Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 เมษายน 2556 กสทช.เตรียมง้อค่ายมือถือลดค่าบริการมือถือ3G 15%อีกรอบ!!! ล่าสุดมียอดโอนย้ายค่ายไม่ต่ำกว่า80,000-100,000 ราย ต้องลงทุนเพิ่ม200ลบ.


ประเด็นหลัก


   พ.อ.เศรษฐพงค์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย จะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาการให้บริการการโอนย้ายให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการ โดยการดำเนินการดังกล่าว คาดว่าจะต้องลงทุนเพิ่มรายละ 200 ล้านบาท ตามที่ผู้ประกอบการได้หารือร่วมกัน
          ในปัจจุบัน ตัวกลางการโอนย้าย หรือเคลียริ่งเฮาส์ สามารถรองรับการโอนย้ายเลขหมายของผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย รวมกันได้จำนวน 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย มีการโอนย้ายรวมกันเพียง 3,000 รายต่อวัน เท่านั้น.



โดย กทค.จะติดตามการโอนย้ายอย่างใกล้ชิด และสามารถสั่งการให้ผู้ประกอบการลงทุนเพื่อขยายระบบ เพื่อรองรับการโอนย้ายหมายเลขอย่างเต็มที่ ซึ่งการลงทุนปรับระบบในครั้งนี้ผู้ประกอบการแต่ละรายจะลงทุนในเบื้องต้นที่ 200 ล้านบาท พร้อมกันนี้ให้ผู้ให้บริการไปทบทวนค่าบริการโอนย้ายภายในสัปดาห์หน้า และเสนอมาให้ทาง กทค.เห็นชอบ จากปัจจุบันราคาค่าบริการโอนย้ายที่ 79 บาทต่อเลขหมาย โดยหากผู้ให้บริการเสนอราคาสูงกว่าในปัจจุบันและสูงเกินเพดานราคาที่ทาง กทค.กำหนดแล้ว ผู้ให้บริการต้องแสดงต้นทุน เพื่อคำนวณราคาที่เหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นต้องการให้เป็นการเจรจาตกลงกันมากกว่าจะกำหนดเป็นข้อบังคับทางกฎหมายขณะที่ค่าบริการ 3จี ที่กำหนดให้ลดลง 15% ทั้งบริการด้านเสียงและดาตา จากอัตราค่าบริการปัจจุบัน จะเสนอให้การประชุมบอร์ด กทค.ครั้งต่อไป นำเสนอรายละเอียดราคากลางค่าบริการ เพื่อนำเป็นหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติให้กับผู้ให้บริการนอกจากนี้ ได้ทำร่างประกาศเรื่องการให้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 3 ประกาศ

โดยในเบื้องต้นการลงทุนขยายความสามารถในการโอนย้ายเลขหมายดังกล่าว จะต้องใช้งบประมาณราว 200ล้านบาทต่อราย สำหรับความจุ 40,000 เลขหมายต่อวัน โดยคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ ระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. กทค.จะต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด



มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในการโอนย้ายเลขหมาย ที่ผ่านมามี บริษัท เคลียร์ริ่ง เฮ้าส์ จำกัด และบริษัท เทเลคอร์เดีย ทำหน้าที่รวบรวมจำนวนผู้ขอย้ายค่าย ก่อนนห้านี้เพิ่มปริมาณการย้ายเลขหมายวันละไม่ต่ำกว่า 80,000-100,000 ราย ในเบื้องต้นคาดว่า หลังจากบริการ3G ภายใต้ กสทช. เปิดให้บริการในเดือนหน้านี้แล้ว จะมีลูกค้าย้ายมาอยู่ในระบบ 3G ใหม่ราว 6 ล้านราย










__________________________________________________




บี้3ค่าย ย้ายมือถือเบอร์เดิม ต้อง4หมื่นเลขหมาย/วัน


มติบอร์คกทค. เห็นชอบย้ายค่ายเบอร์เดิมทุกเครือข่ายไม่น้อยกว่า 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน เพิ่มช่องโอนย้ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ คาดผู้ประกอบการลงทุนเพิ่ม 200 ล้านบาทต่อราย ถกบีเอฟเคที 5 เม.ย.นี้...

