Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 เมษายน 2556 TOT ชี้ตัวเองกฏมากต้องสู้เอกชน 3Gทำไม่ทั้น(หาทางรอดตาย) รีบจับมือถือAISอีกครั้งเปลื่ยนค่าสป.เป็นเช่าเสา//ให้เช่าท่อเน็ต FTTx ให้เอกชนท้องถิ่นบุกตลาดแทน


ประเด็นหลัก



  แหล่งข่าวจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับโมเดลเรื่องการจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด นั้นจะต้องให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพราะรายได้ค่าสัมปทานของ เอไอเอส จะต้องส่งไปให้ กสทช. เพื่อนำส่งเข้ากระทรวงการคลัง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจะต้องบริหารจัดการแล้วเสร็จเพื่อความอยู่รอดองค์กร เพราะ ทีโอที มีรายได้จากค่าสัมปทานจำนวน 2 หมื่นล้านบาท ถ้ารายได้ในส่วนนี้ขาดหายไปจะส่งผลให้ บมจ.ทีโอที ประสบปัญหาการขาดทุนเพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากสัญญาสัมปทาน
    "เรื่องนี้ต้องจบให้เร็วที่สุดภายในปีนี้เพราะหากไม่จบเราก็ลำบาก และ มั่นใจว่า  เอไอเอส เป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีที่สุดในขณะนี้"
    ก่อนหน้านี้ นายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า การนำ ไอเดีย แชร์ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเป็นสิ่งที่ต้องทำ รัฐบาลและกระทรวงไอซีทีต่างเร่งมา ที่ผ่านมาทีโอที เป็นรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% แต่ไม่ได้เปรียบอะไรเลย กลับต้องสู้กับเอกชนภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด แม้ได้คลื่นความถี่3G ย่านความถี่ 1900-2100 เมกะเฮิรตซ์ หากแต่ มติ ครม.ก็ให้ทำแต่ขายส่ง กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้พิกลพิการไป



แม้จะสอดคล้องนโยบายกระทรวงไอซีทีที่ต้องการให้ "ทีโอที" นำทรัพย์สินสัมปทานมาหารายได้ด้วยการตั้งเป็น "ทาวเวอร์โค" หากเจรจาสำเร็จจะมี "เอไอเอส" เป็นลูกค้ารายแรก แต่คงไม่ง่ายนัก แม้คอนเซ็ปต์จะ "วิน-วิน" ทั้ง "เอไอเอส" และ "ทีโอที"

ฝ่ายหนึ่ง (เอไอเอส) ต้องการใช้ประโยชน์จากการเสาโทรคมนาคม ซึ่งตนลงทุน.ตามเงื่อนไขสัมปทาน "BTO" (Built-Transfer-Operate) ซึ่งจะถูกกว่า ลงทุนใหม่เองและขยายโครงข่ายได้เร็วขึ้นอีกฝ่าย (ทีโอที) ก็จะมีรายได้จากค่าเช่า ทดแทนสัมปทานที่หายวับไป คาดว่า จะได้ข้อสรุปในปีนี้

ถ้าจบได้ (จริง) "ทีโอที" ก็คงรอดจากสภาวะขาดทุนบักโกรก แต่ชีวิตจริงไม่เคยง่าย



เป็นนิมิตหมายใหม่ของ "ทีโอที" ก็ว่าได้ สำหรับรูปแบบความร่วมมือทางธุรกิจในการให้บริการ "อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง" บนเทคโนโลยี FTTx (Fiber To Home) ระหว่างทีโอทีกับเอกชน นำร่องก่อนที่เชียงใหม่ ก่อนไปต่อที่โคราช ภายใต้แบรนด์ "SiNet" Power by TOT ดำเนินการโดย บมจ.ไซแมท เทคโนโลยี

"ไซแมท" รับผิดชอบทั้งด้านการทำตลาดและการลงทุนโครงข่าย FTTx เชื่อมต่อจากโครงข่ายหลักของ "ทีโอที" ไปยังบ้านลูกค้า ที่เชียงใหม่รองรับการให้บริการได้ 15,000 ราย ที่โคราช 12,000 ราย

ตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าโดยรวมภายในปีนี้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 15,000 ราย มีรายได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

ใช้สูตร 70 : 30 แบ่งรายได้ (ทีโอทีได้ 70% โดย จะใช้โมเดลธุรกิจเดียวกันนี้ขยายบริการไปยังจังหวัดอื่น ๆ ด้วย













