะทำงานเสนอว่า กทค. ควรพิจารณาในส่วนของเจตนาประกอบด้วย หากไม่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน ก็ไม่ควรร้องทุกข์กล่าวโทษ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า ในส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบกรณี กทค. เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะทำงานที่จะไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทบีเอฟเคที คณะทำงานก็ชี้เองว่าจะมีผล 3 ประการคือ 1) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกกล่าวหามีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีโทษถึงจำคุก 2) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น วุฒิสภา ปปช. เป็นต้น และ 3) ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้อาจฟ้อง กทค. และสำนักงาน กสทช.

นอกจากนี้ ในการประชุม กทค. เมื่อวันพุธที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กสทช. ยังได้นำเสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาระหว่างบีเอฟเคทีกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ กทค. มีมติสั่งให้แก้ไขเพื่อไม่ให้ขัดต่อมาตรา 46 แห่ง พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง กทค. มีมติตั้งแต่เมื่อกลางปี 2555 โดยให้ดำเนินการใน 30 วัน แต่ต่อมา บมจ. กสท ได้ขอขยายระยะเวลาหลายครั้ง และล่าสุดมีการแจ้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ว่ายังไม่สามารถจัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่คู่สัญญาได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้วและได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อยืนยันถึงเจตนาที่จะแก้ไขสัญญาต่อไป

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. รายงานว่าได้พิจารณาทบทวนบันทึกความเข้าใจของคู่สัญญาแล้ว พบว่า แนวการแก้ไขสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมที่คู่สัญญาตกลงกันยังไม่ชัดเจนว่า บมจ. กสท จะมีสิทธิในการควบคุมสิทธิการใช้งานเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทบีเอฟเคทีอย่างสมบูรณ์ผ่าน Network Operation Center (NOC) เนื่องจากร่างสัญญาแก้ไขยังคงให้สิทธิแก่บริษัทบีเอฟเคทีสามารถปฏิบัติงานกับเครื่องและอุปกรณ์ได้ ส่วนตามสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA คู่สัญญาได้ตกลงให้ข้อผูกพันการรับซื้อความจุสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำลองของ บจ. เรียล มูฟ ได้ทั้งสิ้นกว่า 13.33 ล้านราย หรือใช้ความจุได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งทำให้การกำหนดความจุตามสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้นสำนักงาน กสทช. จึงเห็นว่าเงื่อนไขของข้อสัญญายังไม่ชัดเจนว่าสอดคล้องและเป็นไปตามมติ กทค.

http://www.dailynews.co.th/technology/195276

______________________________________________



สัญญาบีเอฟเคทียังสางไม่จบ จับตามติ กทค. สวนข้อเท็จจริงหรือไม่


ผลตรวจการแก้ไขสัญญาบีเอฟเคทีล่าสุด พบ สิทธิควบคุมและบริหารจัดการโครงข่าย รวมถึงสิทธิการควบคุมเครื่องและอุปกรณ์ยังเป็นของบริษัทผู้เช่า และเรียลมูฟมีสิทธิใช้ความจุถึงร้อยละ 80 จึงยังไม่สามารถสางปมผิดกฎหมาย มาตรา 46 พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯ พ.ศ. 2553 ส่วนผลตรวจสอบสำนักงาน กสทช. ฟันธงชัด เข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดตามมาตรา 67 พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ภายใต้ข้อเท็จจริงมัดแน่นนี้ จึงต้องจับตา กทค. ว่าจะมีมติอย่างไรในวันที่ 5 เม.ย. นี้