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค. (3 เม.ย) ว่า ที่ประชุม กทค. มีมติอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ได้เห็นชอบ 3 ร่างประกาศที่สำคัญ ก่อนการนำสู่ที่ประชุม กสทช.ต่อไป

ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าวประกอบด้วย ร่างประกาศ กสทช. การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ พ.ศ.... ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน พ.ศ.... และได้เห็นชอบการขอใช้โครงข่ายโทรคมนาคมสำหรับรับส่งสัญญาณโทรคมนาคมไร้สาย เพื่อผู้ให้บริการรายอื่น ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

ประธาน กทค. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานความคืบหน้า การปรับปรุงและพัฒนาบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (นัมเบอร์พอร์ตทีบิลิตี้) ที่ประชุมได้เห็นชอบรูปแบบการโอนย้ายเลขหมายแบบ General Port โดยผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการให้สามารถรองรับความต้องการการโอนย้ายเลขหมายได้ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน ผู้ให้บริการ และสามารถขยายขีดความสามารถรองรับปริมาณการโอนย้ายได้ตามความต้องการจริงรวมกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและการเปิดให้บริการระบบ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย จะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาการให้บริการการโอนย้ายให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการ และมอบหมายให้ผู้ประกอบการทุกราย ไปปรับปรุงการโอนย้ายและร่างเงื่อนไขแนวทางการปฏิบัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับมติกทค.ด้วย โดยการดำเนินการดังกล่าว คาดว่าจะต้องทุนเพิ่มรายละ 200 ล้านบาท ตามที่ผู้ประกอบการได้หารือร่วมกัน

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวอีกว่า เห็นชอบการเพิ่มช่องทางการให้บริการยื่นคำขอการโอนย้ายโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ คอลเซ็นเตอร์ และ เอสเอ็มเอส โดยทุกช่องทางต้องมีการจัดทำระบบความปลอดภัยและการตรวจสอบการโอนย้าย ทั้งนี้ได้ให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายเร่งดำเนินการพัฒนาปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาโดยให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อความมั่นใจในการใช้บริการอย่างต่อเนื่องของประชาชน อย่างไรก็ตาม บอร์ด กทค.จะมีการประชุมวาระพิเศษเรื่องบีเอฟเคที ในวันที่ 5 เม.ย.นี้