__________________________________________________




"ทีโอที" หนีขาดทุนบักโกรก แปรสัมปทาน-เปลี่ยนคู่แข่งเป็นพันธมิตร


เป็นนิมิตหมายใหม่ของ "ทีโอที" ก็ว่าได้ สำหรับรูปแบบความร่วมมือทางธุรกิจในการให้บริการ "อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง" บนเทคโนโลยี FTTx (Fiber To Home) ระหว่างทีโอทีกับเอกชน นำร่องก่อนที่เชียงใหม่ ก่อนไปต่อที่โคราช ภายใต้แบรนด์ "SiNet" Power by TOT ดำเนินการโดย บมจ.ไซแมท เทคโนโลยี

"ไซแมท" รับผิดชอบทั้งด้านการทำตลาดและการลงทุนโครงข่าย FTTx เชื่อมต่อจากโครงข่ายหลักของ "ทีโอที" ไปยังบ้านลูกค้า ที่เชียงใหม่รองรับการให้บริการได้ 15,000 ราย ที่โคราช 12,000 ราย

ตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าโดยรวมภายในปีนี้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 15,000 ราย มีรายได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

ใช้สูตร 70 : 30 แบ่งรายได้ (ทีโอทีได้ 70% โดย จะใช้โมเดลธุรกิจเดียวกันนี้ขยายบริการไปยังจังหวัดอื่น ๆ ด้วย

ที่ "เซ็นเอ็มโอยู" พร้อม "ไซแมท" ไปแล้ว มีอีก 3 บริษัท มีคิวเปิดให้บริการเป็นลำดับถัดไป ที่หาดใหญ่ ขอนแก่น ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และกรุงเทพฯ เป็นต้น

"ตลาดบรอดแบนด์แข่งขันกันรุนแรง คู่แข่งเข้มแข็งและแข็งแรง เริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ถ้าทีโอทีทำเองก็ต้องใช้เงินลงทุนสูง มีขั้นตอนต่าง ๆ ทำให้ล่าช้า การเลือกใช้โมเดลธุรกิจแบบนี้จึงตอบโจทย์กว่า" ยงยุทธ วัฒนสินธุ์ ซีอีโอทีโอทีย้ำชัดถ้อยชัดคำ

"ลงทุนให้น้อยลง และหารายได้เพิ่มทดแทนรายได้จากสัมปทานที่จะหายไป" เป็นภารกิจสำคัญยิ่งของ "ซีอีโอ" ใหม่ ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่มากนัก หากยึดเส้นตายตามกฎหมาย ที่ขีดเส้นว่า ต้องส่งรายได้จากสัมปทานไปยังกระทรวงการคลังโดยตรง ตั้งแต่ ธ.ค. 2556 นี้เป็นต้นไป

ซีอีโอ "ทีโอที" ยอมรับว่า ปี 2557 เป็นวิกฤตขององค์กร ทั้งอธิบายว่า ปีนี้ทีโอทียังมีกำไร 2-3 พันล้านบาท เพราะรายได้จากสัมปทานยังมีอยู่เกือบปี (จบ ธ.ค.นี้ก็จะไม่มีรายได้จากสัมปทาน) จะทำให้ขาดทุนเป็นหมื่นล้านบาท

"นั่นเป็นที่มาที่ทำให้เราต้องเร่งหาพาร์ตเนอร์ เช่นกรณีกับไซแมท ถ้าทีโอทีทำเองตามกระบวนการต่าง ๆ ต่อให้ถึงสิ้นปีนี้ก็ยังไม่เสร็จ ลูกค้าหนีหายไปหาคู่แข่งหมด ไซแมทพร้อมทั้งการตลาดและโครงข่าย ถ้าไม่ร่วมกับเขา ก็จะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น เทคโนโลยี FTTx ขยายบริการได้เกิน 100 Mbps แต่เราไม่ให้ขยายเกิน เพื่อไม่ให้ไปแย่งลูกค้าที่ใช้บริการลีสไลน์ของเรา"

นั่นเป็นแค่จุดเริ่มต้น... ประชุมบอร์ด "ทีโอที" สัญจรนัดแรกที่เชียงใหม่ "อุดม พัวสกุล" ประธานบอร์ด "ทีโอที" เร่งรัดให้ "ทีโอที" ทำแผนงานที่เป็นรูปธรรมในการหารายได้เพิ่มโดยเร็ว

หนึ่งในแผนที่ว่า คือ เร่ง "ทีโอที 3G"