ตามที่ปรากฏข่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 5 เมษายนนี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือบอร์ด กทค. จะพิจารณาวาระการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ ๘๐๐ MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะทำงานของสำนักงาน กสทช. เสนอรายงานฉบับแก้ไขล่าสุดมาแล้ว หลังจากรายงานฉบับก่อนถูก กทค. ตีกลับให้ไปแก้ไขภายใต้ข้อสังเกต 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้หาเหตุผลสนับสนุนว่า เหตุใดจึงเชื่อว่าบีเอฟเคทีไม่มีเจตนาทำผิด และพิจารณาข้อกฎหมายว่า กทค. จำเป็นต้องร้องทุกข์กล่าวโทษหรือไม่ 2) ให้ความกระจ่างในประเด็นที่คณะทำงานชี้ว่า การดำเนินกิจการในลักษณะในเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เนื่องจากที่ผ่านมา จากยุค กทช. จนถึง กสทช. ยังไม่เคยมีแนวนโยบายหรือคำตัดสินที่ชัดเจนว่าการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ 3) ประเด็นการให้ความหมายของคำว่า “บุคคลอื่นทั่วไป” ที่ปรากฏในมาตรา 4 แห่ง พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ 4) ให้รวบรวมรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และมติ กทช. ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบจากการวินิจฉัยของ กทค. เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป


ทั้งนี้ ตามรายงานล่าสุดของคณะทำงานยังคงยืนยันว่า การดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ตาม พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้นบริษัทบีเอฟเคที จึงเข้าข่ายกระทำความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 67 (3) แห่ง พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ อันเป็นความผิดทางอาญา มีโทษทั้งจำและปรับ แต่นอกจากพิจารณาพฤติกรรมแล้ว คณะทำงานเสนอว่า กทค. ควรพิจารณาในส่วนของเจตนาประกอบด้วย หากไม่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน ก็ไม่ควรร้องทุกข์กล่าวโทษ


อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า ในส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบกรณี กทค. เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะทำงานที่จะไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทบีเอฟเคที คณะทำงานก็ชี้เองว่าจะมีผล 3 ประการคือ 1) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกกล่าวหามีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีโทษถึงจำคุก 2) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น วุฒิสภา ปปช. เป็นต้น และ 3) ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้อาจฟ้อง กทค. และสำนักงาน กสทช.


นอกจากนี้ ในการประชุม กทค. เมื่อวันพุธที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กสทช. ยังได้นำเสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาระหว่างบีเอฟเคทีกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ กทค. มีมติสั่งให้แก้ไขเพื่อไม่ให้ขัดต่อมาตรา 46 แห่ง พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง กทค. มีมติตั้งแต่เมื่อกลางปี 2555 โดยให้ดำเนินการใน 30 วัน แต่ต่อมา บมจ. กสท ได้ขอขยายระยะเวลาหลายครั้ง และล่าสุดมีการแจ้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ว่ายังไม่สามารถจัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่คู่สัญญาได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้วและได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อยืนยันถึงเจตนาที่จะแก้ไขสัญญาต่อไป


ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. รายงานว่าได้พิจารณาทบทวนบันทึกความเข้าใจของคู่สัญญาแล้ว พบว่า แนวการแก้ไขสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมที่คู่สัญญาตกลงกันยังไม่ชัดเจนว่า บมจ. กสท จะมีสิทธิในการควบคุมสิทธิการใช้งานเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทบีเอฟเคทีอย่างสมบูรณ์ผ่าน Network Operation Center (NOC) เนื่องจากร่างสัญญาแก้ไขยังคงให้สิทธิแก่บริษัทบีเอฟเคทีสามารถปฏิบัติงานกับเครื่องและอุปกรณ์ได้ ส่วนตามสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA คู่สัญญาได้ตกลงให้ข้อผูกพันการรับซื้อความจุสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำลองของ บจ. เรียล มูฟ ได้ทั้งสิ้นกว่า 13.33 ล้านราย หรือใช้ความจุได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งทำให้การกำหนดความจุตามสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้นสำนักงาน กสทช. จึงเห็นว่าเงื่อนไขของข้อสัญญายังไม่ชัดเจนว่าสอดคล้องและเป็นไปตามมติ กทค.


ภายใต้ข้อเท็จจริงเหล่านี้ จึงน่าสนใจจับตาเป็นอย่างยิ่งว่าที่ประชุม กทค. วันที่ 5 เมษายนจะเลือกทิศทางเดินตามเนื้อผ้าอย่างถูกต้องหรือจะเล่นบทผู้กล้าเสี่ยงสวนทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ข้อมูลจาก NBTC
http://www.adslthailand.com/board/showthread.php?t=62977


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.