 http://m.thairath.co.th/content/tech/336770


____________________________________________





โอนลูกค้าไป3จีวันละ4หมื่นเบอร์


กทค.ไฟเขียว ให้ลูกค้าโอนย้ายเลขหมายวันละ 4 หมื่นเลขหมาย เตรียมพร้อมเปิด 3จี เดือน เม.ย.นี้พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเห็นชอบการบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือเอ็มเอ็นพี (โมบาย นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี) ในการโอนย้ายลูกค้า สำหรับการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยผู้ให้บริการ 3จี สรุปร่วมกันจะใช้โอนย้ายปกติ (เจเนอรัล พอร์ต) ซึ่งโอนย้ายลูกค้าได้ 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน และสามารถรองรับลูกค้าที่ต้องการโอนย้ายจาก 2จี ไป 3จี ที่จะเริ่มเปิดให้บริการเดือน เม.ย.นี้อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ผู้ให้บริการเสนอจะใช้แบบการโอนย้ายอัตโนมัติที่สามารถทำได้ 1 แสนเลขหมายต่อวัน (อะกรี พอร์ต) แต่ในที่สุดผู้ประกอบการไม่สามารถประเมินความต้องการโอนเลขหมายที่แท้จริงได้ เพราะปัจจุบันการโอนย้ายเลขหมายอยู่ที่ 3,000 เลขหมายต่อวันต่อผู้ประกอบการ ถือว่ามีจำนวนไม่มากนักขณะที่การโอนย้ายเลขหมาย 3จี ในช่วงแรกนั้น เชื่อว่าจะมีลูกค้าจะขอโอนย้ายจำนวนมาก โดย กทค.จะติดตามการโอนย้ายอย่างใกล้ชิด และสามารถสั่งการให้ผู้ประกอบการลงทุนเพื่อขยายระบบ เพื่อรองรับการโอนย้ายหมายเลขอย่างเต็มที่ ซึ่งการลงทุนปรับระบบในครั้งนี้ผู้ประกอบการแต่ละรายจะลงทุนในเบื้องต้นที่ 200 ล้านบาท พร้อมกันนี้ให้ผู้ให้บริการไปทบทวนค่าบริการโอนย้ายภายในสัปดาห์หน้า และเสนอมาให้ทาง กทค.เห็นชอบ จากปัจจุบันราคาค่าบริการโอนย้ายที่ 79 บาทต่อเลขหมาย โดยหากผู้ให้บริการเสนอราคาสูงกว่าในปัจจุบันและสูงเกินเพดานราคาที่ทาง กทค.กำหนดแล้ว ผู้ให้บริการต้องแสดงต้นทุน เพื่อคำนวณราคาที่เหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นต้องการให้เป็นการเจรจาตกลงกันมากกว่าจะกำหนดเป็นข้อบังคับทางกฎหมายขณะที่ค่าบริการ 3จี ที่กำหนดให้ลดลง 15% ทั้งบริการด้านเสียงและดาตา จากอัตราค่าบริการปัจจุบัน จะเสนอให้การประชุมบอร์ด กทค.ครั้งต่อไป นำเสนอรายละเอียดราคากลางค่าบริการ เพื่อนำเป็นหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติให้กับผู้ให้บริการนอกจากนี้ ได้ทำร่างประกาศเรื่องการให้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 3 ประกาศ ได้แก่ 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... 2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ พ.ศ. ... และ 3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน พ.ศ. ... เพื่อรองรับการเปิดบริการ 3จี และทำให้ผู้ประกอบการเกิดการแข่งขันแบบเสรีเมื่อเปิดให้บริการ 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช. วันที่ 19 เม.ย.นี้ และเมื่อ กสทช. เห็นชอบก็จะประกาศเป็น|ราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้สำหรับความคืบหน้าของสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่สิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้ โดย กทค.ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิตรซ์ เพื่อให้บริการ 4จี ด้วยเทคโนโลยีแอลทีอี โดยคณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าว จะประชุมครั้งแรกช่วงเดือน เม.ย.นี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุป แนวทางการดูแลลูกค้าและการประมูล รวมทั้งจะไม่ทำให้ลูกค้าเกิดปัญหาซิมดับ ด้านคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ชุดก่อนหน้านี้ได้ยกเลิก เนื่องจากการทำงานสิ้นสุดลงและได้เสนอแนวทางมาให้ กทค.แล้ว

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/214221/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B
8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9B3%E0%B8%88%
E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B04%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8
%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C




_________________________________________________________


กทค.ให้ 5 เอกชนขยายการย้ายค่ายเป็นวันละ 4 หมื่นเลขหมายต่อราย



       กทค.มีมติให้ 5 ผู้ประกอบการมือถือควักเงินรายละ200 ล้านบาทลงทุนขยายนัมเบอร์พอร์ทเพิ่มเป็น40,000 เลขหมายต่อวันต่อราย พร้อมเล็งทบทวนค่าธรรมเนียมการโอนย้าย
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่าบอร์ดกทค.มีมติให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 5 รายคือเอไอเอส ดีแทค ทรู ทีโอทีและกสท ขยายความสามารถในการโอนย้ายเลขหมายให้ได้รายละ 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน ด้วยวิธีการโอนย้ายเลขหมายแบบปกติ (General Port) คือ มีการโอนย้ายเลขหมายตามความต้องการและเปิดกว้างให้ลูกค้าทุกระบบสามารถโอนย้ายถึงกันได้
     