ขณะนี้ติดตั้งขยายเครือข่ายแล้วเสร็จ 4,674 แห่ง จะครบ 5,320 แห่ง พ.ค.-มิ.ย.นี้

ส่วนเฟส 2 ใช้เงินลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท คงเริ่มเดินหน้าได้ในต้นปี 2557 ที่ยากกว่า และเดิมพันอนาคต "ทีโอที" ได้เลยคือ การปิดดีลกับคู่สัมปทาน

"เอไอเอส" เรื่องการคืนสิทธิ์สัมปทาน ซึ่งมีทรัพย์สิน อันประกอบด้วยเสาโทรคมนาคมกว่า 1.3 หมื่นต้น ก่อนที่สิ้นสุดสัมปทานปี 2558

แม้จะสอดคล้องนโยบายกระทรวงไอซีทีที่ต้องการให้ "ทีโอที" นำทรัพย์สินสัมปทานมาหารายได้ด้วยการตั้งเป็น "ทาวเวอร์โค" หากเจรจาสำเร็จจะมี "เอไอเอส" เป็นลูกค้ารายแรก แต่คงไม่ง่ายนัก แม้คอนเซ็ปต์จะ "วิน-วิน" ทั้ง "เอไอเอส" และ "ทีโอที"

ฝ่ายหนึ่ง (เอไอเอส) ต้องการใช้ประโยชน์จากการเสาโทรคมนาคม ซึ่งตนลงทุน.ตามเงื่อนไขสัมปทาน "BTO" (Built-Transfer-Operate) ซึ่งจะถูกกว่า ลงทุนใหม่เองและขยายโครงข่ายได้เร็วขึ้นอีกฝ่าย (ทีโอที) ก็จะมีรายได้จากค่าเช่า ทดแทนสัมปทานที่หายวับไป คาดว่า จะได้ข้อสรุปในปีนี้

ถ้าจบได้ (จริง) "ทีโอที" ก็คงรอดจากสภาวะขาดทุนบักโกรก แต่ชีวิตจริงไม่เคยง่าย

งานนี้ซีอีโอ ทีโอทีอาจต้องถึงขั้นปลุกระดมพนักงานให้ร่วมสู้เพื่อองค์กร (ตนเอง) เพราะขืนปล่อยไปตามยถากรรม จบเห่แน่

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1364996951&grpid=02&catid=06&subcatid=0603




__________________________________________________




ทีโอที จับมือเอไอเอส ปั้น'ทาวเวอร์โค'



เป็นเพราะภายในสิ้นปี 2556 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องส่งเงินได้สัมปทาน เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ตาม พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