       โดยในเบื้องต้นการลงทุนขยายความสามารถในการโอนย้ายเลขหมายดังกล่าว จะต้องใช้งบประมาณราว 200ล้านบาทต่อราย สำหรับความจุ 40,000 เลขหมายต่อวัน โดยคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ ระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. กทค.จะต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด
     
       ทั้งนี้ในปัจจุบันปริมาณการโอนย้ายเลขหมายของผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย ได้เพียงวันละ 3,000 รายทั้งตลาด แต่คาดว่าหลังเปิดให้บริการ3G บนความถี่ 2.1GHz จะทำให้มีความต้องการโอนย้ายเลขหมายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากผู้ประกอบการที่เป็นรัฐวิสาหกิจไม่สามารถขยายความจุการโอนย้ายได้ กทค.จะออกคำสั่งบังคับต่อไป เนื่องจากมีความต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก
     
       นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะทบทวนเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายจากเดิมที่ผู้ประกอบการเสนอมาที่ 79 บาทจากปัจจุบันที่เรียกเก็บอยู่ 99 บาทต่อเลขหมาย โดยอาจจะเก็บค่าธรรมเนียมน้อยกว่าที่เอกชนเสนอก็เป็นไปได้ แต่ผู้ประกอบการแต่ ละรายจะต้องส่งตัวเลขต้นทุนที่แท้จริงเสนอต่อกทค. เพื่อที่จะพิจารณาว่าค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายเป็นธรรมหรือไม่
     
       ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบร่างประกาศ 3 ร่าง คือ 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(อินฟราแชร์ริ่ง) 2. ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ พ.ศ.... (โรมมิ่ง) 3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน พ.ศ....( MVNO) ภายหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ไปแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปจะนำทั้ง3ร่างฯเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 19 เม.ย.นี้เพื่อให้พิจารณามีมติเห็นชอบ จากนั้นคาดว่าจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือนเม.ย.นี้เพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป
     
       'ร่างประกาศทั้ง 3 ร่าง มีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก เป็นการปรับให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในเรื่องของข้อกฏหมาย เรื่องขอบเขตของสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนที่กสทได้เสนอในเรื่องของประกาศอินฟราแชร์ริ่ง ที่ให้ใช้โครงข่ายผ่านมาที่ กสท แต่เพียงผู้เดียว ตามมาตรา 80แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ 2544 ซึ่งเรื่องนี้จะต้องเป็นการเจรจาระหว่างกสทกับผู้ประกอบการเอง จึงไม่สามารถนำไปปรับแก้ไขในร่างประกาศได้'
     
       ประชุมยังมีมติเห็นชอบในหลักการณ์สำหรับข้อเสนอเรื่องการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมไร้สายหรือการโรมมิ่งของดีแทคที่จะเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ในไตรมาส 3/2556และให้บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จัดส่งข้อเสนอเช่นเดียวกันกับดีแทคในขณะที่เอไอเอสยังอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว

http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000040651&Keyword=%a1%ca%b7


__________________________________________________





กสทช.หนุนผู้ใช้2Gเปลี่ยนเป็น3G



พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค มีมติเห็นชอบตามที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส,บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ,  ทรูมูฟ, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ,บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เสนอให้มีการโอนย้ายเลขหมายแบบอัตโนมัติ จากระบบ 2 G ไป 3 G

ในการ กทค.ได้กำชับให้ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องมีจำนวนความจุในการโอนย้ายเลขหมาย ต่อวัน จำนวน 40,000 เลขหมาย  โดยปัจจุบันปริมาณการโอนย้ายเลขหมายของผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย วันละ 3,000 ราย ซึ่งหากผู้ประกอบการที่เป็นรัฐวิสหกิจที่ไม่สามารถขยายความจุการโอนย้ายได้ กทค.จะออกคำสั่งบังคับ เนื่องจากมีความต้องการของผู้บริโภคมาก ในเบื้องต้น การลงทุนขยายความจุ จะต้องใช้งบประมาณราว 200  ล้านบาท ต่อความจุ 40,000 เลขหมาย คาดว่าหลังจากเปิดให้บริการ 3 G อย่างเป็นทางการ ระหว่างเดือน พฤษภาคม- มิถุนายน2556 ทาง กทค.จะต้องติดตามผลการโอนย้ายเลขหมายอย่างใกล้ชิด

ส่วนการทบทวนเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมาย จาก 99 บาทต่อเลขหมาย ให้เหลือ 79 บาท นั้น พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ แต่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องส่งตัวเลขต้นทุนที่แท้จริงเสนอต่อ กทค. เพื่อให้จะพิจารณาว่า ต้นทุนดังกล่าวเป็นต้นทุนที่เป็นธรรมหรือไม่

มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในการโอนย้ายเลขหมาย ที่ผ่านมามี บริษัท เคลียร์ริ่ง เฮ้าส์ จำกัด และบริษัท เทเลคอร์เดีย ทำหน้าที่รวบรวมจำนวนผู้ขอย้ายค่าย ก่อนนห้านี้เพิ่มปริมาณการย้ายเลขหมายวันละไม่ต่ำกว่า 80,000-100,000 ราย ในเบื้องต้นคาดว่า หลังจากบริการ3G ภายใต้ กสทช. เปิดให้บริการในเดือนหน้านี้แล้ว จะมีลูกค้าย้ายมาอยู่ในระบบ 3G ใหม่ราว 6 ล้านราย

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวอีกว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างประกาศ 3 ร่าง คือ 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(อินฟาร์แชร์ริ่ง) 2. ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ พ.ศ.... (โรมมิ่ง) 3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน  พ.ศ....( MVNO) โดยจะนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 19 เมษายน2556.นี้ เพื่อให้มีมติเห็นชอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือนเมษายนก่อนบังคับใช้ต่อไป

 http://www.naewna.com/business/47273

________________________________________________



บีบค่ายมือถือเพิ่มย้ายเบอร์4หมื่นราย/วัน




  มติบอร์ด กทค. เห็นชอบย้ายค่ายเบอร์เดิมทุกเครือข่ายกว่า 4 หมื่นรายต่อวัน พร้อมเพิ่มช่องทางการโอนย้ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ คาดผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มรายละ 200 ล้านบาท
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เปิดเผยถึงกรณีการพัฒนาและปรับปรุงการคงสิทธิ์เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม มีมติเห็นชอบรูปแบบการโอนย้ายเลขหมายในรูปแบบเจเนอรัลพอร์ต ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน โดยผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการให้สามารถรองรับการโอนย้ายเลขหมายได้ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน และจะต้องขยายขีดความสามารถรองรับปริมาณการโอนย้ายได้ตามความต้องการจริงของผู้ใช้บริการ
    ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าว หมายถึงรวมการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และการเปิดให้บริการ 3G เข้าด้วยกัน และเห็นชอบให้เพิ่มช่องทางการโอนย้ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ คอลเซ็นเตอร์ และ SMS หรือข้อความ โดยทุกช่องทางจะต้องมีความปลอดภัยในการตรวจสอบการยื่นการโอนย้ายของผู้ใช้บริการ
          พ.อ.เศรษฐพงค์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย จะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาการให้บริการการโอนย้ายให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการ โดยการดำเนินการดังกล่าว คาดว่าจะต้องลงทุนเพิ่มรายละ 200 ล้านบาท ตามที่ผู้ประกอบการได้หารือร่วมกัน
          ในปัจจุบัน ตัวกลางการโอนย้าย หรือเคลียริ่งเฮาส์ สามารถรองรับการโอนย้ายเลขหมายของผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย รวมกันได้จำนวน 4 หมื่นเลขหมายต่อวัน แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย มีการโอนย้ายรวมกันเพียง 3,000 รายต่อวัน เท่านั้น.
'

http://www.thaipost.net/news/040413/71799


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.