ยงยุทธ วัฒนสินธุ์มาตรา 48ที่ ได้กำหนดเอาไว้ว่า "เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากการให้อนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญาตามวรรคสองที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้วเหลือเท่าใดให้ส่ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
    ทั้งนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2553 ดังนั้นภายในสิ้นปี 2556 นี้ จะพ้นกำหนดเวลาสามปี ที่ จึงมีผลบังคับให้ ทีโอที ต้องนำส่งรายได้จากสัมปทาน เอไอเอส ให้กับ กสทช.
    ส่วนสัญญาสัมปทานจะหมดอายุภายในสิ้นปี 2558 ซึ่ง เอไอเอส ต้องส่งมอบทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้กับ บมจ.ทีโอที รวมทั้งคลื่นความถี่ด้วย ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า กสทช.จะยอมให้ บมจ.ทีโอที ใช้คลื่นความถี่นี้ต่อไปหรือไม่
     ประเด็นเรื่องการส่งเงินคืนรายได้ค่าสัมปทานของ เอไอเอส ให้ กับ กสทช. นี้เองจึงเป็นที่มาของแนวคิดที่บมจ.ทีโอที เป็นเช่นเดียวกับ กสท.หรือ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในการจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค ขึ้นมา
** เปิดโต๊ะเจรจากับ เอไอเอส
    นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับ เอไอเอส เรื่องการจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด (หมายถึงการแชร์โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน) ในเบื้องต้นอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องของรูปแบบ และ ได้จ้างที่ปรึกษาในการวางแผนธุรกิจทาวเวอร์โคในเบื้องต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปเหลือเพียงการวางรูปแบบของธุรกิจ และการระดมทุนเท่านั้น ซึ่งโครงการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเข้าเสนอ ครม. และจะพยายามไม่ให้เข้าข่ายพรบ.ร่วมทุนฯด้วยเพื่อย่นระยะเวลาในการดำเนินการ    
          ยงยุทธ บอกว่า เอไอเอส ในฐานะผู้ได้รับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ และได้โอนทรัพย์สินมาให้ ทีโอที จำนวน 13,000 แห่ง  ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (Build Transfer Operate) ซึ่งเสาสัญญาณโทรคมนาคมที่ เอไอเอส จะโอนให้ ทีโอที เป็นเสาในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 จี
    ขณะที่แหล่งข่าวจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ในขณะนี้ได้มีการเจรจากับ บมจ.ทีโอที เพื่อที่จะส่งคืนทรัพย์สิน และ เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดกลับคืนไปก่อนหมดอายุสัมปทานภายในปี 2558 แต่ บมจ.ทีโอที จะต้องให้ เอไอเอส เช่าใช้สัญญาณเป็นรายแรก
*** ต้องจบภายในปีนี้
    แหล่งข่าวจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับโมเดลเรื่องการจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด นั้นจะต้องให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพราะรายได้ค่าสัมปทานของ เอไอเอส จะต้องส่งไปให้ กสทช. เพื่อนำส่งเข้ากระทรวงการคลัง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจะต้องบริหารจัดการแล้วเสร็จเพื่อความอยู่รอดองค์กร เพราะ ทีโอที มีรายได้จากค่าสัมปทานจำนวน 2 หมื่นล้านบาท ถ้ารายได้ในส่วนนี้ขาดหายไปจะส่งผลให้ บมจ.ทีโอที ประสบปัญหาการขาดทุนเพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากสัญญาสัมปทาน
    "เรื่องนี้ต้องจบให้เร็วที่สุดภายในปีนี้เพราะหากไม่จบเราก็ลำบาก และ มั่นใจว่า  เอไอเอส เป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีที่สุดในขณะนี้"
    ก่อนหน้านี้ นายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า การนำ ไอเดีย แชร์ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเป็นสิ่งที่ต้องทำ รัฐบาลและกระทรวงไอซีทีต่างเร่งมา ที่ผ่านมาทีโอที เป็นรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% แต่ไม่ได้เปรียบอะไรเลย กลับต้องสู้กับเอกชนภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด แม้ได้คลื่นความถี่3G ย่านความถี่ 1900-2100 เมกะเฮิรตซ์ หากแต่ มติ ครม.ก็ให้ทำแต่ขายส่ง กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้พิกลพิการไป
    "ถ้าทำให้ทีโอทีช่วยเหลือตัวเองได้ รัฐบาลก็ไม่เป็นภาระ แต่นี่จะมาเอาคลื่นคืนอีก แล้วเราจะอยู่อย่างไร จริงอยู่เราอยู่ในโลกไร้พรมแดนต้องมีหลักการเหมือนนานาอารยประเทศ แต่ไม่เข้าใจว่าคืนไปแล้วจะให้ ทีโอที เริ่มต้นใหม่ แล้วไปแข่งกับคนอื่นหรือ ทางที่เหมาะที่ดีควรจะต้อง ส่งเสริมให้ลูกเต้าทำมาหากิน มีเงินเดือนมีรายได้จะได้ส่งเงินกลับมาให้พ่อแม่"
    อย่างไรก็ตามในช่วงที่สัมปทานกำลังหมดอายุ บมจ.ทีโอที พยายามจับมือพันธมิตรทำธุรกิจร่วมกัน โดยล่าสุดได้ร่วมกับพันธมิตร คือ บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด(มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTx ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง FTTx ซึ่งจะสามารถรองรับการให้บริการที่จังหวัดเชียงใหม่ 15,000 ราย และจังหวัดนครราชสีมา 12,000 ราย โดยเบื้องต้นตั้งเป้าปี 2556 หลังจากการเปิดตลาดที่ทั้ง 2 จังหวัดแล้วจะมีลูกค้าไม่ต่ำกว่า 15,000 และมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท        
    ก่อนหน้านี้ ทีโอทีได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้ว FTTx กับ 4 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา บริษัท เวลดัน ไอที เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น บริษัท เค.พี. อีสเทิร์นเวิร์ค จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และ บริษัท ฟิท เทเลคอม จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ (นครหลวง 1.2)
    การตั้งทาวเวอร์โคถือว่าเป็นภารกิจใหญ่ของ "ยงยุทธ" เพราะหากทำสำเร็จนั้นหมายความว่าความอยู่รอดของพนักงาน ทีโอที กว่าสองหมื่นคน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่ามันมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเรื่องของผลประโยชน์ที่เอื้อกลุ่มทุน..

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=177157:2013-04-02-07-15-36&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.